Categories
สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

พะยูน ที่มาของความอ้วนเทอะทะ น่ารัก

พะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง และสัตว์น้ำชนิดแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายแมวน้ำ ที่สามารถพบได้ในทะเลเขตอบอุ่นใน พื้นที่กว้างขวาง ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลของแอฟริกาตะวันออก ทะเลอันดามัน อ่าวไทย และโอเชียนเนีย โดยปกติแล้วพะยูนมักจะไม่ชอบอาศัยอยู่ในที่น้ำขุ่น และยังเชื่อกันอีกว่าพะยูนเคยอาศัยหากินอยู่บนบก และมีบรรพบุรุษที่ใกล้เคียงกับช้าง เมื่อราวหลายล้านปีมาแล้ว ได้มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ซึ่ง พะยูนได้ลงไปอยู่ในน้ำและไม่กลับขึ้นมาบนบกอีกเลย

พะยูน ความน่ารักของเจ้าสัตว์อ้วน

พะยูน

แนวโน้มเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตัวอ้วนกลม ลำตัวใหญ่ และมีรูปร่างคล้ายกระสวย ตัวมีสีเทาอมชมพู บริเวณริมฝีปาก จะมีขนเหมือนหนวดของแมว มีขนาดดวงตาเล็ก แม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่มีสายตาไม่ค่อยดี แต่จะมีหูที่เป็นรูเล็กๆไม่มีใบหู ที่มีสัมผัสไวต่อการได้ยิน เหล่าพะยูนจึงจำเป็นต้องใช้เสียงเพื่อการสื่อสาร และมีลักษณะอื่น ดังนี้

  • พะยูนมีรูจมูกที่มีลิ้นเปิดปิด ครีบทั้งสองจะดัดแปลงมาจากขาคู่หน้าทั้งสองข้าง ไว้พะยูงตัว และขุดหาอาหาร 
  • ตัวผู้บางตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฟันหน้าสองซี่เพื่อขุดอาหาร และแย่งชิงคู่ กับอีกฝ่าย ส่วนในตัวเมียจะมีนมสองเต้าขนาดเท่านิ้วก้อย ไว้สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน
  • ใช้ปอดในการหายใจ จึงต้องหายใจบริเวณผิวน้ำ 1-2 นาที แล้วจึงดำกลับลงไปในใต้ทะเลอีกครั้ง 
  • เมื่อต้องการพักผ่อน พะยูนจะดิ่งตัวลงเป็นแนวตรงเพื่อทำการนอนพักผ่อน โดยสามารถหายใจอยุ่บนพื้นทะเลได้ถึง 20 นาทีแล้วกลับไปยังใต้น้ำทะเลอีกครั้ง 
  • ปกติแล้วพะยูน จะมีอายุยืนยาวมากราว 70-90 ปี เมื่ออายุ 9-10ปี ก็สามารถสืบพันธุ์ได้ 
  • ระยะเวลาตั้งครรภ์ของพะยูนเพศเมีย ใช้เวลา 9-14 เดือน จะมีลูกได้หนึ่งตัว ไม่เกินสองตัว ลูกพะยูนจะมีน้ำหนักตัวแรกเกิดประมาณ 15 – 20กิโลกรัม พะยูนเป็นสัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนม และจะเลี้ยงด้วยหญ้าอ่อนทะเล ประมาณ 2-3สัปดาห์ จะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน โดยแม่พะยูน จะเลี้ยงลูกไปจนโตเต็มที่และมีขนาด 2เมตร ถึง3 เมตร มีน้ำหนักอยุ่ที 300 กกิโลกกิโลกรัมโดยประมาณ
พะยูน

จากการสำรวจพบว่าพะยูนกินหญ้าทะเลเป็นอาหาร และสาหร่ายทะเลอีกเล็กน้อย จะไม่เลือกหรือเจาะจงว่าเป็นหญ้าชนิดไหน ซึ่งพฤติกรรมของพะยูน จะเริ่มหากินหญ้าทะเลในช่วงน้ำขึ้น จะใช้เวลาในการหากินประมาณ 2 -3 ชั่วโมง และสลับกับการขึ้นมาหาใจบนผิวน้ำ 1-2 นาที แล้วจึงดำกลับไปกินหญ้าใต้ทะเลอีกครั้ง ซึ่งบางตัวจะหากินหญ้าบริเวณใกล้เคียงที่เดิมๆ ในขณะที่บางตัว จะว่ายน้ำเพื่อเปลี่ยนสถานที่กินหญ้าไปไกลประมาณ 1-5 เมตร ซึ่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อพะยูนเป็นอย่างมากแต่บางพื้นที่ ก็ประโยชน์กับชาวประมงในพื้นที่เช่นเดียวกัน ในขนาดที่น้ำลงมาก จะพบว่าพะยูนจะเปลี่ยนไปอาศัยอยู่ในร่องน้ำที่ห่างจากชายฝั่งทะเล ประมาณ 4-5 กิโลเมตร เพื่อย้ายที่พักอาศัย และแหล่งอาหาร พะยูนอาจออกมาหากินในช่วงกลางวันและกลางคืน ส่วนมากจะออกมาหาอาหาร ในช่วงน้ำขึ้นของตอนกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากคน และสิ่งแวดล้อม พะยูนเป็นสัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งไม่มีอวัยวะที่เป็นอาวุธไว้ป้องกันตัวใดๆ มีเพียงร่างกายที่มีขนาดลำตัวใหญ่ หนังหนา เพื่อป้องกันอันตรายจากการกัด หรือโดนทำร้ายจากสัตว์อื่นๆ เช่น ฉลาม เท่านั้น

พะยูน

จากการศึกษาข้อมูลยังพบว่า การเพิ่มประชากรของพะยูนนั้นยังมีปริมาณน้อยกว่าการตาย ร้อยละ 5 ต่อปีนั้นหมายความว่า มีแนวโน้มเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์  อีกหนึ่งชนิด ในประเทศไทยพบยังสามารถพบได้ทั้งอ่าวไทย และทะเลฝั่งอันดามัน โดยพบกลุ่มใหญ่ที่สุด ในบริเวณทะเลจังหวัดตรัง รวมประชากรพะยูน ในประเทศไทยเหลือไม่มากนัก เนื่องจากสภาพอากาศและแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัยความอุดมสมบูรณ์ และการล่าของมนุษย์ ทำให้การผสมพันธุ์ของพะยูนลดน้อย และการตายเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อ่านบทความอื่นๆ:

สนับสนุนโดย:

https://ufaball.bet เว็บแทงบอลอันดับ1

ใส่ความเห็น