Categories
ความรู้ สัตว์บก

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ลิงกังมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเทา บริเวณท้องสีขาว

ขนบริเวณกระหม่อมสีดำหรือน้ำตาลเข้มและแผ่ออกเหมือนไว้ผมทรงลานบิน  หางสั้นประมาณ 13-24 เซนติเมตร และมีขนสั้น ขายาว ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราวสองเท่า เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ความยาวหัว-ลำตัวประมาณ 49-56 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 6.2-14.5 กิโลกรัม  เรื่องน่ารู้ของลิงกัง สัตว์โลก ตัวผู้จะมีเขี้ยวแหลมยาวประมาณ 12 มม. ส่วนตัวเมียก็มีเขี้ยวแต่สั้นกว่ามากเพียง 7.3 มม.

animal world1

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง เดิมลิงกังมีสามชนิดย่อย ได้แก่ ลิงกังเหนือ ลิงกังใต้ และลิงกังปาไก

ลิงกังเหนือมีเขตกระจายพันธุ์อยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน ทางใต้สุดจรดแอ่งสุราษฎร์ธานี-กระบี่ ลิงกังใต้มีเขตกระจายพันธุ์ตั้งแต่แอ่งสุราษฎร์ธานี-กระบี่ลงไป เรื่องน่ารู้ของลิงกัง รวมถึงเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ส่วนลิงกังปาไกพบได้เฉพาะในหมู่เกาะปาไกของอินโดนีเซียเท่านั้น ลิงกังอาศัยอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในหลายประเทศ ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ทางใต้ของจีน อินโดนีเซีย(บอร์เนียว กาลิมันตัน สุมาตรา) 

animal world

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง กินผลไม้ ตะวันออกของบังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กั ดูชาเวียดนามมาเลเซีย (แผ่นดินใหญ่) พบในพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนสูงถึง 2,000 เมตร อาศัยในป่าทึบ ส่วนใหญ่เป็นป่าฝนและป่าบึง ฝูงลิงกังประกอบด้วยตัวผู้หลายตัวและตัวเมียหลายตัว สมาชิกตัวเมียเป็นกลุ่มครอบครัวเดียวกัน เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ขนสีน้ำตาล ฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 15-40 ตัว เป็นตัวผู้ราว 5-6 ตัว เรื่องน่ารู้ของลิงกัง สัตว์โลก แต่ละตัวเป็นตัวผู้ที่แยกออกมาจากฝูงที่ตัวเองเกิด 

เมื่อมีตัวผู้ตัวใหม่เข้ามาสู่ฝูง จะมีลำดับชั้นต่ำสุด หลังจากนั้นจึงค่อยต่อสู้เพื่อเลื่อนอันดับตัวเองให้สูงขึ้น ส่วนตัวเมียก็มีลำดับชั้นเช่นกัน ตัวเมียที่อันดับสูงสุดมักมีหลายตัวและเป็นพี่น้องกันที่รักใคร่ปรองดองกัน แม้กลุ่มตัวเมียจะมีอำนาจด้อยกว่าตัวผู้ เรื่องน่ารู้ของลิงกัง สัตว์โลก แต่ก็รวมตัวกันเหนียวแน่นกว่าและอาจร่วมกันต่อสู้กับตัวผู้ที่อันดับต่ำในการแย่งชิงอาหารได้ ลิงกังหากินเวลากลางวัน หากินบนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ พื้นที่หากินกว้าง  และมักย้ายพื้นที่หากินอยู่เสมอ พื้นที่ของแต่ละฝูงมักซ้อนเหลื่อมกัน แต่ลิงกังแต่ละฝูงก็ไม่ค่อยจะมีเรื่องวิวาทในเรื่องเขตแดนมากนัก

animal world2

บทสรุป

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง อาหารหลักคือผลไม้ นอกจากผลไม้ยังมีแมลง เมล็ดพืช ใบไม้ เห็ด นก ตัวอ่อนปลวก ปู เป็นต้น เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ขนสีน้ำตาล ขณะออกหากินจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 2-6 ตัว บ่อยครั้งที่เข้ามาเก็บกินผลไม้ในสวนของเกษตรกร เมื่อลิงกังบุกรุกถิ่นของคน จะมีการจัดตั้งทหารยามเพื่อเฝ้าระวังคนด้วย animal2you.com

อ่านบทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์ปีก

10 อันดับสัตว์สงวน ทำไมถึงต้องสงวนไว้ เคลียร์ทุกคำถามไว้แล้วที่นี่

สัตว์สงวน คือสัตว์ที่ได้ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์หายากตามกฎหมาย พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เป็นได้ทั้งสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อปกป้องเผ่าพันธุ์สัตว์เหล่านี้ให้สามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งจะมีการแก้ไขและอัปเดตรายชื่อสัตว์ต่าง ๆ ตามกฎหมายแต่ละฉบับ จะมีสัตว์ชนิดไหนบ้างที่ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์สงวนของไทย ไปติดตามกันเลย

รวมลิสต์รายชื่อ สัตว์สงวน ของไทย ความรู้รอบตัวที่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ควรรู้

สัตว์สงวน ตามพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ได้กำหนดไว้ว่า สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ซึ่งมีรายชื่อสัตว์สงวนทั้งสิ้น 19 ชนิด เช่น

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (PSEUDOCHELIDON SIRINTARAE)

PSEUDOCHELIDON SIRINTARAE

สัตว์ป่าสงวน ในตระกูลนกนางแอ่น ลักษณะเด่นคือขนสีดำเหลือบเขียว ขนที่สะโพกเป็นสีขาว มาพร้อมกับขนคู่ที่ยื่นเป็นแกนออกมาบริเวณหาง มีสีขาวรอบดวงตา กระจับปากสีเหลืองอมเขียว สัตว์สงวน ที่เคยพบได้ที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม

ละองหรือละมั่ง (CERVUS ELDI)

CERVUS ELDI

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายกวาง โดยละองคือชื่อเรียกเพศผู้ ส่วนละมั่งคือชื่อเรียกของเพศเมีย เป็น สัตว์สงวน ที่ยังพบเห็นได้ในไทย โดยจะมี 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ไทยและพันธุ์พม่า เป็นสัตว์ที่เราเคยได้ยินว่ามีการ ล่าสัตว์สงวน ชนิดนี้ค่อนข้างเยอะจากกลุ่มผู้คนที่แอบลักลอบล่าสัตว์ ทำให้ต้องขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์สงวนตามกฎหมายจนถึงในปัจจุบัน

นกชนหิน (HELMETED HORNBILL)

HELMETED HORNBILL

นกชนหิน หรือนกเงือกชนิดหนึ่ง ที่จะมีจุดเด่นอยู่ที่สันบนปาก ลำตัวใหญ่ จะงอยปากยาว มีขนหาง 1 คู่ที่ยาวกว่าขนหางปกติ ประมาณความยาวตั้งแต่จะงอยจนถึงขนหางคู่นี้ยาวถึง 120 เซนติเมตร เป็นนกที่เหล่านักล่าสัตว์จะนิยมล่าเพื่อเก็บจะงอยมากสลักเพื่อตกแต่งและทำเป็นเครื่องประดับ

นกแต้วแล้วท้องดำ (PITTA GURNEYI)

PITTA GURNEYI

นกสงวนในไทย ขนาดเล็ก ที่มีสีสันสวยงาม เพศผู้จะมีสีน้ำเงินแกมฟ้าเด่นบริเวณหัวและท้ายทอย หน้าผากดำ คอขาว ใต้ปีกสีเหลืองสดใส หางสีฟ้าส่วนเพศเมีย จะมีหัวและท้ายทอยสีน้ำตาล รอบตาสีดำ ส่วนล่างเป็นสีขาวอมเหลืองพาดลายตามขวาง นกหายากพบได้ตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ บริเวณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม จ.กระบี่

นกกระเรียน (GRUS ANTIGONE)

GRUS ANTIGONE

นกขนาดใหญ่ มีความสูงเฉลี่ย 2 เมตร ความยาวช่วงปีกประมาณ 2.5 เมตร สัตว์สงวนไทย ที่อาศัยรวมกันเป็นฝูง หากินตามแหล่งน้ำตื้น ๆ นอกจากขนาดใหญ่จะเป็นลักษณะเด่นของนกชนิดนี้แล้ว ลำคอสีแดงสดที่ยาวออกมาก็เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของนกชนิดนี้ที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ๆ เช่นกัน

แมวลายหินอ่อน (PARDOFELIS MARMORATA)

PARDOFELIS MARMORATA

สัตว์สงวน ขนาดกลางที่อาศัยอยู่ในป่า จุดเด่นอยู่ที่ลายบนลำตัวที่มีลักษณะคล้ายหินอ่อน ขนสีน้ำตาลอมเหลือง หางเป็นพวงขนยาวเด่นชัด มีโอกาสพบเห็นได้ตามป่าดงดิบเทือกเขาตะนาวศรีและป่าแถบภาคใต้ เป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางคืนจึงมีสายตาที่เฉียบคมมากกว่าสัตว์อื่น ๆ เป็นสัตว์ที่นักล่าชอบจับมาทำเป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงขายส่งออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก

ควายป่า (BUBALUS BUBALIS)

BUBALUS BUBALIS

สัตว์ป่า ที่มีลักษณะคล้ายควายบ้าน แต่ใหญ่กว่า ว่องไวกว่า เขาใหญ่กว่าและดุกว่าปกติ เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากการล่าเพื่อนำเขาขนาดใหญ่และสวยงามมาเป็นของตกแต่ง ปัจจุบันพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และตามป่าโปร่ง ทุ่งหญ้าโล่งใกล้แหล่งน้ำ

กวางผา (NAEMORHEDUS GRISEUS)

NAEMORHEDUS GRISEUS

สัตว์สงวน ที่มีโอกาสพบเจอบนยอดดอยม่อนจอง ดอยอินทนนท์และดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ แต่มีความว่องไวในการหลบหนี ทำให้ผู้คนที่เห็นมักจะต้องโชคดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบมาก ๆ มีลักษณะคล้ายแพะ ขนสีเทาหรือน้ำตาล มีแถบดำพาดกลางหลัง มีความยาวลำตัวประมาณ 80-120 เซนติเมตร สูงประมาณ 50-70 เซนติเมตร

พะยูน (DUGONG)

DUGONG

สัตว์ทะเลที่มีโอกาสเป็น สัตว์สูญพันธุ์ โดยมีลักษณะคล้ายแมวน้ำ อ้วนกลม มีครีบหน้าที่ใช้พยุงตัวและขุดหาอาหารจำพวกหญ้าทะเลในแถบชายฝั่งและน้ำตื้น มีจุดเด่นอยู่ที่ฟันคู่หน้าคล้ายงาช้างเพื่อใช้สำหรับต่อสู้และขุดหาอาหาร 

ปลาฉลามวาฬ (WHALE SHARK)

WHALE SHARK

สัตว์หายาก ที่อาศัยอยู่ตามทะเลเขตร้อนและอบอุ่น เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวที่โตเต็มที่มีความยาวสูงสุดถึง 15 เมตร จุดเด่นของฉลามวาฬคือจะมีจุดกลม ๆ สีขาวหรือสีเหลืองกระจายอยู่ตามแนวลำตัว ซึ่งจะเป็นเหมือนเอกลักษณ์ปรำจะตัวที่แตกต่างกันไป เป็นปลาที่นักดำน้ำมีโอกาสพบเจอได้ตามชายฝั่งทะเลของไทยทั้งชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

บทสรุป

สัตว์สงวน ที่ล้มตายและกำลังจะสูญพันธุ์นั้นเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและน่าเสียดาย สัตว์ทุกชนิด ทุกตัวล้วนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ดังนั้นมนุษย์ไม่ควรที่จะเข้าไปคุกคามหรือตามล่าสัตว์เหล่านี้แบบที่เราเห็นข่าว ไม่ว่าจะเป็น นาก หรือสัตว์อื่น ๆ ก็สมควรที่จะได้รับการ อนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อให้สัตว์เหล่านี้ได้ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไป animal2you.com

อ่านบทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์บก แนะนำ

แมวป่าหัวแบน ตากลมสุดน่ารัก แต่หาชมได้ยาก จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ที่ต้องเร่งอนุรักษ์

แมวป่าหัวแบน เป็นสัตว์โลกสุดแสนน่ารัก ที่ตากลมโต หัวมน หูตั้ง แต่น่าเสียดายที่กลายเป็นสัตว์ที่หายากมากที่สุดในโลก แมวป่าสายพันธุ์นี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prionailurus planiceps โดยอยู่ในวงศ์เดียวกับเสือและแมว หรือวงศ์ Felidae การลดจำนวนประชากรตามธรรมชาติของแมวป่านี้สาเหตุหลักเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปนเปื้อนของสารเคมี โลหะหนัก ในแหล่งน้ำ ส่งผลให้แมวป่าหัวแบนได้รับสารเคมีสะสมเข้าไปในร่างกายปริมาณมาก

การตัดไม้ทำลายป่า และบุกรุกพื้นที่จากมนุษย์ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้สัตว์ชนิดนี้มีจำนวนลดลง จนเข้าขั้นวิกฤต ใกล้สูญพันธุ์และพบเจอได้ยากมากตามธรรมชาติ ใครที่ได้พบเจอแมวป่าหัวแบนโดยบังเอิญถือว่าเป็นผู้ที่โชคดีสุด ๆ เพราะไม่ได้มาปรากฏตัวให้เห็นง่าย ๆ นั่นเอง

มาทำความรู้จักกับแมวป่าหัวแบน สัตว์โลกแสนน่ารักนี้ให้มากขึ้นกันเลย

อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า แมวป่าหัวแบน เป็นสัตว์ที่ไม่ได้พบเจอได้ง่าย ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่บนโลกนี้จึงไม่รู้ว่าแมวป่าชนิดนี้มีลักษณะอย่างไร อยู่ที่ไหนและกินอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุก ๆ คนมาทำความรู้จักกับแมวป่าสุดน่ารักนี้กันให้มากขึ้น ถ้ามองเผิน ๆ แล้วดูเหมือนแมวพันธุ์ทั่วไปเลย ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นสัตว์ตระกูลแมวป่าสุดแสนหายาก

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

แมวป่าหัวแบน จะมีรูปร่างหน้าตาค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งส่วนหัวจะมีลักษณะยาวและแคบ ส่วนลำตัวยาว แต่มีขาสั้น หางสั้นมีขนปกคลุมอย่างหนาแน่น โดยเจ้าแมวตัวนี้สีขนบริเวณหัวเป็นสีน้ำตาลแดง บริเวณลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม ด้านท้องจะมีจุดด่างสีขาว ส่วนหน้าจะมีคางและแก้มสีขนขาว แต้มไปด้วยลายดำทั้งสองข้างของแก้ม ดวงตาขนาดใหญ่กลมโต และหูตั้ง น้ำหนักตัวปนะมาณ 1.5-2.5 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่อาศัย

แมวป่าหัวแบน อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถพบได้ในประเทศบรูไน ประเทศอินโดนีเซียแถบกาลิมันตัน สุมาตรา ประเทศมาเลเซียแถบเพนนิซูล่า ซาบาห์ราวัก และประเทศไทยเองก็สามารถพบได้ แต่โอกาสเจอน้อยมาก ๆ 

อาหาร

แมวป่าหัวแบน เป็นสัตว์นักล่าที่มีขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่จะล่าเหยื่อที่ตัวเล็ก เช่น สัตว์จำพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และปลานั่นเอง 

นิสัยและพฤติกรรม

แมวป่าหัวแบน พฤติกรรมจะเป็นแมวที่ชอบเล่นน้ำมาก ซึ่งแตกต่างกับแมวทั่วไปที่ไม่ชอบน้ำเอาเสียเลย ซึ่งถ้าเห็นน้ำจะกระโจนเล่นน้ำแบบไม่รู้เหนื่อย สามารถลงไปในน้ำและจับปลากินเป็นอาหารได้ พฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งของแมวสายพันธุ์นี้คือจะมีการนำเอาอาหารต่าง ๆ มาล้างน้ำก่อนกิน โดยเป็นพฤติกรรมที่แตกต่างจากแมวสายพันธุ์อื่น ๆ 

สถานภาพปัจจุบัน

น่าเสียดายที่แมวป่าชนิดนี้ได้กลายเป็นกลุ่มสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์เต็มที่ ซึ่งรายชื่อถูกกำหนดไว้ตามบัญชีแดงของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN Red List, 2010) ไม่เพียงเท่านั้นยังเป็นสัตว์ป่าที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีสัตว์หมายเลข 1 ของอนุสัญญาการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ (CITES) ดังนั้นไม่สามารถครอบครอง ซื้อขาย และห้ามล่าเป็นอันเด็ดขาด 

แมวป่าหัวแบน สัตว์ที่เสี่ยงสูญพันธุ์จากปัญหามลภาวะทางน้ำ และการบุกรุกพื้นที่ป่า

แมวป่าหัวแบน เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์แมวป่าหายาก มีจำนวนประชากรอยู่ในขั้นวิกฤติที่อาจสูญพันธุ์ได้ตลอดเวลา แล้วทุกคนรู้หรือไม่ว่าทำไมจึงได้กลายเป็นสัตว์หายาก ปัจจัยหลักคือเกิดจากการปนเปื้อนสารพิษ มลภาวะทางน้ำ โดยเฉพาะการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายอย่างคลอรีน น้ำมัน และโลหะหนัก ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าแมวป่าหัวแบนจะชอบอาศัยอยู่ใกล้น้ำ และหากินไล่ล่าเหยื่อจากในน้ำ ดังนั้นจึงได้รับสารพิษจากอาหารนั่นเอง เมื่อสะสมในร่างกายในปริมาณจะทำให้แมวป่วยตายได้ รวมทั้งการบุกรุกพื้นที่ป่า การขยายพื้นที่ทำการเกษตร ก็ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แมวป่าหัวแบนใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อหลีกเลี่ยงการล่าจากน้ำมือมนุษย์ และเร่งฟื้นฟูเพิ่มประชากรให้มากขึ้น เพื่อให้แมวนักล่าสุดน่ารักสายพันธุ์นี้คงอยู่สืบต่อไป animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : ufaball.bet

Categories
ความรู้ สัตว์บก แนะนำ

แมวตีนดำ สายพันธุ์แมวที่ดุที่สุดในโลก ถึงหน้าตาจะน่ารักแต่โหดมากนะขอบอก

ถ้าพูดถึงแมวตีนดำบอกเลยว่าให้ลบความทรงจำแมวบ้านที่น่ารัก ๆ ออกไปได้เลย เพราะสายพันธุ์นี้ดุมาก ชนิดที่ว่าไม่ควรเข้าใกล้เป็นอันเด็ดขาด หนึ่งในนักล่ารัตติกาลที่โฉบเฉี่ยว ขึ้นชื่อมาในถิ่นแอฟริกา แม้ว่าหน้าตาของแมวชนิดนี้จะดูน่ารักสุด ๆ แต่นิสัยตรงข้ามกับหน้าตาเลยทีเดียว นอกจากนั้นแมวตีนดำยังเป็นแมวที่มีขนาดเล็กมากที่สุดในแอฟริกา หากดูเผิน ๆ อาจจะคิดว่าแมวบ้าน เพราะรุปร่างหน้าตาคล้ายกันมากจัดเป็นนักล่าเก่งอันดับต้น ๆ

ในพื้นที่เพราะแมวชนิดนี้เมื่อเปรียบเทียบอัตราการล่าสำเร็จสูงมากถึง 60% ซึ่งมากกว่าเสื้อชีตาร์ที่มีอัตราการล่าสำเร็จที่ 58% ส่วนสิงโตนั้นเหรอไม่ต้องพูดถึงเพราะห่างชั้นกับแมวตีนดำไปมาก เนื่องจากสิงโตมีอัตราการล่าสำเร็จเพียงแค่ 25% เท่านั้นเอง นับว่าแมวสายพันธุ์นี้เป็นสัตว์นักล่าตัวยงเลยทีเดียว ถึงแม้จะตัวเล็กแต่โหดมากนะลงมือล่าเหยื่อเมื่อไหร่โอกาสพลาดน้อยมาก

ข้อมูลทั่วไปที่ควรทราบของแมวตีนดำ แมวหน้าบ๊องแบ๊วแต่ชอบแยกเขี้ยวขู่ฟ่อ ๆ 

แมวตีนดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Felis nigripes จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อยู่ในกลุ่มตระกูลแมว ซึ่งสายพันธุ์นี้มีทักษะการล่าที่ยอดเยี่ยมมาก จนได้ฉายานามว่า “10 แมวที่อันตรายที่สุดในโลก” เพราะน้องโหดจริง แนะนำว่าไม่ควรเข้าใกล้เด็ดขาดถ้าพบเจอเพราะคุณอาจจะถูกจู่โจมได้อย่างไม่ทันตั้งตัว เพราะเป็นแมวที่เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วสุด ๆ ดังนั้นมาเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแมวสายพันธุ์นี้กันเถอะ

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

แมวสายพันธุ์นี้มีขนาดตัวเล็กมาก น้ำหนักตัวเมียอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.6 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนตัวผู้จะหนักกว่านิดหน่อยประมาณที่ 1.6-2.1 กิโลกรัม ตัวเล็กจนกระทั่งได้รับการจัดอันดับเป็นแมวป่าที่ตัวเล็กที่สุดในโลก ลำตัวมีขนหนาปกคลุมฟูฟ่อง สีของขนจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนไปจนเหลือง และมีสีน้ำตาลแดงปน มีลายจุดสีเข้มกระจาบตามลำตัว หน้าหมน หูใหญ่มน และลักษณะเด่นของแมวชนิดนี้คือ บริเวณอุ้งเท้าที่มีขนยาวสีดำปกคลุมอยู่ จึงตั้งชื่อว่าแมวเท้าดำ หรือตีนดำนั่นเอง และรู้ไหมว่าตีนดำนั้นมีประโยชน์มาก ๆ เป็นกลไกรักษาสมดุลของแมวสายพันธุ์นี้ เนื่องจากตีนสีดำจะช่วยให้สามารถทนทานต่อความร้อนของทะเลทรายได้ จึงทำให้เดินบนทะเลทรายที่ร้อนระอุได้อย่างสบาย ๆ 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

แมวตีนดำ สามารถพบได้ในบางประเทศของทวีปแอฟริกาเท่านั้น เช่น ประเทศแอฟริกาใต้ นามิเบีย บอตสวานา และทางตอนใต้ของประเทศแองโกลา ซึ่งมักจะชอบอาศัยอยู่ตามป่าเล็ก ๆ ในทะเลทราย เช่น ทะเลทรายคาลาฮารี และคารู โดยจะชอบอยู่ในบริเวณป่าสูง ซึ่งมักจะมีหนู หรือสัตว์ตัวเล็กชุกชุมอยู่ เอาไว้ล่าเป็นอาหารนั่นเอง

ลักษณะนิสัย

แมวตีนดำ เป็นแมวที่รักสันโดษมาก ๆ มักจะออกล่าเหยื่อในตอนกลางคืนอย่างเดียวดาย เมื่อเข้าสู่เวลากลางวัน แสงแดดส่องเจิดจ้า และอุณหภูมิที่ร้อนเกินบรรยายแมวชนิดนี้จะเข้าไปหลบอยู่ตามโพรงปลวก โพรงของสัตว์ป่าชนิดอื่น และตามบริเวณซอกหิน เมื่อเข้าสู่ช่วงพลบค่ำ ก็จะออกมาปรากฏกายล่าเหยื่อกินเป็นอาหาร และเชื่อไหมว่าเป็นแมวที่สามารถกินซากได้ โดยมักจะนำอาหารไปตุนเอาไว้ในโพรงเพื่อกินในเวลาต่อมา

แมวตีนดำ นักล่าตัวเล็กจิ๋ว ที่ล่าเก่งติดอันดับต้น ๆ ของโลก เจ้าป่าอย่างสิงโตยังเทียบไม่ได้

สำหรับแมวตีนดำ จัดเป็นสัตว์ป่าที่ล่าเหยื่อได้เก่งมาก แต่อาจจะเป็นเพราะว่าเหยื่อส่วนใหญ่มีขนาดตัวเล็กกว่ามัน จึงทำให้ล่าได้ไม่ยาก แมวตีนดำชื่อนี้มาจากลักษณะของอุ้งเท้าที่ปกคลุมไปด้วยขนสีดำ เป็นสัตว์บกที่มีการกระจายพันธุ์ในบางประเทศของทวีบแอฟริกาเท่านั้น และปัจจุบันเสี่ยงอยู่ในกลุ่มสัตว์สูญพันธุ์สูงมาก เนื่องจากมีภัยคุกคามหลายด้าน จนทำให้แมวสายพันธุ์นี้ลดจำนวนลงเป็นปริมาณมาก แมวตีนดำยังมีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สามารถอดน้ำได้นานมาก เนื่องจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยเป็นทะเล แต่อย่างไรก็ตามน่าเสียดายที่มีโอกาสเห็นแมวนักล่าสายพันธุ์จิ๋วนี้ได้น้อยมาก animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : hilo-88.net

Categories
ความรู้ สัตว์บก

ลิงโคโลบัสแดง สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ แห่งเกาะแซนซิบา ประเทศแทนซาเนีย

หากพูดถึงชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่งอย่างลิงโคโลบัสแดง เชื่อว่าหลายคนไม่รู้จักอย่างแน่นอน ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกท่านที่หลงใหลในสัตว์โลกแสนน่ารัก มาทำความรู้จักกับสัตว์สายพันธุ์นี้ ซึ่งเป็นลิงที่จัดอยู่ในกลุ่มค่าง สามารถพบได้ในแถบทวีปแอฟริกา เชื่อไหมว่าลิงโคโลบัสแดงถูกเรียกจากชาวบ้านในท้องที่ว่าเป็น “ลิงพิษ” เนื่องจากว่าหากพวกมันไปกินพืชที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง พืชเหล่านั้นจะตาย ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีกเลย

แต่แท้จริงแล้วตัวของลิงโคโลบัสแดงไม่ได้มีพิษจากตัวของมันเอง ซึ่งการที่ต้นไม้ล้มตายนั้นเกิดจากการกินที่มากเกินไปของพวกมัน โดยลิงชนิดนี้มักจะชอบกินใบและต้นอ่อนของพืชจนทำให้พืชเหล่านั้นไม่เจริญเติบโต หยุดการกระจายพันธุ์ในบริเวณนั้น ๆ นั่นเอง ด้วยความไม่รู้ของชาวบ้าน จึงทำให้คิดว่าสัตว์ชนิดนี้มีพิษจนเป็นสาเหตุของการถูกล่าจากน้ำมือมนุษย์ในอดีต จนเกือบสูญพันธุ์ปัจจุบันนี้พบว่าจำนวนประชากรของลิงชนิดนี้เหลือเพียงแค่ 2,000 ตัว เท่านั้น ซึ่งอยู่บนเกาะแซนซิบา ในประเทศ

มาทำความรู้จักกับลิงโคโลบัสแดง สัตว์โลกผู้รักการห้อยโหนนี้กันเพิ่มเติมเถอะ

ลิงโคโลบัสแดง เป็นอีกหนึ่งสัตว์หายากที่มีการกระจายพันธุ์ในแถบทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะประเทศแทนซาเนีย เจ้าลิงสายพันธุ์นี้เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งกินอาหารได้อย่างหลากหลาย เป็นสัตว์กินพืช สามารถกินได้ทั้งดอกไม้ ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ ต้นอ่อน และเมล็ดพืช จึงเรียกว่าเป็นตัวพิษทำลายล้างพืชพรรณจำนวนมาก จนทำให้ถูกไล่ลาจากมนุษย์ 

ลักษณะนิสัย

ลิงโคโลบัสแดงเป็นสัตว์ป่า ที่ชอบอยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งในฝูงจะมีสมาชิกอยู่ประมาณ 9 ตัว และมีความตะกละ มูมมาม กินเยอะมาก ๆ ชนิดที่ว่ากินไม่เหลือ กระจัดกระจายเละเทะทั้งสวน เป็นลิงที่มีความว่องไวสูง เคลื่อนไหวตัวได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว

ลักษณะสัณฐานวิทยา

สัตว์ชนิดนี้ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จัดอยู่ในกลุ่มไพรเมต ลักษณะร่างกายจะมีหัวแม่มือสั้นมาก ขนของลิงชนิดนี้ มี 2 สี ได้แก่ สีดำ และสีขาว จัดอยู่ในกลุ่มค่าง โดยเจ้าลิงแรกเกิดจะมีขนสีขาวเป็นส่วนใหญ่ 

แหล่งที่อยู่อาศัย

ลิงโคโลบัสแดงอย่างที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสัตว์ที่อาศัยในทวีปแอฟริกา ซึ่งสามารถอาศัยได้ในสภาพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าเสื่อมโทรม ป่าสมบูรณ์ ทุ่งหญ้า หรือแม้กระทั่งป่าริมแม่น้ำ เนื่องจากพวกมันกินอาหารที่เป็นพืชได้หลากหลายชนิดนั่นเอง 

สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์

สัตว์ชนิดนี้ถูกล่าอย่างหนักจากมนุษย์ เนื่องจากเป็นภัยต่อพืชพรรณที่พวกเขาปลูกไว้ รวมทั้งชาวบ้านท้องถิ่นนิยมล่านำเนื้อมาบริโภค ไม่เพียงเท่านั้นน่าเศร้าที่ว่าลิงโคโลบัสเป็นเหยื่อของชิมแปนซีที่กินเนื้ออีกด้วย รวมทั้งการทำลายป่าไม้ จึงทำให้ขาดแคลนถิ่นที่อยู่อาศัย รวมถึงอาหาร พร้อมทั้งการบุกรุกพื้นที่ป่าของมนุษย์ จนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทำให้กลายเป็นสัตว์ที่เสี่ยงสูญพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีทีมนักวิจัย และนักอนุรักษ์ร่วมช่วยกันดูแลสัตว์สายพันธุ์นี้ให้ยังคงอยู่ต่อไป

ลิงป่า ลิงโคโลบัสแดง สัตว์ที่ควรได้รับการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน

ลิงโคโลบัสแดง เป็นกลุ่มสัตว์บกแห่งทวีปแอฟริกา ที่กำลังเข้าสู่สถานการณ์วิกฤต เชื่อไหมว่าปัจจุบันพวกเขามีจำนวนประชากรเฉลี่ยเหลือเพียงแค่ 2,000 กว่าตัวเท่านั้น ซึ่งจัดว่าเป็นเป็นอัตราประชากรที่ต่ำมาก ลิงโคโลบัสแดงจึงจัดอยู่ในการเฝ้าระวังเข้าข่ายสัตว์สูญพันธุ์ เจ้าลิงตัวน้อยนี้ จัดเป็นสัตว์กินพืช ที่กินได้อย่างแหลกลาน จนทำให้เป็นภัยต่อพรรณทางการเกษตร จนถูกล่านำเนื้อมามาบริโภค ไม่เพียงเท่านั้นด้วยการเปลี่ยนแปลงของยุค ทำให้พืชที่ป่าถูกบุกรุกด้วยมนุษย์ ส่งผลให้ลิงโคโลบัสแดงได้รับผลกระทบจากการทำลายป่าไม้ ลดแหล่งอาหาร และการตัดถนนเข้าใกล้เขตป่าสงวน ยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่ลิงชนิดนี้อีกด้วย ปัจจุบันจึงต้องเร่งการขยายพันธุ์ และกำหนดกฎหมายการอนุรักษ์เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดนี้ เพื่อให้คงอยู่ในโลกนี้สืบต่อไป animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : ufaball.bet

Categories
ความรู้ สัตว์บก

มาทำความรู้จักกับหมาจิ้งจอกอาร์กติก เจ้าขนปุกปุยสายเลือดนักล่าแห่งเมืองอันหนาวเหน็บ

วันนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับสัตว์โลกน่ารักอย่าง “หมาจิ้งจอกอาร์กติก” หรือมีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า หมาจิ้งจอกขั้วโลก หรือหมาจิ้งจอกหิมะ เจ้าหมาจิ้งจอกตัวนี้ขึ้นชื่อในเรื่องของการปรับตัวกับาภาพอากาศได้เป็นอย่างดี สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่หนาวเย็นชนิดที่ติดลบได้ ซึ่งหมาจิ้งจอกอาร์กติกรักษาสมดุลอุณหภูมิร่างกายได้อย่างยอดเยี่ยม ขนหนาฟูสีขาวช่วยปกป้องการสูญเสียความร้อน นอกจากนั้นจิ้งจอกสายพันธุ์นี้ยังมีความโดดเด่นที่อุ้งเท้ามีขนโอบอุ้มอยู่ ทำให้มันสามารถเดิน วิ่ง และเคลื่อนไหวได้อย่างสบายบนพื้นน้ำแข็ง โดยหมาจิ้งจอกอาร์กติกในธรรมชาติจะสามารถเอาตัวรอดในภัยพิบัติอย่างพายุหิมะ หรือช่วงหิมะตกหนัก ด้วยการขุดโพรงลึกลงไปในหิมะ และขดตัวอยู่ในโพรงนั้น เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ขนสีขาวของหมาจิ้งจอกชนิดนี้จะร่วง และขนสีเทาอมน้ำตาลจะขึ้นมาแทน ซึ่งขนจะมีขนาดสั้นลง เพื่อปรับให้เหมาะกับอุณหภูมิอากาศที่สูงขึ้น

หมาจิ้งจอกอาร์กติก นักล่าสุดคิ้วท์บนดินแดนแห่งขั้วโลกเหนือ มีลักษณะนิสัย และดำรงชีวิตอย่างไร

ขั้วโลกเหนือดินแดนแห่งความหนาวเย็น มีน้องหมาจิ้งจอกอาร์กติก ซึ่งเป็นสัตว์นักล่าขนาดเล็ก ที่มีความคล่องแคล่วบนหิมะชั้นหนา ซึ่งสุนัขจิ้งจอกอาร์กติกแหล่งที่พบสามารถเจอได้ในพื้นที่เขตชายผั่งมหาสมุทรอาร์กติกไปจนถึงเขตทุนดรา ที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง และหิมะ

ลักษณะกายภาพทั่วไป

สุนัขจิ้งจอกสายพันธุ์นี้มีขนาดเล็ก มีขนสีขาวหนาฟู ที่กลมกับสภาพแวดล้อมมาก ๆ ทำให้สามารถพลางตัวและล่าเหยื่อได้ง่าย หูตั้งแหลมเล็ก และยังมีหน้าที่สั้นกว่าสุนัขจิ้งจอกทั่วไป ในช่วงหมดฤดูหนาว จะผลัดขนเป็นสีน้ำตาลเทา และขนสั้นกว่าเดิม น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2.7-5.4 กิโลกรัมเท่านั้น

อาหารการกิน

หมาจิ้งจอกอาร์กติก อาหารจะเป็นสัตว์ขนาดเล็กทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว 

ลักษณะนิสัย

หมาจิ้งจอกอาร์กติก นิสัยจะเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่สันโดษ ไม่ได้อยู่เป็นฝูงจำนวนมาก และเป็นสัตว์นักตุนอาหารโดยเฉพาะช่วงเวลาหนาวจัด จะซากหนู ซากนกขนาดเล็ก เก็บไว้กินในโพรง ซึ่งมันสามารถขุดโพรงเก่งมาก และขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์นักขุดแห่งขั้วโลกเหนือ

พฤติกรรมการผสมพันธุ์

หมาจิ้งจอกอาร์กติกจะมีช่วงฤดูผสมในระหว่างเดือนกันยายน ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ เชื่อไหมว่าถึงแม้จะตัวเล็กจิ๋ว แต่สามารถเกิดลูกได้ครอกละประมาณ 18 ตัวเลยทีเดียว แต่น่าเสียดายที่ลูก ๆ มักจะไม่รอดในช่วงฤดูหนาวที่เข้ามาเยือนในช่วงเวลาแรกเริ่มชีวิตของพวกมัน ด้วยสภาพแวดล้อมที่อาศัยมีความหนาวเย็นที่ติดลบระดับ -50°C จึงทำให้ลูกสุนัขจิ้งจอกนี้มีโอกาสตายได้สูงถึง 90% เลยทีเดียว 

หมาจิ้งจอกอาร์กติกด้วยการที่มีขนาดตัวเล็กพอ ๆ กับแมวบ้าน จึงทำให้เป็นนักล่าที่ไม่น่ากลัว และมีความอ่อนแอกว่าสุนัขจิ้งจอกสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งจะเน้นล่าสัตว์ขนาดเล็กจำพวกหนู นก เท่านั้น และลักษณะสัณฐานวิทยา รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยเป็นเขตบริเวณขั้วโลก ที่มีฤดูหนาวยาวนาน จึงทำให้มีการขาดแคลนอาหาร รวมทั้งภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขนาดใหญ่เกิดการละลาย จนทำให้ที่อยู่อาศัยลดน้อยลง ส่งผลให้ปัจจุบัน สุนัขจิ้งจอกสายพันธุ์นี้เข้าข่ายใกล้สูญพันธุ์ และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

หมาจิ้งจอกอาร์กติก สัตว์โลกที่ใกล้เข้าสู่สภาวะสูญพันธุ์

หมาจิ้งจอกอาร์กติก หรือ สุนัขจิ้งจอกอาร์กติกเป็นสัตว์ที่สามารถอยู่อาศัยได้ในเขตหนาว โดยมีการปรับตัวได้ดีต่อการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่โหดร้าย หมาจิ้งจอกอาร์กติกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่ยังชีพด้วยการล่าสัตว์ขนาดตัวกระจิดริด เป็นสัตว์ป่าในเขตทุนดราที่มีความว่องไว และพลางตัวเก่งมากในหิมะที่ขาวโพลนจึงล่าเหยื่อขนาดเล็กที่เคลื่อนไหวไปมาได้ไม่ยากเย็น หมาจิ้งจอกอาร์กติกเป็นสัตว์ที่กำลังใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากหลายปัจจัยทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ภาวะโลกร้อน และลักษณะธรรมชาติของพวกมัน ดังนั้นจึงเป็นสัตว์ที่ต้องให้ความสนใจ และเข้าช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้สุนัขจิ้งจอกสายพันธุ์นี้สูญพันธุ์ไปตลอดกาล animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : hilo-88.com

Categories
ความรู้ สัตว์บก

หมาป่าซิซิเลียน แห่งเกาะซิซิลี สัตว์ป่าสูญพันธุ์ช่วง 100 ปี ที่ผ่านมา

มาทำความรู้จักกับ “หมาป่าซิซิเลียน” กันดีกว่า เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่เคยรู้จักหมาป่าสายพันธุ์นี้มาก่อนเลยก็อาจจะเป็นไปได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เนื่องจากว่าเป็นหมาป่าที่ได้สูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นได้ว่ามีสัตว์จำนวนมากที่สูญพันธุ์และบางชนิดถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ที่เข้าไปทำลายล้างสมดุลของธรรมชาติ ถ้าพูดถึงในเรื่องของห่วงโซ่อาหารมนุษย์จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่สูงสุดบนห่วงโซ่ กินไม่เลือก กินได้ทุกอย่างที่ขวางหน้าเพื่อเอาชีวิตรอด แน่นอนว่าหมาป่าซิซิเลียนก็เป็นเหยื่อเช่นเดียวกันกับสัตว์อื่น ๆ สาเหตุของการสูญพันธุ์เกิดจากมนุษย์ที่ล่าเพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร จนกระทั่งหมาป่าซิซิเลียนไม่สามารถสืบพันธุ์สร้างลูกหลานและดำรงชีวิตในโลกนี้ได้อีกต่อไป

หมาป่าซิซิเลียน ประวัติที่มาและถิ่นที่อยู่อาศัย

หมาป่าซิซิเลียน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับหมาป่าทั่วไป ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Sicilain Wolf” โดยสายพันธ์นี้จัดเป็นสัตว์สูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันไม่สามารถพบเห็นได้อีก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย และน่าหดหู่มาก แต่เดิมหมาป่าซิซิเลียนมีถิ่นที่อยู่อาศัยเกาะซิซิลี และได้สูญพันธุ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 สาเหตุของการสูญพันธุ์เกิดจากการถูกฆ่าด้วยมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ พวกเขานำเนื้อของหมาป่าซิซิเลียนมาบริโภคเป็นอาหารเพื่อประทั่งความหิวโหย และอีกปัจจัยหนึ่งคือการขาดแคลนอาหารจากวิกฤตบนเกาะจึงทำให้พวกมันล้มตายไปในที่สุด 

ลักษณะโครงสร้างร่างกาย

หมาป่าซิซิเลียน ลักษณะคล้ายกับหมาป่าทั่วไป ตัวไม่สูงมากนัก ขนสั้นสีน้ำตาลอ่อนไปจนเข้ม โดยหลังจะมีสีเข้ม หูแหลม ร่างกายปราดเปรียว กำยำ และว่องไว ฟันแหลมคมเนื่องจากกินเนื้อ จมูกไว สัญชาตญาณนักล่าสูงมาก และมักล่าเหยื่อในตอนกลางคืนเหมือนหมาป่าสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

การค้นพบ

จากบันทึกมีผู้เคยพบเห็นหมาป่าสายพันธุ์นี้เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ. 1920 และเคยมีข่าวดังในช่วงปี ค.ศ.1996 ที่ชายชาวญี่ปุ่นบังเอิญไปพบกับหมาป่าที่คล้ายกับซิซิเลียน ทั้งที่พวกมันได้สูญพันธุ์มาแล้วหลายปี ซึ่งไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใช่สายพันธุ์ซิซิเลียนหรือไม่ ปัจจุบันสามารถไปเยี่ยมซากฟอสซิลที่ถูกสตาร์ฟไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเวโรน่า ประเทศอิตาลี หากใครที่ได้ไปเยือนแนะนำว่าไม่ควรพลาดแวะเข้าไปเยี่ยมชม ช่างน่าเสียดายจริง ๆ ที่ไม่มีโอกาสได้เห็นตัวเป็น ๆ ของหมาป่าสายพันธุ์นี้

หมาป่าซิซิเลียน สัตว์ป่าที่สูญพันธุ์ด้วยความเห็นแก่ตัวของมนุษย์

หมาป่าซิซิเลียน เป็นสุนัขที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งมันเคยเป็นสัตว์นักล่าแห่งเกาะซิซิลี แต่น่าเสียดายที่ตอนนี้มันกลับกลายเป็นเพียงแค่ซากฟอสซิลที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ไปเสียแล้ว หมาป่าซิซิเลียนเป็นสัตว์กินเนื้อเหมือนกับหมาป่าทั่วไป ซึ่งมีความใกล้เคียงกับหมาป่าอิตาลี มีขนาดตัวไม่ใหญ่มาก เมื่อเทียบกับหมาป่าสายพันธุ์ใหญ่อย่างหมาป่ายูเรเซีย โดยปัจจุบันอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าสูญพันธุ์อย่างถาวร และไม่มีใครได้พบเห็นอีกเลย สาเหตุหลักของการสูญพันธุ์เกิดจากการถูกมนุษย์ล่าและนำเนื้อมากิน ไม่เพียงเท่านั้นยังเกิดภาวะวิกฤตขาดแคลนสารอาหารภายในเกาะจึงทำให้หมาป่าซิซิเลียนเข้าสู่ขั้นวิกฤติ ขาดอาหาร และถูกล่าไม่หยุดหย่อน จนในที่สุดจุดจบก็คือการสูญพันธุ์ เพราะฉะนั้นอยากให้ทุกคนตระหนักถึงการอนุรักษ์สัตว์และสิ่งแวดล้อมให้มาก เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสัตว์โลก และลดอัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์ เนื่องจากระยะเวลา 100 ปี ที่ผ่านมานี้มีสัตว์สูญพันธุ์เพิ่มหลายชนิด ทั้งยังอยู่ในเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงอีกหลายสายพันธุ์ animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : ufaball.bet/

Categories
ความรู้ สัตว์บก แนะนำ

กระรอกสามสี สัตว์ป่าคุ้มครอง ขนสวยสะดุดตา หางยาวปุกปุย

กระรอกสามสี เป็นสัตว์สายพันธุ์กระรอกที่พบเห็นได้ยาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus prevostii เป็นกระรอกที่ตัวใหญ่ไม่ใหญ่มากนัก มีขนาดตัวปานกลาง ลำตัวของกระรอกสามสีอยู่ที่ประมาณ 25 เซนติเมตร และหางจะมีขนหนาปกคลุมฟูฟ่อง ซึ่งความยาวของหางจะอยู่ที่ประมาณ 27 เซนติเมตร กระรอกสามสี มีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับกระรอกหลากสี จัดอยู่ในสกุลเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus finlaysonii แต่มีความแตกต่างกันที่สายพันธุ์สามสีตัวเมียจะมีเต้านม 3 คู่ ซึ่งกระรอกชนิดนี้สามารถพบได้ในทวีปเอเชีย มักอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์

ข้อมูลทั่วไปที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระรอกสามสีสัตว์โลกแสนน่ารัก 

กระรอกสามสี เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงใกล้เป็นสัตว์สูญพันธุ์ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ให้กระรอกสายพันธุ์นี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และห้ามไม่ให้มีการเลี้ยง แต่ก็ยังมีการแอบนิยมซื้อขายเป็นสัตว์เลี้ยงอยู่

ลักษณะที่โดดเด่น

กระรอกสามสี ลักษณะที่โดดเด่นซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนคือสีของขนที่มีสามสี โดนบริเวณหูและหัวจะมีสีดำ ขนหางครึ่งหนึ่งเป็นสีดำ ปลายหาเป็นสีน้ำตาล ส่วนขาขนมีสีแดงปนน้ำตาลแก่ บริเวณโคนขาหลังด้านบนมีสีขาว ขนท้องจะมีสีน้ำตาลปนแดงมีแถบสีขาวพาดจากโคนขาหลังไปยังขาหน้า กระรอกสามสี จึงประกอบไปด้วยสีดำ สีขาว และสีน้ำตาล

ถิ่นที่อยู่อาศัย

สามารถพบได้บริเวณป่าดิบชื้น หรือป่าพรุ ในคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยลงไป พบได้แม้กระทั่งในป่าพรุ เช่น ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ประเทศมาเลเซีย หมู่เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะอินโดนีเซีย

อาหารการกิน

กระรอกสายพันธุ์นี้กินอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ แมลงต่าง ๆ และไข่นก เป็นต้น

ลักษณะนิสัยและพฤติกรรม

สำหรับกระรอกชนิดนี้จะชอบออกหากินในเวลาตอนกลางวัน ออกหากินตามลำพัง หรืออาจจะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นหลัก มีความว่องไว เคลื่อนไหวรวดเร็ว

ช่วงเวลาของการเจริญพันธุ์

กระรอกสามสี เป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ตลอดปี ซึ่งฤดูผสมพันธุ์อย่างแท้จริง จะอยู่ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน กระรอกสายพันธุ์นี้มีระยะเวลาในการตั้งท้อง 40 วัน ในหนึ่งคอกจะได้ลูกอยู่ประมาณ 1 ถึง 4 ตัว น้ำหนักแรกเกิดจะอยู่ที่ประมาณ 16 กรัมเท่านั้น ตัวเล็กมาก ๆ 

ขนาดและน้ำหนัก

ถ้าเทียบกับกระรอกสายพันธุ์อื่น ๆ จะมีขนาดกลาง แต่ถ้าพูดถึงในตระกูล Callosciurus จะมีขนาดใหญ่ที่สุด โดยความเฉลี่ยวัดตั้งแต่ปลายจมูกจนถึงโคนหางจะอยู่ที่ประมาณ 20-27 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 20-27 เซนติเมตร และขาหลังยาวประมาณ 4.5-8.0 เซนติเมตร ขาสั้นมาก แต่วิ่งเร็วจี๋เลย น้ำหนักตัวของกระรอกสายพันธุ์นี้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 250-500 กรัม ตัวเบาหวิว ปีนป่ายต้นไม้ได้เร็วสุด ๆ เลย

กระรอกสามสี สิ่งมีชีวิตตัวน้อยที่ใกล้สูญพันธุ์

กระรอกสามสีถึงแม้จะเป็นสัตว์ที่สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้กระรอกสายพันธุ์นี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ไม่ว่าจะนักล่าที่อยู่ตามธรรมชาติ และการบุกรุกป่าของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระรอกสามสีขาดแคลนอาหารและถิ่นที่อยู่อาศัย กระรอกสามสีมีลักษณะโดดเด่นตามชื่อ โดยขนทั่วตัวจะมีทั้งหมดสามสี ได้แก่ สีดำ ขาว และน้ำตาล เป็นสัตว์บกที่อาศัยอยู่ในป่า ชอบการปีนป่าย จึงนิยมอยู่บนต้นไม้ มากกว่าบนพื้นดิน สัตว์ชนิดมีขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก น้ำหนักเบา อาหารหลักจะเป็นพวกผลไม้ หรือเป็นพวกแมลงตัวเล็ก ๆ ที่หาได้ง่ายตามป่าเขา ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยง เป้นสัตว์หายาก จึงถูกคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่อนุญาตให้เลี้ยงโดยทั่วไป รวมทั้งไม่อนุญาตให้มีการเพาะพันธุ์เพื่อขาย หากจะเลี้ยงจะต้องมีการขออนุญาตอย่างถูกกฎหมาย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้สัตว์ชนิดนี้คงอยู่ต่อไปในอนาคต ดังนั้นอยากให้ทุกท่านตระหนักในการรักษาสมดุลธรรมชาติไม่บุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อลดอัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกปี 

animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://ufaball.bet/

Categories
ความรู้ สัตว์บก แนะนำ

รู้จักกับ แมวทะเลทราย Sand cat นักล่าสายพันธุ์จิ๋ว หน้าตาสุดน่ารัก

วันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ แมวทะเลทราย หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “Sand cat” เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์แมวเหมียว ที่มีรูปร่างหน้าตาน่ารักมาก ตัวเล็กกระจิ๋วหลิวดูแล้วไม่มีพิษภัย แต่บอกว่าอย่าพึ่งหลงไหลเพียงแค่รูปลักษณ์ภายนอกของเจ้าแมวทะเลทรายเท่านั้น เพราะนี่เป็นอีกหนึ่งแมวนักล่าที่อยู่ตามธรรมชาติ เห็นตัวเล็กน่าอุ้มแบบนี้ เจ้าเหมียวเอาตัวรอดเก่งมาก เกิดมาเพื่ออาศัยอยู่ในทะเลทรายได้อย่างสบาย ๆ เพราะว่าแมวทะเลทรายมีอุ้งเท้าสุดแกร่งที่เต็มไปด้วยขนคลุมเอาไว้ ช่วยป้องกันความร้อนทำให้เดินเหินบนทะเลทรายแสนร้อนระอุได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังตัวเบาเดินไม่ทิ้งรอยเท้ามาพร้อมกับประสาทหูที่ไวมาก จึงทำให้สามารถล่าเหยื่อได้ไม่ยาก ซึ่งไม่แปลกใจเลยว่าทำไมแมวชนิดนี้ถึงอาศัยอยู่ในทะเลทรายที่แห้งแล้งได้

แมวทะเลทราย มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร และอาศัยอยู่ที่ไหนเอ่ย?

แมวทะเลทรายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์แมวที่ครองสถิติตัวเล็กที่สุดในโลก ซึ่งเชื่อไหมว่าตัวผู้จะมีน้ำหนักเพียงแค่ 2.1-3.4 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนตัวแมวจะหนักที่ 1.4-3.1 กิโลกรัม ลักษณะจะมีขนสีน้ำตาลซีดไปถึงเทาอ่อน ขนหนานุ่ม กลางสันหลังสีจะเข้ม บริเวณใบหน้ามีเส้นสีน้ำตาลแดงพาดที่หางตาไปจนถึงแก้ม ดวงตาโต ดูน่ารักน่าชังเชียวเลยแหละ แต่จุดที่พิเศษคือบริเวณเท้าที่มีขนปกคลุมหนาแน่นทำให้ทนความร้อนได้ดี 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

แมวทะเลทรายจากประวัติการศึกษาพบว่าอาศัยในพื้นที่แห้งแล้ง ทุรกันดาน ซึ่งสามารถเจอได้ที่ทะเลทรายซาฮารา ในแถบประเทศโมรอกโก มอริเตเนีย อียิปต์ และซูดาน ทั้งยังมีถิ่นอาศัยในแถบเอเชียกลางไปจนถึงปากีสถาน ซึ่งปัจจุบันจัดว่าเป็นสัตว์หายาก เนื่องจากเป็นแมวนักล่าที่มีความว่องไว ไม่ค่อยปรากฏตัวให้ใครเห็น ซึ่งไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์สูญพันธุ์

ลักษณะนิสัย

เป็นแมวนักล่าที่ย่องเก่งมาก ประสาทหูไว เนื่องจากมีหูขนาดใหญ่ทำให้ประสิทธิภาพของการได้ยินสูงมาก เคลื่อนไหวคล่องตัว แผ่วเบา ไม่ทิ้งรอยเท้า แต่จะเป็นแมวที่ขาดทักษะของการปีนป่ายและกระโดดไม่ค่อยเก่ง ชอบหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะหมดไปกับการพักผ่อน ซึ่งเชื่อไหมว่าแมวสายพันธุ์นี้มีทักษะการขุดที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะต้องขุดโพรงเพื่ออยู่อาศัย และน้องไม่ชอบอยู่เป็นฝูง จึงทำให้อัตราประชากรต่ำ

อาหารการกิน

แมวชนิดนี้สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่จะเป็น กระต่ายป่า นก สัตว์เลื้อยคลาน เจอร์บิล เจอร์บัว แมลง และสัตว์ขนาดเล็กในทะเลทราย โดยจะมีศัตรูตามธรรมชาติเป็นจำพวกงูพิษ นกเค้าขนาดใหญ่ และหมาจิ้งจอก

ความสามารถพิเศษ

เชื่อไหมว่าแมวทะเลทรายมีความสามารถสุดแปลกที่ไม่เหมือนแมวอื่น ๆ เพราะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องดื่มน้ำเลยตลอดทั้งวัน เพราะว่าได้รับน้ำเพียงพอจากการกินเหยื่อแล้ว แถมถ้ากินเหยื่อไม่หมดน้องจะเอาไปกลบไว้ในทรายเก็บไว้กินทีหลัง พฤติกรรมจะค่อนข้างแปลก ลึกลับ น่าค้นหา

สิ่งมีชีวิตสุดลึกลับ “แมวทะเลทราย” นักย่องแห่งรัตติกาล

แมวทะเลทราย เป็นสัตว์บกที่เรียกได้ว่ามีความพิเศษมาก เนื่องจากอาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ท้องทะเลทรายอันแสนร้อนอบอ้าว แมวทะเลทรายมีโครงสร้างร่างกายที่กะทัดรัด ขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่เป็นสายพันธุ์ที่อึดถึกทน เท้าเต็มไปด้วยขนหนาที่ช่วยป้องกันความร้อนจากพื้นทราย มีทักษะการล่าที่ยอดเยี่ยมมาก ด้วยประสาทหูที่ไว จึงทำให้หาเหยื่อได้ง่าย สามารถทราบพิกัดเหยื่อได้ระยะไกล และดักซุ่มรอเพื่อโจมตี กินอาหารได้หลากหลาย และแตกต่างกับแมวป่า โดยแมวทะเลทรายสามารถอดน้ำได้เป็นเวลายาวนาน ไม่ต้องการน้ำมากในการดำรงชีวิต เนื่องจากน้ำที่ได้จากการกินเหยื่อก็เพียงพอแล้ว ปัจจุบันแมวชนิดนี้ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามด้วยอุปนิสัยที่รักสันโดด ไม่ชอบสุงสิงกับใคร จึงทำให้มีจำนวนประชากรน้อย พบเจอได้ยาก ซ่อนตัวเก่งมาก เรียกได้ว่าเป็นนักล่าย่องเบาแห่งท้องทะเลทรายเลยทีเดียว หากใครไปเที่ยวทะเลทรายแล้วได้เจอน้อง ๆ ถือว่าโชคดีมาก เพราะไม่ได้ออกมาแสดงตัวบ่อย ๆ โดยเฉพาะกลางวันจะเป็นช่วงเวลาพักผ่อน และออกล่าเหยื่อในตอนกลางคืนเท่านั้น animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://ufaball.bet/

Categories
ความรู้ สัตว์บก

มาทำความรู้จักกับ “แมวพัลลัส” เจ้าเหมียวขนฟูฟ่อง ตังตึงแห่งป่าใหญ่ นิสัยดุร้ายไม่เกรงใจใคร

เจ้าเหมียว “แมวพัลลัส” เป็นแมวป่าสายพันธุ์หนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างโดดเด่นมาก หัวจะเล็ก หน้าแป้นแล้น ปากสั้น เบ้าตาอยู่ต่ำ ร่างล่ำเตี้ย ใบหูกลมน่ารักมาก มีขนที่ยาวและหนา ส่วนใหญ่ขนจะมีสีเทาอมแดง หรือสีเทา และมีขนสีขาวอยู่ประปราย ซึ่งลักษณะของสีขนจะแตกต่างกันตามที่อยู่อาศัย และสามารถเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลได้ นอกจากนั้นแมวพัลลัสจะมีความแตกต่างกับแมวสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ ที่รูม่านตาจะเป็นทรงกลม ซึ่งปกติแล้วแมวทั่วไปจะรูม่านตาเป็นช่องเรียว ถึงแม้ว่าเจ้าแมวพัลลัสนี้หน้าตาดูน่าเอ็นดู น่ารักน่าชัง แต่รู้หรือไหมว่าน้องค่อนข้างดุเอาเรื่องเลยทีเดียว ชอบทำหน้าตาไม่รับแขก ขังขัง หน้าบูดตลอดเวลา ถ้าเผลอไปอุ้มระวังกรงเล็บอันแสนแหลมคมจะสร้างบาดแผล รอยข่วน เป็นของที่ระลึกฝากไว้ให้คิดถึง สมกับฉายาตัวตึงแห่งป่าใหญ่เลยทีเดียว

rare animal2

แมวพัลลัส นักล่าสายพันธุ์โหด ตัวสั้น ดุ๊กดิ๊ก สุดคิ้วท์นี้สามารถเจอได้ที่ไหน

เชื่อไหมว่าแมวพัลลัส เป็นแมวป่าที่ไม่ได้พบเจอกันง่าย ๆ เรียกได้ว่าเป็นสายพันธุ์สัตว์หายากตามธรรมชาติ และเตือนว่าไม่ควรเข้าใกล้ เพราะน้องมีนิสัยดุมาก ถ้าตรวจดูประวัติสายเลือดจะพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกับแมวดาว ซึ่งปัจจุบันแมวพัลลัส ถูกจัดให้อยู่ในระดับเสี่ยงต่อการเป็นสัตว์สูญพันธุ์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) หากใครเจอถือว่าโชคดีมากเลยนะเนี่ย

rare animal1

ถิ่นที่อยู่อาศัย

แมวป่าสายพันธุ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกับแมวทั่วไป ซึ่งสามารถพบได้ที่เอเชียกลาง บริเวณตะวันตกของประเทศอิหร่านยาวไปจนถึงตะวันตกของประเทศจีน รวมทั้งทางตอนใต้ของรัสเซียไปจนถึงที่ราบสูงทิเบต และเทือกเขาหิมาลัย จึงเป็นแมวนักล่าเจ้าถิ่นที่พบมากในบริเวณสภาพอากาศหนาวเย็น ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในประเทศมองโกเลีย คาซัคสถาน จีน อิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และไซบีเรียตอนใต้ เป็นต้น 

อาหารการกิน

น้องแมวนักล่าชนิดนี้ จะมีสัญชาตญาณในการล่าเหยื่อสูงมาก อาหารส่วนใหญ่จะเป็นกระต่ายพิกา หรือกลุ่มของสัตว์ฟันแทะ ที่หาได้โดยทั่วไป เช่น แฮมสเตอร์ เจอร์บัว และโวล เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้นน้อง ๆ ยังสามารถกินนก หรือพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้อีกด้วย การล่าจะเน้นการซุ่มมองและตะครุบเหยื่อด้วยกรงเล็บอันแหลมคม แต่น่าเสียดายด้วยสรีระร่างกายที่ล่ำเตี้ย จึงทำให้วิ่งไม่เก่งมาก มักจะหลบซ่อนตัวในการหลบภัย หรือการล่าจะไม่เน้นวิ่งไล่เหยื่อเพราะวิ่งไม่ทัน

rare animal

อุปนิสัย

แมวพัลลัส เป็นสัตว์ที่ไม่ชอบสุงสิงกับใคร ไม่อยู่เป็นฝูง จะรักสันโดษมาก ชอบหากินในตอนกลางคืน และหลับในช่วงเวลากลางวัน นิสัยของน้องไม่ได้เป็นมิตรมากนัก มีสัญชาตญาณสัตว์ป่าสูง เพราะฉะนั้นจะไม่คุ้นชินกับมนุษย์ หรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ 

แมวพัลลัส นักล่าขาสั้น สัตว์ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มใกล้สูญพันธุ์

แมวพัลลัส ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์บกที่จัดอยู่ในกลุ่มนักล่า อาศัยอยู่ในป่าและรักสันโดษเอามาก ๆ แต่แมวป่าชนิดนี้มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์สูงมาก เนื่องจากมีการขยายพันธุ์ในวงกว้าง อีกทั้งมีฤดูผสมพันธุ์หรือช่วงติดสัดสั้นมาก เพียงแค่ 2 วันเท่านั้นเอง ซึ่งน้อยกว่าแมวสายพันธุ์อื่น ๆ ช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และแมวพัลลัสนั้นยังเป็นแมวที่วิ่งได้ช้า

จึงทำให้วิถีการล่าของพวกเขาเป็นการย่อง ซุ่ม โจมตีเหยื่อเสียมากกว่าการวิ่งไล่ตาม สามารถกินอาหารได้หลากหลายส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ฟันแทะ หรือในช่วงขาดแคลนอาหารแมวพัลลัสสามารถเอาตัวรอดได้ด้วยการกินแมลงแทนสัตว์ขนาดเล็ก แมวสายพันธุ์นี้อยู่ในพื้นที่ที่หนาวจัด เช่น เทือกเขาหิมาลัย จึงมีขนที่หนามาก ๆ เพื่อใช้ในการป้องกันความหนาวเหน็บ แต่ความจริงแล้วเป็นแมวที่มีขนาดตัวเล็ก ซึ่งที่เห็นกันว่าน้องดูอ้วนท้วนสมบูรณ์มากเนื่องตากขนที่หนากว่าแมวปกตินั่นไงล่ะ จึงทำให้พวกเขาดูกลม ตัวอ้วน น่ารัก น่ากอดเหลือเกิน แต่อย่าเผลอไปอุ้มทีเดียวเชียว ไม่งั้นจะได้รอยข่วนเป็นของขวัญชิ้นโบแดงประดับผิวกายเอาไว้ให้ดูต่างหน้ากันเลยทีเดียว animal2you.com

บทความเพิ่มเติม