Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

ปลาซีลาแคนท์ ตำนานสิ่งมีชีวิตลึกลับดึกดำบรรพ์ ผู้ครองมหาสมุทรมานานกว่า 400 ปี

สิ่งมีชีวิตสุดมหัศจรรย์ที่อยู่บนโลกนี้มาอย่างยาวนาน “ปลาซีลาแคนท์” จริง ๆ แล้วปลาชนิดนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้สูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1938 ปลาซีลาแคนท์ได้ถูกค้นพบอีกครั้งในคอโมโรส เคนยา แทนซาเนีย โมซัมบิก มาดากัสการ์ และในกวาซูลู-นาทัลประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ Latimeria chalumnae การค้นเจอครั้งนี้เป็นความบังเอิญที่ปลาได้ติดอวนชาวประมง

ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่าจะเป็นปลาสายพันธุ์ที่ทุกคนคิดว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ต่อมาประวัติการค้นพบอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1999 ที่เกาะซูลาเซวี อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่สอง Latimeria menadoensis ที่พบตามธรรมชาติ ส่วนในประเทศไทยเองได้ค้นพบชิ้นส่วนของซากดึกดำบรรพ์ปลาซีลาแคนท์ โดยศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่บ้านคำพอก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร อายุเกือบ 400 ปี

fossil fish1

ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลาซีลาแคนท์ ซากฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สามารถค้นพบในประเทศไทย

ปลาซีลาแคนท์เป็นสิ่งมีชีวิตที่คนคิดว่าเป็นปลาที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ช่วงปลายยุคครีเทเชียสประมาณ 65 ล้านปีก่อน แต่ว่าได้มีการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่และพิสูจน์แล้วว่าเป็นปลาซีลาแคนท์จริง ดังนั้นจึงเป็นปลาโบราณที่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ปลาชนิดนี้ไม่ได้หาเจอง่าย เพราะถึงแม้จะดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ แต่ก็มีปริมาณประชากรเหลือน้อยมาก จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสัตว์สูญพันธุ์ เพราะมีชีวิตอยู่เหลือเพียงแค่ 2 สปีชีส์เท่านั้น

ลักษณะโครงสร้างร่างกาย

จากการศึกษาพบว่าปลาชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่ครีบ ซึ่งจะเป็นพูเนื้อขนาดใหญ่ 4 ครีบ และครีบที่หางจะแตกออกแยกกันเป็น 3 พู มีเกล็ดที่บาง มีอวัยวะคล้ายตะขออยู่ด้านหน้าของกะโหลกซึ่งเป็นอวัยวะพิเศษที่ใช้ในการตรวจจับหาเหยื่อ ซึ่งถ้าหากโตเต็มที่แล้วจะมีขนาดยาวถึง 1.8 เมตร น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัมเลยทีเดียว

ถิ่นค้นพบปลาสายพันธุ์นี้

หลายคนพออ่านมาถึงตรงนี้ คงเริ่มสงสัยแล้วใช่ไหมว่าปลาซีลาแคนท์อยู่ไหน ปัจจุบันแหล่งที่อยู่มีเพียงแค่สองที่เท่านั้น ได้แก่ บริเวณชายฝั่งเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย และตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งน่าสลดใจที่ว่าประชากรของมันเหลือเพียงแค่หลักร้อยตัวเท่านั้น 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ปลาซีลาแคนท์มีเหตุหลายปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงสูญพันธุ์เนื่องจากโตช้า อัตราการสืบพันธุ์ต่ำ สามารถมีลูกมีหลานได้น้อย จึงทำให้จำนวนประชากรลดน้อยลงทุก ๆ ปี ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์หายาก ที่ไม่ได้พบเจอกันง่าย ๆ 

อายุขัย

จากผลการศึกษาวิจัยล่าสุดของทางฝรั่งเศส ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology พบว่าปลาชนิดนี้มีอายุขัยนานนับร้อยปี และมีข้อมูลใหม่เพิ่มเติมว่าซีลาแคนท์เป็นปลาที่โตช้ามาก ๆ เพศเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อช่วงอายุประมาณเกือบ 60 ปี และเพศผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช่วงประมาณอายุระหว่าง 40-69 ปี 

fossil fish2

ปลาซีลาแคนท์ หนึ่งในฟอสซิลที่ยังคงมีชีวิตอยู่

ปลาซีลาแคนท์ ถึงแม้จะมีฟอสซิลปลาเอาไว้อวดโฉมให้คนรุ่นหลังได้เห็นว่าพวกมันเคยสวยงามและยิ่งใหญ่มากขนาดไหน แต่ปัจจุบันก็ยังเป็นปลาดึกดำบรรพ์ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถึงแม้จะเหลือน้อยเต็มทีอย่างน้อยก็ยังไม่สูญพันธุ์ พวกเราสามารถที่จะยังคงหาวิธีและแนวทางในการอนุรักษ์ปลาชนิดนี้เอาไว้ได้ ปลาซีลาแคนท์เป็นสัตว์น้ำที่เมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ หากเทียบขนาดกับปลาส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร พวกมันดำรงเผ่าพันธุ์มานานกว่า 400 ปี สามารถเอาชีวิตรอดจากการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่คร่าชีวิตสัตว์ดึกดำบรรพ์อื่น ๆ ไปมากมาย ในประเทศไทยก็มีการค้นพบซากฟอสซิลกระดูกขากรรไกรของปลาซีลาแคนท์ที่บ้านคำพอก อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร เป้นการค้นพบครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Sponsor : https://ufaball.bet/

ใส่ความเห็น