ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ สัตว์ที่ทำให้รู้ว่าเป็นแมลงก็ไม่ได้แปลว่าต้องอ่อนแอ

ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ ( Devil ’ s Flower Mantis )

          ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ ( Devil ’ s Flower Mantis ) เป็นแมลงอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ที่อยู่ในวงศ์แมลงตำข้าวดอกไม้ด้วยกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Idolomantis diabolica สามารถพบตั๊กแตนตำข้าวสายพันธุ์นี้ได้ในแถบแทนซาเนีย เอธิโอเปีย มาลาวี โซมาเลีย เคนยา และยูกันดา 

          ปัจจุบันตั๊กแตนตำข้าวสายพันธุ์นี้ได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักที่กำลังได้รับความนิยมกันในกลุ่มคนที่ชอบนำสัตว์แปลก ๆ มาเป็นสัตว์เลี้ยงทั่วโลกอีกด้วย แต่เนื่องจากตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจนิสัยค่อนข้างดุใครที่สนใจอยากนำมาเลี้ยงแนะนำให้ศึกษาข้อมูลก่อนนำมาเลี้ยงนะคะ

มาทำความรู้จักหน้าตาตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจกันบ้าง !

ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ ( Devil ’ s Flower Mantis )

          ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจเป็นตั๊กแตนที่มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดในบรรดาตั๊กแตนตำข้าวทั้งหมด ลำตัวมีเขียว-ขาว-แดง ปะปนกันไป ตัวเมียมีขนาดตัวยาวได้มากถึง 13 เซนติเมตร ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ตัวผู้มีขนาดเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น ลักษณะของตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจที่สามารถสังเกตได้อีกก็คือ หน้าตาที่ดูแปลกประหลาดคล้ายปีศาจจึงเป็นที่มาของชื่อนั่นเอง และนอกจากนี้บริเวณแผ่นอกก็จะมีเปลือกแข็ง ๆ แผ่ออกมาด้านข้างทั้งสองข้าง มีสีสันและลวดลายที่หลากหลาย รวมถึงบริเวณท้องของตัวผู้จะมีลักษณะเป็นข้อปล้อง มีจำนวน 8 ปล้อง แต่ตัวเมียจะมี 6 ปล้อง 

          ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจนิสัยค่อนข้างดุใครที่คาดหวังความอ่อนหวานน่ารักจากเจ้าตัวนี้คงไม่จะไม่มีแน่นอน เมื่อรู้สึกถึงอันตรายหรือการถูกคุกคามมันมักจะชูสองขาหน้าขึ้นสูงเพื่อเตรียมป้องกันตัว ดูไปแล้วก็จะคล้าย ๆ กับนักมวยตั้งการ์ดขึ้นเตรียมชกยังไงยังงั้นเลยล่ะ 

การใช้ชีวิตและการขยายพันธุ์ของตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ

ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ ( Devil ’ s Flower Mantis )

          ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจเป็นอีกหนึ่งสัตว์นักล่าที่จะประมาทไม่ได้เลยทีเดียว โดยอาหารตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจจะเป็นจำพวกสัตว์และแมลงต่าง ๆ ที่สามารถล่ามาได้ ในการหาอาหารของเจ้าตั๊กแตนตำข้าวสายพันธุ์นี้จะใช้วิธีการอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับดอกไม้และซุ่มอยู่เงียบ ๆ เมื่อเหยื่อผ่านมามันจะพุ่งตัวเข้าจู่โจมทันที เมื่อมีการผสมพันธุ์กันตัวเมียจะวางไข่ที่มีลักษณะเป็นแนวยาวระนาบไปกับพื้นผิว โดยไข่จะมีสารห่อหุ้มอยู่ด้วยเพื่อป้องกันไข่จากศัตรูที่จะมาทำลายไข่ ในการวางไข่แต่ละครั้งตัวเมียสามารถให้ไข่ได้ประมาณ 40 ฟอง หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ไข่จึงจะมีการฟักตัวอ่อนออกมา ซึ่งในช่วงแรกที่ฟักตัวออกมาตัวอ่อนจะมีสีผิวสีแดงแต้มด้วยสีขาวประปรายและจะค่อย ๆ เปลี่ยนสีไปจนเป็นสีปกติ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จึงจะย้ายถิ่นที่อยู่เพื่อขยายเผ่าพันธุ์ต่อไป

 

 

บาคาร่าฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา