Categories
ความรู้ แมลง

แมลงทับ สัตว์ที่ใช้เวลาการฟักตัวนานถึงสองปี แต่กลับมีชีวิตเพียงสองสัปดาห์

พฤศจิกายน 2021

       แมลงทับ จัดเป็นแมลงปีกแข็งที่อยู่ในวงศ์ Buprestidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Buprestidae มีลักษณะลำตัวรูปทรงโค้งนูน มีปีกแข็งมาก มีหัวขนาดเล็ก บริเวณช่วงปลายหางมีลักษณะเรียว มีหนวดที่เป็นแบบใบไม้ 

       ลักษณะเด่น คือ ตัวแมลงทับมีสีสันสวยงาม ซึ่งแมลงทับจะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแต่ละชนิดจะมีสีสันแตกต่างกันออกไปซึ่งความสวยงามนี้จะมีความแวววาวราวกับอัญมณี ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำเงิน แดง ดำ เขียว และเหลือง จึงทำให้ถูกนำมาทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มากมายมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

       พบว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบบริเวณพื้นที่เขตร้อนและเขตอบอุ่น ปัจจุบันถูกค้นพบมากกว่า 15,000 ชนิด ใน 450 สกุล ยังไม่รวมกับที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วจนกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์กว่า 100 ชนิดโดยบางชนิดมีความยาวมากถึง 77 มิลลิเมตรเลยทีเดียว

การดำรงชีวิตและวิธีการเอาตัวรอดของแมลงทับ

       แมลงทับเป็นแมลงปีกแข็งที่สามารถบินได้เร็วและบินสูงมาก เมื่อเทียบกับแมลงชนิดอื่น ๆ และเมื่อถูกรบกวนจะมีการแกล้งตายเพื่อให้ปลอดภัย โดยการทำตัวนิ่ง ๆ อยู่เฉย ๆ หรือทำตัวให้ร่วงหล่นลงจากต้นไม้ที่เกาะอยู่เพื่อลวงให้ศัตรูตายใจคิดว่าตายแล้ว 

       ในประเทศไทยสามารถพบได้ 2 ชนิด คือ แมลงทับกลมขาเขียว ( Sternocera aequisignata ) สายพันธุ์นี้พบได้มากในบริเวณเขตภาคกลางและอีกสายพันธุ์หนึ่งก็คือ แมลงทับกลมขาแดง ( S. ruficornis ) สายพันธุ์นี้สามารถพบได้มากในโซนภาคอีสาน 

       ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้เป็นประเภทที่ชอบกินใบอ่อนของมะขามเทศ มีสีเขียวเหลือบทอง ลักษณะปีกและลำตัวเป็นมันวาว มีความสวยงามมาก ปัจจุบันนี้ได้มีการนำไปใช้ในงานหัตถกรรมชนิดต่าง ๆ ในโครงการของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การจับคู่ผสมพันธุ์กันของแมลงทับ 

       แมลงทับมีเวลาใช้ชีวิตบนดินที่ค่อนข้างสั้น มักจะจับคู่ผสมพันธุ์กันในช่วงเวลากลางวันโดยในการผสมพันธุ์กันจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการเกี้ยวพาราสีของตัวผู้และการยอมรับของตัวเมีย เมื่อมีการผสมพันธุ์กันเสร็จแล้วตัวผู้จะตายลง ส่วนตัวเมียจะทำหน้าที่วางไข่ตามบริเวณโคนต้นไม้หรือต้นพืชที่สามารถกินเป็นอาหารได้ ส่วนมากจะเป็นบริเวณต้นไผ่เพ็กหรือไผ่โจดโดยจะวางไข่ให้ลึกลงไปในดินประมาณ 1-2 เซนติเมตร วันละ 1-2 ฟอง โดยเมื่อแมลงทับตัวเมียวางไข่เสร็จแล้วก็จะตายลงไปด้วยเช่นเดียวกัน

       แมลงทับวางไข่แล้วจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นจะกลายเป็นหนอนในขั้นที่ 1 2 3 และ 4 ระหว่างนั้นก็จะอาศัยกินรากพืชและเหง้าพืชที่อยู่บริเวณใกล้ๆนั้น จนกระทั่งเข้าสู่วัยที่ 5 ก็จะหยุดกินอาหารแล้วก็สร้างปลอกดินหุ้มตัวเองฝังอยู่ในดินลึกลงไปอีก 5-10 เซนติเมตร ซึ่งในวัยสุดท้ายนี้จะฟักตัวเองได้อย่างยาวนานประมาณ 12 ถึง 15 เดือน จึงจะเข้าฝักเป็นดักแด้แล้วก็จะเป็นดักแด้ต่ออีก 2-3 เดือน เมื่อโตเต็มตัวสวยงามเต็มวัยแล้วก็จะยังคงอาศัยอยู่ในปลอกดินนั้นต่ออีกเกือบเดือนเพื่อให้ปีกแข็งแรง

       โดยจะออกมาสู่โลกภายนอกได้ในช่วงที่มีฝนตกหนักและดินชุ่มเท่านั้น แมลงทับจึงจะออกมาจากดินได้เนื่องจากเมื่อโดนน้ำฝนปลอกดินจะค่อย ๆ อ่อนตัวลงและค่อยๆละลายลง จากนั้นมันจะไต่ขึ้นจากใต้ดินและใช้ชีวิตออกหากินผสมพันธุ์และวางไข่เป็นวงจรชีวิตตามธรรมชาติต่อไป ซึ่งถ้านับดี ๆ แล้วกว่าจรอดมาได้สักตัวต้องใช้เวลาฟักตัวอยู่ได้นานถึง 2 ปี เมื่อตัวโตเต็มวัยก็จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกภายนอกได้เพียงแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น

 

 

 

บาคาร่า888

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

ปลาเทวดาสกาแลร์ ปลาประดับทรงสวยหลากสีสันที่ใครเห็นเป็นต้องชอบ

พฤศจิกายน 2021

       ปลาเทวดาสกาแลร์ ( Anggelfish , Freshwater angelfish ) หรือ ปลาเทวดา เป็นปลาที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาหมอสี ( Cichlidae ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pterophyllum scalare เป็นปลาน้ำจืดที่มีลักษณะลำตัวและสีสันสวยงามโดยลำตัวจะเป็นสีเทาอมเขียว เวลาที่ขยับตัวแหวกว่ายจะมีประกายเงินไปทั่วทั้งตัวสวยงามมาก ในบางครั้งสามารถพบเห็นปลาชนิดนี้มีจุดสีแดงเล็ก ๆ กระจายอยู่บริเวณช่วงไหล่ด้วย ลวดลายบริเวณแผ่นหลังจะมีสีน้ำตาลปนสีเขียวมะกอกและจะมีความสวยงามมากเมื่อต้องกับแสงแดดหรือแสงไฟ

       ในส่วนของขนาดลำตัวปลาชนิดนี้มักจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลำตัวค่อนข้างแบนมาก ลวดลายข้างลำตัวจะเป็นลายคาดมีแนวเส้นจำนวน 4 เส้น พาดผ่านมองเห็นได้ชัดเจน และจะมีลายเส้นเล็ก ๆ สั้น ๆ มีสีจาง ๆ คั่นอยู่ในแต่ละเส้นนั้นด้วย โดยเส้นสั้นนั้นจะมีทั้งหมด 3 เส้น ทุกเส้นจะมีสีดำ-เทาแก่ เมื่อปลามีขนาดโตเต็มที่จะมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 6 นิ้ว พบว่ามีแหล่งกระจายพันธุ์อยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำอเมซอน แม่น้ำโอริโนโค มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูงโดยเฉพาะบริเวณที่มีพืชน้ำขึ้นอยู่หนาแน่น ซึ่งปลาชนิดนี้จะชอบมากเป็นพิเศษ

ลักษณะที่แตกต่างกันของปลาสกาแลร์ แม้จะเป็นปลาชนิดเดียวกันแต่มีสีสันกลับไม่เหมือนกัน

       ในเวลาต่อมาได้มีการเพาะพันธุ์ปลาเทวดาสกาแลร์มาเรื่อย ๆ จนมีลวดลายและสีสันหลากหลายแตกต่างไปจากปลาสายพันธุ์ดั้งเดิม จึงมีการตั้งชื่อให้ตรงตามลักษณะของตัวปลาดังนี้

-ปลาเทวดามุก มีลำตัวมีสีเหลืองอ่อน ๆ ทั่วทั้งตัว ไม่มีลวดลาย

-ปลาเทวดาครึ่งชาติ มีผิวด้านบนสีขาว ท่อนล่างสีดำ

ปลาเทวดาแพลตทินัมทอง

-ปลาเทวดาแพลตทินัมทอง มีตัวสีเหลือบขาวทอง ตาสีแดง

-ปลาเทวดาแพลตทินัมเงิน มีตัวสีขาวสะอาดแวววาว ตาสีดำ

-ปลาเทวดาดำ มีตาสีดำ ตัวสีดำทั้งตัว มีครีบสั้น

-ปลาเทวดาหินอ่อน มีลวดลายดำสลับขาวตัดไปทั่วลำตัว คล้ายลายหินอ่อน ฯลฯ

การผสมพันธุ์และการขยายพันธุ์ของปลาเทวดาสกาแลร์

       ปลาเทวดาสกาแลร์เป็นปลาที่ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ขยายในตู้เลี้ยงได้แล้วโดยจะมีการวางไข่อยู่ตามวัสดุหรือพื้นผิวเรียบเรียงกันเป็นแถว เบ่งไข่ครั้งละประมาณ 10-15 ฟอง เมื่อปลาเทวดาวางไข่เสร็จแล้ว ปลาตัวเมียก็จะว่ายน้ำออกมา จากนั้นตัวผู้ก็จะว่ายเข้าไปค่อย ๆ ปล่อยน้ำเชื้อใส่ในเม็ดไข่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะว่ายถอยออกมาหลีกทางให้ปลาตัวเมียกลับเข้าไปอีก โดยจะทำเช่นนี้สลับกันไปจนไข่หมดท้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง ในการวางไข่และการผสมไข่แต่ละครั้ง ซี่งในการวางไข่แต่ละครั้งจะให้ไข่ทั้งหมดประมาณ 200-500 ฟอง 

ลูกปลาเทวดาที่พึ่งฟักออกจากไข่ได้ไม่นาน

       หลังจากผสมเรียบร้อยแล้วเหล่าคุณพ่อปลาและคุณแม่ปลาก็ช่วยกันดูแลรักษาไข่ลูกน้อยของตนโดยจะคอยพัดโบกน้ำใกล้ ๆ กับบริเวณที่วางไข่เป็นระยะ ๆ เพื่อให้มีออกซิเจนส่งไปยังลูกน้อยให้ลูกปลาหายใจได้อย่างสะดวกและจะคอยทำความสะอาดบริเวณที่วางไข่โดยหากไข่ใบไหนเสียก็จะเก็บไข่นั้นกิน

       ปลาเทวดาจะใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 48 ชั่วโมง เมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่แล้วก็จะเกาะอยู่ตามพื้นหรือวัสดุต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น กิ่งไม้ ขอนไม้ ก้อนหินต่าง ๆ ซึ่งในระยะที่ฟักตัวออกมาใหม่ ๆ ลูกปลาจะยังชีพโดยอาศัยกินอาหารจากถุงไข่แดงขนาดใหญ่ที่มีอยู่ เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 วันอาหารจากถุงไข่แดงหมดลง ลูกปลาก็จะว่ายน้ำไปรวมกับฝูงเพื่อออกหาอาหาร โดยในช่วงนี้ลูกปลาจะยังว่ายวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ พ่อและแม่เพื่อให้พ่อแม่คอยปกป้องดูแลให้ความปลอดภัยไปจนถึงเมื่อเจริญเติบโตพอสมควรจึงจะแยกออกไปหาอาหารด้วยตนเอง เมื่อวางไข่ชุดแรกไปแล้วแม่ปลาจะใช้เวลาอีกประมาณ 25-30 วัน สำหรับการเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ใหม่อีกครั้ง

 

 

slot wallet ไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ สัตว์ปีก

นกคอกคาทีล นกป่าปากขอสีสวยเด่น เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้ดูเล่นแก้เหงา 

พฤศจิกายน 2021

      นกคอกคาทีล ( Cockatiel ) จัดเป็นนกปากขอขนาดเล็กที่อยู่ในวงศ์ของนกกระตั้ว ( Cacatiidae ) ซึ่งในวงศ์นี้เจ้านกชนิดนี้จัดเป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุด มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Nymphcus hollandicus มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณแถบประเทศออสเตรเลียโดยมักจะอาศัยอยู่ตามบริเวณทุ่งโล่งที่ใกล้แหล่งน้ำ เป็นสัตว์สังคมที่มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรืออยู่เป็นคู่ ลักษณะการบินจะค่อนข้างมีเสียงดังจนสามารถได้ยินชัดเจน อาหารจะเป็นประเภทเมล็ดหญ้า เมล็ดพืชล้มลุก ผลไม้ และลูกไม้ขนาดเล็กที่มีอยู่ทั่วไปในป่า

ลักษณะของนกคอกคาทีลที่พบได้ทั่วไป 

      เมื่อนกคอกคาทีลโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตรโดยนกคอกคาทีลตัวผู้จะมีสีบริเวณลำตัวเป็นสีเทา ส่วนปีกจะเป็นแถบสีขาว บริเวณหัวจะมีสีเหลืองอ่อน แก้มจะมีสีส้มแต้มอยู่มองเห็นเด่นชัด 

      ลักษณะของนกคอกคาทีลตัวเมียจะค่อนข้างคล้ายกับตัวผู้แต่บริเวณหัวจะมีสีเหลืองอมเทาและบริเวณแก้มที่เป็นสีส้มนั้นสีจะสีไม่เด่นชัดเท่ากับตัวผู้ บริเวณหางจะเป็นสีเหลืองมีลายขีดสีเทาขวางอยู่ซึ่งตัวผู้ไม่มี การแยกตัวผู้หรือตัวเมียจึงสามารถมองที่จุดสีส้มที่แก้มและละลายของหางได้นั่นเอง นกชนิดนี้จะมีอายุเฉลี่ยอยู่ได้ประมาณ 10-14 ปี ( กรณีอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ )น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัยจะสามารถดักได้ประมาณ 70 ถึง 120 กิโลกรัม

      ปัจจุบันนี้นิยมนำมาเพาะพันธุ์ขายเป็นสัตว์เลี้ยงโดยการเพาะพันธุ์นั้น ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ที่มีสีสันและลวดลายสวยงามกว่าสายพันธุ์เดิม 

การผสมพันธุ์และการสืบพันธุ์ของนกคอกคาทีล

      นกคอกคาทีลผสมพันธุ์กันอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อวัน เป็นสัตว์ที่มีการผสมพันธุ์กันค่อนข้างบ่อยหลังจากการผสมพันธุ์จะสังเกตได้ว่านกคอกคาทีลตัวเมียมักจะมีอาการเข้าออกในรังบ่อยกว่าปกติหรือมักจะหนีหลบไปอยู่ในรังปลีกวิเวกเป็นเวลานาน ๆ นั่นก็คือเป็นลักษณะของนกที่กำลังจะมีการวางไข่ โดยในการวางไข่แต่ละครั้งตัวเมียสามารถให้ไข่ได้ครั้งละประมาณ 5-6 ฟองเลยทีเดียว

      ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงนกคอกคาทีลเอาไว้เป็นเพื่อนแก้เหงาจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับนิสัยและธรรมชาติของนกชนิดนี้ให้มาก เนื่องจากนกชนิดนี้ต้องการความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอในกรณีที่นกไม่สบายมันจะไม่ค่อยแสดงอาการออกมาสักเท่าไหร่นักผู้เลี้ยงควรสังเกตว่าหากนกของตนมีลักษณะอาการที่แปลกไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร แนะนำให้พาไปพบสัตวแพทย์ที่มีความรู้ทางด้านเกี่ยวกับนกทันที ซึ่งโรคที่ควรระวังในนกชนิดนี้ก็มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น 

-โรคใครติด คือ ลักษณะของการติดไข่ยาก 

-โรคติดเชื้อเอเวียนโปลิโอ คือ จะมีอาการท้องโต ไม่กินอาหาร ซึม และก็ตายลง

-โรคเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล คือ อาการที่นกเป็นอัมพาต มีลักษณะคอบิด-คอเอียงอย่างเห็นได้ชัด 

      นอกจากนี้ก็ยังมีโรคอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้หยิบยกมากล่าวถึง และไม่ว่าเราจะเลี้ยงสัตว์ชนิดไหนก็ตามผู้เลี้ยงควรมีการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอและควรมีความรู้เกี่ยวกับสัตว์ที่ต้องการนำมาเลี้ยงด้วย เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่กับเราได้อย่างมีความสุข และมีอายุที่ยืนยาว

 

 

สล็อต วอเลทไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

หอยงวงช้างกระดาษหอยอาภัพกับชีวิตที่มีอยู่เพื่อสืบพันธุ์แล้วก็ตาย

พฤศจิกายน 2021

     หอยงวงช้างกระดาษ ( Paper nautilus , Argonaut )จัดอยู่ในประเภทหมึกจำพวกหมึกสาย อยู่ในสกุล Argonauta ถึงแม้ใครๆจะเรียกว่าเป็นหอยงวงช้างแต่กลับไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในสกุลของหอยงวงช้าง 

     เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลทั้งในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนสามารถพบได้ตั้งแต่ระดับผิวน้ำไปจนถึงน้ำลึกในระดับประมาณ 100 เมตร โดยมากจะอาศัยลอยตัวไปตามกระแสน้ำบ้างว่ายน้ำไปเองบ้าง โดยในบางครั้งจะสามารถพบหอยงวงช้างกระดาษตัวเมียยึดเกาะกับวัตถุในน้ำหรือเกาะกลุ่มกันเอง ซึ่งจะมีจำนวนประมาณ 20 ถึง 30 ตัว เพื่อออกหาอาหารในเวลากลางวัน และอาหารที่ออกล่ามักจะเป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก

     ในน่านน้ำไทยมีการสำรวจพบจำนวน 3 ชนิด มีเปลือกที่สวยงามแปลกตามักนำเปลือกไปตกแต่งบ้านและมีการล่านำมาเป็นอาหารของมนุษย์บ้างในบางประเทศ มีศัตรูนักล่าจำพวกปลาทูน่า ปลาโลมา และปลากระโทง

ลักษณะทางกายภาพของหอยงวงช้างกระดาษ หอยที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก

     ลักษณะของหอยงวงช้างตัวเมียจะมีเปลือกหุ้มตัวเพื่อใช้สำหรับวางไข่และฟักไข่ มีตัวขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ในส่วนของหอยงวงช้างกระดาษตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมียมากและไม่มีเปลือกหุ้มตัว

     โดยลักษณะของเปลือกหอยจะมีลักษณะบางเบา เปราะ แตกหักง่าย มีลักษณะม้วนเป็นวงในแนวราบ โดยในเกลียวแรก ๆ ที่อยู่ด้านในสุดจะมีสีน้ำตาลเข้มและค่อยๆจางออกเป็นสีขาวหมุนเกลียวสุดท้าย ผิวเปลือกหอยมีลักษณะไม่เรียบ เป็นร่องริ้วตามแนวขวางและเป็นเส้นหยักทำให้เห็นเป็นลอนคลื่นเล็ก ๆ ชัดเจน และด้วยความที่ส่วนเปลือกเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีลักษณะเปราะบางแตกหักง่ายคล้ายกระดาษจึงเป็นที่มาของชื่อ หอยงวงช้างกระดาษ นั่นเอง

     ส่วนลำตัวนั้นจะมีส่วนหัวและลำตัว บริเวณหัวจะมีตาขนาดใหญ่ 1 คู่ รอบปากจะมีหนวดประมาณ 8 เส้น ไม่มีครีบตามลำตัว โดยตัวเมียจะมีลำตัวรูปทรงรี หัวเล็ก นวดคู่แรกจะมีลักษณะแบน ตัวผู้จะมีลักษณะลำตัวกลมคล้ายถุง

การผสมพันธุ์และการขยายพันธุ์ของหอยงวงช้างกระดาษ

     หอยงวงช้างกระดาษสืบพันธุ์ได้โดยจะมีการจับคู่กัน ให้หอยงวงช้างกระดาษตัวเมียวางไข่ไว้ในเปลือก ไข่มีลักษณะเป็นไข่เดี่ยวโดยในแต่ละฟองจะมีตัวอ่อนเพียงตัวเดียวอยู่ในนั้น ตัวอ่อนจะฟักออกมาจากไข่มีลักษณะคล้ายกับตัวที่โตเต็มวัย 

     เมื่อโตเต็มที่มีขนาดตัวประมาณ 10 ถึง 30 เซนติเมตร หากเป็นตัวเมียจะมีหนวดสั้นๆ ถ้าหากเป็นตัวผู้จะมีความยาวเพียง 2 เซนติเมตร ไม่พบหนวด

     การผสมพันธุ์ของหอยงวงช้างกระดาษจะใช้เวลาไม่นานโดยตัวผู้จะใช้หนวดเกาะไว้กับตัวเมียแล้วจะทำการบรรจุสเปิร์มไว้ให้ตัวเมีย ตัวเมียจะสะสมสเปิร์มของตัวผู้เอาไว้ซึ่งก็สามารถสะสมเอาไว้ได้ทีละหลาย ๆ ตัว และจะทำการปฏิสนธิเมื่อเวลาผ่านไป โดยจะมีการวางไข่เป็นสายพันไปรอบ ๆ เปลือก เพื่อที่จะสามารถที่ดูแลลูกน้อยได้จนกว่าจะฟักตัว ในส่วนของตัวผู้นั้นวงจรชีวิตหอยงวงช้างกระดาษช่างอาภัพและแสนสั้น คือ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้วก็จะตายลง โดยทิ้งให้ตัวเมียและลูกน้อยดำเนินชีวิตกันเองต่อไป

 

 

สล็อต วอเลทไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ แมลง

ด้วงเต่าลาย แมลงห้ำตัวจำกัดศัตรูพืชชั้นดี แมลงสีสดสวยที่ชาวเกษตรกรชื่นชอบ

พฤศจิกายน 2021

ด้วงเต่าลาย-(-Ladybird-beetles-,-Ladybugs-)

      ด้วงเต่าลาย ( Ladybird beetles , Ladybugs ) หรือที่เรียกว่า เต่าทอง เป็นแมลงปีกแข็งที่อยู่ในวงศ์ Coccinellidae มีลักษณะเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ตัวอ้วนกลม ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะพบชนิดที่มีปีกสีแดง ส้ม เหลือง และมักจะมีลวดลายเป็นจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วปีก เมื่อมองดูจะมีลักษณะโค้งนูนคล้ายหลังเต่าและมีหนวดแบบลูกตุ้ม จึงเป็นที่มาของชื่อ เต่าทอง พบว่ามีถิ่นการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย

การใช้ชีวิตของด้วงเต่าลายแมลงสีสวยตัวจิ๋ว

ด้วงเต่าลาย-(-Ladybird-beetles-,-Ladybugs-)

      ด้วงเต่าลายจะมีรูปร่างลักษณะและสีสันที่แตกต่างกันออกไป บางชนิดจะมีสีเหมือนกันทั้งตัว เช่น สีน้ำตาล สีดำ สีส้ม บางชนิดก็จะเป็นลายหรือจุดบนลำตัว โดยส่วนใหญ่จะเป็นตัวห้ำมีน้อยชนิดที่เป็นศัตรูพืช ( แมลงตัวห้ำ คือ แมลงที่หากินเหยื่อที่เป็นแมลงด้วยกันเป็นอาหาร ชาวเกษตรกรนิยมใช้ประโยชน์จากตัวห้ำในการกำจัดศัตรูพืชโดยการปล่อยให้ลงไปกินแมลงศัตรูพืชที่มีอยู่ในสวน ) 

ด้วงเต่าลาย-(-Ladybird-beetles-,-Ladybugs-)

      เต่าทองมีลักษณะเป็นแมลงห้ำทั้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนและตัวโตเต็มวัย สามารถทำลายแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ไรศัตรูพืช รวมทั้งไข่ของแมลงศัตรูพืชอีกหลายชนิด นอกจากเต่าทองจะกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารหลักแล้ว ในยามที่ขาดแคลนอาหารก็ยังสามารถกินน้ำหวานที่แมลงกลั่นออกมา (Honeydew) และน้ำหวานจากเกสรดอกไม้เพื่อประทังชีวิตด้วย

วงจรชีวิตและการสืบพันธุ์ของด้วงเต่าลาย

ด้วงเต่าลาย-(-Ladybird-beetles-,-Ladybugs-)

      ด้วงเต่าลายตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่กระจุกกันเป็นกลุ่มโดยจะเรียงเป็นแถวอย่างมีระเบียบ ในบางครั้งอาจจะวางไข่เป็นแบบเป็นฟองเดี่ยว ๆ บนต้นพืช ใบพืช และชอบวางไข่บริเวณที่มีเหยื่ออยู่ทำให้ง่ายต่อการออกหาอาหาร 

      ไข่ด้วงเต่าลายมีหลากหลายสี ตั้งแต่สีครีม เหลืองอ่อน เหลืองแก่ ส้ม หรือสีแดง แล้วแต่ชนิด และจะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 2 – 3 วัน เมื่อตัวอ่อนฟักออกจากไข่จะมีรูปร่างยาวรี ในช่วงที่ยังเป็นตัวอ่อนจะแบ่งออกเป็น 4 วัย หลังจากนั้นจะหดตัวกลับเข้าเป็นดักแด้ซึ่งระยะเวลาที่เป็นดักแด้จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อออกจากดักแด้ 2 – 3 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ( แม้เพียงครั้งเดียว ) ก็สามารถจะวางไข่ที่สมบูรณ์ได้ตลอดชีวิต

ด้วงเต่าลาย-(-Ladybird-beetles-,-Ladybugs-

      ด้วงเต่าลายที่ตัวโตเต็มวัยจะมีอายุอยู่ได้ 1 – 2 เดือน หากอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม มีอาหารสมบูรณ์ ตัวเมีย 1 ตัว จะสามารถวางไข่ได้มากถึง 900 – 1,000 ฟองเลยทีเดียว และในระยะที่เป็นตัวอ่อนจนถึงตัวโตเต็มวัยด้วงเต่าลายหนึ่งตัวจะสามารถกินเพลี้ยอ่อนเฉลี่ยประมาณ 1,167 ตัว จึงไม่แปลกที่ชาวเกษตรกรจะชื่นชอบและสะสมเจ้าตัวจิ๋วนี้เอาไว้ในสวน จัดว่าเป็นวิธีการพึ่งพากันแบบน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอย่างสมบูรณ์

 

 

 

สล็อตผ่านวอเลท ไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ สัตว์บก

Common Marmoset ลิงมาโมเสท ลิงไซส์มินิ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่คนนิยมเลี้ยง

พฤศจิกายน 2021

Common-Marmoset-ลิงมาโมเสท

      ลิงมาโมเสท( Common Marmoset ) เป็นลิงจิ๋วที่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ Cebidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Collithrix jacchus มีถิ่นอาศัยอยู่ป่าเขตร้อนทางภาคตะวันออกของบราซิล ตามป่าผลัดใบและกึ่งผลัดใบ จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 500-700 กรัม มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 29-30 5 เซนติเมตร มีสีขาวบริเวณด้านข้างของหัว ลำตัวมีขนสั้นสีเทาและลายสีเทาเข้ม หางยาวมีสีเทาจางสลับกับสีเทาเข้ม เสียงร้องของลิงมาโมเซทนั้นจะร้องเสียงแหลมคล้ายเสียงผิวปากหรือเสียงนกหวีด 

การเข้าสังคม การหาอาหาร และการเอาตัวรอดของลิงมาโมเสท Common Marmoset

Common-Marmoset-ลิงมาโมเสท

      ลิงจิ๋วเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลาย ชอบออกหากินตอนกลางวัน โดยมักจะเป็นจำพวกผลไม้ แมลง ไข่นก สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก รวมทั้งนกขนาดเล็กด้วย ลิงมาโมเสทชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 3 ถึง 8 ตัว โดยเจ้าลิงจิ๋วจะอาศัยอยู่บนต้นไม้สามารถกระโดดจากต้นไม้กิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่งได้ในระยะที่ไม่ไกลมากนัก ช่วงกลางคืนจะซ่อนตัวตามโพรงไม้และพุ่มไม้เพื่อหลบหลีกจากศัตรูที่จะมาทำอันตราย

ช่วงการสืบพันธุ์ของลิงมาโมเสท Common Marmoset

      ลิงจิ๋วจะเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ในช่วงอายุระหว่าง 15 -17 เดือน การสืบพันธุ์ของลิงมาโมเสทนั้นจะคล้ายกับการสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ไม่มีฤดูกาลในการผสมพันธุ์ แต่หลัก ๆ คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน และระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม 

Common-Marmoset-ลิงมาโมเสท

      ตัวเมียมักจะแสดงลักษณะทางเพศโดดเด่นเมื่อมันโตเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์ ตัวผู้นั้นจะมีการคัดเลือกตัวเมียที่โดดเด่นในฝูงให้ได้รับการสืบพันธุ์ต่อไป และตัวผู้ที่โดดเด่นกว่าตัวอื่น ๆ ก็จะได้รับการผสมพันธุ์มากกว่าเช่นเดียวกัน เมื่อมีการผสมพันธุ์กันแล้วลิงตัวเมียจะมีระยะเวลาในการตั้งท้องนาน 142 ถึง 150 วัน ให้ลูกครั้งละ 1 ถึง 3 ตัว ปีละ 2 ครั้ง เมื่อแรกเกิดลูกลิงมาโมเซทที่เกิดมานั้นมักจะโดนขโมยหรือฆ่าโดยลิงจากฝูงอื่น แม้ว่าแม่ลิงจะพยายามปกป้องลูกน้อยมากสักเพียงใดแต่ก็ไม่อาจจะปกป้องลูกน้อยได้ทุกครั้งทำให้อัตราการรอดของลูกลิงมีน้อยลง

      อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้มีการนำลิงชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงกันทั่วโลก และแม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีการซื้อขายกันในราคาสูงแต่จำนวนประชากรลิงชนิดนี้กลับลดน้อยถอยลง เป็นเหตุให้ถูกจัดอยู่ในสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

 

เว็บสล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา วอเลท

Categories
ความรู้ สัตว์บก

ชินชิล่า Chinchilas สัตวเลี้ยงน่ารักที่ไม่รู้จะเรียกว่าหนูหรือกระต่ายดี ?

พฤศจิกายน 2021

ชินชิล่า-Chinchilas

      ชินชิล่า ( Chinchilas ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Chinchilla lanigera เป็นสัตว์เมืองหนาวที่จัดอยู่ในจำพวกสัตว์ฟันแทะ มีถิ่นอาศัยดั้งเดิมอยู่ตามที่ราบสูงในทวีปอเมริกาใต้ แถบเทือกเขาแอนดีสทางตอนเหนือของประเทศชิลี บราซิล และอาร์เจนติน่า โดยมักพบได้ตามพื้นที่ราบสูงทั่วไป

      เป็นสัตว์ที่นิยมอย่างมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเกือบสูญพันธุ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาในปี ค.ศ.1923 Mathias F. Chapman วิศกรเหมืองแร่ชาวอเมริกาก็ได้นำชินชิล่ากลับมาเพาะเลี้ยงยังประเทศอเมริกาทั้งหมดจำนวน 11 ตัว ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ไปยังประเทศต่าง ๆ ในบ้านเราเองก็กำลังได้รับความนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน

      โดยลักษณะของเจ้าหนูตัวนี้จะมีลักษณะหูที่กางใหญ่คล้ายกับหูของหนู แต่รูปร่างตัวจะคล้ายกับกระต่าย มีขนหนาและฟู สีขนจะมีความแตกต่างกันไป ส่วนหางจะมีลักษณะเป็นพวงคล้ายกับหางของกระรอก มองโดยรวมแล้วจึงมีลักษณะเป็นลูกผสมระหว่างกระต่ายกับกระรอก

นิสัยของชินชิล่า Chinchilas น่ารักแค่ไหนนะ?

ชินชิล่า-Chinchilas

      หนูชินชิล่าจัดเป็นสัตว์ที่รักความสงบ ไม่ดุร้าย ชอบสำรวจ ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม และจะคอยเตือนภัยให้กันโดยมันจะฟังเสียงและส่งเสียงเตือนภัยไปยังเพื่อนๆเมื่อพบว่ามีอันตรายที่ใกล้จะถึงตัว ชอบออกหากินในตอนกลางคืนโดยอาหารก็จะเป็นประเภทหญ้าและเมล็ดพืชต่าง ๆ รวมถึงแมลงตัวเล็ก ๆ ด้วย

      ชินชิล่านิสัยซุกซน อยากรู้ อยากเห็น ชอบกระโดดสูง ๆ มันมักจะใช้ 2 ขาหน้าจับแกะเปลือกอาหารเหมือนเราใช้มือหยิบจับอาหารทานนั่นเอง หางเป็นพวงชอบยืน 2 ขา หากทำให้กลัวหรือโกรธจะปล่อยกลิ่นออกมาจากต่อมที่ anus ซึ่งจะมีกลิ่นคล้ายกับเมล็ดอัลมอนด์เผาหรือวิตามิน ชินชิลล่าตัวเมียสามารถสเปรย์ปัสสาวะเมื่อโกรธหรือกลัวได้ โดยมันจะลุกขึ้นยืนด้วย 2 ขาหลังหรือกระโดดก่อนจากนั้นจะเริ่มปล่อยกลิ่นออกมา อีกทั้งยังมีการสลัดขนออกมาเมื่อมีอาการหวาดกลัวอีกด้วย

วัยเจริญพันธุ์และการสืบพันธุ์ของชินชิล่า Chinchilas

ชินชิล่า-Chinchilas

      ชินชิล่าตัวผู้จะโตเต็มที่เมื่ออายุ 8 เดือน ส่วนตัวเมียจะช้ากว่าเล็กน้อยคือ เมื่ออายุครบ 8 เดือนครึ่ง โดยธรรมชาตแล้ว จะมีการผสมพันธุ์ตามฤดูกาลโดยจะมีการเป็นสัตว์หลายรอบด้วยกัน ซึ่งจะมีวงรอบการเป็นสัดอยู่ที่ 28 วัน ทำให้ชินชิล่าสืบพันธุ์ได้เรื่อย ๆ เมื่อมีการผสมพันธุ์กันแล้วชินชิลล่าตัวเมียจะตั้งท้องเป็นเวลา 111 วัน จึงจะให้กำเนิดลูกน้อยและสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป

 

 

 

ฝากวอเลทไม่มีขั้นต่ํา