หอยงวงช้างกระดาษหอยอาภัพกับชีวิตที่มีอยู่เพื่อสืบพันธุ์แล้วก็ตาย

     หอยงวงช้างกระดาษ ( Paper nautilus , Argonaut )จัดอยู่ในประเภทหมึกจำพวกหมึกสาย อยู่ในสกุล Argonauta ถึงแม้ใครๆจะเรียกว่าเป็นหอยงวงช้างแต่กลับไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในสกุลของหอยงวงช้าง 

     เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลทั้งในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนสามารถพบได้ตั้งแต่ระดับผิวน้ำไปจนถึงน้ำลึกในระดับประมาณ 100 เมตร โดยมากจะอาศัยลอยตัวไปตามกระแสน้ำบ้างว่ายน้ำไปเองบ้าง โดยในบางครั้งจะสามารถพบหอยงวงช้างกระดาษตัวเมียยึดเกาะกับวัตถุในน้ำหรือเกาะกลุ่มกันเอง ซึ่งจะมีจำนวนประมาณ 20 ถึง 30 ตัว เพื่อออกหาอาหารในเวลากลางวัน และอาหารที่ออกล่ามักจะเป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก

     ในน่านน้ำไทยมีการสำรวจพบจำนวน 3 ชนิด มีเปลือกที่สวยงามแปลกตามักนำเปลือกไปตกแต่งบ้านและมีการล่านำมาเป็นอาหารของมนุษย์บ้างในบางประเทศ มีศัตรูนักล่าจำพวกปลาทูน่า ปลาโลมา และปลากระโทง

ลักษณะทางกายภาพของหอยงวงช้างกระดาษ หอยที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก

     ลักษณะของหอยงวงช้างตัวเมียจะมีเปลือกหุ้มตัวเพื่อใช้สำหรับวางไข่และฟักไข่ มีตัวขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ในส่วนของหอยงวงช้างกระดาษตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมียมากและไม่มีเปลือกหุ้มตัว

     โดยลักษณะของเปลือกหอยจะมีลักษณะบางเบา เปราะ แตกหักง่าย มีลักษณะม้วนเป็นวงในแนวราบ โดยในเกลียวแรก ๆ ที่อยู่ด้านในสุดจะมีสีน้ำตาลเข้มและค่อยๆจางออกเป็นสีขาวหมุนเกลียวสุดท้าย ผิวเปลือกหอยมีลักษณะไม่เรียบ เป็นร่องริ้วตามแนวขวางและเป็นเส้นหยักทำให้เห็นเป็นลอนคลื่นเล็ก ๆ ชัดเจน และด้วยความที่ส่วนเปลือกเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีลักษณะเปราะบางแตกหักง่ายคล้ายกระดาษจึงเป็นที่มาของชื่อ หอยงวงช้างกระดาษ นั่นเอง

     ส่วนลำตัวนั้นจะมีส่วนหัวและลำตัว บริเวณหัวจะมีตาขนาดใหญ่ 1 คู่ รอบปากจะมีหนวดประมาณ 8 เส้น ไม่มีครีบตามลำตัว โดยตัวเมียจะมีลำตัวรูปทรงรี หัวเล็ก นวดคู่แรกจะมีลักษณะแบน ตัวผู้จะมีลักษณะลำตัวกลมคล้ายถุง

การผสมพันธุ์และการขยายพันธุ์ของหอยงวงช้างกระดาษ

     หอยงวงช้างกระดาษสืบพันธุ์ได้โดยจะมีการจับคู่กัน ให้หอยงวงช้างกระดาษตัวเมียวางไข่ไว้ในเปลือก ไข่มีลักษณะเป็นไข่เดี่ยวโดยในแต่ละฟองจะมีตัวอ่อนเพียงตัวเดียวอยู่ในนั้น ตัวอ่อนจะฟักออกมาจากไข่มีลักษณะคล้ายกับตัวที่โตเต็มวัย 

     เมื่อโตเต็มที่มีขนาดตัวประมาณ 10 ถึง 30 เซนติเมตร หากเป็นตัวเมียจะมีหนวดสั้นๆ ถ้าหากเป็นตัวผู้จะมีความยาวเพียง 2 เซนติเมตร ไม่พบหนวด

     การผสมพันธุ์ของหอยงวงช้างกระดาษจะใช้เวลาไม่นานโดยตัวผู้จะใช้หนวดเกาะไว้กับตัวเมียแล้วจะทำการบรรจุสเปิร์มไว้ให้ตัวเมีย ตัวเมียจะสะสมสเปิร์มของตัวผู้เอาไว้ซึ่งก็สามารถสะสมเอาไว้ได้ทีละหลาย ๆ ตัว และจะทำการปฏิสนธิเมื่อเวลาผ่านไป โดยจะมีการวางไข่เป็นสายพันไปรอบ ๆ เปลือก เพื่อที่จะสามารถที่ดูแลลูกน้อยได้จนกว่าจะฟักตัว ในส่วนของตัวผู้นั้นวงจรชีวิตหอยงวงช้างกระดาษช่างอาภัพและแสนสั้น คือ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้วก็จะตายลง โดยทิ้งให้ตัวเมียและลูกน้อยดำเนินชีวิตกันเองต่อไป

 

 

สล็อต วอเลทไม่มีขั้นต่ํา