
หิ่งห้อย เป็นแมลงปีกแข็งที่อยู่ในวงศ์ Lampyridae พบได้ทั้งบนบก ในน้ำจืด และน้ำกร่อย ซึ่งมีมากกว่า 2,000 สายพันธุ์ สัตว์ปีกเรืองแสงชนิดนี้มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะพบแสงเปล่งประกายออกมา นั่นเกิดจากปฏิกิริยาเคมีภายในร่างกาย 2 ชนิด คือ ลูซิเฟอเรสและลูซิเฟอริน ในปัจจุบันสัตว์ชนิดนี้เริ่มหาดูได้ยากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องด้วยพฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์ มาดูกันว่าหิ่งห้อยมีดีอย่างไร ทำไมถึงคู่ควรแก่การอนุรักษ์
วงจรชีวิตของ หิ่งห้อย

หลายคนอาจสงสัยว่า หิ่งห้อยมีพิษหรือไม่ เพราะดูเหมือนว่าเป็นสัตว์ปีกที่สวยงาม แถมผู้คนยังนิยมจับมาเชยชมอยู่บ่อย ๆ แท้จริงแล้วจะมีพิษเฉพาะบางสายพันธุ์เท่านั้น คือ หิ่งห้อยพันธุ์โฟตินัส (ตัวผู้และตัวเมีย) และโฟตูริส (ตัวเมียโตเต็มวัย) หิ่งห้อยมีวงจรชีวิตที่คล้ายกับด้วงและผีเสื้อ นั่นคือกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ซึ่งทำให้มีลักษณะแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่, ตัวหนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างมีอยู่ ดังนี้
- ไข่ ตัวเมียที่ผ่านการผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ 100 ฟองในช่วงกลางฤดูร้อน อาจวางไข่ทีละฟองหรือวางเป็นกลุ่ม ไข่จะมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ด้วยความที่ชอบดินชื้น จึงมักวางไข่ใต้เศษไม้หรือใบไม้ที่ร่วงหล่น โดยปกติจะฟักไข่ออกมาภายใน 3-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ด้วย
- ตัวหนอน จะออกมาจากไข่ในช่วงปลายฤดูร้อน ต่อมาก็อาศัยอยู่ในดินตลอดทั้งฤดูหนาว ในเวลากลางคืนตัวหนอนมักจะออกล่าเหยื่อจำพวกทาก หอยทาก และไส้เดือน เพื่อกินเป็นอาหาร โดยจะเริ่มจากการจับเหยื่อมาแล้วปล่อยเอนไซม์ย่อยอาหารเพื่อให้เหยื่อนิ่งและละลายน้ำ
- ดักแด้ เป็นระยะที่พบในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป บางสายพันธุ์มีการสร้างที่อยู่ในดินและฝังตัวอยู่ข้างใน บางสายพันธุ์จะชอบเกาะอยู่บนเปลือกไม้ โดยห้อยส่วนหัวลงที่ส่วนท้ายของต้นไม้ ในระยะที่กำลังจะเข้าสู่ตัวเต็มวัยเรียกว่ากระบวนการฮิสโทไลซิส (Histolysis) ดักแด้จะถูกย่อยสลาย จากนั้นกลุ่มเซลล์พิเศษจะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนรูปเป็นตัวเต็มวัย โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 10 วัน หรืออาจหลายสัปดาห์ก็ได้
- ตัวเต็มวัย เป็นระยะสุดท้ายของหิ่งห้อย ซึ่งจะมาพร้อมภารกิจสำคัญ นั่นคือการสืบพันธุ์ โดยทั่วไปหิ่งห้อยตัวผู้จะพยายามหาคู่ผสมพันธุ์ด้วยการบินลงต่ำ ๆ ไปที่พื้นและเปล่งแสงตรงบริเวณหน้าท้องเพื่อส่งสัญญาณ ในขณะที่ตัวเมียจะส่งสัญญาณกลับด้วยการเกาะอยู่บนพืชพรรณ หลังจากนั้นการผสมพันธุ์ก็จะเกิดขึ้น โดยเฉลี่ยหิ่งห้อยตัวเต็มวัยจะมีอายุประมาณ 2 เดือน ซึ่งถือว่าค่อนข้างสั้น แต่ก็เพียงพอที่จะผสมพันธุ์และวางไข่
หิ่งห้อยมีกี่ประเภท

โดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่งหิ่งห้อยออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หิ่งห้อยบก หิ่งห้อยน้ำจืด และหิ่งห้อยน้ำกร่อย ซึ่งจำแนกตามแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลัก สำหรับ หิ่งห้อยในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็น Luciola brahmina มีแสงสีเหลืองนวล ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำจืด และ Pteroptyx malaccae มีแสงสีเขียวอมเหลือง ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในป่าชายเลนและแถว ๆ ริมน้ำที่อยู่ติดทะเล จะเห็นได้ว่า หิ่งห้อยไทย นั้นสามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย
เทคนิคการเพาะเลี้ยงหิ่งห้อยให้มีคุณภาพ

การเพาะเลี้ยงหิ่งห้อยให้ได้คุณภาพควรคำนึงถึงปัจจัยรอบด้าน ผู้เลี้ยงควรศึกษาให้ละเอียดว่า หิ่งห้อยกินอะไร เป็นอาหาร มีพฤติกรรมแบบไหน ชอบและไม่ชอบอะไร หิ่งห้อย ออกช่วงไหน และควรเพาะเลี้ยงอย่างไร การเข้าใจธรรมชาติของหิ่งห้อยจะช่วยให้เรารู้ วิธีเลี้ยงหิ่งห้อย ได้อย่างเหมาะสม สำหรับเทคนิคการเพาะเลี้ยงหิ่งห้อยมีอยู่ ดังนี้
- การเตรียมสถานที่ แนะนำให้ใช้บ่อน้ำหรือลำธารขนาดเล็กเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและแหล่งหาอาหารของ หิ่งห้อย โดยสภาพแวดล้อมจะต้องใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ไม่มีสิ่งแปลกปลอมและบรรยากาศที่วุ่นวาย บริเวณโดยรอบควรปลูกพืชพรรณที่หิ่งห้อยชอบ เช่น ต้นลำพู นอกจากนี้ควรรักษาความชื้นโดยการรดน้ำให้ทั่วบริเวณ นี่ถือเป็น วิธีเรียกหิ่งห้อย ให้มาอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ด้วย
- การดำเนินการ การจับหิ่งห้อยตามธรรมชาติมาเพาะเลี้ยงควรกำหนดจำนวนให้เหมาะสม และควรจับในช่วงที่มีหิ่งห้อยจำนวนมาก เพื่อไม่ให้หิ่งห้อยในธรรมชาติมีน้อยลง ในระยะตัวหนอนสามารถนำทาก หอยทาก ไส้เดือน และแมลงขนาดเล็ก มาให้เป็นอาหารได้ ส่วนระยะตัวเต็มวัยควรปล่อยให้หาอาหารเอง แต่ต้องมั่นใจว่าแหล่งที่อยู่อาศัยมีอาหารเพียงพอสำหรับหิ่งห้อย และ หิ่งห้อย ชอบอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ควรป้องกันศัตรู เช่น แมลงหรือสัตว์ที่จะกินหิ่งห้อย
- การดูแลรักษา หมั่นสังเกตว่าหิ่งห้อยที่เพาะเลี้ยงมีพฤติกรรมที่ดูผิดปกติหรือไม่ หากมีควรรีบแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด และควรทำความสะอาดบริเวณเพาะเลี้ยงอยู่เป็นประจำเพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรก นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อหิ่งห้อย เช่น การใช้สารเคมีทุกชนิด การเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างจ้าในเวลากลางคืน เมื่อทราบแล้วว่า หิ่งห้อยมีไฟได้ยังไง ก็ควรรักษาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมอยู่เสมอ
ความเชื่อเกี่ยวกับ หิ่งห้อย
ความเชื่อเกี่ยวกับหิ่งห้อย ของคนไทยมักเกี่ยวข้องกับลางบอกเหตุ ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงอะไรบางอย่าง เรามักได้ยินบ่อย ๆ ว่าหาก หิ่งห้อยเข้าบ้าน จะเป็นลางไม่ดี เตือนให้ระวังตัว เพราะอาจเจอคนไม่จริงใจเข้ามาหลอกลวง ในอีกนัยหนึ่งจะสื่อถึงดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งอาจเป็นลางบอกเหตุของการเสียชีวิต ในทางกลับกันบางวัฒนธรรมอาจมองหิ่งห้อยในเชิงบวก อาทิ ตัวแทนความเจริญรุ่งเรือง ความรัก และความโรแมนติก ทั้งนี้ หิ่งห้อยสื่อถึงอะไร ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของวัฒนธรรมนั้น ๆ ด้วย
หิ่งห้อยมีดีอย่างไร ทำไมเราควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้
หิ่งห้อยไม่เพียงแค่มีความสวยงามจากการเปล่งแสงระยิบระยับในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น แต่ยังเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการช่วยควบคุมศัตรูพืชตามธรรมชาติอีกด้วย แต่ด้วยสาเหตุบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาฆ่าแมลง การเปิดไฟยามค่ำคืน และการเสียถิ่นที่อยู่อาศัย จึงส่งผลให้ หิ่งห้อยใกล้สูญพันธุ์ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีคนเพาะเลี้ยงและมีให้เห็นตามธรรมชาติอยู่บ้าง แต่ด้วยจำนวนที่ลดลงเรื่อย ๆ เราจึงควรช่วยกัน อนุรักษ์หิ่งห้อย ไว้ให้อยู่กับโลกนี้ไปนาน ๆ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> animal2you.com