Categories
ความรู้ สัตว์บก

พารู้จักกับหนูผีจิ๋ว สัตว์ตัวเล็กที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก

วันนี้เราจะพูดถึงเรื่องราวของหนูผีจิ๋วกัน สัตว์ตัวเล็กกระจ้อยร่อยที่พบเจอได้ยากมากขั้นในปัจจุบัน แต่หากมีพื้นที่สมบูรณ์มากพอการเจอพวกเขาไม่ยาก ส่วนที่กำลังสนใจและน่าจะหาโอกาสเจอพวกเขาได้ยาก วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเจ้าตัวจิ๋วตัวนี้มาให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น และรับประกันว่าหลังจากได้ข้อมูลจากเราแล้ว ทันทีที่เจอพวกเขาจะไม่ทำร้ายเขาอีกต่อไป โดยข้อมูลน่าสนใจของพวกเขามีดังนี้

หนูผีจิ๋ว คืออะไร มีข้อมูลส่วนไหนน่าสนใจกันบ้าง 

สำหรับหนูผีจิ๋ว จัดอยู่ในโหมดของหนูผีอีกชนิดหนึ่ง โดยเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งหากไม่ได้สังเกต หรือไม่เคยรู้จักมาก่อนอาจจะมองว่าเป็นสัตว์ประเภทอื่นด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังจัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับตุ่น และเพื่อไม่ให้เสียเวลามาดูกันว่าข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับพวกเขาที่ต้องรู้มีเรื่องไหนกันบ้างดังนี้

ลักษณะทั่วไป 

เริ่มต้นกันด้วยลักษณะทั่วไปของหนูผี (Dwarf shrew) จะมีลักษณะที่ชี้ชัดคือมีเท้าหลังสั้นมาก และมีสีคล้ำในตัวเต็มวัย จมูกแหลมยาวมาก ตามีขนาดเล็กมาก ใบหูมีขนาดใหญ่ไม่ค่อยพอดีกับตัวมากนัก ส่วนกะโหลกลาดแบน โดยจะมีความยาวของลำตัวจากจมูกถึงรูทวารเพียงแค่ 4.5.6 เซนติเมตร เท่านั้น ส่วนน้ำหนักสูงสุดที่ 1.8 กรัม มีอายุได้ประมาณ 16 เดือนเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุค่อนข้างสั้นอย่างมาก ส่วนเหตุผลที่ทำให้พวกเขาโดนจับบ่อย ๆ เพราะเป็นสัตว์ที่หูและตาไม่ดีเอาเสียเลย ทำให้การหาอาหารของพวกเขาจึงมาจากการดมกลิ่นเป็นหลัก

พื้นที่อาศัย

พื้นที่อาศัยของ Etruscan pygmy shrew โดยทั่วไปจะพบได้ตั้งแต่กว้างมาก เพราะสามารถอาศัยได้ทั้งเอเชียและยุโรป ซึ่งในประเทศไทยเจอได้เกือบทุกภาคยกเว้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากว่าเป็นสัตว์ที่ชอบทำรังใต้ดินและในพงหญ้าเป็นหลัก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีความชื้นและเปียก 

อุปนิสัยใจคอ 

ทั้งนี้สำหรับอุปนิสัยทั่วไปของพวกเขาคือเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างดุร้าย ชอบกัดกันเอง โดยมีท่าขู่ประจำตัวคือ ยืน 2 ขา และส่งเสียงร้องแหลมเล็กให้อีกฝ่ายกลัว และหากได้จังหวะกัดเมื่อไหร่จะเลือกกัดที่หางหรือขาหลังก่อนอันดับแรก โดยจะกัดเป็นวงกลมไปเรื่อย ๆ พร้อมกันนั้นจะส่งเสียงขู่ใส่ตลอดเวลาอีกด้วย

อาหารของหนูผี 

ส่วนเรื่องของอาหารของพวกเขาจะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ในกลุ่มของ มด แมลง และปลวก โดยจะหากินบนพื้นดิน โดยจะออกหากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน การหากินจะหากินเพียงลำพัง ไม่ค่อยหากินเป็นหมู่คณะเหมือนสัตว์ชนิดอื่น ๆ 

ข้อมูลอื่น ๆ และประโยชน์ที่ได้จากหนูผี 

ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องรู้มีอีกหลายข้อด้วยกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการหาข้อมูลเกี่ยวกับหนูผีมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งข้อมูลที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ก็คือ 

  • หนูผีบางชนิดมีพิษ ซึ่งพิษของพวกเขาจะมีกลิ่นเหม็นอย่างมาก และพิษที่ส่งต่อยังสัตว์ที่โดนกัดคือจะทำให้เป็นอัมพาตทันที 2-3 วัน 
  • เป็นสัตว์ที่ใช้เวลาหากิน 3 ชั่วโมง และนอนหลับพักผ่อนทั้งหมด 3 ชั่วโมง โดยวงจรเวลาของพวกเขาจะมีผลต่อการดำรงชีวิตอยู่นั่นเอง 
  • หนูผีจิ๋วเป็นหนึ่งใน 385 สายพันธุ์ในกลุ่มหนูผีทั่วทั้งโลก 
  • หากพบเจอในบ้านไม่ควรทำร้ายเขาเพราะพวกเขากำลังช่วยกำจัดมด แมลง และปลวกในบ้านให้คุณ โดยไม่ทำลายข้าวของภายในบ้านให้เกิดความเสียหาย 
  • หนูผีเป็นสัตว์ที่รักความสะอาดไม่สกปรกเลยด้วยซ้ำ

สรุป สัตว์ตัวจิ๋วที่มีเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ค่อยจิ๋วเท่าไหร่นัก 

เห็นไหมว่าหนูผีจิ๋วถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก แต่เรื่องราวของพวกเขากลับไม่เล็กเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นหากเจอพวกเขาไม่ควรทำร้าย และควรปล่อยให้พวกเขาหากินไปตามธรรมชาติดีกว่า ส่วนใครที่ตั้งใจว่าจะเลี้ยงสามารถทำได้เช่นกัน เพราะพวกเขายังไม่ถูกบรรจุให้เป็นสัตว์คุ้มครอง เพียงแต่ต้องทำใจให้ได้ว่าพวกเขามีอายุค่อนข้างสั้นมาก animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

แมงดาทะเล สัตว์กินได้ แต่ต้องระวังสายพันธุ์มีพิษ เพราะพิษแรงอาจถึงตายได้

แมงดาทะเล เป็นสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในทะเล มีการกระจายพันธุ์ในวงกว้าง ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีอยู่จำนวนมากเลยทีเดียว โดยสัตว์ชนิดนี้สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลายเมนู โดยเฉพาะเมนูนำไข่แมงดาสุดแซ่บ ที่ไม่ว่าใครได้ลองแล้วก็ต้องติดใจอย่างแน่นอน แต่อยากจะเตือนว่าหากเลือกผิดชนิด ชีวิตเปลี่ยนทันที

เนื่องจากว่าแมงดาทะเลมีทั้งแบบชนิดกินได้ไม่มีพิษ และชนิดที่กินไม่ได้ มีพิษอันตรายเรียกว่าสาร Tetrodotoxin และ Saxitoxin ที่อยู่ในเนื้อ และไข่ของมัน ไม่สามารถทำลายความเป็นพิษได้ด้วยความร้อนและเมื่อเผลอกินเข้าไปแล้วจะมีอาการปากชา พูดไม่ได้ และแขนขาชา หายใจไม่ออก ถ้าได้รับพิษในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นใครที่จะกินแมงดาทะเลไม่ว่าเนื้อหรือไข่ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

แมงดาทะเล ข้อมูลเพิ่มเติมที่ควรทราบ

แมงดาทะเล เป็นอีกหนึ่งสัตว์น้ำที่ได้ยินชื่ออยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ผู้บริโภคได้รับสารพิษจากสัตว์ชนิดนี้เมื่อกินเนื้อและไข่ของมันเข้าไปทำให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย เสี่ยงเสียชีวิตได้ จนมีการเตือนกันว่าควรหลีกเลี่ยงการบริโภค ซึ่งวันนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับสัตว์ชนิดนี้ให้มากขึ้น พร้อมวิธีการจำแนกชนิดที่มีพิษ และไม่มีพิษ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

ลักษณะแมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างโดดเด่น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหน้า และส่วนท้อง บริเวณด้านหน้าจะมีรูปทรงโค้งครึ่งวงกลม เปลือกแข็ง ด้านส่วนท้องจะมีระแนงหนาม ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้ และมีหางลักษณะแท่งเรียวยาว ซึ่งใช้สำหรับการงอตัว รวมทั้งการฝังตัวลงไปในดิน

แหล่งที่อยู่อาศัย

แมงดาทะเล ที่อยู่อาศัยสามารถพบได้บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไป แม้กระทั่งลำคลอง และป่าชายเลนก็สามารถอาศัยอยู่ได้ ส่วนในทะเลมักจะพบในบริเวณน้ำตื้น

อาหารของแมงดาทะเล

ส่วนใหญ่จะเลือกกินสัตว?ขนาดเล็กจำพวกหอย ไส้เดือนทะเลต่าง ๆ 

การสืบพันธุ์

เป็นสัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งการผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงของฤดูร้อน ในระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งมีการปฏิสนธิแบบภายนอก สัตว์ชนิดนี้ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนบก ด้วยการใช้ขาคู่ที่ 6 ขุดทรายให้เป็นโพรง แล้วปล่อบไข่ออกมาวางไว้ จากนั้นตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมไข่ และทำการกลบทรายไว้ให้เหมือนเดิม

วิธีการแยกแมงดาทะเลที่มีพิษและไม่มีพิษ

สำหรับชนิดที่มีพิษเรียกว่าแมงดาถ้วย ซึ่งสามารถสังเกตลักษณะสำคัญบริเวณหางที่จะมีลักษณะกลมเหมือนกับแท่งดินสอ ถ้าเจอหางลักษณะนี้แนะนำว่าไม่ควรบริโภค ส่วนแมงดาจาน เป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีพิษ กินได้ โดยหากจะมีลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม และเป็นชนิดที่เสี่ยงสูญพันธุ์ เหลือจำนวนน้อยมากในประเทศไทย เนื่องจากถูกมนุษย์จับกินในปริมาณมาก แต่อย่างไรก็ตามหากอยากทดลองทานดูแนะนำว่าควรเลือกซื้อร้านอาหารทะเลที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดจำแนกชนิดของแมงดา เพื่อป้องการความเสี่ยงในการรับสารพิษ

แมงดาทะเลสัตว์ที่ต้องได้รับการอนุรักษ์

สำหรับแมงดาทะเลถึงแม้จะมีชนิดที่สร้างสารพิษ ก็ยังเป็นสัตว์ทะเลที่คนชื่นชอบกินกันมาก ๆ ส่งผลทำให้แมงดาทะเล กินได้อย่างแมงดาจานมีปริมาณลดลงจำนวนมากในประเทศไทย จึงอยากแนะนำให้ทุกท่านหลีกเลี่ยงการบริโภคแมงดาทะเลให้น้อยลง เพื่อให้มีจำนวนประชากรสูงขึ้น ซึ่งแมงดาทะเล ประโยชน์นอกจากเป็นอาหารแล้ว

ในส่วนของเลือดที่มีสีน้ำเงินโดยมีองค์ประกอบของทองแดง และเซลล์เม็ดเลือดขาวของแมงดาทะเลมีประสิทธิภาพสูงมากในการตรวจจับเชื้อโรคและแบคทีเรีย โดยทางการแพทย์จะนำเซลล์เม็ดเลือดขาวมาใช้ในทางการแพทย์ นำมาสกัดให้ได้โปรตีนที่เรียกว่า Limulus amoebocyte lysate (LAL) ซึ่งสารโปรตีนชนิดนี้สามารถนำมาใช้ในการตรวจการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในกระบวนการผลิตยา วัคซีน สารเคมี และสารต่าง ๆ ที่ใช้ในวงการแพทย์และเภสัช

แมงดาสามารถพบได้ในหลากหลายระบบนิเวศ มีการแพร่พันธุ์ในวงกว้าง แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้ โดยเฉพาะแมงดาจานที่ในประเทศไทยเองมีจำนวนลดลงจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งอยากแนะนำให้ทุกท่านหลีกเลี่ยงการบริโภคในอัตราที่ต่ำลง  animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์บก

เจาะลึกทำความรู้จักกับกระจง สัตว์ที่หน้าตาคล้ายหนู แต่ไม่เหมือนหนู

กระจง เป็นสายพันธุ์สัตว์ป่าที่มีขนาดตัวเล็ก กระทัดรัด และหน้าตาคล้ายกับหนู แต่ไม่ใช่หนู ส่วนของร่างกายจะคล้ายกับกวาง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์เท้ากีบที่มีขนาดเล็กที่สุดอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับวัว ควาย กวาง อูฐ ยีราฟ และหมู เป็นต้น กระจงเป็นสัตว์กินพืช ซึ่งมันเป็นเหยื่อของสัตว์นักล่าตามธรรมชาติ ปัจจุบันกลายเป็นสัตว์ที่หาเจอได้ยาก

ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ “กระจง” สัตว์ป่าผู้ว่องไว และปราดเปรียว

จากตำนานของขาวมลายู ยกย่องให้กระจงเป็นสัตว์ที่ฉลาด ปราดเปรียว และว่องไว สามารถอยู่รอดปลอดภัยได้ในเกือบทุกสถานการณ์ ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์กระจายตัวอยู่ในทวีปเอเชีย

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

ลักษณะของกระจงมีรูปร่างคล้าย ๆ กับกวาง แต่สิ่งที่แตกต่างคือไม่มีเขา และไม่มีต่อมน้ำตา น้ำหนักเพียงแค่ 0.7 ถึง 8.0 กิโลกรัมเท่านั้น ความลำตัวอยู่ที่ประมาณ 40-75 เซนติเมตร เป็นสัตว์เท้ากีบที่มีขนาดเล็กมากสุดในโลก แต่ถ้าดูเผิน ๆ ใบหน้าจะค่อยคล้ายหนูเลย หน้ายาว หูตั้งสั้น และมีดวงตากลมโต

กระจงมีกี่สายพันธุ์

กระจง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถพบเห็นได้ ซึ่งมีทั้งหมด 6 สายพันธ์ ได้แก่ กระจงชวา กระจงเล็ก กระจงใหญ่ กระจงฟิลิปปินส์ กระจงเวียดนาม และกระจงวิลเลียมสัน ซึ่งสายพันธุ์ที่พบได้ในประเทศไทยจะมีอยู่เพียง 2 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ กระจงหนู หรือเรียกว่ากระจงเล็ก (Lesser mouse-deer) และกระจงควาย หรือเรียกว่ากระจงใหญ่ (Greater mouse-deer) 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

กระจง พบการกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย ซึ่งจะอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีนตอนใต้อย่างมณฑลยูนนาน รวมทั้งตอนใต้ของเกาะปาลาวันในประเทศฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยเราเองก็สามารถพบสัตว์ชนิดนี้ได้เช่นเดียวกัน

กระจง กินอะไรเป็นอาหาร

สัตว์ชนิดนี้อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าเป็นสัตว์เท้ากีบ จึงจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยส่วนใหญ่จะกินอาหารที่อยู่ตามพืช ซึ่งกินได้ง่าย เช่น ใบไม้ ผลไม้ เห็ดบางชนิดที่ไม่ใช่เห็ดพิษ นอกจากนั้นยังสามารถกินจำพวกแมลง ปลา ได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามสัตว์ชนิดนี้จะไม่นิยมกินหญ้าเนื่องจากเส้นใยอาหารมากเกินไป และมีสารอาหารน้อย 

พฤติกรรม และนิสัย

เป็นสัตว์ที่หากินได้ทั้งเวลากลางคืน และกลางวัน ซึ่งชอบหากินเดี่ยว ๆ ลำพังไม่อยู่เป็นกลุ่ม แต่ฤดูผสมพันธุ์ หรือหากมีลูกอ่อนมักจะอยู่เป็นคู่ หรือเป็นครอบครัว สัตว์ชนิดมักจะตื่นตระหนกง่าย ขี้อาย มีความระแวง และระมัดระวังตัวสูงมาก ดังนั้นถ้ามันตกใจหรือคิดว่าอันตรายกำลังเข้ามา จะหนีอย่างรวดเร็ว ฝุ่นตลบเลยทีเดียว เคลื่อนที่ได้ว่องไวมาก 

กระจง สัตว์ป่าร่างเล็ก ที่ยังคงมีอยู่ในพื้นที่ป่าของประเทศไทย

สำหรับกระจงจัดเป็นกวางขนาดเล็ก ที่หน้าตาน่ารักคล้ายหนู ดวงตากลมโต แวววาว เป็นประกายมาก ๆ ซึ่งตอนนี้นับว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่สามารถซื้อขายได้ เชื่อไหมว่าจริง ๆ แล้วกระจงมีมากถึง 10 ชนิด แต่ว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วมากถึง 6 ชนิด บางสายพันธุ์ปัจจุบันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หาได้ยาก ในประเทศไทยเหลือกระจงเพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้น ได้แก่ กระจงหนู หรือกระจงเล็ก และกระจงควาย หรือกระจงใหญ่ เป็นสัตว์บกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์

อาหารหลักจะเป็นพืชต่าง ๆ ที่เจริญตามพื้น และสามารถกินแมลง กินปลาได้อีกด้วย กระจงเป็นสัตว์ที่มีไหวพริบดีมาก สัญชาตญาณในการเอาตัวรอดสูงสุด ๆ และยังเป็นสัตว์ที่ฉลาดปราดเปรือง จึงเอาตัวรอดได้ดีจากนักล่า หรือภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในกลุ่มสัตว์สูญพันธุ์ แต่เสี่ยงสูญพันธุ์สูงมาก ดังนั้นต้องเร่งกันอนุรักษ์ และฟื้นฟูให้จำนวนประชากรของสัตว์ชนิดเพิ่มสูงขึ้น animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์บก แมลง

แมงกระชอน ของแซ่บที่ต้องลองกิน สุดยอดแหล่งโปรตีน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

แมงกระชอน หรือ ทางอีสานเรียกว่า แมงจีซอน แมงอีซอน ส่วนทางภาคเหนือจะเรียกกันว่า แมงจอน นั่นเอง แมลงชนิดนี้ลักษณะค่อนข้างคล้ายกับจิ้งหรีด ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ รสชาติจะมัน ๆ กรอบ ๆ เคี้ยวเพลินเลยทีเดียว ชาวบ้านทางภาคอีสานมักจะชอบจับแมงกระชอนกัน

เนื่องจากเป็นที่นิยมบริโภคในพื้นที่ สร้างกำไรได้ไม่น้อยเลย แต่การจับแมงกระชอนไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเพราะว่าจะต้องใช้เสียงหลอกล่อเพื่อให้แมลงปรากฏตัวให้เห็น หรือวิธีบ้าน ๆ จะปล่อยน้ำลงพื้นที่นา จากนั้นจะเอาเท้าเหยียบ ๆ หรือรถไถ เพื่อให้แมลงที่อยู่ใต้ดินนั้นออกมานั่นเอง เชื่อไหมว่าราคาของแมลงชนิดนี้น่าทึ้งมาก ซึ่งขายกันอยู่ที่ 200 บาท ขึ้นไป ต่อกิโลกรัม เป็นอีกหนึ่งรายได้เสริมที่น่าสนใจมาก รสชาติอร่อยใช้ได้ ใครที่ยังเคยลองแนะนำว่าต้องกินดู 

แมงกระชอน อาศัยอยู่ที่ไหน และลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร ไปทำความรู้จักกัน

หลายคนอาจจะไม่รู้เลยว่าแมงกระชอนคืออะไร และมีหน้าตาแบบไหน จะสามารถพบเจอได้ที่ไหนบ้าง วันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับแมลงชนิดนี้ให้มากขึ้น เพราะเป็นอีกหนึ่งแมลงที่สามารถเป็นแหล่งอาหารในอนาคตได้ เป็นแหล่งของอาหารและโปรตีนมหาศาล 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

แมลงกระชอน ลักษณะอย่างที่บอกข้างต้นว่าคล้าย ๆ กับจิ้งหรีด ซึ่งจะมีหนดสั้นสีน้ำตาล ส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แต่อกใหญ่กว่า ลักษณะลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยจะมีขนบาง ๆ ปกคลุมทั่วลำตัว ปีกมี 2 คู่ โดยคู่หน้าจะยาวประมาณครึ่งหนึ่งของส่วนท้อง ส่วนคู่หลังปีกจะแคบ และยาวเกินส่วนท้องไปทางด้านล่าง ขาคู่หน้าเป็นแผ่นกว้าง พร้อมทั้งมีเล็บคมเอาไว้ใช้ในการขุดดิน และยึดเกาะ ขนาดความยาวลำตัวอยู่ที่ประมาณ 25-35 มม. 

นิสัยและพฤติกรรม

แมงกระชอนมักจะชอบออกหากินในช่วงเวลาตอนกลางคืน ซึ่งหากถามว่าแมลงกระชอน ชอบกินอะไรอาหารส่วนใหญ่เหมือนกับแมลงทั่วไป จะกินจำพวกราก โคนของพืช กินได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้นชา ต้นอ้อย ต้นยาสูบ และมันเทศ เป็นต้น และแมลงชนิดนี้จะมีเสียงเฉพาะตัว ซึ่งแมลงตัวผู้สามารถทำเสียงโดยการถูขอบปีกคู่หน้า

ถิ่นที่อยู่อาศัย

แมงกระชอนนี้พบได้จำนวนมากในป่าละเมาะ สวน ทุ่งหญ้า ริมห้วย หนอง บึง และท้องนา เป็นต้น การกระจายพันธุ์แพร่พันธุ์เป็นวงกว้างพบเจอได้ทุกภาคในประเทศไทย ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ในดิน สามารถขุดรูและทำเป็นโพรงเพื่ออาศัยและวางไข่

วงจรชีวิต

วงจรชีวิตแมลงกระชอนหลังวางไข่แล้ว ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 10-21 วัน ซึ่งเป็นแมลงที่ช่วงเวลาตัวอ่อนจะเติบโตช้า กว่าจะเข้าสู่ตัวเต็มวัยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน เลยทีเดียว ฤดูผสมพันธุ์จะเป็นช่วงต้นฤดูฝน และวางไข่ใต้ดินนั่นเอง

แมงกระชอน แมลงทำเงิน จับขายสร้างรายได้งามเกินคาด

สำหรับแมงกระชอน หรือ แมลงกะชอน กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับความนิยมมากในภาคอีสาน สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ เช้าบ้านต่างกันพาไป “ย่ำแมงอิซอน” เพื่อจับมาทำเป็นอาหาร และนำมาขายได้ โดยเชื่อไหมว่าหนึ่งกิโลกรัมสามารถสร้างรายได้มากกว่า 200 บาท เลยทีเดียว ลักษณะแมลงกระชอนไม่ได้แตกต่างกับจิ้งหรีดมากนัก จัดอยู่ในแมลงกลุ่มเดียวกัน

แมงกระชอนปัจจุบันยังมีจำนวนประชากรอยู่ในอัตราที่สูง เนื่องจากว่าสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้มากถึง 40-50 ฟองต่อครั้งเลยทีเดียว แมลงกระชอน ประโยชน์ก็คืออย่างที่กล่าวไปสามารถนำมากินเป็นอาหารได้ มีโปรตีนที่สูงเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นโปรตีนจากแมลงที่ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการทำปศุสัตว์ในบริเวณกว้าง รวมทั้งการทำฟาร์มแมลงยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันการทำเกษตรกรรมมักจะใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง และวัชพืชต่าง ๆ จึงทำให้แมงกระชอนที่อาศัยอยู่ตามแหล่งธรรมชาติได้รับสารพิษเข้าไปในร่างกาย และสะสมเอาไว้ เมื่อนำมารับประทานจะได้รับสารพิษเพิ่มขึ้น ดังนั้นแนะนำว่าเราควรจะรักษาระบบนิเวศ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรม เพื่อลดสารพิษในสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เกิดการตกค้างสะสมในแมลงเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน แนะนำ

เต่ายักษ์พินตา หรือเต่ากาลาปากอส สิ่งมีชีวิตที่คงเหลือเพียงแค่ชื่อ

เต่ายักษ์พินตา (Pinta Island Tortoise) เป็นเต่าสายพันธุ์หนึ่งที่อยู่ในเกาะพินตาแห่งหมู่กาลาปากอส ที่ได้ชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งมีนักสำรวจที่ชื่อว่า Rollo Beck ได้ค้นพบเต่าชนิดนี้เป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1906 และไม่สามารถพบเห็นได้ที่ไหนอีกเลย จนกระทั่งต่อมามีผู้ค้นพบเต่ายักษ์พินตาหรือเต่ากาลาปากอส ที่เหลือเพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยตั้งชื่อว่า Lonesome George มีฉายาว่า “จอร์จผู้โดดเดี่ยว” ซึ่งมีอายุร่วม 100 ปี ปัจจุบันจอร์จได้เสียชีวิตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้เต่ายักษ์พินตาจัดเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเต่าชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งเกาะพินตา หมู่กาลาปากอส แต่น่าเสียดายที่จะไม่ได้เห็นเต่าชนิดนี้ตัวเป็น ๆ เสียแล้ว

reptile

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเต่ายักษ์พินตา พี่ใหญ่ที่กินแต่พืชแต่ตัวโตมาก

เต่ายักษ์พินตา อย่างที่รู้กันว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งตัวสุดท้าย “จอร์จ” ตายไปเมื่อปี 2012 ทำให้ไม่มีสัตว์ชนิดนี้หลงเหลืออยู่ เต่าไม่ใช่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างที่หลายคนเข้าใจ จริง ๆ แล้วเป็นสัตว์เลื้อยคลานมีขนาดตัวหลายไซส์ กินพืชเป็นอาหารหลัก มีกระดองห่อหุ้ม และมีผิวหนังที่หนามาก 

ลักษณะสำคัญ

เต่ายักษ์พินตาเป็นเต่าที่มีขนาดมหึมา ความยาวรวมตั้งแต่หัวถึงหางประมาณ 90 เซนติเมตร และมีน้ำหนักที่หนักมากถึง 200 กิโลกรัม มีหัวขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก สามารถยืดของออกจากกระดองได้ยาวเลยทีเดียว มีขาสี่ข้างที่แข็งแรง ลำตัวโค้ง สามารถสังเกตและแยกจากเต่าสายพันธุ์อื่นได้ง่าย

อายุขัย

เต่าสายพันธ์นี้มีอายุที่ยาวนานมากเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อาจมีอายุตั้งแต่หลายสิบปีถึงหลายสิบสองร้อยปี

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดและอาศัยอยู่บนเกาะพินตา (Pinta Island) ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos Islands) ในท้องทะเลแปซิฟิกตอนกลาง หมู่เกาะกาลาปากอสตั้งอยู่ในทวีปเอกเมริกาใต้ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ (Ecuador) และเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติที่ได้รับการป้องกันอย่างเคร่งครัด

reptile1

อาหารการกิน

เต่าชนิดนี้ถึงแม้จะมีขนาดตัวใหญ่อลังการมาก แต่เป็นสัตว์กินพืช โดยจะเป็นพืชต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้น ไม่ว่าจะเป็นไม้พุ่มเล็ก เหง้าพืช หรือหญ้าที่อยู่ตามพื้น ในช่วงเวลาการกินอาหารเต่าจะยืดคอออกจากกระดอง และเล็มใบไม้ใบหญ้ากินอย่างเอร็ดอร่อย

ลักษณะอุปนิสัย

เต่ายักษ์พินตา เป็นสัตว์ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จะไม่มีข้อมูลการศึกษาแน่ชัดในเรื่องของพฤติกรรม แต่ตัวสุดท้ายเจ้าจอร์จที่ตายไปเมื่อปี 2012 จากการสังเกตพบว่าเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนน้อม ชอบอยู่ลำพัง ปรับตัวได้ดีเข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถอาศัยได้บริเวณหนาวเย็น และเป็นเต่าบกจึงหาอาหารกินบนพื้นดิน ไม่สามารถหาอาหารในน้ำได้

สาเหตุการสูญพันธุ์

การขาดแคลนอาหารและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ภาวะฝนตกน้อย และการบุกรุกถิ่นฐานของมนุษย์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าชนิดนี้สูญพันธุ์

reptile2

เต่ายักษ์พินตา สัตว์โลกน่ารักที่หายไปจากเกาะพินตา แห่งหมู่เกาะกาลาปากอส

เต่ายักษ์พินตา เป็นสายพันธุ์เต่าที่เกิดและอาศัยอยู่บนเกาะพินตาในหมู่เกาะกาลาปากอสในทะเลแปซิฟิก มีลักษณะรูปร่างที่ใหญ่และแข็งแรง โดยมีหัวที่ใหญ่กว่าเต่าสายพันธุ์อื่นๆ และเป็นสัตว์ที่กินพืช อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งและหนาวของหมู่เกาะกาลาปากอส อาหารหลักของเต่ายักษ์พินตาเป็นใบพืชเลื้อยคลานต้นเตี้ยตามพื้นดินเพราะกินง่าย เป็นสัตว์ที่มีอายุขัยยาวนาน แต่น่าเสียดายที่ว่าตอนนี้ขึ้นสถานะเป็นสัตว์สูญพันธุ์ไปเรียบร้อยแล้ว หากใครที่อยากเห็นหน้าตาของเต่ายักษ์พินตา สามารถเดินทางไปดูร่างของปู่จอร์จได้ที่พิพิธภัณฑ์ Charles Darwin Foundation ซึ่งตั้งอยู่ในเกาะ Santa Cruz ในหมู่เกาะกาลาปากอส พิพิธภัณฑ์นี้เป็นสถานที่ที่มีการศึกษาและการอนุรักษ์ธรรมชาติของหมู่เกาะกาลาปากอส และเป็นที่อยู่ของศูนย์การศึกษาและความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสิ่งมีชีวิตในหมู่เกาะนี้ animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์บก

กุย สัตว์หน้าตาประหลาดไม่ซ้ำใคร สิ่งมีชีวิตชีวิตที่น่าสงสารสุดรันทด

กุย หรือ ไซกา สัตว์ที่มีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saiga tatarica เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความใกล้เคียงกับแอนิโลป ซึ่งปัจจุบันมันกลายเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์โดยสาเหตุหลักเกิดจากการถูกล่าอย่างหนักหน่วงด้วยฝีมือมนุษย์ เนื่องจากสามารถนำไปปรุงเป็นยา ราคาขายค่อนข้างดีมาก จนทำให้จำนวนประชากรลดลงเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้นพวกมันต้องพบกับชะตากรรมที่โหดร้าย ประวัติศาสตร์ที่น่าสลดใจของกุยในปี ค.ศ. 2015 มีการแพร่ระบาดของโรคร้ายที่ได้คร่าชีวิตกุยที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติไปมากถึง 100,000 กว่าตัว ในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งให้จำนวนประชากรลดลงเกือบครึ่งหนึ่งที่เหลืออยู่ เข้าสู่ขั้นวิกฤตที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์ และการขยายพันธุ์เพื่อให้จำนวนประชากรกลับมาคงเดิมก็ต้องใช้เวลานานเป็นสิบ ๆ ปี นอกจากนั้นภาวะโลกร้อนที่มีความรุนแรงขึ้นในทุกปีก็ส่งผลให้อัตราการตายของพวกมันสูงขึ้นเรื่อย ๆ 

กุย จมูกงวง สัตว์ที่สามารถเปลี่ยนสีขนได้ตามสภาพอากาศ

กุย นอกจากมีหน้าตาที่โดดเด่นแล้ว เนื่องจากว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่มีจมูกงวงขนาดใหญ่ยื่นออกมาคล้ายกับสมเสร็จ ทำให้ดูสะดุดตามาก ๆ สิ่งที่พิเศษคือมันสามารถปรับตัวกับเข้าสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนสีขนได้ตามฤดูกาล โดยจะมีขนสีขาวในช่วงฤดูหนาว ทั้งยังเพิ่มความหนาของขนเพื่อป้องกันอากาศที่หนาวเย็นยะเยือก ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้ และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนขนจะเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลออกเหลือง และมีความยาวที่สั้นลง ขนบาง เพื่อให้ร่างกายสามารถระบายความร้อนได้ดี

ลักษณะโครงสร้างร่างกาย

กุย ลักษณะที่โดดเด่นมากที่สุด คือ จมูกที่มีขนาดใหญ่ เป็นงวงยื่นออกมา และมีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งเอาไว้ใช้ในการหายใจ และช่วยอุ่นอากาศที่หยาวเย็นให้อุ่นมากขึ้น รวมทั้งยังสามารถใช้ในการกรองฝุ่นละอองได้อีกด้วย เมื่อโตเต็มวัยจะมีความสูงประมาณ 60-80 เซนติเมตร ซึ่งตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และมีเขาที่สวยงาม ส่วนตัวเมียจะไม่มีเขา

ถิ่นที่อยู่อาศัย

กุย เป็นสัตว์หายากที่พบได้บริเวณเอเชียตอนกลาง ในแถบประเทศไซบีเรีย มองโกเลีย และจีน

ความสามารถพิเศษ

ถึงแม้จะเป็นสัตว์ที่ใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนบก แต่เชื่อไหมว่าพวกมันว่ายน้ำได้เก่งกาจมาก และเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวสูง สามารถวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความอึดถึกทน เดินไม่รู้เหนื่อย ในแต่ละวันสามารถเดินทางไกลได้มากถึง 80-100 กิโลเมตรต่อวัน 

กุย

อุปนิสัย

กุย เป็นสัตว์บกที่ชอบอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ ซึ่งสัตว์ชนิดนี้มีความว่องไวและตื่นตัวตลอดเวลา อย่าคิดว่าจะล่าได้ง่าย ๆ เพราะวิ่งเร็วมาก แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่อาจพ้นน้ำมือของมนุษย์ สัตว์ชนิดนี้สามารถกินพืชได้หลายชนิด รวมทั้งพืชที่มีพิษก็กินได้ ยิ่งใบหญ้าอ่อน ๆ ชอบมาก เล็มกินเพลินเลยทีเดียว

อายุขัย

จะมีอายุขัยไม่นานเท่าไหร่ประมาณ 6-10 ปี ซึ่งตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุครบ 8 เดือน และตัวผู้อายุครบ 20 เดือน 

กุย หรือ ไซกา สัตว์โลกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

กุย หรือ ไซกานั้น เป็นสัตว์โลกที่แสนน่ารัก ไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยต่อใคร ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช ที่มีลักษณะเด่นตรงจมูกงวงยื่นออกมาใช้สำหรับหายใจ อุ่นอากาศให้อุ่นในช่วงฤดูหนาว และกรองฝุ่นละออง เป็นสัตว์ที่วิ่งเร็วมาก ว่ายน้ำเก่ง และชอบเดินทางไกล มักจะพบอยู่กันเป็นฝูง แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันต้องจัดอยู่ในกลุ่มใกล้เป็นสัตว์สูญพันธุ์ สาเหตุหลักเกิดจากการล่าของมนุษย์เนื่องจากมีความเชื่อของชาวจีนโบราณว่า กุย เป็นยาชั้นเลิศ นำไปปรุงเป็นยาดื่มบำรุงร่างกาย และไม่เพียงเท่านั้นวิกฤติที่นักที่สุดคือการเกิดโรคระบาดที่ทำให้กุยตายเป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 250,000 ตัวเท่านั้น โดยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ที่ยังคงอยู่ ได้แก่ กุยมองโกเลีย (S. borealis) และกุยธรรมดา (S. t. tatarica) ซึ่งตอนนี้ก็พบเจอปัญหาภาวะโลกร้อนที่เป็นตัวการสำคัญทำให้สัตว์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 

animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์บก

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ลิงกังมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเทา บริเวณท้องสีขาว

ขนบริเวณกระหม่อมสีดำหรือน้ำตาลเข้มและแผ่ออกเหมือนไว้ผมทรงลานบิน  หางสั้นประมาณ 13-24 เซนติเมตร และมีขนสั้น ขายาว ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราวสองเท่า เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ความยาวหัว-ลำตัวประมาณ 49-56 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 6.2-14.5 กิโลกรัม  เรื่องน่ารู้ของลิงกัง สัตว์โลก ตัวผู้จะมีเขี้ยวแหลมยาวประมาณ 12 มม. ส่วนตัวเมียก็มีเขี้ยวแต่สั้นกว่ามากเพียง 7.3 มม.

animal world1

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง เดิมลิงกังมีสามชนิดย่อย ได้แก่ ลิงกังเหนือ ลิงกังใต้ และลิงกังปาไก

ลิงกังเหนือมีเขตกระจายพันธุ์อยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน ทางใต้สุดจรดแอ่งสุราษฎร์ธานี-กระบี่ ลิงกังใต้มีเขตกระจายพันธุ์ตั้งแต่แอ่งสุราษฎร์ธานี-กระบี่ลงไป เรื่องน่ารู้ของลิงกัง รวมถึงเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ส่วนลิงกังปาไกพบได้เฉพาะในหมู่เกาะปาไกของอินโดนีเซียเท่านั้น ลิงกังอาศัยอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในหลายประเทศ ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ทางใต้ของจีน อินโดนีเซีย(บอร์เนียว กาลิมันตัน สุมาตรา) 

animal world

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง กินผลไม้ ตะวันออกของบังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กั ดูชาเวียดนามมาเลเซีย (แผ่นดินใหญ่) พบในพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนสูงถึง 2,000 เมตร อาศัยในป่าทึบ ส่วนใหญ่เป็นป่าฝนและป่าบึง ฝูงลิงกังประกอบด้วยตัวผู้หลายตัวและตัวเมียหลายตัว สมาชิกตัวเมียเป็นกลุ่มครอบครัวเดียวกัน เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ขนสีน้ำตาล ฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 15-40 ตัว เป็นตัวผู้ราว 5-6 ตัว เรื่องน่ารู้ของลิงกัง สัตว์โลก แต่ละตัวเป็นตัวผู้ที่แยกออกมาจากฝูงที่ตัวเองเกิด 

เมื่อมีตัวผู้ตัวใหม่เข้ามาสู่ฝูง จะมีลำดับชั้นต่ำสุด หลังจากนั้นจึงค่อยต่อสู้เพื่อเลื่อนอันดับตัวเองให้สูงขึ้น ส่วนตัวเมียก็มีลำดับชั้นเช่นกัน ตัวเมียที่อันดับสูงสุดมักมีหลายตัวและเป็นพี่น้องกันที่รักใคร่ปรองดองกัน แม้กลุ่มตัวเมียจะมีอำนาจด้อยกว่าตัวผู้ เรื่องน่ารู้ของลิงกัง สัตว์โลก แต่ก็รวมตัวกันเหนียวแน่นกว่าและอาจร่วมกันต่อสู้กับตัวผู้ที่อันดับต่ำในการแย่งชิงอาหารได้ ลิงกังหากินเวลากลางวัน หากินบนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ พื้นที่หากินกว้าง  และมักย้ายพื้นที่หากินอยู่เสมอ พื้นที่ของแต่ละฝูงมักซ้อนเหลื่อมกัน แต่ลิงกังแต่ละฝูงก็ไม่ค่อยจะมีเรื่องวิวาทในเรื่องเขตแดนมากนัก

animal world2

บทสรุป

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง อาหารหลักคือผลไม้ นอกจากผลไม้ยังมีแมลง เมล็ดพืช ใบไม้ เห็ด นก ตัวอ่อนปลวก ปู เป็นต้น เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ขนสีน้ำตาล ขณะออกหากินจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 2-6 ตัว บ่อยครั้งที่เข้ามาเก็บกินผลไม้ในสวนของเกษตรกร เมื่อลิงกังบุกรุกถิ่นของคน จะมีการจัดตั้งทหารยามเพื่อเฝ้าระวังคนด้วย animal2you.com

อ่านบทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์ปีก

10 อันดับสัตว์สงวน ทำไมถึงต้องสงวนไว้ เคลียร์ทุกคำถามไว้แล้วที่นี่

สัตว์สงวน คือสัตว์ที่ได้ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์หายากตามกฎหมาย พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เป็นได้ทั้งสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อปกป้องเผ่าพันธุ์สัตว์เหล่านี้ให้สามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งจะมีการแก้ไขและอัปเดตรายชื่อสัตว์ต่าง ๆ ตามกฎหมายแต่ละฉบับ จะมีสัตว์ชนิดไหนบ้างที่ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์สงวนของไทย ไปติดตามกันเลย

รวมลิสต์รายชื่อ สัตว์สงวน ของไทย ความรู้รอบตัวที่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ควรรู้

สัตว์สงวน ตามพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ได้กำหนดไว้ว่า สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ซึ่งมีรายชื่อสัตว์สงวนทั้งสิ้น 19 ชนิด เช่น

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (PSEUDOCHELIDON SIRINTARAE)

PSEUDOCHELIDON SIRINTARAE

สัตว์ป่าสงวน ในตระกูลนกนางแอ่น ลักษณะเด่นคือขนสีดำเหลือบเขียว ขนที่สะโพกเป็นสีขาว มาพร้อมกับขนคู่ที่ยื่นเป็นแกนออกมาบริเวณหาง มีสีขาวรอบดวงตา กระจับปากสีเหลืองอมเขียว สัตว์สงวน ที่เคยพบได้ที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม

ละองหรือละมั่ง (CERVUS ELDI)

CERVUS ELDI

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายกวาง โดยละองคือชื่อเรียกเพศผู้ ส่วนละมั่งคือชื่อเรียกของเพศเมีย เป็น สัตว์สงวน ที่ยังพบเห็นได้ในไทย โดยจะมี 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ไทยและพันธุ์พม่า เป็นสัตว์ที่เราเคยได้ยินว่ามีการ ล่าสัตว์สงวน ชนิดนี้ค่อนข้างเยอะจากกลุ่มผู้คนที่แอบลักลอบล่าสัตว์ ทำให้ต้องขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์สงวนตามกฎหมายจนถึงในปัจจุบัน

นกชนหิน (HELMETED HORNBILL)

HELMETED HORNBILL

นกชนหิน หรือนกเงือกชนิดหนึ่ง ที่จะมีจุดเด่นอยู่ที่สันบนปาก ลำตัวใหญ่ จะงอยปากยาว มีขนหาง 1 คู่ที่ยาวกว่าขนหางปกติ ประมาณความยาวตั้งแต่จะงอยจนถึงขนหางคู่นี้ยาวถึง 120 เซนติเมตร เป็นนกที่เหล่านักล่าสัตว์จะนิยมล่าเพื่อเก็บจะงอยมากสลักเพื่อตกแต่งและทำเป็นเครื่องประดับ

นกแต้วแล้วท้องดำ (PITTA GURNEYI)

PITTA GURNEYI

นกสงวนในไทย ขนาดเล็ก ที่มีสีสันสวยงาม เพศผู้จะมีสีน้ำเงินแกมฟ้าเด่นบริเวณหัวและท้ายทอย หน้าผากดำ คอขาว ใต้ปีกสีเหลืองสดใส หางสีฟ้าส่วนเพศเมีย จะมีหัวและท้ายทอยสีน้ำตาล รอบตาสีดำ ส่วนล่างเป็นสีขาวอมเหลืองพาดลายตามขวาง นกหายากพบได้ตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ บริเวณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม จ.กระบี่

นกกระเรียน (GRUS ANTIGONE)

GRUS ANTIGONE

นกขนาดใหญ่ มีความสูงเฉลี่ย 2 เมตร ความยาวช่วงปีกประมาณ 2.5 เมตร สัตว์สงวนไทย ที่อาศัยรวมกันเป็นฝูง หากินตามแหล่งน้ำตื้น ๆ นอกจากขนาดใหญ่จะเป็นลักษณะเด่นของนกชนิดนี้แล้ว ลำคอสีแดงสดที่ยาวออกมาก็เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของนกชนิดนี้ที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ๆ เช่นกัน

แมวลายหินอ่อน (PARDOFELIS MARMORATA)

PARDOFELIS MARMORATA

สัตว์สงวน ขนาดกลางที่อาศัยอยู่ในป่า จุดเด่นอยู่ที่ลายบนลำตัวที่มีลักษณะคล้ายหินอ่อน ขนสีน้ำตาลอมเหลือง หางเป็นพวงขนยาวเด่นชัด มีโอกาสพบเห็นได้ตามป่าดงดิบเทือกเขาตะนาวศรีและป่าแถบภาคใต้ เป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางคืนจึงมีสายตาที่เฉียบคมมากกว่าสัตว์อื่น ๆ เป็นสัตว์ที่นักล่าชอบจับมาทำเป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงขายส่งออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก

ควายป่า (BUBALUS BUBALIS)

BUBALUS BUBALIS

สัตว์ป่า ที่มีลักษณะคล้ายควายบ้าน แต่ใหญ่กว่า ว่องไวกว่า เขาใหญ่กว่าและดุกว่าปกติ เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากการล่าเพื่อนำเขาขนาดใหญ่และสวยงามมาเป็นของตกแต่ง ปัจจุบันพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และตามป่าโปร่ง ทุ่งหญ้าโล่งใกล้แหล่งน้ำ

กวางผา (NAEMORHEDUS GRISEUS)

NAEMORHEDUS GRISEUS

สัตว์สงวน ที่มีโอกาสพบเจอบนยอดดอยม่อนจอง ดอยอินทนนท์และดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ แต่มีความว่องไวในการหลบหนี ทำให้ผู้คนที่เห็นมักจะต้องโชคดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบมาก ๆ มีลักษณะคล้ายแพะ ขนสีเทาหรือน้ำตาล มีแถบดำพาดกลางหลัง มีความยาวลำตัวประมาณ 80-120 เซนติเมตร สูงประมาณ 50-70 เซนติเมตร

พะยูน (DUGONG)

DUGONG

สัตว์ทะเลที่มีโอกาสเป็น สัตว์สูญพันธุ์ โดยมีลักษณะคล้ายแมวน้ำ อ้วนกลม มีครีบหน้าที่ใช้พยุงตัวและขุดหาอาหารจำพวกหญ้าทะเลในแถบชายฝั่งและน้ำตื้น มีจุดเด่นอยู่ที่ฟันคู่หน้าคล้ายงาช้างเพื่อใช้สำหรับต่อสู้และขุดหาอาหาร 

ปลาฉลามวาฬ (WHALE SHARK)

WHALE SHARK

สัตว์หายาก ที่อาศัยอยู่ตามทะเลเขตร้อนและอบอุ่น เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวที่โตเต็มที่มีความยาวสูงสุดถึง 15 เมตร จุดเด่นของฉลามวาฬคือจะมีจุดกลม ๆ สีขาวหรือสีเหลืองกระจายอยู่ตามแนวลำตัว ซึ่งจะเป็นเหมือนเอกลักษณ์ปรำจะตัวที่แตกต่างกันไป เป็นปลาที่นักดำน้ำมีโอกาสพบเจอได้ตามชายฝั่งทะเลของไทยทั้งชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

บทสรุป

สัตว์สงวน ที่ล้มตายและกำลังจะสูญพันธุ์นั้นเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและน่าเสียดาย สัตว์ทุกชนิด ทุกตัวล้วนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ดังนั้นมนุษย์ไม่ควรที่จะเข้าไปคุกคามหรือตามล่าสัตว์เหล่านี้แบบที่เราเห็นข่าว ไม่ว่าจะเป็น นาก หรือสัตว์อื่น ๆ ก็สมควรที่จะได้รับการ อนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อให้สัตว์เหล่านี้ได้ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไป animal2you.com

อ่านบทความเพิ่มเติม

Categories
สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

กั้งตั๊กแตน สิ่งมีชีวิตสุดแกร่งที่แสนอร่อยใต้ท้องทะเลไทย

กั้งตั๊กแตน เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Mantis shrimps ชื่อวิทยาศาสตร์ Harpiosquilla harpax ซึ่งเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เศรษฐกิจของไทย เนื่องจากบางสายพันธุ์สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารแสนอร่อยได้หลากหลายเมนู คนไทยชอบกินกันมาก ๆ เนื่องจากว่าเนื้อของกั้งตั๊กแตนมีรสชาติที่อร่อย เนื้อนุ่ม สามารถนำมาปรุงอาหารได้โดยที่ไม่เสียรสชาติ จึงทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก กั้งตั๊กแตนมีชื่อวิทยาศาสตร์หลายชื่อขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมัน โดยวันนี้อยากให้ทุกคนทำความรู้จักกับกั้งตั๊กแตนเจ็ดสีที่มีความพิเศษกว่าชนิดอื่น ๆ สวยงามสะดุดตา และมีความลับอันน่าทึ้งที่น่าค้นหา เป็นสิ่งมีชีวิตสุดแกร่งในท้องทะเล

กั้งตั๊กแตนสายพันธุ์ 7 สี ที่สายตาดีที่สุดในโลก แถมยังรัวหมัดหนักดั่งกระสุนปืน

กั้งตั๊กแตนถ้าพูดถึงสายพันธ์ธรรมดากั้งตั๊กแตนทะเลทั่วไปที่เรามักนำมากินเป็นอาหาร อาจจะไม่น่าสนใจเสียสักเท่าไหร่ ดังนั้นวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋ว แต่หมัดหนักที่สุดในโลก มันสามารถออกหมัดได้รัว ๆ อย่างกับยิงปืน มาพร้อมกับระบบสายตาที่ดีที่สุดในโลก การมองเห็นชัดแจ๋วไม่ว่าจะในน้ำทะเลที่เค็มจัด พื้นดิน หรือบนฟ้า ไม่มีสัตว์ชนิดในบนโลกนี้จะตาดีเท่านี้แล้ว

Sea locust crayfish

ลักษณะโครงสร้างพิเศษ

กั้งตั๊กแตนสายพันธุ์เจ็ดสีนี้ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และมันมีความพิเศษกว่ากั้งตัวอื่น ๆ นอกจากความสวยงามของสีสันบนลำตัวที่มีมากถึง 7 สีแล้ว ยังมีดวงตาที่กลมโตกลิ้งได้อย่างอิสระรอบทิศทาง มาพร้อมกับเซลล์รับแสงมากถึง 12 สี จึงทำให้สามารถมองเห็นทุกอย่าง ทุกสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจนยิ่งกว่ากล้องวงจรปิด และที่น่าทึ่งก็คือดวงตาของมันสามารถมองเห็นแสงโพลาไรซ์ได้อีกด้วย 

สัตว์น้ำตัวจิ๋วที่มีหมัดหนักกว่าคน

นอกจากตาจะดีแล้วกั้งตั๊กแตนสายพันธุ์ 7 สีนี้ ยังมีสิ่งที่ทำให้เราชวนทึ้งได้อีก เพราะมันมีหมัดที่เร็วและแรงมาก โครงสร้างขาคู่หน้าที่คล้ายกับกำปั้นของมนุษย์ สามารถใช้จับเหยื่อ และใช้ในการโจมตีกระแทกเหยื่อได้อีกด้วย เชื่อไหมว่ากั้งตั๊กแตน 7 สีสามารถต่อยกระดองหอยแข็ง ๆ แตกได้สบายเพียงใช้เวลาไม่กี่วินาที นักวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่า “แรงดีดของขาคู่หน้าของมันมีแรงมากกว่า 1000 เท่า เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวของมันเอง” พวกเขาเชื่อว่ามันสามารถทำให้กระจกตู้ปลาหนา ๆ แตกได้ง่าย เพียงแค่รัวไม่กี่มัด ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถดีดขาหนาได้รัว ๆ เร็วกว่ากระสุนปืนขนาด .22 มม. ดีดได้มากกว่า 50,000 ครั้ง โดยที่ขาหน้าไม่ได้รับการบาดเจ็บหรือกระทบเทือนใด ๆ เลย เรียกว่าเป็นสัตว์ตัวขนาดเล็ก แต่แข็งแกร่งที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ ขนาดตัวเต็มวัย จะมีขนาดตัวยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เท่านั้น

Sea locust crayfish2

ถิ่นที่อยู่อาศัย

กั้งสายพันธุ์นี้ไม่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำลึก พบได้บริเวณความลึกไม่เกิน 20 เมตร ในแถบอินโต-แปซิฟิก บริเวณเกาะกวมไปจนถึงแอฟริกาตะวันออก ส่วนในประเทศไทยเองก็สามารถพบได้ในทางฝั่งอ่าวไทย และพบมากที่สุดในฝั่งทะเลอันดามัน

บทสรุป

กั้งตั๊กแตน อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าเป็นสัตว์ทะเลที่มีหลากหลายชนิด และสามารถพบได้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมกินกัน แต่ไม่ได้หากินง่ายเท่ากับพวกกุ้ง กั้งตั๊กแตน ราคาจะค่อนข้างแรงมาก ซึ่งอาจจะราคาพุ่งสูงไปที่กิโลกรัมละ 1,200 บาท เลยทีเดียว ถึงแม้จะแพงแต่รับรองว่าคุ้ม เพราะเนื้อรสชาติดี ทำอาหารได้หลากหลายเมนู นอกจากสายพันธุ์ที่กินกันทั่วไปแล้ว ยังมีอีกสายพันธุ์หนึ่งที่สวยงาม

และมีความพิเศษมาก ๆ ก็คือกั้งตั๊กแตนสายพันธุ์ 7 สี เป็นสิ่งมีชีวิตที่ระบบตายอดเยี่ยมยอดมาก ทัศนียภาพกว้างขวาง และการมองเห็นชัดแจ๋วในทุกสิ่งแวดล้อม ทีเด็ดของมันคือมีขาคู่หน้า ที่เปรียบเสมือนกับกำปั้น ซึ่งแข็งแรงมาก ต่อยหนักรัว ๆ กระสุนปืนยังแพ้ ไม่น่าเชื่อเลยว่าสิ่งมีชีวิตตัวเล็กขนาดความยาวไม่ถึง 20 เซนติเมตร จะมีหมัดที่หนักทำให้กระดองหอย หรือกระจกตู้ปลาแตกได้สบาย ๆ เรียกได้ว่ากั้งตั๊กแตนสายพันธุ์เจ็ดสีนี้ เป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล ที่แข็งแกร่งไร้เทียมทาน หาตัวเปรียบได้ยากมาก animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์ปีก

นกตะกรุม เจ้านกน้ำยักษ์ สัตว์หายากที่ไม่ได้พบเห็นกันง่าย ๆ

เชื่อได้เลยว่าหลายคนคงไม่รู้จัก หรือได้พบเห็นนกตะกรุมกันมาก่อนอย่างแน่นอน เนื่องจากจัดเป็นนกกลุ่มเดียวกันกับกระสา ซึ่งเป็นนกที่มีขนาดตัวใหญ่ และจำนวนประชากรน้อยมาก จนกระทั้งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสัตว์ที่มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ประวัติการค้นพบตามธรรมชาติในประเทศไทยพบว่านกตะกรุมฝูงสุดท้ายอาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะพระทอง อ. คุระบุรี จ. พังงา และมีรายงานยืนยันว่าเคนพบเห็นในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยอีกด้วย โดยล่าสุดมีผู้ค้นพบนกชนิดนี้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา

ซึ่งค้นพบรังมากถึง 6 รังเลยทีเดียว นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่ยังคงมีนกชนิดนี้อยู่ ทางกลุ่มประชาคมอนุรักษ์ และนักปักษีวิทยาทั่วโลก รู้สึกตื่นเต้นกับการค้นพบแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และหลักฐานที่บ่งชี้ว่านกตะกรุมยังไม่ได้สูญพันธุ์จากโลกนี้ไปอย่างถาวร และยังมีโอกาสในการช่วยขยายพันธุ์ให้เพิ่มมากขึ้นได้ 

ข้อมูลเพิ่มเติมของ นกตะกรุม เจ้านกหัวล้านที่ใกล้สูญพันธุ์พบหาได้ยาก

เจ้านกตะกรุม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptoptilos javanicus ซึ่งการจัดตามอนุกรมวิธาน จะอยู่ในลำดับ Ciconiiformes โดยอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับนกกระสา เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทยที่เหลือจำนวนประชากรน้อยมาก และมีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์สูง พบเห็นได้ยาก จึงถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 กฎหมายคุ้มครองห้ามล่า ห้ามค้า หรือมีไว้ครอบครอง 

ลักษณะสัณฐานวิทยา

นกตะกรุม ลักษณะจะคล้ายกับนกตระกราม แต่ว่าชนิดนี้จะมีขนาดตัวที่เล็กกว่า รวมทั้งบริเวณใต้คอจะไม่มีถุง ซึ่งจัดอยู่ในนกที่มีขนาดตัวใหญ่ เมื่อยืนจะมีความสูงประมาณ 110-120 เซนติเมตร เมื่อกางปีก ปีกจะกว้างถึง 210 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีขนสีดำ ส่วนบริเวณใต้ท้องมีขนสีขาว หัวและลำคอของนกชนิดนี้เป็นหนังสีเหลืองแกมแดง และที่โดดเด่นมาก ๆ คือบริเวณหัวด้านบนจะไม่มีขน จนได้รับฉายาว่าเป็นนกหัวล้านนั่นเอง ปากยาวจะงอยปากแหลมตรง 

นิสัยและพฤติกรรม

นกตะกรุม นิสัยและพฤติกรรมจะชอบอยู่ในบริเวณที่โล่งแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นหนองบึง ทุ่งนา หรือชายฝั่งทะเล มักทำรังอยู่บนยอดเรือนไม้สูง

ถิ่นอาศัย

นกตะกรุมสามารถพบได้ในเอเชีย แถบประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า บอร์เนียว กัมพูชา และประเทศไทย เป็นต้น อาศัยอยู่ตามบริเวณบึงน้ำจืด ป่าชายเลน ป่าพรุ ในไทยส่วนใหญ่จะอยู่แถบภาคกลาง และภาคใต้ ปัจจุบันพบเห็นได้ยากมาก

อาหาร

นกตะกรุม อาหารจะเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด งู กินได้หมดเลย ซึ่งจะใช้จะงอยปากอันแหลมคมในการไล่ลาเหยื่อ

การขยายพันธุ์

นกตะกรุมมีช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ซึ่งระยะเวลาในการผสมสั้นมาก สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 3-4 ฟองเท่านั้น เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์นกชนิดนี้จะมีลักษณะโดดเด่นแสดงให้เห็นบริเวณโคนปากโดยจะมีสีแดงแต้มอยู่ เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกความพร้อมในการผสมพันธุ์

นกตะกรุม สัตว์ประจำถิ่นในประเทศไทยที่ใกล้เลือนจางหายจากความทรงจำ

ไม่รู้ว่านานเท่าไหร่แล้วที่พวกเราได้เห็นนกตะกรุมตัวเป็น ๆ ซึ่งเลือนรางจนจำไม่ได้ว่านกชนิดนี้มีลักษณะอย่างไร นกตะกรุมหัวล้าน เป็นสัตว์ปีกที่ต้องเผชิญกับชะตากรรมอันเลวร้าย จัดอยู่ในสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยมีจำนวนประชากรทั่วโลกน้อยมาก ในไทยเองพบเห็นล่าสุดที่จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นกลุ่มฝูงสุดท้ายของนกตะกรุม และพบเห็นบ้างเป็นครั้งคราในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และเงียบสงบ จับกินสัตว์เล็กที่อาศัยตามแหล่งน้ำกินประทังชีวิต

ปัจจุบันนกตะกรุม สัตว์ป่าคุ้มครอง ที่มีกฎหมายไม่ให้ล่า ค้าขาย หรือครอบครอง ถ้าหากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษตามกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งสถานการณ์ของนกตะกรุมค่อนข้างที่จะย่ำแย่มาก แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่ายังมีความหวังในการอนุรักษ์และช่วยขยายพันธุ์นกชนิดนี้ ให้คงอยู่สืบต่อไปได้ในอนาคตข้างหน้า animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : hilo-88.com