วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของ “พังพอนกินปู” กันบ้าง สัตว์ป่าที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อกันมาก่อน หากไม่ได้เป็นคนที่คลุกคลีกับวงการสัตว์ป่ามาก่อน อาจจะไม่รู้ว่าสัตว์ป่าของเรามีน้องอยู่ด้วย แต่หากใครตั้งใจจะเลี้ยงน้องเขาแนะนำว่าอย่าเสี่ยงดีกว่า เพราะปัจจุบันน้องเขาอยู่ในกลุ่มของสัตว์ป่าคุ้มครองไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นวันนี้เราจะมาเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของพวกเขา เพื่อทำความเข้าใจและหากได้เจอกันในอุทยานต่าง ๆ จะได้รับมือต่อการมาของพวกเขาได้ถูก ส่วนจะมีข้อมูลอะไรน่าสนใจกันบ้างมาดูกันได้เลย
พังพอนกินปู คืออะไรกันนะ และมีข้อมูลอะไรต้องรู้กันบ้าง
สำหรับพังพอนกินปู คือสัตว์ในตระกูลพังพอน โดยสามารถพบได้ในประเทศไทย มีอีกชื่อที่เรียกกันบ่อย ๆ คือ พังพอนยักษ์ โดยลำตัวมีขนาดใหญ่ และปัจจุบันเข้าสู่รายการสัตว์ป่าคุ้มครองเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้สามารถพบเจอได้ทั่วไปในทางภาคใต้ของจีน เกาะไหหลำ ไต้หวัน เนปาล พม่า ไทย และมาเลเซีย โดยในไทยจะเจอได้ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์เขาเขียวเป็นต้น
ลักษณะทั่วไป
เริ่มต้นกันด้วยลักษณะทั่วไปของพังพอนกินปู (Crab-eating mongoose) กันก่อน โดยเป็นสัตว์ในกลุ่มพังพอนที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีขาวจากมุมปากลาดยาวไปตามข้างคอจนถึงหัวไหล่ ส่วนขนบริเวณลำตัวจะมีสีน้ำตาลอมเทา คอมีสีดำ ส่วนหน้าอกจะมีสีตาลแดงปนอยู่ และส่วนของท้องจะมีขนสีน้ำตาลอ่อน ไปถึงขนสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ส่วนของหางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัวและจะมีลักษณะเป็นพวง มีน้ำหนักอยู่ที่ 3-4 กิโลกรัม ลำตัวจะยาวได้ถึง 48 เซนติเมตร ส่วนของหางจะยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร
พฤติกรรมต่าง ๆ
พังพอนยักษ์จะมีพฤติกรรมเด่น ๆ คือชอบหากินลำพัง ไม่บ่อยนักที่พวกเขาจะรวมตัวอยู่กันเป็นฝูง ส่วนพฤติกรรมการหากินจะหากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่โดยส่วนใหญ่จะหากินช่วงเช้ามืดจนถึงรุ่งสาง มากกว่าเวลาอื่น ๆ ทั้งนี้เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพราะเป็นพื้นที่หากินของพวกเขา ดังนั้นสำหรับคนเดินป่าอาจจะพบเจอพวกเขาได้ในบริเวณลำธารป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ส่วนที่ลักษณะของที่อยู่อาศัยของพวกเขาคือขุดรูและอยู่ในหลืบหิน มีความสามารถพิเศษคือว่ายน้ำได้เก่งมาก
นิสัยโดยทั่วไป
ถึงแม้ว่าจะดูผิวเผินเป็นสัตว์ที่รักสงบมากแค่ไหน แต่พวกเขาไม่ค่อยชอบความวุ่นวาย และหากรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัย สิ่งที่พวกเขาจะทำทันทีคือ ตอบโต้กลับด้วยวิธีการป้องกันตัวของพวกเขานั่นเอง ซึ่งวิธีการป้องกันตัวของพวกเขาที่เห็นได้บ่อย ๆ คือ จะพ่นของเหลวจากต่อมใกล้ทวารอย่างแรงใส่ศัตรูทางด้านหลัง ซึ่งของเหลวที่พ่นออกมากลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างที่คิดเลยด้วยซ้ำ
อาหาร
ต่อเนื่องกันถึงเรื่องของอาหารพังพอนยักษ์คือ เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นหลัก โดยอาหารของพวกเขาไม่มีแค่ปูเท่านั้น แต่ยังมีสัตว์ชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วยดังนี้
- สัตว์น้ำ: นอกจากปูที่เป็นอาหารจานโปรดขอพวกเขาแล้ว ยังมีสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ด้วยเช่น ปลา, กบ, หอย เป็นต้น
- สัตว์ปีก: เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีความคล่องแคล่วว่องไวมาก ทำให้สัตว์ปีกเป็นอาหารอีกจานที่พวกเขาจับได้ง่าย ๆ เช่น นก ไก่ป่า รวมถึงค้างคาว เป็นต้น
- สัตว์เลื้อยคลาน: ต่อเนื่องกันด้วยกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาหารที่พวกเขาจับกินบ่อย ๆ นั่นก็คือ งู ตัวเงินตัวทอง แลน ตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแก รวมถึงจิ้งจก เป็นต้น
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง: อีกหนึ่งเมนูอาหารที่พวกเขาจัดการได้คือกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งหมายถึง หอยทาก, ทาก, แมลง และหนอน เป็นต้น
สรุป ปัจจุบัน พังพอนกินปู หรือพังพอนยักษ์เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเรียบร้อยแล้ว
จากข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพังพอนกินปูหรือที่หลายคนติดปากเรียกว่าพังพอนยักษ์ คงทำให้รู้จักสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดนี้มากขึ้น ส่วนภาวะความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของพวกเขาถือว่ามีสูงมาก ส่งผลให้ทางการตัดสินใจบรรจุพวกเขาในกลุ่มของสัตว์ป่าคุ้มครองไปโดยปริยาย
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> animal2you.com