Categories
ความรู้ สัตว์บก แนะนำ

กระรอกสามสี สัตว์ป่าคุ้มครอง ขนสวยสะดุดตา หางยาวปุกปุย

กระรอกสามสี เป็นสัตว์สายพันธุ์กระรอกที่พบเห็นได้ยาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus prevostii เป็นกระรอกที่ตัวใหญ่ไม่ใหญ่มากนัก มีขนาดตัวปานกลาง ลำตัวของกระรอกสามสีอยู่ที่ประมาณ 25 เซนติเมตร และหางจะมีขนหนาปกคลุมฟูฟ่อง ซึ่งความยาวของหางจะอยู่ที่ประมาณ 27 เซนติเมตร กระรอกสามสี มีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับกระรอกหลากสี จัดอยู่ในสกุลเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus finlaysonii แต่มีความแตกต่างกันที่สายพันธุ์สามสีตัวเมียจะมีเต้านม 3 คู่ ซึ่งกระรอกชนิดนี้สามารถพบได้ในทวีปเอเชีย มักอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์

ข้อมูลทั่วไปที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระรอกสามสีสัตว์โลกแสนน่ารัก 

กระรอกสามสี เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงใกล้เป็นสัตว์สูญพันธุ์ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ให้กระรอกสายพันธุ์นี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และห้ามไม่ให้มีการเลี้ยง แต่ก็ยังมีการแอบนิยมซื้อขายเป็นสัตว์เลี้ยงอยู่

ลักษณะที่โดดเด่น

กระรอกสามสี ลักษณะที่โดดเด่นซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนคือสีของขนที่มีสามสี โดนบริเวณหูและหัวจะมีสีดำ ขนหางครึ่งหนึ่งเป็นสีดำ ปลายหาเป็นสีน้ำตาล ส่วนขาขนมีสีแดงปนน้ำตาลแก่ บริเวณโคนขาหลังด้านบนมีสีขาว ขนท้องจะมีสีน้ำตาลปนแดงมีแถบสีขาวพาดจากโคนขาหลังไปยังขาหน้า กระรอกสามสี จึงประกอบไปด้วยสีดำ สีขาว และสีน้ำตาล

ถิ่นที่อยู่อาศัย

สามารถพบได้บริเวณป่าดิบชื้น หรือป่าพรุ ในคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยลงไป พบได้แม้กระทั่งในป่าพรุ เช่น ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ประเทศมาเลเซีย หมู่เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะอินโดนีเซีย

อาหารการกิน

กระรอกสายพันธุ์นี้กินอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ แมลงต่าง ๆ และไข่นก เป็นต้น

ลักษณะนิสัยและพฤติกรรม

สำหรับกระรอกชนิดนี้จะชอบออกหากินในเวลาตอนกลางวัน ออกหากินตามลำพัง หรืออาจจะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นหลัก มีความว่องไว เคลื่อนไหวรวดเร็ว

ช่วงเวลาของการเจริญพันธุ์

กระรอกสามสี เป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ตลอดปี ซึ่งฤดูผสมพันธุ์อย่างแท้จริง จะอยู่ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน กระรอกสายพันธุ์นี้มีระยะเวลาในการตั้งท้อง 40 วัน ในหนึ่งคอกจะได้ลูกอยู่ประมาณ 1 ถึง 4 ตัว น้ำหนักแรกเกิดจะอยู่ที่ประมาณ 16 กรัมเท่านั้น ตัวเล็กมาก ๆ 

ขนาดและน้ำหนัก

ถ้าเทียบกับกระรอกสายพันธุ์อื่น ๆ จะมีขนาดกลาง แต่ถ้าพูดถึงในตระกูล Callosciurus จะมีขนาดใหญ่ที่สุด โดยความเฉลี่ยวัดตั้งแต่ปลายจมูกจนถึงโคนหางจะอยู่ที่ประมาณ 20-27 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 20-27 เซนติเมตร และขาหลังยาวประมาณ 4.5-8.0 เซนติเมตร ขาสั้นมาก แต่วิ่งเร็วจี๋เลย น้ำหนักตัวของกระรอกสายพันธุ์นี้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 250-500 กรัม ตัวเบาหวิว ปีนป่ายต้นไม้ได้เร็วสุด ๆ เลย

กระรอกสามสี สิ่งมีชีวิตตัวน้อยที่ใกล้สูญพันธุ์

กระรอกสามสีถึงแม้จะเป็นสัตว์ที่สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้กระรอกสายพันธุ์นี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ไม่ว่าจะนักล่าที่อยู่ตามธรรมชาติ และการบุกรุกป่าของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระรอกสามสีขาดแคลนอาหารและถิ่นที่อยู่อาศัย กระรอกสามสีมีลักษณะโดดเด่นตามชื่อ โดยขนทั่วตัวจะมีทั้งหมดสามสี ได้แก่ สีดำ ขาว และน้ำตาล เป็นสัตว์บกที่อาศัยอยู่ในป่า ชอบการปีนป่าย จึงนิยมอยู่บนต้นไม้ มากกว่าบนพื้นดิน สัตว์ชนิดมีขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก น้ำหนักเบา อาหารหลักจะเป็นพวกผลไม้ หรือเป็นพวกแมลงตัวเล็ก ๆ ที่หาได้ง่ายตามป่าเขา ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยง เป้นสัตว์หายาก จึงถูกคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่อนุญาตให้เลี้ยงโดยทั่วไป รวมทั้งไม่อนุญาตให้มีการเพาะพันธุ์เพื่อขาย หากจะเลี้ยงจะต้องมีการขออนุญาตอย่างถูกกฎหมาย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้สัตว์ชนิดนี้คงอยู่ต่อไปในอนาคต ดังนั้นอยากให้ทุกท่านตระหนักในการรักษาสมดุลธรรมชาติไม่บุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อลดอัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกปี 

animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://ufaball.bet/

Categories
ความรู้ สัตว์บก แนะนำ

รู้จักกับ แมวทะเลทราย Sand cat นักล่าสายพันธุ์จิ๋ว หน้าตาสุดน่ารัก

วันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ แมวทะเลทราย หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “Sand cat” เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์แมวเหมียว ที่มีรูปร่างหน้าตาน่ารักมาก ตัวเล็กกระจิ๋วหลิวดูแล้วไม่มีพิษภัย แต่บอกว่าอย่าพึ่งหลงไหลเพียงแค่รูปลักษณ์ภายนอกของเจ้าแมวทะเลทรายเท่านั้น เพราะนี่เป็นอีกหนึ่งแมวนักล่าที่อยู่ตามธรรมชาติ เห็นตัวเล็กน่าอุ้มแบบนี้ เจ้าเหมียวเอาตัวรอดเก่งมาก เกิดมาเพื่ออาศัยอยู่ในทะเลทรายได้อย่างสบาย ๆ เพราะว่าแมวทะเลทรายมีอุ้งเท้าสุดแกร่งที่เต็มไปด้วยขนคลุมเอาไว้ ช่วยป้องกันความร้อนทำให้เดินเหินบนทะเลทรายแสนร้อนระอุได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังตัวเบาเดินไม่ทิ้งรอยเท้ามาพร้อมกับประสาทหูที่ไวมาก จึงทำให้สามารถล่าเหยื่อได้ไม่ยาก ซึ่งไม่แปลกใจเลยว่าทำไมแมวชนิดนี้ถึงอาศัยอยู่ในทะเลทรายที่แห้งแล้งได้

แมวทะเลทราย มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร และอาศัยอยู่ที่ไหนเอ่ย?

แมวทะเลทรายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์แมวที่ครองสถิติตัวเล็กที่สุดในโลก ซึ่งเชื่อไหมว่าตัวผู้จะมีน้ำหนักเพียงแค่ 2.1-3.4 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนตัวแมวจะหนักที่ 1.4-3.1 กิโลกรัม ลักษณะจะมีขนสีน้ำตาลซีดไปถึงเทาอ่อน ขนหนานุ่ม กลางสันหลังสีจะเข้ม บริเวณใบหน้ามีเส้นสีน้ำตาลแดงพาดที่หางตาไปจนถึงแก้ม ดวงตาโต ดูน่ารักน่าชังเชียวเลยแหละ แต่จุดที่พิเศษคือบริเวณเท้าที่มีขนปกคลุมหนาแน่นทำให้ทนความร้อนได้ดี 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

แมวทะเลทรายจากประวัติการศึกษาพบว่าอาศัยในพื้นที่แห้งแล้ง ทุรกันดาน ซึ่งสามารถเจอได้ที่ทะเลทรายซาฮารา ในแถบประเทศโมรอกโก มอริเตเนีย อียิปต์ และซูดาน ทั้งยังมีถิ่นอาศัยในแถบเอเชียกลางไปจนถึงปากีสถาน ซึ่งปัจจุบันจัดว่าเป็นสัตว์หายาก เนื่องจากเป็นแมวนักล่าที่มีความว่องไว ไม่ค่อยปรากฏตัวให้ใครเห็น ซึ่งไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์สูญพันธุ์

ลักษณะนิสัย

เป็นแมวนักล่าที่ย่องเก่งมาก ประสาทหูไว เนื่องจากมีหูขนาดใหญ่ทำให้ประสิทธิภาพของการได้ยินสูงมาก เคลื่อนไหวคล่องตัว แผ่วเบา ไม่ทิ้งรอยเท้า แต่จะเป็นแมวที่ขาดทักษะของการปีนป่ายและกระโดดไม่ค่อยเก่ง ชอบหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะหมดไปกับการพักผ่อน ซึ่งเชื่อไหมว่าแมวสายพันธุ์นี้มีทักษะการขุดที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะต้องขุดโพรงเพื่ออยู่อาศัย และน้องไม่ชอบอยู่เป็นฝูง จึงทำให้อัตราประชากรต่ำ

อาหารการกิน

แมวชนิดนี้สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่จะเป็น กระต่ายป่า นก สัตว์เลื้อยคลาน เจอร์บิล เจอร์บัว แมลง และสัตว์ขนาดเล็กในทะเลทราย โดยจะมีศัตรูตามธรรมชาติเป็นจำพวกงูพิษ นกเค้าขนาดใหญ่ และหมาจิ้งจอก

ความสามารถพิเศษ

เชื่อไหมว่าแมวทะเลทรายมีความสามารถสุดแปลกที่ไม่เหมือนแมวอื่น ๆ เพราะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องดื่มน้ำเลยตลอดทั้งวัน เพราะว่าได้รับน้ำเพียงพอจากการกินเหยื่อแล้ว แถมถ้ากินเหยื่อไม่หมดน้องจะเอาไปกลบไว้ในทรายเก็บไว้กินทีหลัง พฤติกรรมจะค่อนข้างแปลก ลึกลับ น่าค้นหา

สิ่งมีชีวิตสุดลึกลับ “แมวทะเลทราย” นักย่องแห่งรัตติกาล

แมวทะเลทราย เป็นสัตว์บกที่เรียกได้ว่ามีความพิเศษมาก เนื่องจากอาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ท้องทะเลทรายอันแสนร้อนอบอ้าว แมวทะเลทรายมีโครงสร้างร่างกายที่กะทัดรัด ขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่เป็นสายพันธุ์ที่อึดถึกทน เท้าเต็มไปด้วยขนหนาที่ช่วยป้องกันความร้อนจากพื้นทราย มีทักษะการล่าที่ยอดเยี่ยมมาก ด้วยประสาทหูที่ไว จึงทำให้หาเหยื่อได้ง่าย สามารถทราบพิกัดเหยื่อได้ระยะไกล และดักซุ่มรอเพื่อโจมตี กินอาหารได้หลากหลาย และแตกต่างกับแมวป่า โดยแมวทะเลทรายสามารถอดน้ำได้เป็นเวลายาวนาน ไม่ต้องการน้ำมากในการดำรงชีวิต เนื่องจากน้ำที่ได้จากการกินเหยื่อก็เพียงพอแล้ว ปัจจุบันแมวชนิดนี้ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามด้วยอุปนิสัยที่รักสันโดด ไม่ชอบสุงสิงกับใคร จึงทำให้มีจำนวนประชากรน้อย พบเจอได้ยาก ซ่อนตัวเก่งมาก เรียกได้ว่าเป็นนักล่าย่องเบาแห่งท้องทะเลทรายเลยทีเดียว หากใครไปเที่ยวทะเลทรายแล้วได้เจอน้อง ๆ ถือว่าโชคดีมาก เพราะไม่ได้ออกมาแสดงตัวบ่อย ๆ โดยเฉพาะกลางวันจะเป็นช่วงเวลาพักผ่อน และออกล่าเหยื่อในตอนกลางคืนเท่านั้น animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://ufaball.bet/

Categories
ความรู้ สัตว์บก

กุย สัตว์หน้าตาประหลาดไม่ซ้ำใคร สิ่งมีชีวิตชีวิตที่น่าสงสารสุดรันทด

กุย หรือ ไซกา สัตว์ที่มีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saiga tatarica เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความใกล้เคียงกับแอนิโลป ซึ่งปัจจุบันมันกลายเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์โดยสาเหตุหลักเกิดจากการถูกล่าอย่างหนักหน่วงด้วยฝีมือมนุษย์ เนื่องจากสามารถนำไปปรุงเป็นยา ราคาขายค่อนข้างดีมาก จนทำให้จำนวนประชากรลดลงเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้นพวกมันต้องพบกับชะตากรรมที่โหดร้าย ประวัติศาสตร์ที่น่าสลดใจของกุยในปี ค.ศ. 2015 มีการแพร่ระบาดของโรคร้ายที่ได้คร่าชีวิตกุยที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติไปมากถึง 100,000 กว่าตัว ในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งให้จำนวนประชากรลดลงเกือบครึ่งหนึ่งที่เหลืออยู่ เข้าสู่ขั้นวิกฤตที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์ และการขยายพันธุ์เพื่อให้จำนวนประชากรกลับมาคงเดิมก็ต้องใช้เวลานานเป็นสิบ ๆ ปี นอกจากนั้นภาวะโลกร้อนที่มีความรุนแรงขึ้นในทุกปีก็ส่งผลให้อัตราการตายของพวกมันสูงขึ้นเรื่อย ๆ 

กุย จมูกงวง สัตว์ที่สามารถเปลี่ยนสีขนได้ตามสภาพอากาศ

กุย นอกจากมีหน้าตาที่โดดเด่นแล้ว เนื่องจากว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่มีจมูกงวงขนาดใหญ่ยื่นออกมาคล้ายกับสมเสร็จ ทำให้ดูสะดุดตามาก ๆ สิ่งที่พิเศษคือมันสามารถปรับตัวกับเข้าสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนสีขนได้ตามฤดูกาล โดยจะมีขนสีขาวในช่วงฤดูหนาว ทั้งยังเพิ่มความหนาของขนเพื่อป้องกันอากาศที่หนาวเย็นยะเยือก ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้ และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนขนจะเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลออกเหลือง และมีความยาวที่สั้นลง ขนบาง เพื่อให้ร่างกายสามารถระบายความร้อนได้ดี

ลักษณะโครงสร้างร่างกาย

กุย ลักษณะที่โดดเด่นมากที่สุด คือ จมูกที่มีขนาดใหญ่ เป็นงวงยื่นออกมา และมีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งเอาไว้ใช้ในการหายใจ และช่วยอุ่นอากาศที่หยาวเย็นให้อุ่นมากขึ้น รวมทั้งยังสามารถใช้ในการกรองฝุ่นละอองได้อีกด้วย เมื่อโตเต็มวัยจะมีความสูงประมาณ 60-80 เซนติเมตร ซึ่งตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และมีเขาที่สวยงาม ส่วนตัวเมียจะไม่มีเขา

ถิ่นที่อยู่อาศัย

กุย เป็นสัตว์หายากที่พบได้บริเวณเอเชียตอนกลาง ในแถบประเทศไซบีเรีย มองโกเลีย และจีน

ความสามารถพิเศษ

ถึงแม้จะเป็นสัตว์ที่ใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนบก แต่เชื่อไหมว่าพวกมันว่ายน้ำได้เก่งกาจมาก และเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวสูง สามารถวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความอึดถึกทน เดินไม่รู้เหนื่อย ในแต่ละวันสามารถเดินทางไกลได้มากถึง 80-100 กิโลเมตรต่อวัน 

กุย

อุปนิสัย

กุย เป็นสัตว์บกที่ชอบอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ ซึ่งสัตว์ชนิดนี้มีความว่องไวและตื่นตัวตลอดเวลา อย่าคิดว่าจะล่าได้ง่าย ๆ เพราะวิ่งเร็วมาก แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่อาจพ้นน้ำมือของมนุษย์ สัตว์ชนิดนี้สามารถกินพืชได้หลายชนิด รวมทั้งพืชที่มีพิษก็กินได้ ยิ่งใบหญ้าอ่อน ๆ ชอบมาก เล็มกินเพลินเลยทีเดียว

อายุขัย

จะมีอายุขัยไม่นานเท่าไหร่ประมาณ 6-10 ปี ซึ่งตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุครบ 8 เดือน และตัวผู้อายุครบ 20 เดือน 

กุย หรือ ไซกา สัตว์โลกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

กุย หรือ ไซกานั้น เป็นสัตว์โลกที่แสนน่ารัก ไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยต่อใคร ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช ที่มีลักษณะเด่นตรงจมูกงวงยื่นออกมาใช้สำหรับหายใจ อุ่นอากาศให้อุ่นในช่วงฤดูหนาว และกรองฝุ่นละออง เป็นสัตว์ที่วิ่งเร็วมาก ว่ายน้ำเก่ง และชอบเดินทางไกล มักจะพบอยู่กันเป็นฝูง แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันต้องจัดอยู่ในกลุ่มใกล้เป็นสัตว์สูญพันธุ์ สาเหตุหลักเกิดจากการล่าของมนุษย์เนื่องจากมีความเชื่อของชาวจีนโบราณว่า กุย เป็นยาชั้นเลิศ นำไปปรุงเป็นยาดื่มบำรุงร่างกาย และไม่เพียงเท่านั้นวิกฤติที่นักที่สุดคือการเกิดโรคระบาดที่ทำให้กุยตายเป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 250,000 ตัวเท่านั้น โดยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ที่ยังคงอยู่ ได้แก่ กุยมองโกเลีย (S. borealis) และกุยธรรมดา (S. t. tatarica) ซึ่งตอนนี้ก็พบเจอปัญหาภาวะโลกร้อนที่เป็นตัวการสำคัญทำให้สัตว์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 

animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://ufaball.bet/

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ แนะนำ

กัลปังหา ความงดงามแห่งท้องทะเล

กัลปังหา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Gorgonia sp.” ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตสุดแสนมหัศจรรย์อยู่ใต้ท้องทะเล ทำให้โลกของทะเลน่าหลงใหล เพิ่มสีสันสวยงาม เปรียบเสมือนเป็นม่านพลิ้วไหวมองแล้วประทับใจไม่รู้ลืม กัลปังหาหลายคนอาจจะคิดว่ามันเป็นพืช แต่ที่จริงแล้วเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โครงสร้างร่างกายไม่ซับซ้อน รูปร่างตามธรรมชาติจะค่อนข้างคล้ายกับต้นไม้ ขนนก หรือหวี มีสีสันที่หลากหลายทั้งสีส้ม สีแดง สีขาว สีน้ำตาลเข้ม และสีแดงอิฐ เป็นต้น นอกจากนั้นบางสายพันธุ์รูปร่างยังคล้ายกับพัด จึงทำให้เรียกว่า พัดทะเล” หรือถ้าหากมีรูปร่างเป็นเส้น ๆ คล้ายกับแส้ จะเรียกว่า “แส้ทะเล” กัลปังหาจะรูปร่างได้หลายแบบ ซึ่งสามารถแผ่กิ่งก้านตามกระแสน้ำ เพื่อใช้ในการดักกรองสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กสำหรับกินเป็นอาหารนั่นเอง

ทำความรู้จักกับ “กัลปังหา” สิ่งมีชีวิตที่น่าค้นหา เจิดจรัสอยู่ในโลกใต้น้ำทะเล

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับกัลปังหากันไปคร่าว ๆ แล้ว ต่อมาอยากให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ชนิดนี้กันให้มากขึ้น มันเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีกระแสน้ำไหล เนื่องจากว่าจะต้องดักจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไหลมากับกระแสน้ำเป็นอาหาร สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังชนิดนี้ดำรงชีวิตได้อย่างเรียบง่าย มีขนาดเล็ก และจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับปะการัง ซึ่งในทะเลประเทศไทยเองก็ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ 

ลักษณะโครงสร้าง

เป็นสัตว์ชั้นต่ำที่อาศัยอยู่กันเป็นกลุ่ม โดยร่วมกันสร้างเป็นโครงร่างหรือแกนกลางขึ้นมา ความสูงอยู่ที่ประมาณ 50-150 เซนติเมตร เท่านั้น กัลปังหา ลักษณะจะคล้ายพุ่มไม้ ขนนก พัด หรือแส้ ภายในเป็นองค์ประกอบของหินปูน ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับกระดูกในสัตว์ชั้นสูง มีสีสันสวยงามหลากหลาย ไม่ว่าจะสีขาว สีแดง สีน้ำตาล สีแดงอิฐ แต่ไม่มีสีดำ ในส่วนของหัวจะมีหนวดซึ่งเป็นหนวดพิษเอาไว้ทำหน้าที่ในการจับกินอาหาร

การสืบพันธุ์

การสืบพันธุ์ กัลปังหา สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ โดยสามารถสืบพันธุ์ได้โดยมีวิธีการดังนี้

  • แบบอาศัยเพศ : มีการปฏิสนธิภายในระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียที่มาจากต่างโคโลนีกัน
  • แบบไม่อาศัยเพศ : เป็นการแตกหน่อ ซึ่งรุ่นลูกที่ได้จะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ทุกประการ

โดยภาวะปกติมักจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมากกว่าอาศัยเพศ ซึ่งเป็นการดำรงพันธุ์อย่างง่าย และมีอัตราการกลายพันธุ์ต่ำ 

ประโยชน์ กัลปังหา มีอะไรบ้าง?

กัลปังหา เป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ที่ประโยชน์หลากหลายด้าน ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ใต้ท้องทะเลขนาดเล็ก ทั้งยังมีความเชื่อที่ว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้เป็นเครื่องรางของขลัง จึงทำให้เกิดค่านิยมแบบผิด ๆ และไม่เพียงเท่านั้นคนจีนเชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่บำรุงร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อเหล่านี้ทำให้เกิดการบุกรุกธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล และหากกัลปังหาถูกทำลาย จะส่งผลต่อสัตว์เล็กและระบบนิเวศทะเล ทำให้สัตว์ตัวเล็กตัวน้อยไม่มีที่หลบภัยจากนักล่า ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีแหล่งฟักไข่ เกิดผลกระทบทำให้ระบบนิเวศทะเลพังเสียหายได้ 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

สามารถดำรงชีวิตได้ในบริเวณเขตทะเลลึกและตื้น ซึ่งในประเทศไทยสามารถพบได้ทั้งบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน

สรรพคุณทางยา

ในตำรายาไทย เชื่อว่าสามารถนำมาใช้ในการสมานแผล แก้บาดแผลตามเนื้ออ่อน และแก้หนังถลอกฉีกขาดได้อีกด้วย 

กัลปังหา สิ่งมีชีวิตที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

กัลปังหาแม้จะเป็นสัตว์ทะเลที่สามารถพบได้โดยทั่วไปในทะเลน้ำลึกและตื้น แต่ปัจจุบันพบว่าพวกมันถูกรุกราน และทำลายอย่างหนัก จากน้ำมือของมนุษย์ ทำให้เกิดภาวะขาดความสมดุลในระบบนิเวศ ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับปะการัง ที่เกิดสภาวะปะการังฟอกขาว ดังนั้นอยากให้ทุกคนตระหนัก และใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อคงรักษากัลปังหาสิ่งมีชีวิตที่สวยงามใต้ท้องทะเลนี้เอาไว้ในอนาคต เนื่องจากกัลปังหาเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็กในท้องทะเล เป็นที่หลบภัย และเป็นบริเวณฟักไข่ เพราะฉะนั้นหากถูกโดยทำลายไปจำนวนมาก จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลอย่างแน่นอน ดังนั้นเราควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตอันแสนสวยงามนี้ ยังคงตั้งสง่าในพื้นท้องทะเล animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://ufaball.bet/

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน

อัลลิเกเตอร์ขาว สิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์หายาก

อัลลิเกเตอร์ขาว (White Alligator) เป็นสัตว์ในกลุ่มตระกูลจระเข้ ที่มีชีวิตมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งสัตว์ชนิดนี้มีความพิเศษกว่าตัวอื่น ๆ ก็คือมันจะมีผิวขาวทั้งตัว เนื่องจากว่ามีความผิดปกติของเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างเม็ดสีเมลานินได้ ทำให้อัลลิเกเตอร์ขาวจึงมีสีขาวตลอดทั้งลำตัว ดูสะอาดหมดจดเสียจริง ๆ ในส่วนของดวงตานั้นมักจะมีสีฟ้าเข้มหรือสีชมพู แต่น่าเสียดายที่อัลลิเกเตอร์ขาวมีจำนวนน้อยมากในธรรมชาติ เพราะว่ามันไม่สามารถพรางตัวได้ดีเหมือนกับอัลลิเกเตอร์ทั่วไปที่มีผิวเข้มกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม จึงทำให้พวกมันตกเป็นเหยื่อของนักล่าตัวอื่น ๆ ได้ง่าย และที่สำคัญด้วยความบกพร่องของการสร้างเม็ดสีเมลานินทำให้อ่อนไหวต่อแสงแดด ไม่สามารถสู้แสงได้ จึงอยู่รอดยากกว่าอัลลิเกเตอร์ปกติทั่วไป

rare animal2

ข้อมูลทั่วไป และการดำลรงชีวิตของอัลลิเกเตอร์ขาวสัตว์มหัศจรรย์ของโลก

อัลลิเกเตอร์ขาว หรือที่มักเรียกกันว่าอัลลิเกเตอร์เผือก แต่ถ้าเรียกบ้าน ๆ ก็จะเรียกกันว่า “จระเข้ตีนเป็ด” เป็นสัตว์ที่มีประวัติมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ประมาณเมื่อ 200 ล้านปีที่แล้ว สามารถแบ่งชนิดย่อย ๆ เป็น 2 ชนิด ได้แก่ อัลลิเกเตอร์อเมริกัน และอัลลิเกเตอร์จีน โดยสายพันธุ์ทางอเมริกันจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าจีน ซึ่งจัดเป็นสัตว์จำพวกจระเข้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ

ลักษณะโครงสร้างร่างกาย

อัลลิเกเตอร์ขาวลักษณะร่างกายคล้ายกับอัลลิเกเตอร์ทั่วไป เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีรูปร่างแตกต่างจากจระเข้ โดยมีจงอยปากสั้นเป็นรูปตัวยู รูจมูกมีขนาดใหญ่ หัวใหญ่กว้าง ขากรรไกรยาว และเมื่อหุบปกาแล้วจะไม่สามารถมองเห็นฟันล่างของพวกมันได้ และสายพันธุ์เผือกนี้ความโดดเด่นอยู่ที่สีผิวที่ขาวไปทั้งร่างกาย และตาสีฟ้า หรือชมพู 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

สัตว์ชนิดนี้สามารถพบได้ที่ทวีปอเมริกาเหรือ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และบริเวณราบลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนเท่านั้น จัดเป็นสัตว์หายากมาก ยิ่งสายพันธุ์เผือกนี้ไม่ได้จะพบเจอกันง่าย ๆ 

rare animal1

อาหารการกิน

เป็นสัตว์กินเนื้อ สามารถกินเหยื่อได้หลากหลาย จัดเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร แต่สายพันธุ์เผือกจะล่าเหยื่อสู้สายพันธุ์ทั่วไปไม่ได้ ด้วยข้อจำกัดของเรื่องสีผิวที่พรางตัวได้ยาก และไม่สามารถทนแสงแดดได้ดี เพราะขาดเม็ดสีเมลานิน และมักตกเป็นเหยื่อของนักล่าตัวอื่นที่แข็งแกร่งกว่า

การค้นพบอัลลิเกเตอร์ขาวล่าสุด

ในปี 2017 มีนักอนุรักษ์ที่ได้พบเจอกับจระเข้เผิอกนี้ปรากฏตัวโดยบังเอิญที่แม่น้ำแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้ตั้งชื่อให้ว่า “เพิร์ล” ตามสีผิวของมันที่ขาวไปทั้งตัว นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากที่สามารถพบเห็นได้ตามธรรมชาติ

rare animal

อัลลิเกเตอร์ขาวสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์พันธุ์ จุดสิ้นสุดของสัตว์หาดูยาก

เป็นที่น่าเสียดายว่าอัลลิเกเตอร์ขาว ที่เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์อยู่คู่กับโลกใบนี้มายาวนานกว่า 200 ล้านปี ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที ซึ่งในปัจจุบันการพบเจอตามธรรมชาติแทบจะเป็นไปได้ยาก สัตว์นักล่าชนิดนี้มีข้อบกพร่องหลายประกายด้วยความที่ร่างกายเป็นสีขาวทั้งหมดทำให้พรางตัวได้ยาก และอยู่รอดยากตามธรรมชาติ อัลลิเกเตอร์ขาวสาเหตุหลักเกิดมาจากการกลายพันธุ์ทางด้านพันธุกรรม

โดยในช่วงเวลาของการฟักไข่ หากอยู่บริเวณที่ร้อนมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดอัตรากลายพันธุ์สูง รวมทั้งเม็ดสีผิวที่ผิดปกติ ไม่สามารถสร้างเม็ดสีเมลานินได้ ทำให้เกิดผิวเผือก แตกต่างจากสายพันธุ์ทั่วไป อัลลิเกเตอร์ขาวมีรูปลักษณ์ไม่ได้เหมือนกับจระเข้ มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือที่ปากอัลลิเกเตอร์จะเป็นรูปทรงตัว U ค่อนข้างมีความโค้งมน แต่หากเป็นจระเข้จะมีรูปทรงปากที่ยาวแหลมมากว่า ออกเป็นทรงตัว V จึงทำให้อัลลิเกเตอร์มีแรงกัดที่มากกว่านั่นเอง เชื่อไหมว่าสามารถกินเต่าที่มีกระดองแข็งได้ด้วย แรงกัดจะเยอะขนาดไหนลองจินตนาการดู และถ้าเป็นคนล่ะ คงเหมือนเคี้ยวเจลลี่นุ่ม ๆ อยู่แน่เลย animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://hilo-88.net/

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน แนะนำ

เต่ายักษ์พินตา หรือเต่ากาลาปากอส สิ่งมีชีวิตที่คงเหลือเพียงแค่ชื่อ

เต่ายักษ์พินตา (Pinta Island Tortoise) เป็นเต่าสายพันธุ์หนึ่งที่อยู่ในเกาะพินตาแห่งหมู่กาลาปากอส ที่ได้ชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งมีนักสำรวจที่ชื่อว่า Rollo Beck ได้ค้นพบเต่าชนิดนี้เป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1906 และไม่สามารถพบเห็นได้ที่ไหนอีกเลย จนกระทั่งต่อมามีผู้ค้นพบเต่ายักษ์พินตาหรือเต่ากาลาปากอส ที่เหลือเพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยตั้งชื่อว่า Lonesome George มีฉายาว่า “จอร์จผู้โดดเดี่ยว” ซึ่งมีอายุร่วม 100 ปี ปัจจุบันจอร์จได้เสียชีวิตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้เต่ายักษ์พินตาจัดเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเต่าชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งเกาะพินตา หมู่กาลาปากอส แต่น่าเสียดายที่จะไม่ได้เห็นเต่าชนิดนี้ตัวเป็น ๆ เสียแล้ว

reptile

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเต่ายักษ์พินตา พี่ใหญ่ที่กินแต่พืชแต่ตัวโตมาก

เต่ายักษ์พินตา อย่างที่รู้กันว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งตัวสุดท้าย “จอร์จ” ตายไปเมื่อปี 2012 ทำให้ไม่มีสัตว์ชนิดนี้หลงเหลืออยู่ เต่าไม่ใช่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างที่หลายคนเข้าใจ จริง ๆ แล้วเป็นสัตว์เลื้อยคลานมีขนาดตัวหลายไซส์ กินพืชเป็นอาหารหลัก มีกระดองห่อหุ้ม และมีผิวหนังที่หนามาก 

ลักษณะสำคัญ

เต่ายักษ์พินตาเป็นเต่าที่มีขนาดมหึมา ความยาวรวมตั้งแต่หัวถึงหางประมาณ 90 เซนติเมตร และมีน้ำหนักที่หนักมากถึง 200 กิโลกรัม มีหัวขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก สามารถยืดของออกจากกระดองได้ยาวเลยทีเดียว มีขาสี่ข้างที่แข็งแรง ลำตัวโค้ง สามารถสังเกตและแยกจากเต่าสายพันธุ์อื่นได้ง่าย

อายุขัย

เต่าสายพันธ์นี้มีอายุที่ยาวนานมากเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อาจมีอายุตั้งแต่หลายสิบปีถึงหลายสิบสองร้อยปี

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดและอาศัยอยู่บนเกาะพินตา (Pinta Island) ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos Islands) ในท้องทะเลแปซิฟิกตอนกลาง หมู่เกาะกาลาปากอสตั้งอยู่ในทวีปเอกเมริกาใต้ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ (Ecuador) และเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติที่ได้รับการป้องกันอย่างเคร่งครัด

reptile1

อาหารการกิน

เต่าชนิดนี้ถึงแม้จะมีขนาดตัวใหญ่อลังการมาก แต่เป็นสัตว์กินพืช โดยจะเป็นพืชต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้น ไม่ว่าจะเป็นไม้พุ่มเล็ก เหง้าพืช หรือหญ้าที่อยู่ตามพื้น ในช่วงเวลาการกินอาหารเต่าจะยืดคอออกจากกระดอง และเล็มใบไม้ใบหญ้ากินอย่างเอร็ดอร่อย

ลักษณะอุปนิสัย

เต่ายักษ์พินตา เป็นสัตว์ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จะไม่มีข้อมูลการศึกษาแน่ชัดในเรื่องของพฤติกรรม แต่ตัวสุดท้ายเจ้าจอร์จที่ตายไปเมื่อปี 2012 จากการสังเกตพบว่าเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนน้อม ชอบอยู่ลำพัง ปรับตัวได้ดีเข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถอาศัยได้บริเวณหนาวเย็น และเป็นเต่าบกจึงหาอาหารกินบนพื้นดิน ไม่สามารถหาอาหารในน้ำได้

สาเหตุการสูญพันธุ์

การขาดแคลนอาหารและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ภาวะฝนตกน้อย และการบุกรุกถิ่นฐานของมนุษย์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าชนิดนี้สูญพันธุ์

reptile2

เต่ายักษ์พินตา สัตว์โลกน่ารักที่หายไปจากเกาะพินตา แห่งหมู่เกาะกาลาปากอส

เต่ายักษ์พินตา เป็นสายพันธุ์เต่าที่เกิดและอาศัยอยู่บนเกาะพินตาในหมู่เกาะกาลาปากอสในทะเลแปซิฟิก มีลักษณะรูปร่างที่ใหญ่และแข็งแรง โดยมีหัวที่ใหญ่กว่าเต่าสายพันธุ์อื่นๆ และเป็นสัตว์ที่กินพืช อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งและหนาวของหมู่เกาะกาลาปากอส อาหารหลักของเต่ายักษ์พินตาเป็นใบพืชเลื้อยคลานต้นเตี้ยตามพื้นดินเพราะกินง่าย เป็นสัตว์ที่มีอายุขัยยาวนาน แต่น่าเสียดายที่ว่าตอนนี้ขึ้นสถานะเป็นสัตว์สูญพันธุ์ไปเรียบร้อยแล้ว หากใครที่อยากเห็นหน้าตาของเต่ายักษ์พินตา สามารถเดินทางไปดูร่างของปู่จอร์จได้ที่พิพิธภัณฑ์ Charles Darwin Foundation ซึ่งตั้งอยู่ในเกาะ Santa Cruz ในหมู่เกาะกาลาปากอส พิพิธภัณฑ์นี้เป็นสถานที่ที่มีการศึกษาและการอนุรักษ์ธรรมชาติของหมู่เกาะกาลาปากอส และเป็นที่อยู่ของศูนย์การศึกษาและความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสิ่งมีชีวิตในหมู่เกาะนี้ animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://ufaball.bet/