ปลาปักเป้า เป็นสัตว์ทะเลที่เราเคยเห็นกันโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นรูปร่างทรงกลมมีหนามรอบตัวเหมือนทุเรียน มีขนาดเล็กแต่ตัวเล็กๆ แบบนี้มีพิษอันตรายมาก เพราะพิษของปลาปักเป้าจะส่งผลต่อการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทของผู้ที่โดนพิษ อันจะทำให้เกิดอาการลิ้นชา อาเจียน กล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรงเลยทีเดียว

อาหารปลาปักเป้า

ปลาปักเป้าคืออะไร

ปลาปักเป้า เป็นหนึ่งในสัตว์ทะเลที่มีขนาดเล็กมีลักษณะอ้วนกลมมีหนามแต่มีพิษอันตรายเช่นกันดังที่กล่าวไว้ในข้างต้น แต่นอกจากปลาปักเป้าทุเรียนแล้วยังมีปลาปักเป้าที่เป็นลายจุดและลักษณะไม่ได้กลมเหมือนปลาปักเป้าทุเรียนอีกด้วยแต่ก็อาศัยอยู่ในทะเลเช่นเดียวกัน

พฤติกรรม ปลาปักเป้า

ความสำคัญของปลาปักเป้าในระบบนิเวศทางทะเล

ปลาปักเป้าเป็นสัตว์ทะเลที่มีการใช้ชีวิตอยู่ตามสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ มีการอนุรักษ์ควบคุมปริมาณการจับปลาปักเป้าเพราะจะได้ส่งผลเพื่อความยั่งยืนของสภาวะนิเวศ เนื่องจากบางสายพันธุ์มีการลดลงอย่างมาก นั่นก็เกิดจากการล่าสัตว์อันตรายและการทำลายภายในระบบนิเวศ

ปลาปักเป้าทะเล

พฤติกรรมของปลาปักเป้า

พฤติกรรมปลาปักเป้าที่เราจะคุ้นชินกันก็คือปลาปักเป้าจะมีพฤติกรรมชอบพองตัว นั่นก็เป็นเพราะรู้สึกว่าจะเกิดอันตรายกับตัวเอง อาหารของปลาปักเป้าจะเป็นเช่นหนอนแดงหรือเคย

นิสัย ปลาปักเป้า

ลักษณะทางกายภาพของปลาปักเป้า

ปลาปักเป้าเป็นสัตว์ทะเลที่มีหลากหลายสายพันธุ์ ดังที่เราได้เห็นส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ทุเรียนโดยลักษณะจะกลมและมีหนาม แต่ปลาปักเป้ามีทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้คือจะมีฟัน 2 ซี่, Tetraodontidae วงศ์นี้จะมีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae มีลักษณะลำตัวแบนข้าง โดยสำหรับประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล

ความเป็นอยู่ปลาปักเป้า

ภัยคุกคามจากมนุษย์

ปลาปักเป้าเป็นสัตว์ทะเลที่มีพิษมากส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการคุกคามจากมนุษย์มากนักเพราะไม่มีใครอยากเข้าใกล้กลัวอันตรายจากพิษของปลาปักเป้า แต่หากจะได้รับผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อมทางทะเลหรือบริเวณที่ปลาปักเป้าอาศัยอยู่นั่นเอง ทั้งนี้มนุษย์ควรดูแลรักษาสภาพแวดล้อมให้ดี

บทส่งท้าย

การอนุรักษ์แวดล้อมให้ยังคงสภาพดีและน่าอยู่จะช่วยให้ระบบนิเวศต่างๆ เป็นไปในทิศทางที่ดี ปลาปักเป้าแม้จะมีพิษมากแต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตและเป็นอีกหนึ่งในสัตว์ทะเลที่จะยังช่วยให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการควบคุมปริมาณการจับปลาปักเป้าในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เพราะบางสายพันธุ์เริ่มน้อยลงไปแล้วนั่นเอง

ขอขอบคุณคลิปจาก วิชาเกิน สัตว์โลก

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ animal2you.com

เปิดประตูสู่โลกใต้ท้องมหาสมุทรกับ 7 สัตว์ทะเล สิ่งมหัศจรรย์ใต้ท้องน้ำ

ใส่ความเห็น