Categories
สัตว์บก สัตว์เลื้อยคลาน

รู้ไว้ก่อนเลี้ยง งูคอร์นสเนค สัตว์เลี้ยงสุดน่ารัก มีวิธีการดูแลยังไง

นิสัยงูคอร์นสเนค จะค่อนข้างขี้อาย มีความเป็นมิตร น่ารัก เรียบร้อย เข้ากับคนได้ง่าย เหมาะกับคนที่ชอบเลี้ยงสัตว์แปลกๆ ใครที่กำลังคิดจะเลี้ยง ก็ควรทำการศึกษาข้อมูลต่างๆ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมงูคอร์นสเนค พร้อมวิธีดูแลและวิธีเลี้ยงที่ถูกต้อง เพื่อความสุขของน้องงู และเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจตามมาภายหลัง

ในระยะแรกสัตว์เลี้ยงทุกชนิดแม้กระทั่งเจ้างูคอร์นสเนคที่แสนเชื่องนั้น ก็ต้องใช้เวลาปรับตัวกว่าน้องจะคุ้นเคยกับผู้เลี้ยง สำหรับวิธีเลี้ยงงูคอร์นสเนคให้เชื่องนั้นไม่มีอะไรมาก เพราะน้องเชื่องอยู่แล้ว แต่ให้พยายามจับน้องเล่นทุกวัน เพื่อให้คุ้นชินกับมือ และอย่าทำให้น้องตกใจบ่อยๆ เท่านี้ก็ถือเป็นการฝึกวินัยงูคอร์นสเนคให้เกิดความคุ้นชินได้แล้ว

วิธีเลี้ยง งูคอร์นสเนค

ความต้องการพื้นฐานงูคอร์นสเนค

งูคอร์นสเนคน่ารัก เรียกได้ว่ามีนิสัยที่เชื่องที่สุด และเลี้ยงง่ายกว่างูชนิดอื่นๆ สำหรับสิ่งที่จำเป็นในการเลี้ยงงูคอร์นสเนค พื้นฐานเลยก็คือ สถานที่เลี้ยงและอาหารที่ต้องเตรียมให้พร้อม นอกเหนือจากนี้ก็คือวิธีเลี้ยงงูคอร์นสเนคสำหรับมือใหม่ ซึ่งมีสิ่งที่ต้องเตรียม ดังนี้

อาหาร งูคอร์นสเนค

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนเลี้ยงงูคอร์นสเนค

กรง

สามารถเลี้ยงงูคอร์นสเนคได้ในตู้กระจก หรือกล่องพลาสติกใสเจาะรู โดยควรเลือกขนาดกล่องให้เหมาะสมกับขนาดตัวงู ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป ที่สำคัญคือต้องมีอากาศถ่ายเทและมีตัวล็อคที่แน่นสนิท เพื่อไว้กันน้องงูหลบหนีออกนอกบ้าน

อุปกรณ์

นอกจากอาหารแล้วการเลี้ยงงูคอร์นสเนคเตรียมอะไรบ้าง อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องมีหลักๆ ในสถานที่เลี้ยงเลยก็คือ ถ้วยใส่น้ำ เพื่อให้งูได้ดื่มและเพิ่มความชื้น ซึ่งควรเลือกให้มีขนาดที่เหมาะสม และไม่มีเหลี่ยมคม

ของเล่น

มาถึงของเล่นงูคอร์นสเนคที่ต้องมีก็คือ hidebox หรือ ถ้ำเล็กๆ เพราะงูชนิดนี้มีพฤติกรรมชอบนอนซ่อนตัว สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเครียดของงูลงได้ ส่วนวัสดุที่ใช้รองพื้นกล่องก็จะมี ขี้เลื่อย เปลือกไม้ เป็นต้น

นิสัยงูคอร์นสเนค

ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงงูคอร์นสเนค

การเลี้ยงงูคอร์นสเนคแทบไม่ต้องซื้ออะไรเยอะ เพราะของบางอย่างที่ซื้อมา สามารถใช้ได้เป็นเดือนๆ หรือนานกว่านั้น โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ ก็จะเป็นค่าอาหาร ซึ่งมีราคาเริ่มตั้งแต่หลักสิบถึงหลักร้อย ส่วนค่าของใช้จิปาถะ เช่น รองพื้น ของตกแต่ง ซื้อครั้งละ 300-400 ก็ใช้ได้หลายครั้งเลย

ที่อยู่งูคอร์นสเนค

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในงูคอร์นสเนค

โรคเชื้อรางู หนึ่งในโรคของงูคอร์นสเนคที่พบได้บ่อย โดยจะมีอาการผอมแห้ง ขุ่นที่ดวงตา มีแผลบนเกล็ดรอบๆ ตัวและใบหน้า หากพบว่างูมีอาการป่วยเหล่านี้ ให้รีบนำไปพบสัตว์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์แปลกโดยตรง

งูติดเชื้อ ถือเป็นโรคที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้เลี้ยงงู เกิดจากการที่งูกินหนูมีโรคและไม่สะอาด จึงทำให้งูคอร์นสเนคป่วย เพราะเชื้อโรคจะเข้าไปในงูได้โดยตรง ซึ่งโรคนี้จะทำให้งูตายไวกว่าโรคอื่นๆ

โรคพยาธิในงู การถ่ายพยาธิเป็นสิ่งสำคัญเมื่อซื้องูคอร์นสเนคมาเลี้ยง โดยควรทำตั้งแต่รับงูมาเลี้ยงช่วง 1 เดือนแรก และควรถ่ายพยาธิทุกๆ 2 สัปดาห์ เป็นเวลา 3 ครั้ง หลังจากนั้นก็สามารถทำปีละครั้งได้ โรคทางเดินอาหาร หนึ่งในปัญหาสุขภาพงูคอร์นสเนคที่พบบ่อย ดังนั้นจึงไม่ควรให้อาหารแบบสุ่มสี่สุ่มห้า และไม่ควรให้บ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้งูเป็นโรคนี้ และส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้

งูคอร์นสเนค

ความรับผิดชอบในการเลี้ยงงูคอร์นสเนค

ความรับผิดชอบระยะยาวในการเลี้ยงงูคอร์นสเนค

อันดับแรกคือ พื้นที่อยู่อาศัยของงู ควรให้น้องอาศัยในกล่องที่มีอากาศถ่ายเท ที่สำคัญการเลี้ยงงูคอร์นสเนคในบ้านไม่ควรปล่อยให้น้องงูอยู่นอกกล่องเพียงลำพัง เพราะน้องอาจเลื้อยหนีออกนอกบ้านได้

ก่อนเลี้ยงควรทำการศึกษาคู่มือการเลี้ยงงูคอร์นสเนคให้ดีๆ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไม่ยาก แต่ก็ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ แม้จะเป็นงูไม่มีพิษ แต่อันตรายจากการเลี้ยงงูคอร์นสเนคก็ยังมี เพราะน้องสามารถทำอันตรายต่อเด็กๆ และบุคคลอื่นๆ ที่ไม่คุ้นเคยได้ ผู้เลี้ยงควรเลือกขนาดอาหารให้เหมาะสม ซึ่งไม่ควรเกิน 2 เท่าของขนาดหัวงู เพราะหากมีขนาดใหญ่จนเกินไป ก็อาจทำให้อาหารไม่ย่อย หรือย่อยไม่ทัน จนเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้

คอร์นสเนค

อายุขัยของงูคอร์นสเนค

เมื่องูคอร์นสเนคโตเต็มวัยจะมีขนาดตัวอยู่ที่ 1.2–1.8 เมตร และอายุขัยของงูตามธรรมชาติจะมีอายุประมาณ 6–8 ปี แต่ถ้าเป็นงูที่เลี้ยงระบบปิด อาจมีชีวิตยาวนานถึง 23 ปี หรืออาจมากกว่านั้นได้

อาหารของงูคอร์นสเนค

อาหารงูคอร์นสเนค ได้แก่ หนูสดและหนูแช่ โดยควรให้กินเพียง 1–2 สัปดาห์ / ครั้ง ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถหาซื้ออาหารของงูได้ตามตลาด หรือร้านขายอาหารสัตว์เลี้ยงทั่วไป โดยอาจซื้อหนูแช่แข็งมาเก็บไว้ได้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว

และทั้งหมดนี้ก็เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่ต้องรู้ไว้ก่อนเลี้ยงเจ้า งูคอร์นสเนค สัตว์เลี้ยงสุดแปลกแต่น่ารัก ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ และนิยมเลี้ยงงูชนิดนี้กัน สำหรับใครที่อยากเลี้ยง ก็สามารถพบปะเจ้างูคอร์นสเนคได้ตามร้านขายสัตว์เลี้ยงแนว Exotic ทั่วไป และใครที่รู้ตัวว่าเป็นสาย Exotic Lover ก็ต้องห้ามพลาดเลยล่ะ!

ขอขอบคุณคลิปจาก Vincent Channel

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ animal2you.com

พาส่อง ปลาหมึกยักษ์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพฤติกรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน แนะนำ

เต่ายักษ์พินตา หรือเต่ากาลาปากอส สิ่งมีชีวิตที่คงเหลือเพียงแค่ชื่อ

เต่ายักษ์พินตา (Pinta Island Tortoise) เป็นเต่าสายพันธุ์หนึ่งที่อยู่ในเกาะพินตาแห่งหมู่กาลาปากอส ที่ได้ชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งมีนักสำรวจที่ชื่อว่า Rollo Beck ได้ค้นพบเต่าชนิดนี้เป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1906 และไม่สามารถพบเห็นได้ที่ไหนอีกเลย จนกระทั่งต่อมามีผู้ค้นพบเต่ายักษ์พินตาหรือเต่ากาลาปากอส ที่เหลือเพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยตั้งชื่อว่า Lonesome George มีฉายาว่า “จอร์จผู้โดดเดี่ยว” ซึ่งมีอายุร่วม 100 ปี ปัจจุบันจอร์จได้เสียชีวิตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้เต่ายักษ์พินตาจัดเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเต่าชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งเกาะพินตา หมู่กาลาปากอส แต่น่าเสียดายที่จะไม่ได้เห็นเต่าชนิดนี้ตัวเป็น ๆ เสียแล้ว

reptile

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเต่ายักษ์พินตา พี่ใหญ่ที่กินแต่พืชแต่ตัวโตมาก

เต่ายักษ์พินตา อย่างที่รู้กันว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งตัวสุดท้าย “จอร์จ” ตายไปเมื่อปี 2012 ทำให้ไม่มีสัตว์ชนิดนี้หลงเหลืออยู่ เต่าไม่ใช่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างที่หลายคนเข้าใจ จริง ๆ แล้วเป็นสัตว์เลื้อยคลานมีขนาดตัวหลายไซส์ กินพืชเป็นอาหารหลัก มีกระดองห่อหุ้ม และมีผิวหนังที่หนามาก 

ลักษณะสำคัญ

เต่ายักษ์พินตาเป็นเต่าที่มีขนาดมหึมา ความยาวรวมตั้งแต่หัวถึงหางประมาณ 90 เซนติเมตร และมีน้ำหนักที่หนักมากถึง 200 กิโลกรัม มีหัวขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก สามารถยืดของออกจากกระดองได้ยาวเลยทีเดียว มีขาสี่ข้างที่แข็งแรง ลำตัวโค้ง สามารถสังเกตและแยกจากเต่าสายพันธุ์อื่นได้ง่าย

อายุขัย

เต่าสายพันธ์นี้มีอายุที่ยาวนานมากเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อาจมีอายุตั้งแต่หลายสิบปีถึงหลายสิบสองร้อยปี

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดและอาศัยอยู่บนเกาะพินตา (Pinta Island) ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos Islands) ในท้องทะเลแปซิฟิกตอนกลาง หมู่เกาะกาลาปากอสตั้งอยู่ในทวีปเอกเมริกาใต้ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ (Ecuador) และเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติที่ได้รับการป้องกันอย่างเคร่งครัด

reptile1

อาหารการกิน

เต่าชนิดนี้ถึงแม้จะมีขนาดตัวใหญ่อลังการมาก แต่เป็นสัตว์กินพืช โดยจะเป็นพืชต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้น ไม่ว่าจะเป็นไม้พุ่มเล็ก เหง้าพืช หรือหญ้าที่อยู่ตามพื้น ในช่วงเวลาการกินอาหารเต่าจะยืดคอออกจากกระดอง และเล็มใบไม้ใบหญ้ากินอย่างเอร็ดอร่อย

ลักษณะอุปนิสัย

เต่ายักษ์พินตา เป็นสัตว์ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จะไม่มีข้อมูลการศึกษาแน่ชัดในเรื่องของพฤติกรรม แต่ตัวสุดท้ายเจ้าจอร์จที่ตายไปเมื่อปี 2012 จากการสังเกตพบว่าเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนน้อม ชอบอยู่ลำพัง ปรับตัวได้ดีเข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถอาศัยได้บริเวณหนาวเย็น และเป็นเต่าบกจึงหาอาหารกินบนพื้นดิน ไม่สามารถหาอาหารในน้ำได้

สาเหตุการสูญพันธุ์

การขาดแคลนอาหารและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ภาวะฝนตกน้อย และการบุกรุกถิ่นฐานของมนุษย์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าชนิดนี้สูญพันธุ์

reptile2

เต่ายักษ์พินตา สัตว์โลกน่ารักที่หายไปจากเกาะพินตา แห่งหมู่เกาะกาลาปากอส

เต่ายักษ์พินตา เป็นสายพันธุ์เต่าที่เกิดและอาศัยอยู่บนเกาะพินตาในหมู่เกาะกาลาปากอสในทะเลแปซิฟิก มีลักษณะรูปร่างที่ใหญ่และแข็งแรง โดยมีหัวที่ใหญ่กว่าเต่าสายพันธุ์อื่นๆ และเป็นสัตว์ที่กินพืช อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งและหนาวของหมู่เกาะกาลาปากอส อาหารหลักของเต่ายักษ์พินตาเป็นใบพืชเลื้อยคลานต้นเตี้ยตามพื้นดินเพราะกินง่าย เป็นสัตว์ที่มีอายุขัยยาวนาน แต่น่าเสียดายที่ว่าตอนนี้ขึ้นสถานะเป็นสัตว์สูญพันธุ์ไปเรียบร้อยแล้ว หากใครที่อยากเห็นหน้าตาของเต่ายักษ์พินตา สามารถเดินทางไปดูร่างของปู่จอร์จได้ที่พิพิธภัณฑ์ Charles Darwin Foundation ซึ่งตั้งอยู่ในเกาะ Santa Cruz ในหมู่เกาะกาลาปากอส พิพิธภัณฑ์นี้เป็นสถานที่ที่มีการศึกษาและการอนุรักษ์ธรรมชาติของหมู่เกาะกาลาปากอส และเป็นที่อยู่ของศูนย์การศึกษาและความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสิ่งมีชีวิตในหมู่เกาะนี้ animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน

อัลลิเกเตอร์ขาว สิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์หายาก

อัลลิเกเตอร์ขาว (White Alligator) เป็นสัตว์ในกลุ่มตระกูลจระเข้ ที่มีชีวิตมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งสัตว์ชนิดนี้มีความพิเศษกว่าตัวอื่น ๆ ก็คือมันจะมีผิวขาวทั้งตัว เนื่องจากว่ามีความผิดปกติของเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างเม็ดสีเมลานินได้ ทำให้อัลลิเกเตอร์ขาวจึงมีสีขาวตลอดทั้งลำตัว ดูสะอาดหมดจดเสียจริง ๆ ในส่วนของดวงตานั้นมักจะมีสีฟ้าเข้มหรือสีชมพู แต่น่าเสียดายที่อัลลิเกเตอร์ขาวมีจำนวนน้อยมากในธรรมชาติ เพราะว่ามันไม่สามารถพรางตัวได้ดีเหมือนกับอัลลิเกเตอร์ทั่วไปที่มีผิวเข้มกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม จึงทำให้พวกมันตกเป็นเหยื่อของนักล่าตัวอื่น ๆ ได้ง่าย และที่สำคัญด้วยความบกพร่องของการสร้างเม็ดสีเมลานินทำให้อ่อนไหวต่อแสงแดด ไม่สามารถสู้แสงได้ จึงอยู่รอดยากกว่าอัลลิเกเตอร์ปกติทั่วไป

rare animal2

ข้อมูลทั่วไป และการดำลรงชีวิตของอัลลิเกเตอร์ขาวสัตว์มหัศจรรย์ของโลก

อัลลิเกเตอร์ขาว หรือที่มักเรียกกันว่าอัลลิเกเตอร์เผือก แต่ถ้าเรียกบ้าน ๆ ก็จะเรียกกันว่า “จระเข้ตีนเป็ด” เป็นสัตว์ที่มีประวัติมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ประมาณเมื่อ 200 ล้านปีที่แล้ว สามารถแบ่งชนิดย่อย ๆ เป็น 2 ชนิด ได้แก่ อัลลิเกเตอร์อเมริกัน และอัลลิเกเตอร์จีน โดยสายพันธุ์ทางอเมริกันจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าจีน ซึ่งจัดเป็นสัตว์จำพวกจระเข้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ

ลักษณะโครงสร้างร่างกาย

อัลลิเกเตอร์ขาวลักษณะร่างกายคล้ายกับอัลลิเกเตอร์ทั่วไป เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีรูปร่างแตกต่างจากจระเข้ โดยมีจงอยปากสั้นเป็นรูปตัวยู รูจมูกมีขนาดใหญ่ หัวใหญ่กว้าง ขากรรไกรยาว และเมื่อหุบปกาแล้วจะไม่สามารถมองเห็นฟันล่างของพวกมันได้ และสายพันธุ์เผือกนี้ความโดดเด่นอยู่ที่สีผิวที่ขาวไปทั้งร่างกาย และตาสีฟ้า หรือชมพู 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

สัตว์ชนิดนี้สามารถพบได้ที่ทวีปอเมริกาเหรือ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และบริเวณราบลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนเท่านั้น จัดเป็นสัตว์หายากมาก ยิ่งสายพันธุ์เผือกนี้ไม่ได้จะพบเจอกันง่าย ๆ 

rare animal1

อาหารการกิน

เป็นสัตว์กินเนื้อ สามารถกินเหยื่อได้หลากหลาย จัดเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร แต่สายพันธุ์เผือกจะล่าเหยื่อสู้สายพันธุ์ทั่วไปไม่ได้ ด้วยข้อจำกัดของเรื่องสีผิวที่พรางตัวได้ยาก และไม่สามารถทนแสงแดดได้ดี เพราะขาดเม็ดสีเมลานิน และมักตกเป็นเหยื่อของนักล่าตัวอื่นที่แข็งแกร่งกว่า

การค้นพบอัลลิเกเตอร์ขาวล่าสุด

ในปี 2017 มีนักอนุรักษ์ที่ได้พบเจอกับจระเข้เผิอกนี้ปรากฏตัวโดยบังเอิญที่แม่น้ำแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้ตั้งชื่อให้ว่า “เพิร์ล” ตามสีผิวของมันที่ขาวไปทั้งตัว นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากที่สามารถพบเห็นได้ตามธรรมชาติ

rare animal

อัลลิเกเตอร์ขาวสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์พันธุ์ จุดสิ้นสุดของสัตว์หาดูยาก

เป็นที่น่าเสียดายว่าอัลลิเกเตอร์ขาว ที่เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์อยู่คู่กับโลกใบนี้มายาวนานกว่า 200 ล้านปี ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที ซึ่งในปัจจุบันการพบเจอตามธรรมชาติแทบจะเป็นไปได้ยาก สัตว์นักล่าชนิดนี้มีข้อบกพร่องหลายประกายด้วยความที่ร่างกายเป็นสีขาวทั้งหมดทำให้พรางตัวได้ยาก และอยู่รอดยากตามธรรมชาติ อัลลิเกเตอร์ขาวสาเหตุหลักเกิดมาจากการกลายพันธุ์ทางด้านพันธุกรรม

โดยในช่วงเวลาของการฟักไข่ หากอยู่บริเวณที่ร้อนมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดอัตรากลายพันธุ์สูง รวมทั้งเม็ดสีผิวที่ผิดปกติ ไม่สามารถสร้างเม็ดสีเมลานินได้ ทำให้เกิดผิวเผือก แตกต่างจากสายพันธุ์ทั่วไป อัลลิเกเตอร์ขาวมีรูปลักษณ์ไม่ได้เหมือนกับจระเข้ มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือที่ปากอัลลิเกเตอร์จะเป็นรูปทรงตัว U ค่อนข้างมีความโค้งมน แต่หากเป็นจระเข้จะมีรูปทรงปากที่ยาวแหลมมากว่า ออกเป็นทรงตัว V จึงทำให้อัลลิเกเตอร์มีแรงกัดที่มากกว่านั่นเอง เชื่อไหมว่าสามารถกินเต่าที่มีกระดองแข็งได้ด้วย แรงกัดจะเยอะขนาดไหนลองจินตนาการดู และถ้าเป็นคนล่ะ คงเหมือนเคี้ยวเจลลี่นุ่ม ๆ อยู่แน่เลย animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://hilo-88.net/

Categories
สัตว์เลื้อยคลาน

งูทับสมิงคลา เจอที่ไหนรีบออกห่างให้ไว

งูในประเทศไทยของเรานั้นมีอันตรายไม่แพ้กับงูในต่างประเทศเลยแม้แต่น้อย มันจึงไม่น่าแปลกใจที่หากคุณลองสุ่มถามใครสักคนว่าสัตว์ที่พวกเขากลัวมากที่สุดคืออะไรแล้วเราจะได้คำตอบกลับมาว่าเป็นงู อย่างเช่นงูที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้นั่นก็คือ งูทับสมิงคลา พวกเขาเป็น สัตว์มีพิษ ที่อันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว ดังนั้นหากไปเจอพวกเขาที่ไหนเราจึงต้องพยายามรีบออกห่างให้ไว สำหรับใครที่สนใจเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับพวกเขาให้มากขึ้นกัน 

ทำความรู้จักกับ งูทับสมิงคลา งูที่อันตรายถึงชีวิต 

งูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลาที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้เป็นงูที่มีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ไม่น้อยเลยทีเดียว พวกเขานั้นสามารถมีความยาวได้สูงสุดมากกว่า 1 เมตร มันจึงไม่น่าแปลกใจที่หลายคนจะรู้สึกหวาดกลัวพวกเขาเมื่อได้เห็นตั้งแต่ครั้งแรก เราสามารถสังเกตเห็นว่าเป็น งูพิษ สายพันธุ์นี้ได้อย่างชัดเจนจากหัวที่มีความยาวและแบนเป็นพิเศษ

งูทับสมิงคลา

บริเวณหัวนั้นจะมีความกว้างที่ใกล้เคียงกับลำ ดวงตาพวกเขามีขนาดค่อนข้างเล็ก บริเวณตรงกลางจะเป็นสันรูปทรงสามเหลี่ยมขึ้นมาเล็กน้อยแต่ก็ยังคงสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน มีหางสั้นและบริเวณปลายหางจะเรียวเป็นพิเศษ ทั่วลำตัวจะมีเกล็ดปกคลุมอยู่ขนาดไม่ค่อยใหญ่สักเท่าไหร่ ยกเว้นแต่เกรดบนหัวที่จะเป็นแผ่นกว้างและมีผิวเรียบ และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับงูสายพันธุ์นี้ก็คือสีสันและลวดลายของพวกเขาที่เหมือนกับม้าลายแบบแทบจะไม่มีผิดเพี้ยนนั่นก็คือสีดำสลับขาวนั่นเอง

งูทับสมิงคลา

ถึงแม้ว่าสีสันของพวกเขาจะดูเหมือนกับม้าลายที่น่ารักแต่อย่าเพิ่งเข้าไปชื่นชมพวกเขาใกล้ๆ เพราะพวกเขาเป็น งูมีพิษ ต่อระบบประสาท พิษของพวกเขานั้นจะเป็นโมเลกุลขนาดเล็กทำให้มันสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วเข้าไปตามกระแสเลือดของพวกเรา เมื่อถูกกัดจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด หนังตาตก และทำให้หายใจไม่สะดวกจนถึงแก่ชีวิตในที่สุด 

งูทับสมิงคลา

งูอันตราย มักอาศัยอยู่ตามเนินเขาและที่ราบลุ่ม รวมไปถึงบริเวณที่เพาะปลูกทั้งหลายใกล้แหล่งน้ำลำห้วย กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทยของเราที่สามารถพบได้ในทุกภาค พวกเขาเป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืนบริเวณใกล้กับแหล่งน้ำที่มีความชุ่มชื้น แต่ในช่วงเวลากลางวันมักจะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในโพรงหรือใต้ขอนไม้

งูทับสมิงคลา

พวกเขากินอาหารเป็น สัตว์เลื้อยคลาน ขนาดเล็กอย่างเช่นจิ้งจก ตุ๊กแก และงูด้วยกัน นอกจากนี้ยังกินสัตว์สะเทือนน้ำสะเทือนบกอีกด้วย พวกเขามีนิสัยที่ค่อนข้างดุร้ายไม่น้อยดังนั้นหากเจอพวกเขาให้รีบตั้งสติและพยายามถอยห่างจากพวกเขาให้ได้มากที่สุด อย่าพยายามจับพวกเขาเองและโทรให้กู้ภัยมาจัดการพวกเขาจะดีที่สุด 

อ่านบทความอื่นๆ:

Categories
สัตว์เลื้อยคลาน

จระเข้เคย์แมน สัตว์ที่เต็มไปด้วยความน่าเกรงขาม 

ในบรรดาสัตว์ป่าทั้งหลายที่เต็มไปด้วยความน่ากลัวนั้นมีอยู่หนึ่งสายพันธุ์ที่เชื่อว่าทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นก็คือจระเข้นั่นเอง เรารู้จักพวกเขาในฐานะของ สัตว์นักล่า ที่มาพร้อมกับกรามที่แข็งแรง เขี้ยวที่คม วิธีการล่าเหยื่อที่เต็มไปด้วยความแข็งแกร่ง สำหรับมนุษย์อย่างเราแล้วหากเดินป่าหรือแม้แต่เล่นน้ำคงไม่อยากจะเจอพวกเขาอย่างแน่นอน แต่ความเป็นจริงแล้วพวกเขานั้นมีหลากหลายสายพันธุ์และแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้ก็คือ จระเข้เคย์แมน นั่นเอง สำหรับใครที่สนใจไปดูกันเลย 

ทำความรู้จักกับ จระเข้เคย์แมน จระเข้ที่มีความเท่ไม่แพ้ใคร 

จระเข้เคย์แมน

จระเข้เคย์แมนที่เราจะพาทุกคนมาแนะนำกันในวันนี้เป็น สัตว์เลื้อยคลาน ขนาดกลาง ความยาวลำตัวของพวกเขาเมื่อโตเต็มวัยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 1.5 เมตรไปจนถึง 2.1 เมตรเลยทีเดียว ส่วนความยาวสูงสุดที่เคยพบสำหรับสัตว์สายพันธุ์นี้ก็คือ 3 เมตร ตัวเมียนั้นจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าตัวผู้ พวกเขามีเกล็ดหนาปกคลุมทั่วลำตัวสีน้ำตาลไหม้สลับกับสีเหลือง

จระเข้เคย์แมน

มีจมูกและปากที่ยื่นยาวออกมาแต่เราจะไม่สามารถมองเห็นขากรรไกรของพวกเขาได้อย่างชัดเจนสักเท่าไหร่ ดวงตากลมโตสีเหลืองและมีตาดำเป็นทรงวงรีเหมือนกับงูทำให้พวกเขาดูน่ากลัวและน่าเกรงขามในเวลาเดียวกัน เมื่อตัวโตเต็มวัยพวกเขาจะมีสีที่เหลืองมากขึ้นกว่าเดิมแถมยังมีลายจุดให้เราได้เห็นอีกด้วย เราจะสามารถแยกพวกเขาออกจากจระเข้สายพันธุ์อื่นได้จากกระดูกบริเวณใต้เบ้าตาที่จะนูนเด่นขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด 

จระเข้เคย์แมน

พวกเขานั้นมีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้รวมไปถึงทะเลแคริบเบียนในบางพื้นที่ ดังนั้นประเทศไทยของเราสามารถสบายใจได้เลยว่าเราจะไม่ได้เห็นพวกเขาในธรรมชาติอย่างแน่นอน อาหารของพวกเขานั้นจะเป็น สัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นปลา หอยทาก หรือแม้แต่แมลง พวกเขานั้นเป็น จระเข้น้ำจืด จึงมักจะพบเจอได้ตามแหล่งน้ำทั่วไปในธรรมชาติอย่างเช่นแม่น้ำ ลำธาร บ่อน้ำ หรือบริเวณที่มีน้ำกร่อย

จระเข้เคย์แมน

ในปัจจุบันพวกเขานั้นถูกจัดเป็นสิ่งมีชีวิตความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ในสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิต โดยจัดอยู่ในอนุสัญญาไซเตสบัญชีหมายเลข 1 และ 2 ดังนั้นเราจึงสามารถเห็นพวกเขาได้เช่นเดียวกันเวลาไปตามสถานที่จัดแสดงสัตว์ทั้งหลาย หากเราอยากจะลองพบพวกเขาตัวจริงดูสักครั้งก็สามารถลองไปหาพวกเขาตาม สวนสัตว์ ดูได้ 

อ่านบทความอื่นๆ:

Categories
สัตว์เลื้อยคลาน

งูกะปะ งูอันตรายที่กระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศไทย 

งูนั้นเป็นสัตว์ที่หลายคนรู้สึกหวาดกลัวแต่ความเป็นจริงแล้วก็มีทั้งสายพันธุ์ที่ไม่มีพิษแถมยังขี้อาย และสายพันธุ์ที่นอกจากจะมีพิษอันตรายแล้วยังดุเป็นอย่างมากอีกด้วย อย่างเช่นที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้นั่นก็คือ งูกะปะ นั่นเอง

พวกเขาเป็น งูมีพิษ ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมไปถึงภาคใต้ การเรียนรู้เกี่ยวกับ งูไทย นั้นจะช่วยให้คุณสามารถแยกได้ว่างูสายพันธุ์ไหนมีพิษและไม่มีพิษและยังช่วยให้คุณสามารถเอาตัวรอดจากอันตรายเหล่านี้ได้อีกด้วย เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับพวกเขาให้มากขึ้นกัน 

ทำความรู้จักกับ งูกะปะ งูตัวร้ายที่อันตรายถึงชีวิต

งูกะปะ

งูกะปะเป็นงูที่อาศัยอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา ดังนั้นจึงเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นพวกเขาด้วยตาของตัวเองมาแล้ว พวกเขานั้นมีความยาวเมื่อโตเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 1 เมตร ถือว่าเป็นงูที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่สักเท่าไหร่ เราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นพวกเขาจากหัวที่เป็นทรงสามเหลี่ยม มีลำคอเล็ก แต่ลำตัวจะอ้วนท้วม มีหางที่เรียวสั้น

งูกะปะ

ด้านหลังจะเป็นเหลี่ยมขึ้นมาคล้ายกับทรงหลังคาบ้าน ลำตัวนั้นมีตั้งแต่สีเทาน้ำตาลไปจนถึงสีเทาออกชมพู มีลวดลายเป็นสีน้ำตาลเข้มทรงสามเหลี่ยมบริเวณด้านหลังตลอดทั้งตัว พวกเขามีเกร็ดขนาดค่อนข้างใหญ่ และจะงอยปากพวกเขามักจะเชิดขึ้นด้านบน พวกเขาออกหากินในช่วงเวลาตั้งแต่พลบค่ำไปจนถึงกลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ฝนตกเพราะอากาศมีความชื้นสูง พวกเขามี พิษอันตราย และรุนแรงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะต่อระบบเลือด ถูกจัดอยู่ในวงศ์เดียวกับงูแมวเซา 

งูกะปะ

ดังนั้นหากเราเห็นพวกเขาขอแนะนำให้พยายามถอยห่างเอาไว้ให้ดี หากเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นดินปนทรายและมีเศษซากไม้หรือใบไม้ทับถมกันอยู่เนื่องจากเป็นบริเวณที่พวกเขาชอบอยู่อาศัย มันเป็นบริเวณที่พวกเขาสามารถหลบซ่อนตัวได้ดี นอกจากนี้ยังมักจะซ่อนตัวอยู่ในสวนปาล์มน้ำมันรวมไปถึงสวนยางพาราอีกด้วย

งูกะปะ

พวกเขานั้นค่อนข้างเชื่องช้าและเวลาตกใจจะขดตัวนิ่ง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ งูกัด นั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วจนคุณมองแทบไม่ทัน พวกเขานั้นกินสัตว์ขนาดเล็กอย่างเช่นนก หนู หรือ สัตว์เลื้อยคลาน สามารถออกไข่ได้ถึงครั้งละ 20 ฟอง เมื่อถูกกัดจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดของเราถูกโจมตี บริเวณผิวหนังจะมีเลือดออกเป็นรอยสีคล้ำ มีเลือดออกตามอวัยวะและไรฟัน หลังจากนั้นจะความดันโลหิตต่ำจนเสียชีวิตในที่สุด อาการเจ็บปวดนั้นมีค่อนข้างน้อย แต่หลังจากถูกกัดครบ 1 ชั่วโมงบริเวณที่ถูกกัดจะมีเลือดไหลออกมาตลอดเวลา แขนขาจะบวมและมีสีคล้ำ ผิวหนังจะพองเป็นตุ่มน้ำใส หากไม่ได้รับการรักษาก็จะเกิดอาการเน่าตามมาในไม่กี่วัน 

อ่านบทความอื่นๆ:

Categories
ความรู้ สัตว์เลื้อยคลาน

มังกรโกโมโด สัตว์ประจำชาติอินโดนีเซียที่ไม่ธรรมดา 

สัตว์เลื้อยคลาน

ในประเทศไทยเชื่อว่าทุกคนคงจะคุ้นเคยกับตัวเงินตัวทองหรือเหี้ยกันเป็นอย่างดี แต่ในประเทศอินโดนีเซียนั้นเขาอัพไซส์ให้ใหญ่ขึ้นไปอีก ซึ่งสัตว์ที่เรากำลังพูดถึงนี้ก็อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเจ้าตัวเงินตัวทองนี่แหละค่ะ แถมยังเป็นสัตว์ประจำชาติบ้านเขาด้วยนั่นก็คือ “มังกรโกโมโด” นั่นเอง แล้วเจ้าสัตว์ชนิดนี้จะมีเรื่องอะไรที่น่ารู้บ้าง วันนี้บทความของเรามีคำตอบค่ะ 

ลักษณะทั่วไปของมังกรโกโมโด 

มังกรโกโมโด คือ สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งจัดอยู่ในวงศ์เหี้ยเช่นเดียวกันกับตัวเงินตัวทองที่เราสามารถพบเห็นได้ในประเทศไทย โดยมังกรโกโมโดจะอาศัยอยู่บนเกาะโกโมโดในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งลักษณะมังกรโกโมโดจะมีความเหมือนตัวเงินตัวทองเป๊ะ ๆ เพียงแต่จะตัวใหญ่และยาวกว่ามาก อีกทั้งมังกรโกโมโดนิสัยของมันยังมีความดุร้ายและเชี่ยวชาญในเรื่องการล่าสัตว์เป็นอาหาร บริเวณลำตัวของมันจะเป็นสีเทาค่อนไปทางดำ มีอุ้งเท้าใหญ่สามารถวิ่งได้อย่างรวดเร็วเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู

อาหารมังกรโกโมโดจะเป็นเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่มันสามารถล่ามาได้ ซึ่งความสามารถในการล่าสัตว์ของมันนั้นถือว่าไม่เป็นสองรองใครเลยทีเดียว เพรามันสามารถโค่นสัตว์ใหญ่มามากมายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจระเข้ กวาง และวัวควาย เป็นต้น โดยวิธีในการจับเหยื่อเป็นอาหารนั้นมันจะคอยซุ่มอยู่อย่างใกล้ชิดและเจ้าจู่โจมโดยทันทีด้วยฟันอันแหลมคมของมัน ซึ่งน้ำลายของมันนั้นมีเชื้อโรคปะปนอยู่ถึง 50 ชนิด จึงไม่สามารถรับประกันได้ว่าหนึ่งในเชื้อโรคนั้นจะไม่มีพิษที่สามารถทำให้สัตว์อื่นตายได้นั่นเอง

มังกรโกโมโด หรือ มังกรโคโมโด กันแน่

ไม่ว่าจะเป็นมังกรโกโมโดหรือมังกรโคโมโด ก็ถือว่าเป็นสัตว์ชนิดเดียวกันค่ะ เพราะเมื่อเขียนเป็นชื่อภาษาอังกฤษแล้วจะได้ว่า KOMODO DRAGON ดังนั้นจึงสามารถอ่านได้ทั้งสองแบบเลย นอกจากนี้ยังมีหลายคนที่สงสัยเกี่ยวกับขนาดของพวกมันว่าทำไมมีลักษณะรูปร่างต่าง ๆ ที่เหมือนกับตัวเงินตัวทองของบ้านเราทั้งหมดแต่ทำไมขนาดจึงใหญ่กว่ามากแล้วมันใหญ่แค่ไหนกันเชียว คำตอบก็คือขนาดมังกรโกโมโดนั้นใหญ่ได้ถึง 2-3 เมตร หรือ เกือบ 10 ฟุต กันเลยทีเดียว บวกกับน้ำหนักกว่า 90 กิโลกรัม ซึ่งก็ถือว่าใหญ่กว่าคนธรรมดาเข้าไปแล้วค่ะ 

มังกรโกโมโด เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในเกาะโกโมโด ประเทศอินโดนีเซีย โดยรูปร่างต่าง ๆ นั้นเช่นเดียวกันกับตัวเงินตัวทองของบ้านเราทุกประการ เพียงแต่ว่าสัตว์ชนิดนี้จะมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าและยาวกว่าเมื่อเทียบกับสัตว์ในวงศ์เหี้ยด้วยกัน แถมยังมีนิสัยดุร้ายอย่างมาก ดังนั้นหากเจอสัตว์ชนิดนี้เมื่อไหร่ควรอยู่ให้ห่างจากมันทันที

 

 

 

เว็บบอล

Categories
ความรู้ สัตว์เลื้อยคลาน

จิ้งเหลนลิ้นสีน้ำเงิน เจ้าลิ้นฟ้า หน้างู

สัตว์เลื้อยคลาน

จิ้งเหลนลิ้นสีน้ำเงิน ( Blue-tongued skink , Blue- tongued lizard หรือ BTS ) เป็นสัตวเลื้อยคลานที่จัดอยู่ในวงศ์ SCINCIDAE และอยู่ในสกุล Tiliqua สามารถแบ่งออกได้ 8 ชนิด พบว่ามีการแพร่กระจายพันธุ์อยู่ในแถบประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย เกาะทัสมาเนีย นิวกินี และอิเรียนจายา

ปัจจุบัน จิ้งเหลนลิ้นสีน้ำเงิน หรือ บลูทั้งค์ , กิ้งก่าลิ้นฟ้า ได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงสุดรักสุดหวงของใครหลาย ๆ คนไปแล้ว โดยความนิยมในตัวเจ้าหน้างูนี้มีกระจายไปทั่วโลกโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเลี้ยงและสะสมสัตว์แปลก ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการนำมาเลี้ยงกันบ้างแล้วซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะเจ้าหน้าดุของเรานั้นเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีเอกลักษณ์พาะตัว ไม่ดุร้าย สามารถจำกัดพื้นที่ในการเลี้ยงได้ง่าย และไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านนั่นเอง

ลักษณะทั่วไปและเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจิ้งเหลนลิ้นสีน้ำเงิน

ลักษณะทั่วไปของจิ้งเหลนลิ้นสีน้ำเงินจะมีส่วนหัวขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างคล้ายหัวของงู จนในบางครั้งหากมองเห็นเพียงส่วนหัวที่ยื่นออกมาก็อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นงูก็ได้ บลูทั้งค์มีเอกลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นและน่าสนใจคือ ลิ้นสีฟ้า ซึ่งเกิดจากเม็ดสีเมลานิลจึงเป็นที่มาของชื่อ กิ้งก่าลิ้นฟ้า นั่นเอง โดยการมีลิ้นสีฟ้าสีสันแปลกตานั้นก็ทำให้มันกลายเป็นจุดสนใจของนักสะสมสัตว์แปลกทั่วโลก นอกจากจะมีหัวเหมือนงูขนาดใหญ่และมีลิ้นสีฟ้าแล้วยังมีเกล็ดตามตัวที่เรียบลื่นคล้ายงู สีสันลวดลายบนแผ่นหลังจะมีสีน้ำตาลอ่อนปนดำ ผิวช่วงท้องมีสีขาว บางสายพันธุ์มีสีดำ มีขาสั้น ๆ จำนวน 4 ขา มีนิ้วขนาดเล็ก 5 นิ้ว มีลำตัวทรงกลมอวบอ้วน และหางสั้นกลมดุ๊กดิ๊ก ช่วงปลายหางค่อนข้างเรียวเล็กน้อย

เมื่อเจอศัตรูหรือต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่คิดว่าเป็นอันตรายมักจะตั้งหลักสู้โดยการแล่บลิ้นสีฟ้าสวย ๆ ของมันออกมาข่มขู่ศัตรูผู้รุกราน ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยา Deimatic display เป็นปฏิกิริยาที่มีในสัตว์ต่าง ๆ หลายชนิด รวมถึงการส่งเสียงขู่และพยายามพองตัวให้โตขึ้น เมื่อโดนการคุกคามมากขึ้นเรื่อย ๆ มันก็จะยิ่งแลบลิ้นออกมาถี่มากขึ้นด้วยเช่นกัน 

สำหรับจิ้งเหลนสีน้ำเงินนิสัยนั้นเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า มันจะยังคงนิ่งเฉยหากยังไม่ได้รับอันตรายจากการถูกคุกคาม อาหารที่โปรดปรานจะเป็นจำพวกสัตว์ขนาดเล็กและพืชบางชนิด เช่น แมลง หนู หอยทาก หนอน และพืชบางชนิด โดยมักจะออกหากินในตอนกลางวัน กลางคืนมักจะหลบซ่อนตัวตามโขดหิน ซอกไม้ ฯลฯ 

การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ของจิ้งเหลนลิ้นสีน้ำเงิน

จิ้งเหลนลิ้นสีน้ำเงินจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ 2 ปี และเมื่อเข้าสู่ช่วงสืบพันธุ์ตัวผู้จะมีพฤติกรรมแปลก ๆ นั่นก็คือ การกัดคอตัวเมียให้เป็นแผล โดยเมื่อมีการผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะให้ลูกได้ครั้งละประมาณ 6-8 ตัว เมื่อโตเต็มที่สามารถมีขนาดได้ถึง 45 เซนติเมตร

สำหรับผู้ที่สนใจอยากเลี้ยงบลูทั้งค์ แนะนำให้เลี้ยงในตู้ที่มีขนาดประมาณ 30 แกลลอน ในอุณหภูมิที่ 75-90 ฟาเราไฮน์ ควรทำที่อยู่อาศัยคล้ายคลึงกับธรรมชาติ มีขอนไม้และต้นไม้ให้ซุกซ่อนตัวได้ด้วย และแม้ว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้มีความต้องการรังสียูวีที่น้อยกว่าสัตว์ประเภทกิ้งก่าแต่ผู้เลี้ยงก็ยังคงต้องหาหลอดยูวีมาใส่ไว้ให้ด้วยค่ะ

นอกจากการให้อาหารแล้วก็จะต้องเตรียมน้ำสะอาดเอาไว้ให้เป็นประจำทุกวัน ควรมีการเปลี่ยนน้ำใหม่ทุก ๆ วัน ในการให้อาหารควรให้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักผลไม้ปะปนกันไป หากต้องการความสะดวกก็สามารถนำอาหารกระป๋องของแมวมาให้สลับกับเนื้อสัตว์และอาหารอื่น ๆ ได้ อาทิตย์ละประมาณ 3-4 ครั้ง แต่ไม่ว่าจะเลี้ยงสัตว์ประเภทไหนผู้เลี้ยงก็ควรหมั่นดูแลเอาใจใส่และเข้าใจในธรรมชาติของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ให้ถ่องแท้ เพื่อที่จะได้ดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณได้อย่างถูกต้องค่ะ

 

 

เว็บบอล

Categories
ความรู้ สัตว์เลื้อยคลาน

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค ตุ๊กแกหน้ามังกรแห่งเกาะมาดากัสการ์

สัตว์เลื้อยคลาน

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค ( Satanic leaf-tailed gecko ) หรือที่มักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ตุ๊กแกหางใบไม้ เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Uroplatus phantasticus จัดอยู่ในวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก ( GEKKONIDAE ) สกุล Uroplatus มีถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์เฉพาะในเกาะมาดากัสการ์เท่านั้น

ด้วยความแปลกของรูปร่างและลักษณะต่าง ๆ ทางกายภาพทำให้มีหลายคนมองว่าตุ๊กแกหางใบไม้มีหน้าตาดุร้ายคล้ายกับมังกรจนในโลกโซเชียลได้มีการตัดต่อจำลองภาพให้มีปีกซึ่งก็ยิ่งทำให้มีความเหมือนมังกรมากยิ่งขึ้นไปอีก ต่อมาก็ได้กลายเป็นสัตว์แปลกที่มีคนให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ลักษณะของตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค มีลักษณะรูปร่างที่บิดงอและค่อนข้างแบน มีเส้นเลือดโปดปูนตามผิวหนัง มีหางแบนสีน้ำตาลคล้ายใบไม้แห้ง ผิวหนังมีหลายสี เช่น สีเขียวเข้ม สีน้ำตาลใบไม้แห้งและมีจุดดำกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อเจริญเติบโตเต็มวัยตุ๊กแกหางใบไม้จะมีลำตัวยาวประมาณ 10-13 นิ้ว ดวงตากลมใหญ่สีน้ำตาล มีจุดสีแดงตรงกลาง ไม่มีเปลือกตาเปลือกตา แต่จะมีเพียงเยื่อใส ๆ หุ้มไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันดวงตา

ตุ๊กแกหางใบไม้สามารถจำแนกเพศผู้-เพศเมียได้จากสีผิวโดยตัวเมียจะมีลำตัวสีเทา ส่วนตัวผู้มีลำตัวสีน้ำตาลปนเหลืองและมีปุ่มสองปุ่มอยู่บริเวณโคนหางคล้ายไข่เลี้ยง หลังผสมพันธุ์ตัวเมียจะทำการฟักไข่โดยจะใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน และนานที่สุด คือ 90-120 วัน 

การใช้ชีวิตของตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคบนเกาะมาดากัสการ์

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคเป็นสัตว์เลื้อยคลานตัวจิ๋วที่มีความสามารถในเรื่องการพลางตัวได้อย่างแนบเนียนอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งการพลางตัวของเจ้าตุ๊กแกไซส์มินินี้จัดอยู่ในขั้นเทพเลยก็ว่าได้ค่ะ ด้วยความที่น้องมีขนาดรูปร่าง หน้าตา และสีสันที่กลืนไปกับต้นไม้ใบหญ้าและธรรมชาติมาก ( ตีเนียนเก่งชนิดที่กิ้งก่ายังต้องอาย ) จึงทำให้สังเกตได้ยากมาก ๆ 

ตุ๊กแกหางใบไม้อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ โดยในช่วงเวลากลางวันมักจะพรางตัวและหลบซ่อนตัวอยู่ตามต้นไม้ ซอกไม้ ใต้ใบไม้แห้ง เพื่อพักผ่อนเอาแรง พอถึงช่วงกลางคืนก็จะออกมาหาอาหารเหมือนกับตุ๊กแกสายพันธุ์อื่น ๆ อาหารที่ชื่นชอบจะเป็นจำพวกจิ้งเหลน แมลงสาบ แมงมุม และแมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงอาจกินสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวได้ด้วย เช่น หนูขนาดเล็ก หรือ นกขนาดเล็ก

ปัจจุบันตุ๊กแกหางใบไม้ได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลกทั่วโลก มีการเลี้ยงในตู้กระจกและปรับสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ ตุ๊กแกนิสัยไม่ดุร้าย ไม่มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เลี้ยงง่าย ผู้เลี้ยงสามารถป้อนอาหารให้กินด้วยมือได้ และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน และนานที่สุด คือ 90-120 วัน 

 

 

ไฮโลไทย

Categories
ความรู้ สัตว์เลื้อยคลาน

ทำความรู้จักกับสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตะพาบหัวกบ เจ้าหัวกบที่ชอบกินกบเป็นอาหาร

สัตว์เลื้อยคลาน

     ตะพาบหัวกบ ( Southern New Guinea Giant Softshell Turtle ) หรือ ตะพาบน้ำหัวกบ , กริวดาว , กราวเขียว จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในวงศ์ ตะพาบหัวกบชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys bibroni มีถิ่นอาศัยในแถบประเทศจีน อินเดีย อินโดจีน สุมาตรา มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ไทย ฯลฯ โดยในประเทศไทยสามารถพบได้เกือบทุกภาค เช่น ตาก กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ฯลฯ

    ปัจจุบันได้มีการนำมาเพาะขยายพันธุ์กันมากขึ้นและนิยมนำไปเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และหากตะพาบตัวใดปรากฏว่าที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่ตามกระดอง โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนลวดลายและสีสันไปตามวัยจะเรียกกันว่า "กริวดาว"  สามารถพบเจอได้เฉพาะในภาคกลางและภาคตะวันตกของไทย

ลักษณะรูปร่างหน้าตาและนิสัยของเจ้าตะพาบหัวกบ ที่เห็นนิ่ง ๆ แต่ที่จริงแล้วดุใช่เล่น

     ตะพาบหัวกบขนาดรูปร่างมีขนาดใหญ่ โดยจะมีขนาดกระดองยาวเฉลี่ยประมาณ 120 เซนติเมตร น้ำหนักตัวอาจมากถึง 50-90 กิโลกรัมเลยทีเดียว ตัวผู้จะมีลำตัวเรียวยาว-บาง หางยาว ตัวเมียจะลำตัวอ้วนใหญ่ กระดองสาก และหางสั้นกว่าตัวผู้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเขียวและด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน มีตาขนาดเล็ก เท้าเป็นพังผืดติดกัน มีหัวขนาดเล็กและสั้นคล้ายหัวกบจึงเป็นที่มาของชื่อว่า ตะพาบหัวกบ นั่นเอง

     เมื่อยังเล็กเจ้าตะพาบน้ำหัวกบลักษณะทั่วไป คือ กระดองจะมีสีน้ำตาลอมเขียวและมีจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วกระดองและจะจางลงเมื่อเริ่มเจริญเติบโตขึ้น ส่วนสีของตัวจะค่อย ๆ เข้มขึ้นและเปลี่ยนไปตามวัย ซึ่งปัจจุบันสามารถพบตะพาบชนิดนี้ได้น้อยมากด้วยเหตุนี้จึงถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง

     ส่วนนิสัยของตะพาบสายพันธุ์นี้มักจะมีความดุร้าย การเข้าใกล้หรือสัมผัสใกล้ชิดจึงควรต้องใช้ความระมัดระวังกันสักหน่อย ปกติมักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายเพื่อรอให้เหยื่อผ่านมาเมื่อสบโอกาสก็จะพุ่งเข้าจู่โจม ซึ่งอาหารตะพาบหัวกบ ได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ อาทิเช่น กบ เขียด กุ้ง หอย ปู ปลา และพืชบางชนิด

วิถีการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของตะพาบหัวกบ

     ตะพาบหัวกบปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อย ๆ โดยมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2535

     แม้ว่าจะเคยถูกพูดถึงว่าสูญพันธุ์มาแล้วในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ก็ได้มีการเร่งเพาะพันธุ์ขึ้นมาจนเริ่มมีประชากรเพิ่มขึ้นบ้างแล้ว การผสมพันธุ์และการวางไข่ของตะพาบน้ำสายพันธุ์นี้ตัวเมียจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และให้ไข่ได้เมื่อมีอายุประมาณปีเศษ และช่วงอายุที่สามารถให้ไข่ได้สมบูรณ์มากที่สุดคือ ช่วงที่มีอายุ 1.8 ปี ขึ้นไป พบว่ามันมักจะวางไข่ตามบริเวณริมแม่น้ำหรือแหล่งน้ำใกล้ ๆ กับที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 

     ตะพาบน้ำเมื่อถึงฤดูวางไข่ตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์กันในน้ำและตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนบกตามเนินทรายที่เหมาะสม มันจะแอบขึ้นมาวางไข่ในช่วงกลางคืนโดยการใช้เท้าขุดหลุมขนาดพอเหมาะและเมื่อวางไข่เสร็จก็จะใช้เท้าเขี่ยดินมากลบฝังเอาไว้อย่างมิดชิดตามเดิม ตะพาบน้ำตัวเมีย 1 ตัว สามารถให้ไข่ได้ 5-7 ฟองต่อ 1 หลุม และตลอดฤดูการวางไข่สามารถให้ไข่ได้ 100-200 ฟอง จะใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 90 วัน เมื่อลืมตาดูโลกเจ้าตัวเล็กจะมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร และทันทีที่ลืมตาดูโลกพวกมันจะวิ่ง 4x100 ลงสู่แหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดทันทีตามสัญชาตญาณการเอาตัวรอดและเจริญเติบโตต่อไป

 

 

ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ