เต่าหัวค้อน เต่าทะเลหัวโต ต้วมเตี้ยม สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่ไม่ค่อยมีให้เห็นกันแล้ว

     เต่าหัวค้อน ( Loggerhead Turtle ) หรือ เต่าล็อกเกอร์เฮด , เต่าจะละเม็ด , เต่าตาแดง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caretta caretta ( Linneaus , 1758 ) ถูกจัดอยู่ในวงศ์ CHELONIOIDEA ซึ่งเต่าทะเลชนิดนี้เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Caretta 

     พบมากในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกและพบได้ประปรายในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนในเอเชียอาจมีพบบ้างในเขตอบอุ่นทางประเทศอินโดนีเซียและญี่ปุ่น ในประเทศไทยไม่พบการขึ้นมาวางไข่เป็นเวลานานกว่า 20 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้พบมีเต่าหัวค้อนติดอวนของชาวประมงในจังหวัดสตูล ได้นำกลับมารักษาอาการบาดเจ็บจนหายดีและปล่อยกลับลงทะเลในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2551 ปัจจุบันขึ้นสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

ลักษณะทั่วไปของเต่าหัวค้อน 

     เต่าหัวค้อนมีลักษณะทางกายภาพทั่วไปคล้ายคลึงกับเต่าหญ้าและเต่าตนุ โดยจะมีเกล็ดบนหัวบริเวณด้านหน้าจะมี 2 คู่ ( เหมือนเต่าหญ้า ) มีเกล็ดบนกระดองหลังบริเวณริมกระดองด้านข้างนับได้ 5 เกล็ด หรือเรียกว่า 5 แผ่น ซึ่งลักษณะของเต่าส่วนนี้จะแตกต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่น ๆ

     กระดองมีรูปทรงโค้งมนและจะเรียวแหลมบริเวณส่วนท้ายกระดอง มีสันแเข็งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน กระดองจะมีน้ำตาลอมแดงหรืออมส้ม มีจุดเด่น คือ มีหัวขนาดใหญ่ ส่วนเท้าจะมีเล็บยาวยื่นออกมาข้างละ 1 เล็บ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีกระดองยาวเฉลี่ยประมาณ 85 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม 

วิถีการดำรงชีวิตของเต่าหัวค้อน

     เต่าหัวค้อนมักจะอาศัยตามชายฝั่งน้ำตื้นที่มีอุณหภูมิมากกว่า 20 องศาเซลเซียส อาหารของเต่าทะเลชนิดนี้จะเป็นจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก และสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ โดยมันจะใช้จะงอยปากอันแหลมคมและขากรรไกรที่แข็งแรงเป็นเครื่องมือในการล่าเหยื่อและใช้บดเคี้ยวอาหารที่มีเปลือกหรือกระดองแข็ง 

     ปัจจุบันเต่าหัวค้อนมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจมาจากปริมาณขยะในท้องทะเลที่เพิ่มมากขึ้น สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ภาวะโลกร้อน และการถูกรบกวนจากมนุษย์ ฯลฯ

     อีกทั้งเพศของลูกเต่าจะถูกกำหนดได้โดยอุณหภูมิใต้ผืนทรายบริเวณที่แม่เต่าไปวางไข่ ( ไม่ได้กำหนดด้วยโครโมโซม ) หากอุณหภูมิอยู่ในระดับที่เหมาะสมลูกเต่าก็จะมีสัดส่วนเพศผู้และเพศเมียที่สมดุลกัน โดยถ้ามีอุณหภูมิสูงจะได้ลูกเต่าเพศเมียและถ้าอุณหภูมิเย็นก็จะได้ลูกเต่าเพศผู้ ดังนั้นเมื่อโลกมีสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปก็ย่อมจะส่งผลให้อัตราส่วนของเต่าเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ง่ายขึ้น

 

 

แทงบอล