ปลาแมนดาริน จอมหวงถิ่นและวิธีจีบสาวเท่ห์ๆในสไตล์แมนดาริน

              ปลาแมนดาริน ( Mandarinfish ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Synchiropus splendiddus เป็นปลาน้ำจืดที่จัดอยู่ในวงศ์ Callionynidae มีหน้าตาคล้ายปลาบู่แต่ไม่ได้อยู่วงเดียวกันกับปลาบู่ สามารถพบปลาแมนดารินในทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ โดยมักจะเป็นการอาศัยอยู่ตามบริเวณแนวปะการังที่มีกระแสน้ำไม่แรงมากนักและมักจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามโขดหิน

              ปลาแมนดารินเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีความยาวได้ไม่เกิน 80 เซนติเมตร โดยเป็นปลาที่มีสีสันฉูดฉาดมีสีตัดกันสลับไปมาดูสดใส มีผิวเรียบและลื่น ยิ่งในช่วงที่มีการผสมพันธุ์หรือมีการต่อสู้กันปลาแมนดารินตัวผู้จะแสดงสีสันที่ชัดเจนมากกว่าช่วงเวลาปกติ นอกจากนี้เรายังสามารถสังเกตเพศของปลาแมนดารินได้โดยให้สังเกตที่บริเวณครีบหลัง ซึ่งตัวผู้จะมีครีบหลังที่ยาวยื่นออกมาให้เห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียจะไม่มีครีบหลัง

การหาอาหารและวิธีการเอาตัวรอดตามสไตล์ของปลาแมนดาริน

              อาหารของปลาน้ำจืดชนิดนี้จะเป็นจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก โดยมันจะใช้ครีมบริเวณท้องซึ่งเป็นครีบที่มีขนาดใหญ่ช่วยพยุงตัวคลานไปตามพื้นทะเลเพื่อหาอาหาร และมีครีบบริเวณหางช่วยในการบังคับทิศทาง เมื่อมันต้องเผชิญอันตรายมันจะปล่อยเมือกพิษออกมาเพื่อป้องกันตัวจากศัตรูหรือจากปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า 

              ปลาแมนดารินมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวออกมาโดยเฉพาะเวลาที่ต้องการรักษาอาณาเขตของตนจากปลาชนิดเดียวกัน โดยมันจะกางครีบออกมาให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้และพยายามขับสีผิวให้มีสีเข้มที่สุดเพื่อที่จะทำการข่มขู่ฝ่ายตรงกันข้าม แต่หากมีการต่อสู้เกิดขึ้นมันจะปล่อยเมือกพิษออกมาทำลายคู่ต่อสู้ในทันที 

วิธีการจีบสาวและการผสมพันธุ์ของปลาแมนดาริน

              จัดว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีวิธีการจีบสาวที่สุดแสนจะอ่อนหวานมากเลยทีเดียว ช่างแตกต่างกับพฤติกรรมเวลาที่ต้องปกป้องอาณาเขตโดยสิ้นเชิง โดยเจ้าปลาแมนดารินตัวผู้จะพยายามทำตัวให้มีสีสันสวยงามขึ้นมากกว่าในช่วงเวลาปกติอย่างเห็นได้ชัด และจะจีบโดยใช้วิธีว่ายน้ำเกี้ยวสาวไปรอบๆเพื่อให้สาวๆได้ชื่นชมความงดงามของตนเหมือนกับจะพยายามทำตัวให้สาวๆหลงเสน่ห์ยังไงอย่างงั้น เมื่อตัวเมียมีใจจะปล่อยไข่ออกมาและไข่จะลอยไปตามกระแสน้ำตัวผู้จึงจะทำการปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสม

              หลังจากนั้นจะใช้เวลาเพียง 14 ชั่วโมงเท่านั้นในการฟักไข่โดยปริมาณอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 28 องศา โดยเมื่อลูกปลาถึงเวลาที่จะต้องออกมาสู่โลกภายนอก มันจะใช้หัวดันเปลือกไข่ออกมาทีละนิดๆ จนสามารถหลุดออกมาได้ในที่สุด