พี่เบิ้มแห่งผืนป่า

ช้าง ตัวโตขวัญใจของเด็กน้อยมากมาย

ช้าง ตัวโตขวัญใจของเด็กน้อยมากมาย ที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้ยินข่าว หรือเรื่องราวเกี่ยวกับช้าง เรื่องราวเหล่านั้นมักเป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้ขนาดตัวของพวกมันเลย แต่ทำไมเรื่องราวของช้างถึงน่าสนใจ และเรื่องราวของเจ้าช้างน่าสนใจแค่ไหน เรามาเรียนรู้เรื่องราวของเจ้าช้างเหล่านี้กัน

ประวัติช้าง

ประวัติช้าง ;ช้างมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยไม่แพ้สัตว์ชนิดอื่น

          ช้างมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยไม่แพ้สัตว์ชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นการที่เราใช้ช้างสำหรับการใช้แรงงาน ลงสนามศึก สนามรบ ในการทำยุทธหัตถีตั้งแต่ในสมัยอดีต แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เราใช้ช้างเป็นสัตว์ประจำรัชกาล

          ช้างถือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ออกลูกเป็นตัว ที่มี 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ ช้างแอฟริกา ช้างแอฟริกา และช้างเอเชีย ลักษณะเด่นๆ ของช้างที่ทุกคนน่าจะคุ้นตาก็คือ พวกมันมีตาที่เล็ก หูใหญ่ งวงยาว ตัวใหญ่ และมีผิวหนังที่หนาแต่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ช้างตัวผู้จะมีงาขาวที่ได้วิวัฒนาการมาจากฟัน งวงของช้างนอกจากจะใช้เป็นจมูกสำหรับการหายใจแล้ว งวงของมันยังเปรียบเสมือนแขนที่ไว้ใช้หยิบสิ่งของ หรือหยิบอาหารเข้าปาก หรือดูดน้ำได้

ช้างเอเชีย

ช้างเอเชียตัวผู้จะมีขนาดสูงได้ถึง 3 เมตร

          ปัจจุบันช้างในประเทศไทยมีจำนวนไม่มากนัก และถือว่าน้อยมากหากนับเฉพาะช้างตามธรรมชาติ เนื่องจาก 95 % ของช้างในประเทศไทยจะอยู่ในศูนย์อนุรักษ์ทั้งของรัฐบาลเอง และของเอกชน ช้างในประเทศไทยเป็นช้างเอเชียชนิดหนึ่ง ที่อาจจะมีขนาดเล็กกว่าช้างสายพันธุ์แอฟริกา ช้างเอเชียตัวผู้จะมีขนาดสูงได้ถึง 3 เมตร มีงายาวที่เราเรียกว่าช้างพลาย ส่วนช้างตัวเมียแม้จะมีงา แต่งาของมันเป็นงาที่สมบูรณ์ซึ่งเราจะเรียกช้าวงตัวเมียว่าช้างพัง

ช้างเขาใหญ่

          สถานการณ์ของช้างที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติในประเทศไทยอาจจะไม่ค่อยดีนัก ไม่ว่าด้วยปัจจัยใดก็ตาม ทางอุทยานฯก็ได้พยายามทุกวิถีทางในการฟื้นฟู คุ้มครอง ดูแลโขลงช้างที่เหลืออยู่เป็นอย่างดี คุณอาจจะเคยได้ยินข่าว หรือ หากคุณเคยผ่านไปทางอุทยานเขาใหญ่ คุณอาจโชคดีได้เห็นโขลงช้างออกมาเดินตามถนน ทักทายรถที่วิ่งผ่านไปมาเช่น พี่ด้วน พี่โยโย่ พี่งาทองเล็กหรือ พี่ดื้อ เป็นต้น ทำให้ทางอุทยานฯ ได้ตั้งทีมอารักขา หรือที่เราเรียกว่า ชุดเคลื่อนที่เร็วเขาใหญ่ ที่จะคอยดูแลทั้งช้างเขาใหญ่ และรถที่วิ่งผ่านไปมา รวมถึงมีการแจ้งแผ่นพับ ใบปลิว และป้ายแจ้งเตือนเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเจอโขลงช้างออกมาหากินตามริมถนนทางขึ้นอุทยานฯ

          นอกจากเราที่ต้องช่วยกันดูแลเจ้าช้างเหล่านี้ เพื่อใช้พวกมันได้อยู่ไปชั่วลูกชั่วหลานแล้ว เราต้องไม่ลืมที่จะดูแลผืนป่าที่เป็นเหมือน “บ้าน” ของพวกมันด้วย