Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

หอยงวงช้างกระดาษหอยอาภัพกับชีวิตที่มีอยู่เพื่อสืบพันธุ์แล้วก็ตาย

สัตว์น้ำ

     หอยงวงช้างกระดาษ ( Paper nautilus , Argonaut )จัดอยู่ในประเภทหมึกจำพวกหมึกสาย อยู่ในสกุล Argonauta ถึงแม้ใครๆจะเรียกว่าเป็นหอยงวงช้างแต่กลับไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในสกุลของหอยงวงช้าง 

     เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลทั้งในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนสามารถพบได้ตั้งแต่ระดับผิวน้ำไปจนถึงน้ำลึกในระดับประมาณ 100 เมตร โดยมากจะอาศัยลอยตัวไปตามกระแสน้ำบ้างว่ายน้ำไปเองบ้าง โดยในบางครั้งจะสามารถพบหอยงวงช้างกระดาษตัวเมียยึดเกาะกับวัตถุในน้ำหรือเกาะกลุ่มกันเอง ซึ่งจะมีจำนวนประมาณ 20 ถึง 30 ตัว เพื่อออกหาอาหารในเวลากลางวัน และอาหารที่ออกล่ามักจะเป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก

     ในน่านน้ำไทยมีการสำรวจพบจำนวน 3 ชนิด มีเปลือกที่สวยงามแปลกตามักนำเปลือกไปตกแต่งบ้านและมีการล่านำมาเป็นอาหารของมนุษย์บ้างในบางประเทศ มีศัตรูนักล่าจำพวกปลาทูน่า ปลาโลมา และปลากระโทง

ลักษณะทางกายภาพของหอยงวงช้างกระดาษ หอยที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก

     ลักษณะของหอยงวงช้างตัวเมียจะมีเปลือกหุ้มตัวเพื่อใช้สำหรับวางไข่และฟักไข่ มีตัวขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ในส่วนของหอยงวงช้างกระดาษตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมียมากและไม่มีเปลือกหุ้มตัว

     โดยลักษณะของเปลือกหอยจะมีลักษณะบางเบา เปราะ แตกหักง่าย มีลักษณะม้วนเป็นวงในแนวราบ โดยในเกลียวแรก ๆ ที่อยู่ด้านในสุดจะมีสีน้ำตาลเข้มและค่อยๆจางออกเป็นสีขาวหมุนเกลียวสุดท้าย ผิวเปลือกหอยมีลักษณะไม่เรียบ เป็นร่องริ้วตามแนวขวางและเป็นเส้นหยักทำให้เห็นเป็นลอนคลื่นเล็ก ๆ ชัดเจน และด้วยความที่ส่วนเปลือกเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีลักษณะเปราะบางแตกหักง่ายคล้ายกระดาษจึงเป็นที่มาของชื่อ หอยงวงช้างกระดาษ นั่นเอง

     ส่วนลำตัวนั้นจะมีส่วนหัวและลำตัว บริเวณหัวจะมีตาขนาดใหญ่ 1 คู่ รอบปากจะมีหนวดประมาณ 8 เส้น ไม่มีครีบตามลำตัว โดยตัวเมียจะมีลำตัวรูปทรงรี หัวเล็ก นวดคู่แรกจะมีลักษณะแบน ตัวผู้จะมีลักษณะลำตัวกลมคล้ายถุง

การผสมพันธุ์และการขยายพันธุ์ของหอยงวงช้างกระดาษ

     หอยงวงช้างกระดาษสืบพันธุ์ได้โดยจะมีการจับคู่กัน ให้หอยงวงช้างกระดาษตัวเมียวางไข่ไว้ในเปลือก ไข่มีลักษณะเป็นไข่เดี่ยวโดยในแต่ละฟองจะมีตัวอ่อนเพียงตัวเดียวอยู่ในนั้น ตัวอ่อนจะฟักออกมาจากไข่มีลักษณะคล้ายกับตัวที่โตเต็มวัย 

     เมื่อโตเต็มที่มีขนาดตัวประมาณ 10 ถึง 30 เซนติเมตร หากเป็นตัวเมียจะมีหนวดสั้นๆ ถ้าหากเป็นตัวผู้จะมีความยาวเพียง 2 เซนติเมตร ไม่พบหนวด

     การผสมพันธุ์ของหอยงวงช้างกระดาษจะใช้เวลาไม่นานโดยตัวผู้จะใช้หนวดเกาะไว้กับตัวเมียแล้วจะทำการบรรจุสเปิร์มไว้ให้ตัวเมีย ตัวเมียจะสะสมสเปิร์มของตัวผู้เอาไว้ซึ่งก็สามารถสะสมเอาไว้ได้ทีละหลาย ๆ ตัว และจะทำการปฏิสนธิเมื่อเวลาผ่านไป โดยจะมีการวางไข่เป็นสายพันไปรอบ ๆ เปลือก เพื่อที่จะสามารถที่ดูแลลูกน้อยได้จนกว่าจะฟักตัว ในส่วนของตัวผู้นั้นวงจรชีวิตหอยงวงช้างกระดาษช่างอาภัพและแสนสั้น คือ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้วก็จะตายลง โดยทิ้งให้ตัวเมียและลูกน้อยดำเนินชีวิตกันเองต่อไป

 

 

สล็อต วอเลทไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

Leafy seadragon “ มังกรทะเลใบไม้ ” ปลาทะเลที่ได้ชื่อว่ามีความสวยงามที่สุดในโลก

สัตว์น้ำ

มังกรทะเลใบไม้ Leafy seadragon
มังกรทะเลใบไม้ Leafy seadragon

      เมื่อพูดถึงสัตว์น้ำที่มีสีสันสวยงามชนิดต่างๆในท้องทะเลก็ทำให้นึกถึงปลาชนิดหนึ่งที่มีสีสันสวยงามและมีลักษณะที่เหมือนใคร นั่นก็คือ มังกรทะเลใบไม้ ( Leafy seadragon ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phycodurus eques เป็นสัตว์น้ำที่ถูกจำแนกให้อยู่วงศ์เดียวกันกับม้าน้ำ ( วงศ์ Syngnathidae ) 

      “ มังกรทะเลใบไม้ ” เป็นปลาทะเลประเภทกระดูกแข็งเฉพาะถิ่นที่สามารถพบได้ในทะเลทางตอนใต้และตะวันตกในแถบทวีปออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเขตอบอุ่นที่ระดับความลึก 3-50 เมตร โดยเฉพาะในบริเวณ Kangaroo Island ถึง Rottnest Island และด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างที่คล้ายกับมังกร มีส่วนที่ยื่นออกมาตามลำตัวลักษณะคล้ายใบไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อ มังกรทะเลใบไม้ นั่นเอง 

วิถีการดำรงชีวิตของปลาทะเลที่ชื่อว่า มังกรทะเลใบไม้ Leafy seadragon

มังกรทะเลใบไม้ Leafy seadragon

      มังกรทะเลใบไม้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีความยาวได้ประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีหัวค่อนข้างใหญ่ มีครีบ-อก โปร่งใสสามารถช่วยในการว่ายน้ำและบังคับทิศทางได้ แต่ด้วยความที่ปลาทะเลชนิดนี้มีนิสัยขี้เกียจว่ายน้ำเอามากๆ การเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนจึงมักจะอาศัยการปล่อยตัวลอยไปตามกระแสน้ำ และส่วนที่ยื่นออกมาตามลำตัวลักษณะคล้ายใบไม้นั้นไม่ได้มีไว้ใช้ในการว่ายน้ำแต่อย่างใด แต่จะช่วยในการอำพรางตัวจากอันตรายและพรางตัวเพื่อซุ่มดักหาอาหาร โดยจะพรางตัวด้วยการทำตัวให้กลมกลืนไปกับสาหร่ายทะเล พอมีอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กผ่านมาเจ้าปลาทะเลปากยาวชนิดนี้ก็จะใช้วิธีการดูดเหยื่อเข้าปากนั่นเอง

การผสมพันธุ์และการวางไข่ของ มังกรทะเลใบไม้ Leafy seadragon

มังกรทะเลใบไม้ Leafy seadragon
มังกรทะเลใบไม้ Leafy seadragon

      มังกรทะเลใบไม้ จะมีช่วงการผสมพันธุ์และวางไข่อยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม - มีนาคมของปีถัดไป ซึ่งเมื่อมีการผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะทำการฝากไข่ไว้ที่ส่วนหางของตัวผู้เพื่อให้ตัวผู้ดูแลและเลี้ยงลูกแทน โดยในบริเวณส่วนหางของปลาทะเลชนิดนี้จะมีเส้นเลือดจำนวนมาก ใช้ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงตัวอ่อนในขณะที่ยังฟักตัวอยู่ ซึ่งจำนวนไข่จะมีปริมาณราวๆ 100-250 ฟอง ใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 4-6 สัปดาห์

      เมื่อมีการฟักตัวแล้ว ตัวอ่อนจะถูกปล่อยให้เจริญเติบโตและเอาตัวรอดเอง ซึ่งในปีแรกตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตได้ราว ๆ 20 เซนติเมตร และจะเจริญเติบโตได้เต็มที่เมื่อมีอายุครบ 3 ปี โดยจะมีอายุขัยประมาณ 6-9 ปี มังกรทะเลใบไม้ เป็นปลาทะเลที่ค่อนข้างบอบบางและมีความอ่อนไหวมาก การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดนี้จึงทำได้ค่อนข้างยาก ทางการออสเตรเลียจึงได้มีการออกกฎหมายให้มังกรทะเลใบไม้ เป็นสัตว์คุ้มครอง ห้ามจับ ห้ามนำมาเลี้ยง หรือมีไว้ในครอบครองเด็ดขาด โดยอนุญาตให้มีเพียงนายแปง กวอง ชาวเวียดนามในออสเตรเลีย เจ้าของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาทะเลที่สามารถจับและครอบครองได้เพียงผู้เดียวและสามารถจับได้เพียงปีละหนึ่งตัวเท่านั้น

 

 

 

บาคาร่าฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา วอเลท

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

หมึกสายวงน้ำเงิน เพชฌฆาตสีสวยที่ไม่ควรเข้าใกล้ เจอที่ไหนต้องหลบให้ไกล

สัตว์น้ำ

หมึกกล้วยวงน้ำเงิน (blue-ringed octopus )หรือ หมึกบลูริง จัดเป็นปลาหมึกมีพิษที่อยู่ในวงศ์ OCTOPODIDAE และอยู่ในสกุล HAPALOCHLAENA มีลักษณะที่เป็นจุดเด่นสามารถมองเห็นได้ชัดเจน คือ มีจุดเป็นวงสีน้ำเงินอยู่ตามลำตัวตัดกับสีขาว-เขียวซึ่งเป็นสีพื้นของลำตัว เมื่อมีอันตรายมาเยือนเจ้าหมึกสายวงน้ำเงินนี้ก็จะทำตัวเรืองแสงเพื่อข่มขวัญศัตรู 

หมึกกล้วยวงน้ำเงินมีกี่ชนิด ?

ในปัจจุบันมีระบุไว้ 3 ชนิด คือ 

-H. lunulata เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักได้ประมาณ 10 กรัม 

-H. maculosa สายพันธุ์นี้จะมีขนาดเล็กกว่า H. lunulata ประมาณ 20 เซนติเมตร สามารถพบได้ในแถบทะเลอันดามัน-อ่าวไทย

-H. fasciata สายพันธุ์นี้สามารถพบได้ตามพื้นหน้าดินโคลนหรือทราย รวมถึงตามแนวปะการังในเขตร้อนของทะเลอินโดแปซิฟิก ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย โดยมากลักษณะของปลาหมึกมีพิษสกุลนี้จะมีขนาดไม่ใหญ่มากโดยเฉลี่ยจะมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดของลูกกอล์ฟเท่านั้น และวงจรชีวิตจะมีอายุได้ประมาณ 1 ปี มีหนาวด 8 หนวด หากหนวดขาดสามารถงอกใหม่ทดแทนอันเก่าได้

เป็นปลาหมึกมีพิษที่มีนิสัยชอบออกหากินตอนกลางคืน ส่วนกลางวันจะแอบงีบหลับอยู่ตามซอกหินหรือแนวปะการัง ไม่ชอบว่ายน้ำเพื่อออกล่าเหยื่อ แต่จะเดินไปบนผืนทรายใต้ท้องทะเลเพื่อหาอาหารมากกว่า

วิถีการผสมพันธุ์สไตล์หมึกกล้วยวงน้ำเงิน

ตามข้อมูลระบุว่า หมึกกล้วยวงน้ำเงินมีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี และจะมีการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวโดยวิธีการวางไข่เป็นพวกติดกันครั้งละ 200-300 ฟอง โดยชนิด H. lunulata จะอุ้มไข่ไว้ที่หนวดและดูแลจนกว่าจะฟักเป็นตัว , ชนิด H. maculosa จะใช้วิธีวางไข่ฝากไว้ตามโขดหินใต้น้ำ โดยใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์

ความร้ายแรงของพิษหมึกกล้วยวงน้ำเงิน

พิษของหมึกกล้วยวงน้ำเงินจะมีสารที่ชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน ( Tetrodotoxin ) เป็นสารพิษชนิดเดียวกันกับที่พบในปลาปักเป้า เมื่อโดนพิษชนิดนี้จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะระบบการสั่งงานของสมอง ส่งผลให้สมองไม่สามารถสั่งการทำงานของระบบในร่างกายได้ตามปกติ มีอาการคล้ายกับเป็นอัมพาต หายใจไม่ออกเพราะกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกไม่สามารถนำเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ควรระวังการปะปนมากับหมึกชนิดอื่นซึ่งอันตรายมากสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องหมึกชนิดนี้ หากเผลอทานเข้าไปก็อาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยพบว่าพิษของหมึกกล้วยวงน้ำเงินจะมีอยู่ในน้ำลาย เป็นความสามารถทางพันธุ์กรรมที่ถูกส่งต่อจากแม่มาสู่ลูก ซึ่งสามารถพบพิษเหล่านี้ได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิดเลยทีเดียว

แม้ว่าจะมีสีสันสวยงาม เป็นปลาหมึกขนาดเล็กน่ารักสีกแค่ไหนก็ตาม แต่หมึกกล้วยวงน้ำเงินก็จักว่าเป็นปลาหมึกมีพิษร้ายแรงที่ไม่ควรเข้าใกล้อย่างยิ่ง โดยพบว่ามีพิษร้ายแรงกว่าพิษของงูเห่ามากถึง 20 เท่า สามารถฆ่าคนได้พร้อมๆกันถึง 26 คน โดนผู้ที่ถูกกัดจะเสียชีวิตภายใน 2-3 นาที ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของพิษที่ได้รับด้วย

 

 

 

คาสิโนฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

ปลาแพะเขียว ปลาแม่บ้านที่นิยมเลี้ยงไว้ช่วยทำความสะอาด

สัตว์น้ำ

ในบรรดาปลาที่ชอบกินพวกเศษอาหารหรือตะไคร่น้ำต่างๆ ปลาแพะเขียวก็เป็นหนึ่งในปลาที่ทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยกินพวกเศษอาหารและตะไคร่น้ำเช่นเดียวกัน โดยสังเกตได้จากตู้ปลาที่เลี้ยงปลาแพะเขียวจะสะอาดเกือบจะทุกซอกทุกมุมเลยก็ว่าได้

ปลาแพะเขียว ( Bronze Corydoras , Green Corydoras ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Corydoras Aeneus อยู่ในวงศ์ Callichthyidae พบได้ในแถบแม่น้ำลาพลาต้า ทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดิส ปลาแพะเขียวเป็นปลาน้ำจืดที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตื้นที่มีลักษณะเป็นโคลนขุ่นและมีอุณหภูมิประมาณ 17 - 30 องศาเซลเซียส

มาทำความรู้จัก “ ปลาแพะเขียว ” ปลาแม่บ้านตัวจิ๋ว

ปลาแพะเขียว มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างเล็ก ลำตัวมีลักษณะค่อนข้างกลม มีครีบ 8 ครีบ ใกล้ๆกับครีบจะมีเงี่ยงแข็งข้างละ 1 เงี่ยง มีหนวดเล็กๆ 2 คู่ อยู่ที่มุมปาก โดยปลาน้ำจืดชนิดนี้จะมีสีน้ำตาล - เหลือง ข้างลำตัวจะมีลักษณะเป็นสีเขียวมันวาว ครีบและส่วนหางจะมีลักษณะค่อนข้างที่จะโปร่งใสมองเห็นไม่ค่อยชัด เมื่อปลาแพะเขียวเจริญเติบโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร

อาหารส่วนใหญ่ของปลาคือ เศษอาหารหรือตะไคร่น้ำแต่งๆ โดยมากนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม หากได้นำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงในตู้เลี้ยงปลาแล้ว รับรองว่าสะอาดเอี่ยมอ่องไม่มีเศษฝุ่นหรือเศษอาหารลอยให้เห็นเป็นที่รำคาญตาแน่นอนเพราะว่าเจ้าปลาตัวนี้มันจะทำหน้าที่ดูดกินจนหมดทุกซอกทุกมุมเลยทีเดียว

ปลาแพะเขียวมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ ลักษณะการหายใจ โดยมันจะลอยตัวขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อฮุบเอาอากาศแล้วดำดิ่งลงไปด้านล่างได้ จึงทำให้มันสามารถปรับตัวเข้ากับที่อยู่อาศัยและแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้เป็นอย่างดี จัดว่าเป็นปลาน้ำจืดที่รู้จักเอาตัวรอดและชาญฉลาดในการใช้ชีวิตจริงๆค่ะ

การขยายพันธุ์ของปลาแพะเขียว

ในการขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดชนิดนี้ นอกจากการขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติแล้วยังสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงด้วย ปลาแพะเขียวจัดว่าเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยตัวผู้จะเข้าไปเชิญชวนตัวเมียโดยการสั่นตามตัว หากตัวเมียมีปฏิกิริยาตอบสนองมันจะค่อยๆขยับเข้าหาตัวผู้ จากนั้นตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อให้ตัวเมียอมไว้ในปาก ตัวเมียก็จะคายน้ำเชื้อเอาไว้บริเวณใบของพืชน้ำจากนั้นก็จะวางไข่บนน้ำเชื้อที่ได้คายเอาไว้ โดยแม่ปลาจะค่อยๆทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าไข่จะหมด ไข่ปลาจะใช้เวลาประมาณ 3-4 วันในการฟักออกเป็นตัวซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำด้วย ในระหว่างที่ลูกปลายังไม่สามารถหาอาหารกินเองได้มันจะดูดกินอาหารที่มีอยู่ในถุงไข่แดงก่อน เมื่อลูกปลาสามารถว่ายน้ำได้ และหาอาหารกินเองได้มันจะค่อยๆออกหาอาหารกินเองเป็นบริเวณกว้างต่อไป โดยจะมีการเจริญเติบโตเต็มวัยภายในระยะเวลา 2 ปี

 

 

 

เว็บบาคาร่าฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา

 

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

ปลาเปคู ปลาสายพันธุ์แปลกแห่งลุ่มน้ำอเมซอน

สัตว์น้ำ

           ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ (Pecu ) จัดเป็นปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae ) และแยกอยู่ในวงศ์ย่อยอย่างวงศ์ Serrasalminae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับปลาปิรันย่า แต่จริงๆแล้วไม่ได้มีความเหมือนกันกับปลาปิรันยาเลย ทั้งพฤติกรรมและขนาดตัวเนื่องจากเป็นปลาคนละสกุลกัน แต่ส่วนมากคิดว่าปลาเปคูและปลาปิรันย่ามีความดุร้ายเหมือนกันเนื่องจากเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากเลยทีเดียว

ลักษณะตามธรรมชาติของปลาเปคูที่แตกต่างจากปลาปิรันย่า

           ปลาเปคูนั้นเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่กว่าปลาปิรันย่ามาก โดยเมื่อโตเต็มวัยปลาเปคูจะสามารถมีขนาดยาวได้มากถึง 80 - 110 เซนติเมตร มีน้ำหนักราว 35 - 40 กิโลกรัม มีลักษณะฟันและกรามที่แข็งแรงแต่ฟันของปลาเปคูนั้นจะมีซี่ที่ใหญ่และผู้คล้ายกับฟันมนุษย์ ลักษณะของกรามจะไม่ยื่นออกมาด้านหน้า ต่างจากปลาปิรันย่าที่มีฟันซี่เล็กแหลมคมและมีกรามด้านล่างยื่นออกมาด้านหน้าสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน จึงทำให้บางคนเรียกปลาเปคูว่า ปลาฟันคน ซึ่งถ้าใครเคยได้เห็นหน้าตาของปลาเปคูจะต้องเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้เช่นกัน

ประโยชน์และชนิดของปลาเปคูที่นิยมนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย

           สายพันธุ์ที่นิยมและมีการนำมาเลี้ยงในประเทศไทยคือ ปลาคู้แดง ( Piaractus Brachypomus ) และ ปลาคู้ดำ ( Colossoma Macropomum ) โดยปลาสองสายพันธุ์นี้สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เพาะพันธุ์จำหน่ายในเชิงพาณิชย์ หรือจะนำมาทำเป็นเมนูอาหารแสนอร่อยก็ได้ เช่น ปลาเปคูทอดกรอบ ปลาเปคูราดซอสพริก ฯลฯ รวมถึงมีการนิยมแข่งตกปลาเพื่อเป็นเกมกีฬา ซึ่งอย่างหลังนี้เราอาจไม่ค่อยได้พบสักเท่าไหร่นัก แม้ว่าจะเป็นปลาน้ำจืดธรรมดาที่มีความดุร้ายไม่เท่ากับปิรันย่า

           แต่ในต่างประเทศกลับพบว่า ปลาเปคู หรือ ปลาฟันคน ได้กัดอัณฑะของผู้ที่ไปว่ายน้ำในบริเวณที่มันอาศัยอยู่จนเสียชีวิต เมื่อได้เห็นข่าวแบบนี้เราก็ยังคงต้องระมัดระวังในเรื่องของการนำปลาเปคูมาเลี้ยง รวมถึงการนำไปปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ใช้ประโยชน์ในแหล่งน้ำนั้นเช่นเดียวกันกับที่เป็นข่าวก็ได้ ปลาเปคูจึงเป็นปลาที่ไม่เหมาะจะนำไปปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งเป็นปลาที่กินเก่ง กินได้ไม่เลือก กินได้ทุกอย่าง เจริญเติบโตได้รวดเร็ว การขยายพันธุ์สามารถขยายได้รวดเร็วเช่นเดียวกันจึงอาจจะทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติได้ง่าย

 

 

 

สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา วอเลท

 

Categories
สัตว์น้ำ

ปลานีออน ปลาสวยงามไซส์มินิ รักสงบ และชอบอยู่เป็นฝูง

สัตว์น้ำ

          ปลานีออน หรือ ปลานีออนเตตร้า ( Neon , Neon Tetra ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paracheirodon innesi อยู่ในวงศ์ปลาคาราซิน ปลานีออนเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่มีสีสันโดดเด่นสะดุดตา จัดเป็นปลาสวยงามที่มักพบได้ในแหล่งน้ำในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ของไม้น้ำทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของโคลัมเบีย ตะวันตกของบราซิล และตะวันออกของเปรู

ลักษณะของปลานีออนปลาไซส์จิ๋วสีสันสดใส

          ปลานีออนจัดเป็นปลาสวยงามที่มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีขนาดตัวที่เล็กและเป็นรูปทรงรีคล้ายๆกับเม็ดข้าว มีดวงตากลมโต มีครีบตามตัวทั้งหมด 7 ครีบ ซึ่งคลิปของปลานีออนจะมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กและมีความมันวาวมาก สามารถเห็นตัวปลาได้ชัดเมื่อตกกระทบกับแสง แผงหลังมีสีเหลือบเขียวทั้งแผง ลำตัวมีเส้นเรืองแสงวาววับตั้งแต่จมูกลากยาวมาจนถึงตา และลามไปที่ครีบส่วนหาง ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่า ปลานีออน นอกจากนี้ส่วนท้องของปลานีออนจะมีสีขาว-เงิน บริเวณโคนหางมีสีแดงสดเมื่อเจริญเติบโตเต็มวัยจะมีขนาดตัวประมาณ 1 นิ้ว 

การขยายพันธุ์ของปลานีออน

          ปลานีออนนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมากนิยมเลี้ยงในตู้ปลาและประดับตกแต่งให้สวยงาม โดยประเทศที่ได้มีการนำเข้ามาขยายพันธุ์ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอื่นๆอีกมากมาย ในการเลี้ยงปลานีออนควรมีการรักษาอุณหภูมิให้อยู่ที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส

          ปลานีออนเป็นปลาที่รักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีนิสัยขี้ตกใจเอามากๆ ดังนั้นการนำมาเลี้ยงในตู้ปลาจึงควรเลือกตู้ที่มีฝาปิดมิดชิดป้องกันไม่ให้ปลาตกใจและกระโดดออกมาตายข้างนอกตู้ ภายในตู้ควรประกอบไปด้วย เช่น ขอนไม้ที่มีลักษณะเป็นโพรงกลวงๆตรงกลาง หิน พรรณไม้น้ำต่างๆ เพื่อให้ปลาสามารถเข้าไปพักหรือหลบภัยได้

          ในส่วนของการขยายพันธุ์นั้นเมื่อปลานีออนมีการผสมพันธุ์กันแล้ว ในระยะเวลาต่อมาเมื่อไข่สุกเต็มที่ปลาตัวเมียจะทำการวางไข่ตามใบไม้ที่อยู่ริมน้ำโดยไข่จะมีลักษณะเป็นเม็ดใสๆเล็กๆมากมาย โดยจะใช้เวลาราวๆ 3 วัน ในการฟักตัวก่อนจะออกมาเป็นลูกปลาสวยงามตัวนี้น้อยๆ ที่พอลืมตาดูโลกพ่อแม่ก็ปล่อยให้หาอาหารกินเองซะแล้ว การออกไข่ในแต่ละครั้งของปลานีออนสามารถออกได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการที่ต้องดิ้นรนมีชีวิตรอดด้วยตัวเองตั้งแต่ยังเล็กจึงไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อจำนวนประชากรของปลานีออนสักเท่าไหร่นัก 

 

Categories
สัตว์น้ำ

ทำความรู้จักกับ “ หมูทะเล ” ปลิงทะเลตัวอ้วนหน้าตาแปลกใต้ท้องทะเลลึก

สัตว์น้ำ

           หมูทะเล ( Seapig ) หรือ หมูน้ำทะเล มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Scotoplanes จัดอยู่ในตระกูลเดียวกันกับปลิงทะเล ( Sea Cucumber ) สามารถพบได้ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย ในระดับน้ำที่มีความลึกมากถึง 1,000 เมตร ซึ่งจัดว่าเป็นส่วนที่ลึกและเย็นที่สุดของที่ราบก้นสมุทรเลยทีเดียว

ลักษณะโดยทั่วไปของหมูทะเล

           หมูทะเลจะมีผิวเป็นสีชมพูเกลี้ยง ลำตัวมีลักษณะอ้วนกลมเมื่อพองตัวและมีรูปทรงเรียวเล็กในช่วงเวลาปกติ เวลาไม่พองตัวมองเผินๆก็จะเหมือนปลิงทะเลทั่วไป แต่จะต่างจากปลิงทะเลทั่วไปตรงที่มีปากยื่นออกมาคล้ายกับจมูกหมู ด้วยรูปร่างที่อ้วนกลมเมื่อพองตัวและมีปากที่ยื่นออกมาคล้ายจมูกหมูจึงเป็นที่มาของชื่อเรียก หมูทะเลหรือหมูน้ำ โดยปากของหมูทะเลจะอยู่ตอนปลายสุดด้านที่มีหนวดขึ้นเป็นกระจุกหนา ทำหน้าที่ในการดมกลิ่นและคอยเซ็นเซอร์หาแหล่งอาหาร เมื่อเจอแหล่งอาหารจะทำหน้าที่ขุดและดูดกินโคลนหน้าดิน โดยจะกินเฉพาะพวกซากพืชซากสัตว์ที่เกาะอยู่ตามผิวหน้าดินโคลน จากนั้นจะทำการขับถ่ายส่วนที่ไม่ต้องการออกมา

           หลายคนอาจจะสงสัยว่าส่วนที่ยื่นออกมาบริเวณลำตัวและปากของหมูทะเลนั้นคืออะไร ส่วนที่ยื่นออกมานี้เรียกว่า ทิวบ์ฟีต ( Tube Feet ) สามารถยืดและหดได้ โดยส่วนที่ยื่นออกมาบริเวญตัวและท้องจะทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวคล้ายกับขา เช่น การคลานบนพื้น ส่วนที่ยื่นออกมาเป็นกระจุกหนาบริเวณปากจะทำหน้าที่ในการดมกลิ่นและคอยเซ็นเซอร์หาแหล่งอาหาร โดยหมูทะเลหนึ่งตัวจะมีทิวบ์ฟีตอยู่ประมาณ 5-7 คู่ โดยเมื่อจับยืดออกมาวัดแล้วจะมีความยาวได้ราวๆ 15 เซนติเมตร 

ศัตรูตัวฉกาจของหมูทะเล

           ด้วยความที่เจ้าหมูอ้วนของเราเป็นเพียงปลิงทะเลธรรมด๊าธรรมดา ขนาดพยายามพองตัวเต็มที่แล้วก็ยังไม่มีใครกลัวเลยสักนิด เจ้าหมูทะเลจึงมักตกเป็นอาหารของสัตว์ต่างๆเสมอมา แม้ว่าธรรมชาติจะสร้างมาให้มันมีสารเคมีพิษอยู่ใต้ผิวหนังแต่ก็ทำได้เพียงปล่อยรสตชาติฝาดขมออกมาเท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้มันรอดพ้นจากศัตรูอย่าง เช่น ปรสิตแปลกๆจำนวนมาก ครัสเตเชีย และกุ้งตัวเล็กๆเลยแม้แต่น้อย เจ้าพวกนี้มักจะชอนไชกัดกินหมูทะเลจากด้านในไปเรื่อยๆทีละนิดๆ แต่ถึงยังไงก็ยังไม่หนักเท่าฝีมือมนุษย์ที่มักจะลากอวนจับไปทีละมากๆเพื่อนำไปขายและทำอาหารราคาแพงในกลุ่มประเทศต่างๆอีกด้วย

 

Categories
สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

ปลาแมนดาริน จอมหวงถิ่นและวิธีจีบสาวเท่ห์ๆในสไตล์แมนดาริน

สัตว์น้ำ

              ปลาแมนดาริน ( Mandarinfish ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Synchiropus splendiddus เป็นปลาน้ำจืดที่จัดอยู่ในวงศ์ Callionynidae มีหน้าตาคล้ายปลาบู่แต่ไม่ได้อยู่วงเดียวกันกับปลาบู่ สามารถพบปลาแมนดารินในทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ โดยมักจะเป็นการอาศัยอยู่ตามบริเวณแนวปะการังที่มีกระแสน้ำไม่แรงมากนักและมักจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามโขดหิน

              ปลาแมนดารินเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีความยาวได้ไม่เกิน 80 เซนติเมตร โดยเป็นปลาที่มีสีสันฉูดฉาดมีสีตัดกันสลับไปมาดูสดใส มีผิวเรียบและลื่น ยิ่งในช่วงที่มีการผสมพันธุ์หรือมีการต่อสู้กันปลาแมนดารินตัวผู้จะแสดงสีสันที่ชัดเจนมากกว่าช่วงเวลาปกติ นอกจากนี้เรายังสามารถสังเกตเพศของปลาแมนดารินได้โดยให้สังเกตที่บริเวณครีบหลัง ซึ่งตัวผู้จะมีครีบหลังที่ยาวยื่นออกมาให้เห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียจะไม่มีครีบหลัง

การหาอาหารและวิธีการเอาตัวรอดตามสไตล์ของปลาแมนดาริน

              อาหารของปลาน้ำจืดชนิดนี้จะเป็นจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก โดยมันจะใช้ครีมบริเวณท้องซึ่งเป็นครีบที่มีขนาดใหญ่ช่วยพยุงตัวคลานไปตามพื้นทะเลเพื่อหาอาหาร และมีครีบบริเวณหางช่วยในการบังคับทิศทาง เมื่อมันต้องเผชิญอันตรายมันจะปล่อยเมือกพิษออกมาเพื่อป้องกันตัวจากศัตรูหรือจากปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า 

              ปลาแมนดารินมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวออกมาโดยเฉพาะเวลาที่ต้องการรักษาอาณาเขตของตนจากปลาชนิดเดียวกัน โดยมันจะกางครีบออกมาให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้และพยายามขับสีผิวให้มีสีเข้มที่สุดเพื่อที่จะทำการข่มขู่ฝ่ายตรงกันข้าม แต่หากมีการต่อสู้เกิดขึ้นมันจะปล่อยเมือกพิษออกมาทำลายคู่ต่อสู้ในทันที 

วิธีการจีบสาวและการผสมพันธุ์ของปลาแมนดาริน

              จัดว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีวิธีการจีบสาวที่สุดแสนจะอ่อนหวานมากเลยทีเดียว ช่างแตกต่างกับพฤติกรรมเวลาที่ต้องปกป้องอาณาเขตโดยสิ้นเชิง โดยเจ้าปลาแมนดารินตัวผู้จะพยายามทำตัวให้มีสีสันสวยงามขึ้นมากกว่าในช่วงเวลาปกติอย่างเห็นได้ชัด และจะจีบโดยใช้วิธีว่ายน้ำเกี้ยวสาวไปรอบๆเพื่อให้สาวๆได้ชื่นชมความงดงามของตนเหมือนกับจะพยายามทำตัวให้สาวๆหลงเสน่ห์ยังไงอย่างงั้น เมื่อตัวเมียมีใจจะปล่อยไข่ออกมาและไข่จะลอยไปตามกระแสน้ำตัวผู้จึงจะทำการปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสม

              หลังจากนั้นจะใช้เวลาเพียง 14 ชั่วโมงเท่านั้นในการฟักไข่โดยปริมาณอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 28 องศา โดยเมื่อลูกปลาถึงเวลาที่จะต้องออกมาสู่โลกภายนอก มันจะใช้หัวดันเปลือกไข่ออกมาทีละนิดๆ จนสามารถหลุดออกมาได้ในที่สุด

 

Categories
สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

ปูแมงมุมญี่ปุ่น ปูที่มีขายาวที่สุดในโลก

สัตว์น้ำ

        เมื่อนึกถึงปูหลายๆคนอาจจะนึกถึงเมนูอาหารที่แสนอร่อยและอาจจะเป็นของโปรดของใครหลายๆคนด้วยนะคะ   ปูเป็นสัตว์น้ำที่มีลักษณะทางกายภาพคือ  มีกระดองหุ้มตัว  ไม่มีกระดูกสันหลัง  มี 10 ขา  มีมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ ทั่วโลก  ในแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีขนาดแตกต่างกันออกไปและมีสีสันที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสายพันธุ์   วันนี้เราจะพามาดูสายพันธุ์ที่ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น  “ สายพันธุ์ที่มีขายาวมากที่สุดในโลก ” จะยาวขนาดไหนไปดูกันเลยค่ะ

มารู้จักกับปูแมงมุมญี่ปุ่น  สัตว์ที่มีขายาวที่สุดในจำพวกสัตว์ขาปล้อง

         ปูแมงมุมญี่ปุ่น ( Japanese spider crab ) ชื่อภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ทาคาชิกามิ   จัดอยู่ในสกุล Macrocheira  เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยราวๆ 20 กิโลกรัม  มีขนาดลำตัวกว้างประมาณ 30-40 เมตรและยาวประมาณ 20 ซ.ม.  ส่วนขามีความยาวมากถึง 5.5 เมตร จึงถือว่าเป็นสัตว์ที่มีขายาวมากที่สุดในจำพวกสัตว์ที่มีขาปล้อง   ลำตัวมีสีส้มแต้มด้วยจุดสีขาวเป็นลายตามตัว  โดยตัวเมียจะมีส่วนขาและส่วนก้ามที่สั้นกว่าตัวผู้   มันเป็นสัตว์ที่มีนิสัยอ่อนโยนแม้จะมีลักษณะดุร้ายก็ตาม 

แหล่งที่อยู่อาศัยที่สามารถพบได้บ่อยๆและการเอาตัวรอด

          มักจะพบปูแมงมุมญี่ปุ่นได้ในน่านน้ำของประเทศญี่ปุ่น  บริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของเกาะฮนชูและอ่าวโตเกียวยาวลงมาจังหวัด คาโกชิมะ และจบที่ประเทศไต้หวัน   โดยสามารถพบได้ในน้ำที่มีอุณหภูมิ 10-13 องศา  ที่ความลึก50-600 เมตร   เจ้าปูขายาวนี้มีปุ่มหนามและกระดองที่แข็งแรงเพื่อให้มันสามารถป้องกันตัวเองจากอันตรายได้   มันมักจะอำพรางตัวโดยการซ่อนตัวภายใต้ฟองน้ำ  สัตว์อื่นๆที่อยู่รอบๆตัว  รวมถึงทำตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมรอบๆตัว   ซึ่งการที่เปลือกของมันขรุขระไม่เรียบเนียนก็ทำให้มันได้เปรียบในการพรางตัวโดยเฉพาะการพรางตัวอยู่ตามโขดหินใต้น้ำ   มันมักจะออกหากินในเวลากลางคืนโดยการซุ่มดักจับสัตว์ตัวเล็กๆมาเป็นอาหาร  ถึงอย่างไรก็ตามมันก็ยังคงถูกมนุษย์ล่าเพื่อนำมาเป็นอาหารในเมนูจานพิเศษอยู่ดี   นั่นก็เพราะว่ามันมีรสชาติที่อร่อย  เนื้อแน่น  มีรสหวาน  จึงทำให้มีการล่ามันมาเพื่อจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในราคาที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียวและไม่แน่ว่าในอนาคตหากยังมีการนิยมล่าอยู่แบบนี้อาจทำให้มันสูญพันธุ์ก็ได้

 

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

ปลาหมึกดัมโบ้หมึกน้อยหน้าตาทะเล้นน้องใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบ

สัตว์น้ำ

Dumbo-octopus

จัดเป็นหมึกน้ำลึก สายพันธุ์ Grimpoteuthis มีชื่อเล่นน่ารักๆว่า “ ปลาหมึกดัมโบ้ ” (Dumbo octopus ) ครีบที่เราเห็นว่าเหมือนหูที่วางอยู่บนหัวของมันแท้จริงแล้วคือ ครีบที่อยู่ข้างลำตัวไม่ใช่หัวอย่างที่เราเข้าใจ ซึ่งเจ้าครีบนี้จะช่วยในการว่ายน้ำและการประคองตัวของมัน เจ้าตัวนี้มีลักษณะลำตัวที่อ่อนนุ่มกึ่งโปร่งแสง มีครีบขนาดใหญ่อยู่ข้างลำตัว มีพังผืดคอยยึดอยู่ระหว่างหนวด เมื่อโตเต็มวัยหมึกดัมโบ้จะมีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตร แต่ก็เคยมีบันทึกว่าได้เคยมีการค้นพบเจอหมึกดัมโบ้สายพันธุ์ใหญ่ที่สุดด้วยขนาดราว 1.8 เมตร และมีน้ำหนักตัวมากถึง 5.9 กิโลกรัม และมีแหล่งอาศัยอยู่ในทะเลน้ำลึกเช่นเดียวกันกับหมึกดัมโบ้สายพันธุ์ Grimpoteuthis

เจอปลาหมึกดัมโบ้ได้ที่ไหน?

นักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจพบปลาหมึกดัมโบ้ครั้งแรก ในบริเวณแถบชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ต่อมาพบว่าแหล่งที่อยู่อาศัยของมันจะอยู่ในบริเวณน้ำที่มีระดับความลึกประมาณ 3,000-5,000 เมตร หรืออาจจะมากกว่านั้นเพราะเคยค้นพบเจอว่ามันสามารถอยู่ได้ที่ระดับความลึกถึง 7,000 เมตรเลยทีเดียว ดังนั้นจึงสามารถพบมันได้ในมหาสมุทรทุกที่ทั่วโลกในระดับความลึก3,000-7,000 เมตร ซึ่งหมึกสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์หายากที่สุด อาศัยแหล่งที่อยู่ในทะเลน้ำลึกทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่ามันมักใช้เวลายุ่งอยู่บนพื้นดินตะกอนใต้ทะเลเพื่อฟักตัวออกจากไข่ โดยคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ปีเลยทีเดียว พวกมันจะวางไข่ในระดับน้ำลึกที่ 200 – 600 เมตร ในอุณหภูมิที่เย็นจัดที่ประมาณ 6 องศาเซลเซียส 

วิธีการหาอาหารและการเอาตัวรอดสไตล์หมึกดัมโบ้

ด้วยความที่มันเคลื่อนที่โดยการขยับครีบและหนวดช่วยในการดันน้ำเข้าสู่ช่องดูดน้ำจากนั้นมันจะพ่นน้ำออกมาแรงพ่นจะช่วยให้ตัวมันลอยขึ้นไปด้านบน ( เล็กน้อย ) เพื่อที่มันจะได้มองหาเหยื่อได้ชัดขึ้นนั่นเอง เหยื่ออันโอชะของมันก็คือ สัตว์จำพวกหอยทาก หนอน สัตว์ตัวเล็กๆ ฯลฯ ส่วนศัตรูของเจ้าปลาหมึกดัมโบ้ก็มีอยู่หลายชนิด เช่น ปลาวาฬ ปลาฉลาม ปลาไหล ปลาขนาดใหญ่อื่นๆ ฯลฯ แหม..ขนาดหนีมาอยู่ใต้ทะเลน้ำลึกขนาดนี้ก็ยังหนีไม่พ้นอีกนะคะ เจ้าดัมโบ้ก็เลยต้องหาวิธีต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดด้วยการพ่นหมึกใส่ทำให้ศัตรูมองไม่เห็นแล้วก็รีบหนีไปซ่อนตัวให้เร็วที่สุด รวมถึงการใช้ความสามารถในการเปลี่ยนสีผิวเพื่อพรางตัวด้วย เป็นการเอาตัวรอดที่ไม่ต้องปะทะให้เจ็บตัวเลย ฉลาดจริงๆนะเนี่ย