ทำความรู้จักกับสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตะพาบหัวกบ เจ้าหัวกบที่ชอบกินกบเป็นอาหาร

     ตะพาบหัวกบ ( Southern New Guinea Giant Softshell Turtle ) หรือ ตะพาบน้ำหัวกบ , กริวดาว , กราวเขียว จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในวงศ์ ตะพาบหัวกบชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys bibroni มีถิ่นอาศัยในแถบประเทศจีน อินเดีย อินโดจีน สุมาตรา มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ไทย ฯลฯ โดยในประเทศไทยสามารถพบได้เกือบทุกภาค เช่น ตาก กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ฯลฯ

    ปัจจุบันได้มีการนำมาเพาะขยายพันธุ์กันมากขึ้นและนิยมนำไปเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และหากตะพาบตัวใดปรากฏว่าที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่ตามกระดอง โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนลวดลายและสีสันไปตามวัยจะเรียกกันว่า "กริวดาว"  สามารถพบเจอได้เฉพาะในภาคกลางและภาคตะวันตกของไทย

ลักษณะรูปร่างหน้าตาและนิสัยของเจ้าตะพาบหัวกบ ที่เห็นนิ่ง ๆ แต่ที่จริงแล้วดุใช่เล่น

     ตะพาบหัวกบขนาดรูปร่างมีขนาดใหญ่ โดยจะมีขนาดกระดองยาวเฉลี่ยประมาณ 120 เซนติเมตร น้ำหนักตัวอาจมากถึง 50-90 กิโลกรัมเลยทีเดียว ตัวผู้จะมีลำตัวเรียวยาว-บาง หางยาว ตัวเมียจะลำตัวอ้วนใหญ่ กระดองสาก และหางสั้นกว่าตัวผู้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเขียวและด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน มีตาขนาดเล็ก เท้าเป็นพังผืดติดกัน มีหัวขนาดเล็กและสั้นคล้ายหัวกบจึงเป็นที่มาของชื่อว่า ตะพาบหัวกบ นั่นเอง

     เมื่อยังเล็กเจ้าตะพาบน้ำหัวกบลักษณะทั่วไป คือ กระดองจะมีสีน้ำตาลอมเขียวและมีจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วกระดองและจะจางลงเมื่อเริ่มเจริญเติบโตขึ้น ส่วนสีของตัวจะค่อย ๆ เข้มขึ้นและเปลี่ยนไปตามวัย ซึ่งปัจจุบันสามารถพบตะพาบชนิดนี้ได้น้อยมากด้วยเหตุนี้จึงถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง

     ส่วนนิสัยของตะพาบสายพันธุ์นี้มักจะมีความดุร้าย การเข้าใกล้หรือสัมผัสใกล้ชิดจึงควรต้องใช้ความระมัดระวังกันสักหน่อย ปกติมักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายเพื่อรอให้เหยื่อผ่านมาเมื่อสบโอกาสก็จะพุ่งเข้าจู่โจม ซึ่งอาหารตะพาบหัวกบ ได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ อาทิเช่น กบ เขียด กุ้ง หอย ปู ปลา และพืชบางชนิด

วิถีการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของตะพาบหัวกบ

     ตะพาบหัวกบปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อย ๆ โดยมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2535

     แม้ว่าจะเคยถูกพูดถึงว่าสูญพันธุ์มาแล้วในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ก็ได้มีการเร่งเพาะพันธุ์ขึ้นมาจนเริ่มมีประชากรเพิ่มขึ้นบ้างแล้ว การผสมพันธุ์และการวางไข่ของตะพาบน้ำสายพันธุ์นี้ตัวเมียจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และให้ไข่ได้เมื่อมีอายุประมาณปีเศษ และช่วงอายุที่สามารถให้ไข่ได้สมบูรณ์มากที่สุดคือ ช่วงที่มีอายุ 1.8 ปี ขึ้นไป พบว่ามันมักจะวางไข่ตามบริเวณริมแม่น้ำหรือแหล่งน้ำใกล้ ๆ กับที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 

     ตะพาบน้ำเมื่อถึงฤดูวางไข่ตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์กันในน้ำและตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนบกตามเนินทรายที่เหมาะสม มันจะแอบขึ้นมาวางไข่ในช่วงกลางคืนโดยการใช้เท้าขุดหลุมขนาดพอเหมาะและเมื่อวางไข่เสร็จก็จะใช้เท้าเขี่ยดินมากลบฝังเอาไว้อย่างมิดชิดตามเดิม ตะพาบน้ำตัวเมีย 1 ตัว สามารถให้ไข่ได้ 5-7 ฟองต่อ 1 หลุม และตลอดฤดูการวางไข่สามารถให้ไข่ได้ 100-200 ฟอง จะใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 90 วัน เมื่อลืมตาดูโลกเจ้าตัวเล็กจะมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร และทันทีที่ลืมตาดูโลกพวกมันจะวิ่ง 4x100 ลงสู่แหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดทันทีตามสัญชาตญาณการเอาตัวรอดและเจริญเติบโตต่อไป

 

 

ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ