Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

ปลาออร์ฟิช ปลาพญานาคในตำนานที่คนเล่าขานถึง

มกราคม 2022

      ปลาออร์ฟิช ( Oarfish , King of herrings ) หรือ ปลาพญานาค , ปลาออร์ , ปลาริบบิ้น เป็นปลากระดูกแข็งที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Regalecus glesne และอยู่ในวงศ์ REGALECIDAE สามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นที่เขตร้อนหรือเขตอบอุ่น โดยมากพบว่าอาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในระดับความลึก 200 เมตร ขึ้นไป เชื่อว่าปลาชนิดนี้สามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่มีระดับความลึกมากถึง 1,000 เมตร เลยทีเดียว อีกทั้งยังถูกจัดให้เป็นปลาที่ยาวที่สุดในโลก ด้วยความยาวสูงสุดถึง 17 เมตร หนักประมาณ 270-300 กิโลกรัม

      ปลาออร์จัดเป็นปลานักเดินทางที่กระดูกสันหลังยาวที่สุดในโลกโดยพบว่ามันสามารถมีกระดูกสันหลังยาวได้มากกว่า 11 เมตร และมักจะมีการย้ายถิ่นที่อยู่ไปเรื่อย ๆ เพื่อหาอาหาร สามารถพบได้ในแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของออสเตรเลีย ทะเลนอกชายฝั่งเม็กซิโก และแถบหมู่เกาะเบอร์มิวดา ซึ่งมักจะพบกันในสภาพที่เป็นซากถูกคลื่นซัดออกมาเกยหาดเสียส่วนใหญ่

ลักษณะของปลาออร์ฟิช ปลาหน้าแปลก ตัวยาว มีหงอน ชอบซ่อนตัวในน้ำลึก

      ในประเทศไทยมีความเชื่อว่าปลาออร์ฟิชมีลักษณะคล้ายกับพญานาคและคล้ายกับมังกรทะเลตามความเชื่อของชาวตะวันตก มีส่วนใหญ่หัวขนาดใหญ่ ไม่มีฟัน ดวงตากลมโต ลำตัวรูปทรงแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้าและดำแต้มสลับกันกระจายไปทั่วทั้งตัว ไม่มีเกล็ด เมื่อโดนแสงลำตัวจะมีความสะท้อนแสงและเรืองแสงได้ 

      ปลาออร์มีครีบด้านหลังสีแดง มีความยาวตลอดลำตัวประมาณ 400 เส้น บนหัวจะมีครีบยาวสีแดงซึ่งจะมีความคล้ายกับหงอนพญานาค อาหารของปลาออร์จะเป็นจำพวกแพลงก์ตอน แม้ว่าจะมีหน้าตาไม่น่ารักเท่าไหร่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย ไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์ นอกจากนี้ได้เคยมีคนทดลองกินเนื้อปลาออร์จากซากที่ลอยมาเกยตื้นพบว่าเนื้อมีลักษณะเหลวเป็นวุ้นและรสชาติไม่อร่อย จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาที่ไม่เหมาะกับการนำมาทำเป็นอาหารนั่นเอง

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปลาออร์ฟิช

      ด้วยความที่ปลาชนิดนี้มักอาศัยอยู่ใต้ท้องทะเลลึก การที่จะได้พบเจอปลาชนิดนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะปลาออร์ฟิชนิสัยชอบท่องเที่ยวไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อหาแหล่งอาหารที่เหมาะสมจึงอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พบตัวได้ยาก ซึ่งในบางครั้งก็ยังสามารถพบเห็นปลาออร์ฟิชแม่น้ำโขงด้วย 

      แม้ว่าข้อมูลในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุจำนวนและข้อมูลที่แน่ชัดได้ แต่จากการประเมินของสหภาพอนุรักษ์โลก (IUCN) คาดว่าปลาออร์น่าจะยังมีอยู่จำนวนมากและยังไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการที่ปลาออร์อาศัยอยู่ทะเลน้ำลึกการจะตามล่าหาตัวปลาชนิดนี้จึงเป็นไปได้ยากมากนั่นเองค่ะ

 

 

สมัครบาคาร่า

Categories
ความรู้ สัตว์เลื้อยคลาน

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค ตุ๊กแกหน้ามังกรแห่งเกาะมาดากัสการ์

มกราคม 2022

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค ( Satanic leaf-tailed gecko ) หรือที่มักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ตุ๊กแกหางใบไม้ เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Uroplatus phantasticus จัดอยู่ในวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก ( GEKKONIDAE ) สกุล Uroplatus มีถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์เฉพาะในเกาะมาดากัสการ์เท่านั้น

ด้วยความแปลกของรูปร่างและลักษณะต่าง ๆ ทางกายภาพทำให้มีหลายคนมองว่าตุ๊กแกหางใบไม้มีหน้าตาดุร้ายคล้ายกับมังกรจนในโลกโซเชียลได้มีการตัดต่อจำลองภาพให้มีปีกซึ่งก็ยิ่งทำให้มีความเหมือนมังกรมากยิ่งขึ้นไปอีก ต่อมาก็ได้กลายเป็นสัตว์แปลกที่มีคนให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ลักษณะของตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค มีลักษณะรูปร่างที่บิดงอและค่อนข้างแบน มีเส้นเลือดโปดปูนตามผิวหนัง มีหางแบนสีน้ำตาลคล้ายใบไม้แห้ง ผิวหนังมีหลายสี เช่น สีเขียวเข้ม สีน้ำตาลใบไม้แห้งและมีจุดดำกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อเจริญเติบโตเต็มวัยตุ๊กแกหางใบไม้จะมีลำตัวยาวประมาณ 10-13 นิ้ว ดวงตากลมใหญ่สีน้ำตาล มีจุดสีแดงตรงกลาง ไม่มีเปลือกตาเปลือกตา แต่จะมีเพียงเยื่อใส ๆ หุ้มไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันดวงตา

ตุ๊กแกหางใบไม้สามารถจำแนกเพศผู้-เพศเมียได้จากสีผิวโดยตัวเมียจะมีลำตัวสีเทา ส่วนตัวผู้มีลำตัวสีน้ำตาลปนเหลืองและมีปุ่มสองปุ่มอยู่บริเวณโคนหางคล้ายไข่เลี้ยง หลังผสมพันธุ์ตัวเมียจะทำการฟักไข่โดยจะใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน และนานที่สุด คือ 90-120 วัน 

การใช้ชีวิตของตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคบนเกาะมาดากัสการ์

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคเป็นสัตว์เลื้อยคลานตัวจิ๋วที่มีความสามารถในเรื่องการพลางตัวได้อย่างแนบเนียนอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งการพลางตัวของเจ้าตุ๊กแกไซส์มินินี้จัดอยู่ในขั้นเทพเลยก็ว่าได้ค่ะ ด้วยความที่น้องมีขนาดรูปร่าง หน้าตา และสีสันที่กลืนไปกับต้นไม้ใบหญ้าและธรรมชาติมาก ( ตีเนียนเก่งชนิดที่กิ้งก่ายังต้องอาย ) จึงทำให้สังเกตได้ยากมาก ๆ 

ตุ๊กแกหางใบไม้อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ โดยในช่วงเวลากลางวันมักจะพรางตัวและหลบซ่อนตัวอยู่ตามต้นไม้ ซอกไม้ ใต้ใบไม้แห้ง เพื่อพักผ่อนเอาแรง พอถึงช่วงกลางคืนก็จะออกมาหาอาหารเหมือนกับตุ๊กแกสายพันธุ์อื่น ๆ อาหารที่ชื่นชอบจะเป็นจำพวกจิ้งเหลน แมลงสาบ แมงมุม และแมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงอาจกินสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวได้ด้วย เช่น หนูขนาดเล็ก หรือ นกขนาดเล็ก

ปัจจุบันตุ๊กแกหางใบไม้ได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลกทั่วโลก มีการเลี้ยงในตู้กระจกและปรับสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ ตุ๊กแกนิสัยไม่ดุร้าย ไม่มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เลี้ยงง่าย ผู้เลี้ยงสามารถป้อนอาหารให้กินด้วยมือได้ และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน และนานที่สุด คือ 90-120 วัน 

 

 

ไฮโลไทย

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

เต่าหัวค้อน เต่าทะเลหัวโต ต้วมเตี้ยม สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่ไม่ค่อยมีให้เห็นกันแล้ว

มกราคม 2022

     เต่าหัวค้อน ( Loggerhead Turtle ) หรือ เต่าล็อกเกอร์เฮด , เต่าจะละเม็ด , เต่าตาแดง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caretta caretta ( Linneaus , 1758 ) ถูกจัดอยู่ในวงศ์ CHELONIOIDEA ซึ่งเต่าทะเลชนิดนี้เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Caretta 

     พบมากในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกและพบได้ประปรายในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนในเอเชียอาจมีพบบ้างในเขตอบอุ่นทางประเทศอินโดนีเซียและญี่ปุ่น ในประเทศไทยไม่พบการขึ้นมาวางไข่เป็นเวลานานกว่า 20 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้พบมีเต่าหัวค้อนติดอวนของชาวประมงในจังหวัดสตูล ได้นำกลับมารักษาอาการบาดเจ็บจนหายดีและปล่อยกลับลงทะเลในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2551 ปัจจุบันขึ้นสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

ลักษณะทั่วไปของเต่าหัวค้อน 

     เต่าหัวค้อนมีลักษณะทางกายภาพทั่วไปคล้ายคลึงกับเต่าหญ้าและเต่าตนุ โดยจะมีเกล็ดบนหัวบริเวณด้านหน้าจะมี 2 คู่ ( เหมือนเต่าหญ้า ) มีเกล็ดบนกระดองหลังบริเวณริมกระดองด้านข้างนับได้ 5 เกล็ด หรือเรียกว่า 5 แผ่น ซึ่งลักษณะของเต่าส่วนนี้จะแตกต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่น ๆ

     กระดองมีรูปทรงโค้งมนและจะเรียวแหลมบริเวณส่วนท้ายกระดอง มีสันแเข็งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน กระดองจะมีน้ำตาลอมแดงหรืออมส้ม มีจุดเด่น คือ มีหัวขนาดใหญ่ ส่วนเท้าจะมีเล็บยาวยื่นออกมาข้างละ 1 เล็บ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีกระดองยาวเฉลี่ยประมาณ 85 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม 

วิถีการดำรงชีวิตของเต่าหัวค้อน

     เต่าหัวค้อนมักจะอาศัยตามชายฝั่งน้ำตื้นที่มีอุณหภูมิมากกว่า 20 องศาเซลเซียส อาหารของเต่าทะเลชนิดนี้จะเป็นจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก และสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ โดยมันจะใช้จะงอยปากอันแหลมคมและขากรรไกรที่แข็งแรงเป็นเครื่องมือในการล่าเหยื่อและใช้บดเคี้ยวอาหารที่มีเปลือกหรือกระดองแข็ง 

     ปัจจุบันเต่าหัวค้อนมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจมาจากปริมาณขยะในท้องทะเลที่เพิ่มมากขึ้น สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ภาวะโลกร้อน และการถูกรบกวนจากมนุษย์ ฯลฯ

     อีกทั้งเพศของลูกเต่าจะถูกกำหนดได้โดยอุณหภูมิใต้ผืนทรายบริเวณที่แม่เต่าไปวางไข่ ( ไม่ได้กำหนดด้วยโครโมโซม ) หากอุณหภูมิอยู่ในระดับที่เหมาะสมลูกเต่าก็จะมีสัดส่วนเพศผู้และเพศเมียที่สมดุลกัน โดยถ้ามีอุณหภูมิสูงจะได้ลูกเต่าเพศเมียและถ้าอุณหภูมิเย็นก็จะได้ลูกเต่าเพศผู้ ดังนั้นเมื่อโลกมีสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปก็ย่อมจะส่งผลให้อัตราส่วนของเต่าเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ง่ายขึ้น

 

 

แทงบอล

Categories
ความรู้ แมลง

แมงมุมพอลทิส แมงมุมเอเลี่ยนเซียนในการพลางตัว

มกราคม 2022

     เจ้าแมงมุมพอลทิส ( Poltys Spider ) เป็นสัตว์ในจำพวกแมลงที่ถูกจัดให้อยู่ในวงศ์แมงมุมใยกลม ( ARANEIDAE ) ถูกพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1843 โดย คาร์ล ลุดวิก โคช นักกีฏวิทยาชาวเยอรมัน แต่ข้อมูลยังไม่มีความชัดเจนมากนักเนื่องจากสัตว์สายพันธุ์นี้มีหลากหลายชนิดและมีลักษณะที่แตกต่างกันทำให้การเก็บข้อมูลในเชิงลึกทำได้ยากและต้องใช้เวลา กระทั่งได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ขึ้นมาใหม่ 

     โดยในเดือนเมษายน ปี 2019 ได้มีการเปิดเผยข้อมูลพบว่าสามารถแยกชนิดของแมงมุมพอลทิสได้มากถึง 43 สายพันธุ์ ซึ่งเจ้าแมงมุมชนิดนี้จะมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกับเอเลี่ยนในภาพยนตร์ที่เราเคยดูกัน และในแง่ของการพลางเจ้าตัวแมงมุมสายพันธุ์นี้ก็จัดว่าขั้นเทพเลยทีเดียว

ลักษณะทั่วไปของแมงมุมพอลทิส 

     ปัจจุบันสามารถแบ่งแมงมุมชนิดนี้ออกเป็น 43 สายพันธุ์ ในแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป มักจะพบได้ตามป่าฝนทั้งในแอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ซึ่งในเอเชียจะเป็นในแถบมณฑลยูนาน ประเทศจีน เวียดนาม มาเลเซีย ไทย ฯลฯ

     ลักษณะรูปร่างของแมงมุมพอลทิสจะมีรูปร่างคล้ายใบไม้ มีขาสีน้ำตาล 8 ขา ยาวแก้งก้างเอาไว้เกาะกิ่งไม้ ส่วนขามีขนสีขาวสั้นและบางขึ้นปกคลุม มีหางยาวห้อยมาทางด้านหลัง หางมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม แผ่นหลังมีสีเขียวสดเหมือนใบไม้สด ส่วนท้องมีสีน้ำตาลคล้ายใบไม้แห้งซึ่งเหมาะสำหรับการพรางตัวเป็นใบไม้อย่างมากและแมงมุมตัวผู้จะมีขนาดขาที่ยาวกว่าตัวเมีย ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้สามารถชักใยรัดตัวเมียในขณะผสมพันธุ์ได้และป้องกันการโดนตัวเมียกัดกินขณะผสมพันธุ์ ยิ่งตัวผู้มีขนาดตัวใหญ่มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์มากเท่านั้น

การดำรงชีวิตของแมงมุมพอลทิส

     แมงมุมพอลทิสถูกจัดให้อยู่ในวงศ์แมงมุมใยกลม ( ARANEIDAE ) แมงมุมสายพันธุ์นี้จะพักผ่อนและหลบซ่อนตัวในเวลากลางวันและออกล่าหาอาหารในเวลากลางคืน โดยจะชักใยเอาไว้เพื่อดักจับแมลงและสัตว์ขนาดเล็กที่ผ่านไปมา อาหารที่ชื่นชอบจะเป็นจำพวกแมลงเม่า , ปลวก , หนอน , ด้วง , ผีเสื้อ , แมลงวัน , แมงมุมชนิดอื่น และแมลงต่าง ๆ เมื่อออกหาอาหารจนอิ่มท้องแล้วในช่วงใกล้สว่างก็จะรีบทำลายใยที่ทำไว้ดักเหยื่อทิ้งไปแล้วกลับไปพรางตัวเป็นใบไม้อย่างแนบเนียนตามเดิม

     ด้วยสีสันที่คล้ายใบไม้และมักจะชอบห่อตัวเหมือนใบไม้จึงทำให้มันสามารถอำพรางตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติได้อย่างแนบเนียน ช่วยให้รอดจากนักล่าทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการจะมองหาตัวของมันจำเป็นที่จะต้องอาศัยการสังเกตอย่างมากจึงจะสามารถมองเห็นได้ โดยส่วนใหญ่แล้วพวกมักจะทำรังอาศัยอยู่ตามต้นไม้เพื่อพรางตัว

     แม้ว่าแมงมุมพอลทิสจะเป็นแมงมุมมีพิษแต่ก็ไม่ได้มีนิสัยดุร้าย อีกทั้งพิษของมันก็ไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์ เหล่านักเดินป่าจึงไม่ต้องกังวลว่าจะโดนกัดจนได้รับอันตรายและไม่แน่ว่าเดินป่าอยู่ดี ๆ เราอาจจะได้พบเจ้าแมงมุมสายพันธุ์นี้ก็ได้

 

 

สมัครแทงบอล

Categories
ความรู้ สัตว์บก

หมาจิ้งจอกหูค้างคาว เจ้าตัวจิ๋ว ตาแป๋ว หน้าขาว หูตั้ง

มกราคม 2022

       หมาจิ้งจอกหูค้างคาว ( Bat-eared Fox ) เป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็กที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนา ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาและแอฟริกาตะวันออก มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Otocyon megalotis จัดอยู่ในวงศ์ CANIDAE และเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงหนึ่งเดียวที่ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Otocyon ซึ่งสามารถแบ่งหมาจิ้งจอกสายพันธุ์นี้ออกเป็น 2 ชนิด คือ

-O.m. canescens อาศัยอยู่ในแถบเอธิโอเปีย, โซมาเลีย, เคนยา, แองโกลา, แทนซาเนีย

-O.m. megalotis อาศัยอยู่ในทางตอนใต้ของแซมเบีย, บอตสวานา, นามิเบีย , แอฟริกาใต้

ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกหูค้างคาว

       ขนาดตัวของหมาจิ้งจอกหูค้างคาวจะมีความยาวตั้งแต่หัวจรดปลายหางเฉลี่ยแล้วประมาณ 55 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเต็มที่ประมาณ 3-5 กิโลกรัม มีขนตามลำตัวสีน้ำตาลอมเทา ช่วงขาทั้ง 4 ข้างและปลายหางมีสีน้ำตาลเข้ม-ดำ หางมีลักษณะขนฟูเป็นพวง มีใบหูสีน้ำตาลเข้มขนาดใหญ่ลักษณะชี้ตั้งขึ้นคล้ายกับกูค้างคาวจึงมีประสาทการรับฟังเสียงที่ดีเยี่ยม ตาสีดำกลมโต หน้าเล็ก จมูกเรียงแหลม มีขนสีดำเป็นแนวเส้นลากยาวจากบริเวณช่องว่าระหว่างดวงตาทั้งสองข้างลากยาวมาถึงปลายจมูก ขนบริเวณใบหน้ามีสีขาว การมีฟันกรามบน 3 ซี่ ฟันกรามล่าง 4 ซี่ จึงทำให้สามารถขยับกรามเคี้ยวแมลงได้อย่างรวดเร็ว 

       เป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก อุปนิสัยไม่ดุร้าย หมาจิ้งจอกชนิดนี้จะโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 7-9 เดือน ก็จะเริ่มมีการจับคู่ผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูหนาว ตัวเมียจะให้ลูกได้ครั้งละ 2-5 ตัว แม่สุนัขจะใช้เวลาเลี้ยงลูกของตนนานประมาณ 15 สัปดาห์

วิถีชีวิตของหมาจิ้งจอกหูค้างคาว

       หมาจิ้งจอกหูค้างคาวมีวิถีชีวิตที่เหมือนกันกับหมาจิ้งจอกทั่วไป คือ ชอบการอยู่รวมกันเป็นฝูงซึ่งเจ้าจิ้งจอกสายพันธุ์นี้ชอบที่จะสร้างฝูงขนาดเล็กที่มีสมาชิกเพียง 2-6 ตัวเท่านั้น เป็นครอบครัวเล็ก ๆ ที่อยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่นในทุ่งหญ้าสะวันนาที่กว้างใหญ่ โดยเจ้าจิ้งจอกมักจะสร้างบ้านอันแสนสุขอยู่ในโพรงใต้ดินซึ่งเป็นทั้งที่พักหลับนอนและใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวจากอันตรายด้วย

       นอกจากจะเป็นหมาจิ้งจอกนิสัยรักครอบครัวและรักถิ่นที่อยู่แล้ว หากคุณคิดว่าหมาจิ้งจอกคือนักล่าแสนฉลาด ดุร้าย และเป็นนักล่าเนื้อผู้แคล่วคล่องว่องไวก็อาจจะต้องคิดดูใหม่อีกที เมื่อพบว่าเจ้าจิ้งจอกไซส์มินินี้มีอาหารที่ชื่นชอบและกินเป็นหลัก คือ อาหารประเภทแมลงตัวเล็กตัวน้อย อาทิเช่น ปลวก หนอน สัตว์ฟันแทะชนิดต่าง ๆ และผลไม้บางชนิด เห็นอย่างนี้แล้วก็ทำให้รู้สึกว่าพวกมันรักสันโดษและอาหารของพวกมันช่างตะมุตะมิกว่าหมาป่าที่อยู่ในจินตนาการของเราอย่างมากเลยทีเดียว

       ใบหูใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายกับลักษณะหูของค้างคาวนั้นเป็นที่รวมของเส้นเลือดต่าง ๆ ช่วยระบายความร้อนได้ดีและทำให้มีประสาทการรับเสียงที่ดีมากจนสามารถฟังเสียงคลานของแมลงได้ด้วย ทำให้ออกการหาอาหารจำพวกแมลงในตอนกลางคืนเป็นไปอย่างง่ายดาย ซึ่งในปัจจุบันสถานะของจิ้งจอกสายพันธุ์นี้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์แต่อย่างใด

 

 

เว็บพนันบอล ดีที่สุด