บีเวอร์ Beaver สัตว์นักวิศวกรรมศาสตร์ตัวยงที่คุณต้องหลงรัก

       บีเวอร์ ( Beaver ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง เป็นจำพวกสัตว์ฟันแทะที่อยู่ในวงศ์ CASTORIDAE มีถิ่นกำเนิดมาจากเขตฮอลอาร์กติก ปัจจุบันมีเหลือรอดอยู่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ยูเรเซีย ( C. fiber ) และ สายพันธุ์อเมริกาเหนือ ( C. canadensis ) ส่วนสายพันธุ์แคลิฟอร์นิคัสปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จึงคงเหลืออยู่เพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้น บีเวอร์สามารถพบได้ตามบริเวณแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ทะเลสาบ ลำธาร แม่น้ำ สระน้ำ ฯลฯ โดยเจ้าตัวบีเวอร์มักจะกินพืช เปลือกไม้ พืชน้ำเป็นอาหาร

       บีเวอร์เป็นสัตว์ฟันแทะที่มีลักษณะเด่นเห็นได้ชัด คือ มีฟันที่แข็งแรงขนาดใหญ่ ฟันหน้ารูปทรงคล้ายสิว มีศีรษะใหญ่ ร่างกายแข็งแรง มีขนสีน้ำตาลอมเทา มีลักษณะเท้าหน้าคล้ายมือ เท้าหลังแบนเป็นพังผืด หางด้านหลังมีลักษณะเป็นเกล็ด สังเกตความต่างทางสายพันธุ์ง่ายๆ โดยพันธุ์ยูเรเซียจะมีกะโหลกศีรษะยาวกว่าและโพรงจมูกในกะโหลกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม หางที่แคบ และมีสีขนที่อ่อนกว่าสายพันธุ์อเมริกาเหนือ

บีเวอร์ สัตว์นักวิศวกรรมตัวยง

       ตัวบีเวอร์เป็นนักวิศวกรรมที่สามารถสร้างเขื่อนธรรมชาติได้อย่างชาญฉลาด มันมักจะสร้างเขื่อนเป็นที่อยู่อาศัยและที่หลบซ่อนตัวโดยการใช้ฟันอันแข็งแรงของมันแทะกิ่งไม้นำมาใช้ทำด้วยความขยันขันแข็ง มีการนำหินและโคลนมาอุดรูที่เป็นรอยรั่ว การสร้างเขื่อนของเจ้าสัตว์ฟันแทะนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ตัวมันเองแล้วยังส่งผลดีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศโดยรอบอีกด้วย

วิธีการใช้ชีวิตคู่ของนักวิศวกรรมอย่างเจ้าบีเบอร์

       บีเวอร์ตัวผู้และตัวเมียเมื่อถึงวัยที่เจริญเติบโตเต็มที่จะจับคู่และอาศัยอยู่รวมกันเป็นคู่ พร้อมกับลูกๆเป็นครอบครัวที่แสนอบอุ่น เมื่อลูกๆโตมากพอก็จะเริ่มมาช่วยพ่อแม่ซ่อมเขื่อนที่เป็นที่อยู่อาศัยของตนเองและก็ช่วยเลี้ยงน้อง ตัวบีเวอร์ยังมีต่อมที่อยู่บริเวณข้างก้นเอาไว้ใช้ผลิตสารที่ชื่อว่า สารคาสโตรเรียม โดยสารนี้จะเอาไว้ใช้แสดงอาณาเขตและเอาไว้ใช้จำแนกญาติซึ่งมันจะมีกลิ่นพิเศษเฉพาะทำให้สามารถแยกได้ว่าญาติตัวไหนเป็นญาติของมันบ้าง

       กล่าวกันว่าในอดีตนิยมการล่าบีเวอร์เพื่อนำเอาขนแยกชิ้นส่วนขน-เนื้อ และสกัดเอาสารคาสโตรเรียมไปใช้ในการแพทย์ สกัดเป็นน้ำหอม และปรุงอาหาร หนังและขนก็จะเอาไว้จำหน่ายในตลาดขนสัตว์ ทำให้บีเวอร์เจ้าสัตว์ฟันแทะที่น่ารักมีจำนวนประชากรลดลงไปเป็นจำนวนมาก จนได้กลายมาเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20

 

 

 

สล็อตวอเลทไม่มีขั้นต่ํา