ปลาเทวดาสกาแลร์ ปลาประดับทรงสวยหลากสีสันที่ใครเห็นเป็นต้องชอบ

       ปลาเทวดาสกาแลร์ ( Anggelfish , Freshwater angelfish ) หรือ ปลาเทวดา เป็นปลาที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาหมอสี ( Cichlidae ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pterophyllum scalare เป็นปลาน้ำจืดที่มีลักษณะลำตัวและสีสันสวยงามโดยลำตัวจะเป็นสีเทาอมเขียว เวลาที่ขยับตัวแหวกว่ายจะมีประกายเงินไปทั่วทั้งตัวสวยงามมาก ในบางครั้งสามารถพบเห็นปลาชนิดนี้มีจุดสีแดงเล็ก ๆ กระจายอยู่บริเวณช่วงไหล่ด้วย ลวดลายบริเวณแผ่นหลังจะมีสีน้ำตาลปนสีเขียวมะกอกและจะมีความสวยงามมากเมื่อต้องกับแสงแดดหรือแสงไฟ

       ในส่วนของขนาดลำตัวปลาชนิดนี้มักจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลำตัวค่อนข้างแบนมาก ลวดลายข้างลำตัวจะเป็นลายคาดมีแนวเส้นจำนวน 4 เส้น พาดผ่านมองเห็นได้ชัดเจน และจะมีลายเส้นเล็ก ๆ สั้น ๆ มีสีจาง ๆ คั่นอยู่ในแต่ละเส้นนั้นด้วย โดยเส้นสั้นนั้นจะมีทั้งหมด 3 เส้น ทุกเส้นจะมีสีดำ-เทาแก่ เมื่อปลามีขนาดโตเต็มที่จะมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 6 นิ้ว พบว่ามีแหล่งกระจายพันธุ์อยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำอเมซอน แม่น้ำโอริโนโค มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูงโดยเฉพาะบริเวณที่มีพืชน้ำขึ้นอยู่หนาแน่น ซึ่งปลาชนิดนี้จะชอบมากเป็นพิเศษ

ลักษณะที่แตกต่างกันของปลาสกาแลร์ แม้จะเป็นปลาชนิดเดียวกันแต่มีสีสันกลับไม่เหมือนกัน

       ในเวลาต่อมาได้มีการเพาะพันธุ์ปลาเทวดาสกาแลร์มาเรื่อย ๆ จนมีลวดลายและสีสันหลากหลายแตกต่างไปจากปลาสายพันธุ์ดั้งเดิม จึงมีการตั้งชื่อให้ตรงตามลักษณะของตัวปลาดังนี้

-ปลาเทวดามุก มีลำตัวมีสีเหลืองอ่อน ๆ ทั่วทั้งตัว ไม่มีลวดลาย

-ปลาเทวดาครึ่งชาติ มีผิวด้านบนสีขาว ท่อนล่างสีดำ

ปลาเทวดาแพลตทินัมทอง

-ปลาเทวดาแพลตทินัมทอง มีตัวสีเหลือบขาวทอง ตาสีแดง

-ปลาเทวดาแพลตทินัมเงิน มีตัวสีขาวสะอาดแวววาว ตาสีดำ

-ปลาเทวดาดำ มีตาสีดำ ตัวสีดำทั้งตัว มีครีบสั้น

-ปลาเทวดาหินอ่อน มีลวดลายดำสลับขาวตัดไปทั่วลำตัว คล้ายลายหินอ่อน ฯลฯ

การผสมพันธุ์และการขยายพันธุ์ของปลาเทวดาสกาแลร์

       ปลาเทวดาสกาแลร์เป็นปลาที่ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ขยายในตู้เลี้ยงได้แล้วโดยจะมีการวางไข่อยู่ตามวัสดุหรือพื้นผิวเรียบเรียงกันเป็นแถว เบ่งไข่ครั้งละประมาณ 10-15 ฟอง เมื่อปลาเทวดาวางไข่เสร็จแล้ว ปลาตัวเมียก็จะว่ายน้ำออกมา จากนั้นตัวผู้ก็จะว่ายเข้าไปค่อย ๆ ปล่อยน้ำเชื้อใส่ในเม็ดไข่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะว่ายถอยออกมาหลีกทางให้ปลาตัวเมียกลับเข้าไปอีก โดยจะทำเช่นนี้สลับกันไปจนไข่หมดท้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง ในการวางไข่และการผสมไข่แต่ละครั้ง ซี่งในการวางไข่แต่ละครั้งจะให้ไข่ทั้งหมดประมาณ 200-500 ฟอง 

ลูกปลาเทวดาที่พึ่งฟักออกจากไข่ได้ไม่นาน

       หลังจากผสมเรียบร้อยแล้วเหล่าคุณพ่อปลาและคุณแม่ปลาก็ช่วยกันดูแลรักษาไข่ลูกน้อยของตนโดยจะคอยพัดโบกน้ำใกล้ ๆ กับบริเวณที่วางไข่เป็นระยะ ๆ เพื่อให้มีออกซิเจนส่งไปยังลูกน้อยให้ลูกปลาหายใจได้อย่างสะดวกและจะคอยทำความสะอาดบริเวณที่วางไข่โดยหากไข่ใบไหนเสียก็จะเก็บไข่นั้นกิน

       ปลาเทวดาจะใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 48 ชั่วโมง เมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่แล้วก็จะเกาะอยู่ตามพื้นหรือวัสดุต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น กิ่งไม้ ขอนไม้ ก้อนหินต่าง ๆ ซึ่งในระยะที่ฟักตัวออกมาใหม่ ๆ ลูกปลาจะยังชีพโดยอาศัยกินอาหารจากถุงไข่แดงขนาดใหญ่ที่มีอยู่ เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 วันอาหารจากถุงไข่แดงหมดลง ลูกปลาก็จะว่ายน้ำไปรวมกับฝูงเพื่อออกหาอาหาร โดยในช่วงนี้ลูกปลาจะยังว่ายวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ พ่อและแม่เพื่อให้พ่อแม่คอยปกป้องดูแลให้ความปลอดภัยไปจนถึงเมื่อเจริญเติบโตพอสมควรจึงจะแยกออกไปหาอาหารด้วยตนเอง เมื่อวางไข่ชุดแรกไปแล้วแม่ปลาจะใช้เวลาอีกประมาณ 25-30 วัน สำหรับการเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ใหม่อีกครั้ง

 

 

slot wallet ไม่มีขั้นต่ํา