Categories
ความรู้ สัตว์ปีก

นกตะกรุม เจ้านกน้ำยักษ์ สัตว์หายากที่ไม่ได้พบเห็นกันง่าย ๆ

เชื่อได้เลยว่าหลายคนคงไม่รู้จัก หรือได้พบเห็นนกตะกรุมกันมาก่อนอย่างแน่นอน เนื่องจากจัดเป็นนกกลุ่มเดียวกันกับกระสา ซึ่งเป็นนกที่มีขนาดตัวใหญ่ และจำนวนประชากรน้อยมาก จนกระทั้งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสัตว์ที่มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ประวัติการค้นพบตามธรรมชาติในประเทศไทยพบว่านกตะกรุมฝูงสุดท้ายอาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะพระทอง อ. คุระบุรี จ. พังงา และมีรายงานยืนยันว่าเคนพบเห็นในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยอีกด้วย โดยล่าสุดมีผู้ค้นพบนกชนิดนี้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา

ซึ่งค้นพบรังมากถึง 6 รังเลยทีเดียว นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่ยังคงมีนกชนิดนี้อยู่ ทางกลุ่มประชาคมอนุรักษ์ และนักปักษีวิทยาทั่วโลก รู้สึกตื่นเต้นกับการค้นพบแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และหลักฐานที่บ่งชี้ว่านกตะกรุมยังไม่ได้สูญพันธุ์จากโลกนี้ไปอย่างถาวร และยังมีโอกาสในการช่วยขยายพันธุ์ให้เพิ่มมากขึ้นได้ 

ข้อมูลเพิ่มเติมของ นกตะกรุม เจ้านกหัวล้านที่ใกล้สูญพันธุ์พบหาได้ยาก

เจ้านกตะกรุม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptoptilos javanicus ซึ่งการจัดตามอนุกรมวิธาน จะอยู่ในลำดับ Ciconiiformes โดยอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับนกกระสา เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทยที่เหลือจำนวนประชากรน้อยมาก และมีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์สูง พบเห็นได้ยาก จึงถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 กฎหมายคุ้มครองห้ามล่า ห้ามค้า หรือมีไว้ครอบครอง 

ลักษณะสัณฐานวิทยา

นกตะกรุม ลักษณะจะคล้ายกับนกตระกราม แต่ว่าชนิดนี้จะมีขนาดตัวที่เล็กกว่า รวมทั้งบริเวณใต้คอจะไม่มีถุง ซึ่งจัดอยู่ในนกที่มีขนาดตัวใหญ่ เมื่อยืนจะมีความสูงประมาณ 110-120 เซนติเมตร เมื่อกางปีก ปีกจะกว้างถึง 210 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีขนสีดำ ส่วนบริเวณใต้ท้องมีขนสีขาว หัวและลำคอของนกชนิดนี้เป็นหนังสีเหลืองแกมแดง และที่โดดเด่นมาก ๆ คือบริเวณหัวด้านบนจะไม่มีขน จนได้รับฉายาว่าเป็นนกหัวล้านนั่นเอง ปากยาวจะงอยปากแหลมตรง 

นิสัยและพฤติกรรม

นกตะกรุม นิสัยและพฤติกรรมจะชอบอยู่ในบริเวณที่โล่งแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นหนองบึง ทุ่งนา หรือชายฝั่งทะเล มักทำรังอยู่บนยอดเรือนไม้สูง

ถิ่นอาศัย

นกตะกรุมสามารถพบได้ในเอเชีย แถบประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า บอร์เนียว กัมพูชา และประเทศไทย เป็นต้น อาศัยอยู่ตามบริเวณบึงน้ำจืด ป่าชายเลน ป่าพรุ ในไทยส่วนใหญ่จะอยู่แถบภาคกลาง และภาคใต้ ปัจจุบันพบเห็นได้ยากมาก

อาหาร

นกตะกรุม อาหารจะเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด งู กินได้หมดเลย ซึ่งจะใช้จะงอยปากอันแหลมคมในการไล่ลาเหยื่อ

การขยายพันธุ์

นกตะกรุมมีช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ซึ่งระยะเวลาในการผสมสั้นมาก สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 3-4 ฟองเท่านั้น เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์นกชนิดนี้จะมีลักษณะโดดเด่นแสดงให้เห็นบริเวณโคนปากโดยจะมีสีแดงแต้มอยู่ เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกความพร้อมในการผสมพันธุ์

นกตะกรุม สัตว์ประจำถิ่นในประเทศไทยที่ใกล้เลือนจางหายจากความทรงจำ

ไม่รู้ว่านานเท่าไหร่แล้วที่พวกเราได้เห็นนกตะกรุมตัวเป็น ๆ ซึ่งเลือนรางจนจำไม่ได้ว่านกชนิดนี้มีลักษณะอย่างไร นกตะกรุมหัวล้าน เป็นสัตว์ปีกที่ต้องเผชิญกับชะตากรรมอันเลวร้าย จัดอยู่ในสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยมีจำนวนประชากรทั่วโลกน้อยมาก ในไทยเองพบเห็นล่าสุดที่จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นกลุ่มฝูงสุดท้ายของนกตะกรุม และพบเห็นบ้างเป็นครั้งคราในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และเงียบสงบ จับกินสัตว์เล็กที่อาศัยตามแหล่งน้ำกินประทังชีวิต

ปัจจุบันนกตะกรุม สัตว์ป่าคุ้มครอง ที่มีกฎหมายไม่ให้ล่า ค้าขาย หรือครอบครอง ถ้าหากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษตามกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งสถานการณ์ของนกตะกรุมค่อนข้างที่จะย่ำแย่มาก แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่ายังมีความหวังในการอนุรักษ์และช่วยขยายพันธุ์นกชนิดนี้ ให้คงอยู่สืบต่อไปได้ในอนาคตข้างหน้า animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : hilo-88.com

ใส่ความเห็น