แมลงทับ สัตว์ที่ใช้เวลาการฟักตัวนานถึงสองปี แต่กลับมีชีวิตเพียงสองสัปดาห์

       แมลงทับ จัดเป็นแมลงปีกแข็งที่อยู่ในวงศ์ Buprestidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Buprestidae มีลักษณะลำตัวรูปทรงโค้งนูน มีปีกแข็งมาก มีหัวขนาดเล็ก บริเวณช่วงปลายหางมีลักษณะเรียว มีหนวดที่เป็นแบบใบไม้ 

       ลักษณะเด่น คือ ตัวแมลงทับมีสีสันสวยงาม ซึ่งแมลงทับจะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแต่ละชนิดจะมีสีสันแตกต่างกันออกไปซึ่งความสวยงามนี้จะมีความแวววาวราวกับอัญมณี ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำเงิน แดง ดำ เขียว และเหลือง จึงทำให้ถูกนำมาทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มากมายมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

       พบว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบบริเวณพื้นที่เขตร้อนและเขตอบอุ่น ปัจจุบันถูกค้นพบมากกว่า 15,000 ชนิด ใน 450 สกุล ยังไม่รวมกับที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วจนกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์กว่า 100 ชนิดโดยบางชนิดมีความยาวมากถึง 77 มิลลิเมตรเลยทีเดียว

การดำรงชีวิตและวิธีการเอาตัวรอดของแมลงทับ

       แมลงทับเป็นแมลงปีกแข็งที่สามารถบินได้เร็วและบินสูงมาก เมื่อเทียบกับแมลงชนิดอื่น ๆ และเมื่อถูกรบกวนจะมีการแกล้งตายเพื่อให้ปลอดภัย โดยการทำตัวนิ่ง ๆ อยู่เฉย ๆ หรือทำตัวให้ร่วงหล่นลงจากต้นไม้ที่เกาะอยู่เพื่อลวงให้ศัตรูตายใจคิดว่าตายแล้ว 

       ในประเทศไทยสามารถพบได้ 2 ชนิด คือ แมลงทับกลมขาเขียว ( Sternocera aequisignata ) สายพันธุ์นี้พบได้มากในบริเวณเขตภาคกลางและอีกสายพันธุ์หนึ่งก็คือ แมลงทับกลมขาแดง ( S. ruficornis ) สายพันธุ์นี้สามารถพบได้มากในโซนภาคอีสาน 

       ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้เป็นประเภทที่ชอบกินใบอ่อนของมะขามเทศ มีสีเขียวเหลือบทอง ลักษณะปีกและลำตัวเป็นมันวาว มีความสวยงามมาก ปัจจุบันนี้ได้มีการนำไปใช้ในงานหัตถกรรมชนิดต่าง ๆ ในโครงการของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การจับคู่ผสมพันธุ์กันของแมลงทับ 

       แมลงทับมีเวลาใช้ชีวิตบนดินที่ค่อนข้างสั้น มักจะจับคู่ผสมพันธุ์กันในช่วงเวลากลางวันโดยในการผสมพันธุ์กันจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการเกี้ยวพาราสีของตัวผู้และการยอมรับของตัวเมีย เมื่อมีการผสมพันธุ์กันเสร็จแล้วตัวผู้จะตายลง ส่วนตัวเมียจะทำหน้าที่วางไข่ตามบริเวณโคนต้นไม้หรือต้นพืชที่สามารถกินเป็นอาหารได้ ส่วนมากจะเป็นบริเวณต้นไผ่เพ็กหรือไผ่โจดโดยจะวางไข่ให้ลึกลงไปในดินประมาณ 1-2 เซนติเมตร วันละ 1-2 ฟอง โดยเมื่อแมลงทับตัวเมียวางไข่เสร็จแล้วก็จะตายลงไปด้วยเช่นเดียวกัน

       แมลงทับวางไข่แล้วจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นจะกลายเป็นหนอนในขั้นที่ 1 2 3 และ 4 ระหว่างนั้นก็จะอาศัยกินรากพืชและเหง้าพืชที่อยู่บริเวณใกล้ๆนั้น จนกระทั่งเข้าสู่วัยที่ 5 ก็จะหยุดกินอาหารแล้วก็สร้างปลอกดินหุ้มตัวเองฝังอยู่ในดินลึกลงไปอีก 5-10 เซนติเมตร ซึ่งในวัยสุดท้ายนี้จะฟักตัวเองได้อย่างยาวนานประมาณ 12 ถึง 15 เดือน จึงจะเข้าฝักเป็นดักแด้แล้วก็จะเป็นดักแด้ต่ออีก 2-3 เดือน เมื่อโตเต็มตัวสวยงามเต็มวัยแล้วก็จะยังคงอาศัยอยู่ในปลอกดินนั้นต่ออีกเกือบเดือนเพื่อให้ปีกแข็งแรง

       โดยจะออกมาสู่โลกภายนอกได้ในช่วงที่มีฝนตกหนักและดินชุ่มเท่านั้น แมลงทับจึงจะออกมาจากดินได้เนื่องจากเมื่อโดนน้ำฝนปลอกดินจะค่อย ๆ อ่อนตัวลงและค่อยๆละลายลง จากนั้นมันจะไต่ขึ้นจากใต้ดินและใช้ชีวิตออกหากินผสมพันธุ์และวางไข่เป็นวงจรชีวิตตามธรรมชาติต่อไป ซึ่งถ้านับดี ๆ แล้วกว่าจรอดมาได้สักตัวต้องใช้เวลาฟักตัวอยู่ได้นานถึง 2 ปี เมื่อตัวโตเต็มวัยก็จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกภายนอกได้เพียงแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น

 

 

 

บาคาร่า888