ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู นักฆ่าที่ชอบกินคู่รักเป็นอาหาร

       ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู หรือ ตั๊กแตนต่อยมวยกล้วยไม้สีชมพู ( Walking flower mantis , Pink orchid mantis ) เป็นแมลงที่จัดอยู่ในวงศ์ HYMENOPODIDAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hymenopus coronatus  โดยตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูจัดเป็นแมลงจำพวกตั๊กแตนตำข้าวอีกสายพันธุ์หนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นตั๊กแตนตำข้าวที่มีสีสันและมีลักษณะรูปทรงที่สวยงามที่สุด พบได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นแกประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ไทย , พม่า , มาเลเซีย , ฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซีย , อินเดีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ในแถบจังหวัดเชียงใหม่ , เชียงราย , ลำพูน , ระยอง , ระนอง

       ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูจะมีสีลำตัวเป็นสีชมพูหรือสีชมพูอ่อนปนขาว และบางตัวจะมีลักษณะเป็นสีขาวล้วน ทั้งนี้สีสันของตั๊กแตนตำข้าวก็จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละสายพันธุ์ สีที่สามารถพบเห็นได้ เช่น สีดำ สีแดง สีขาว สีชมพู สีน้ำตาล ฯลฯ ซึ่งตัวเมียจะมีรูปร่างใหญ่กว่าตัวผู้ โดยตัวเมียจะมีขนาดประมาณ 6-7 เซ็นติเมตร ในขณะที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ามากโดยจะมีขนาดตัวเพียง 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น ตั๊กแตนตำข้าวชนิดนี้มีความพิเศษ คือ สามารถเปลี่ยนสีได้โดยอาศัยสิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อมรอบๆตัว เช่น ความชื้นและความเข้มของแสง

วิธีอำพรางตัวและหาอาหารของตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู

       ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูมีส่วนขาที่ขยายออกรูปร่างคล้ายกับกลีบของดอกกล้วยไม้ ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ดอกไม้ ไม้ดอก-ไม้ประดับ ที่มีสีขาวหรือสีชมพูเพื่อช่วยในการอำพรางซ่อนตัวหลบหลีกอันตรายจากศัตรูต่างๆ รวมถึงเพื่อดักรอเหยื่อที่ผ่านมาโดยการทำตัวนิ่งๆให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม และเมื่อมีเหยื่อผ่านมามันก็จะแปลงร่างเป็นนักล่ารีบเข้าจัดการกับเหยื่ออย่างรวดเร็ว อาหารของตั๊กแตนตำข้าวสายพันธุ์นี้ เช่น แมลง มด ตั๊กแตน และสิ่งมีชีวิตตอื่นๆ 

วิธีการผสมพันธุ์ของตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู

       ในการสืบพันธุ์ของตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูก็จะคล้ายกันกับตั๊กแตนตำข้าวทั่วไป คือ เมื่อตัวเมียมีอายุเต็มวัยได้ประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป ก็จะเริ่มมีการจับคู่ผสมพันธุ์โดยในการผสมพันธุ์จำเป็นจะต้องรอให้ตัวเมียมีความพร้อมเสียก่อนหากตัวผู้ดื้อรั้นจะเข้าไปผสมพันธุ์ทั้งที่เพศเมียยังไม่พร้อมผสมพันธุ์ตัวผู้อาจจะกลายเป็นอาหารของตัวเมียก็เป็นได้หรือแม้แต่หลังจากการผสมพันธุ์ตัวผู้ตัวก็มักจะถูกเมียจับกินเป็นอาหารอยู่เสมอ หลังจากการผสมพันธุ์ประมาณ 15-30 วัน จะเริ่มวางไข่ จากนั้นก็จะใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 5-6 สัปดาห์ เมื่อฟักไข่เป็นตัวอ่อนแล้วก็จะเปลี่ยนเป็นตัวโตเต็มวัยพร้อมสืบพันธุ์ต่อไป ซึ่งระยะเวลาในการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่พบส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจึงจะพร้อมผสมพันธุ์ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมว่าเจ้าตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูจะได้กินอาหารเพียงพอหรือไม่ พบว่าการกินตัวผู้หลังจากผสมพันธุ์เสร็จแล้วตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูตัวเมียจะสามารถวางไข่ได้มากถึง 88 ฟอง ซึ่งมากกว่าตัวเมียที่ไม่ได้กินตัวผู้ อาจเป็นไปได้ว่าการกินตัวผู้เป็นอาหารก็เพราะต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนก็เป็นได้

 

 

 

คาสิโนออนไลน์ฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา