Categories
ความรู้ สัตว์บก

ม้าลาย สัตว์โลกลายสวยที่มองเห็นเด่นมาแต่ไกล

กันยายน 2021

      ม้าลาย ( Zebra ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจัดอยู่ในสกุลม้า (EGUUS ) มีขนาดเล็กกว่าม้าทั่วไป มีลักษณธของหางคล้ายกับหางของลา มีขนที่คอเป็นแผงสั้นตั้งขึ้นเหมือนขนแปรง ลำตัวมีสีสันโดดเด่น คือ มีสีขาวสลับกับสีดำทั้งตัว ซึ่งถ้าอิงตามความเชื่อของชาวพื้นเมืองของทวีปแอฟริกาจะมีความเชื่อว่า ม้าลายมีพื้นขนสีดำและมีสีขาวเป็นลายพาดผ่าน

วิถีการดำรงชีวิตของม้าลาย

      ม้าลายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มักจะอยุ่รวมกันเป็นฝูง โดยในฝูงหนึ่งสามารถมีม้าลายตั้งแต่ 100 ตัว-1,000 ตัวเลยทีเดียว มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบโล่งหรือบริเวณที่มีลักษณะเป็นทุ่งกว้าง โดยจะเล็มกินหญ้าและยอดอ่อนของต้นไม้บางชนิดเป็นอาหาร ม้าลายเป็นสัตว์ที่ถือว่ามีอันตรายรอบด้าน ทั้งยังเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ค่อยดีมีเพียงจมูกที่รับกลิ่นได้ดีและฟันที่ค่อนข้างคม มันต้องอาศัยคอยสังเกตอาการของสัตว์ใกล้เคียงเพื่อเตือนภัย

      ม้าลายเป็นสัตว์ที่มีน้ำใจโดยมันมักจะกัดแทะกินบริเวณส่วนโคนและลำต้นของต้นไม้-หญ้าและจะปล่อยให้แอนทีโลปหรือสัตว์อื่นกินยอดหญ้าแทน นับว่าเป็นการแสดงน้ำใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็ว่าได้เพราะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นลึกๆแล้วมักจะมีความอ่อนโยนอยู่ภายในจิตใจไม่มากก็น้อย 

การผสมพันธุ์ของม้าลาย

      โดยปกติม้าลายจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 25-30 ปี และเมื่ออายุครบ 2 ปี เป็นวัยกำลังเจริญพันธุ์ก็จะเริ่มมีการผสมพันธุ์ เมื่อมีการผสมพันธุ์กันแล้ว ม้าลายตัวเมียจะใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ 345-390 วัน ซึ่งถือว่าใช้เวลาค่อนข้างนานมากเลยทีเดียวสำหรับการให้ลูก 1 ตัวต่อ 1 ครั้ง เมื่อครบกำหนดคลอดละคลอดลูกม้าออกมาลักาณะลูกม้าแรกเกิดจะมีขนนุ่มฟู ลวดลายตามลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลสลับกับสีขาว ซึ่งอาจเป็นเพราะเพิ่งคลอดทำให้สีขนยังไม่ชัดเท่าไหร่นักเมื่อเวลาผ่านไปสีจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาวดำชัดขึ้นเอง

      และเพียงไม่นานลูกม้าตัวน้อยก็จะสามารถเดินและวิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว โดยในช่วงที่ลูกม้าเล็กจะอาศัยกินนมแม่เป็นก่อนแล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนไปกินหญ้าทีหลัง ซึ่งก็ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ม้าลายไม่นิยมนำมาฝึกเพื่อใช้งานสักเท่าไหร่นักเนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย แต่ก็พบเห็นได้บ้างว่ามีการนำม้าลายมาลากรถให้คนนั่ง เช่น ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ฯลฯ นอกจากนี้ก็มักจะเป็นการนำไปแสดงหรือโชว์ลวดลายอันสวยงามในงานต่างๆ

 

 

 

ฝากไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

หมึกสายวงน้ำเงิน เพชฌฆาตสีสวยที่ไม่ควรเข้าใกล้ เจอที่ไหนต้องหลบให้ไกล

กันยายน 2021

หมึกกล้วยวงน้ำเงิน (blue-ringed octopus )หรือ หมึกบลูริง จัดเป็นปลาหมึกมีพิษที่อยู่ในวงศ์ OCTOPODIDAE และอยู่ในสกุล HAPALOCHLAENA มีลักษณะที่เป็นจุดเด่นสามารถมองเห็นได้ชัดเจน คือ มีจุดเป็นวงสีน้ำเงินอยู่ตามลำตัวตัดกับสีขาว-เขียวซึ่งเป็นสีพื้นของลำตัว เมื่อมีอันตรายมาเยือนเจ้าหมึกสายวงน้ำเงินนี้ก็จะทำตัวเรืองแสงเพื่อข่มขวัญศัตรู 

หมึกกล้วยวงน้ำเงินมีกี่ชนิด ?

ในปัจจุบันมีระบุไว้ 3 ชนิด คือ 

-H. lunulata เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักได้ประมาณ 10 กรัม 

-H. maculosa สายพันธุ์นี้จะมีขนาดเล็กกว่า H. lunulata ประมาณ 20 เซนติเมตร สามารถพบได้ในแถบทะเลอันดามัน-อ่าวไทย

-H. fasciata สายพันธุ์นี้สามารถพบได้ตามพื้นหน้าดินโคลนหรือทราย รวมถึงตามแนวปะการังในเขตร้อนของทะเลอินโดแปซิฟิก ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย โดยมากลักษณะของปลาหมึกมีพิษสกุลนี้จะมีขนาดไม่ใหญ่มากโดยเฉลี่ยจะมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดของลูกกอล์ฟเท่านั้น และวงจรชีวิตจะมีอายุได้ประมาณ 1 ปี มีหนาวด 8 หนวด หากหนวดขาดสามารถงอกใหม่ทดแทนอันเก่าได้

เป็นปลาหมึกมีพิษที่มีนิสัยชอบออกหากินตอนกลางคืน ส่วนกลางวันจะแอบงีบหลับอยู่ตามซอกหินหรือแนวปะการัง ไม่ชอบว่ายน้ำเพื่อออกล่าเหยื่อ แต่จะเดินไปบนผืนทรายใต้ท้องทะเลเพื่อหาอาหารมากกว่า

วิถีการผสมพันธุ์สไตล์หมึกกล้วยวงน้ำเงิน

ตามข้อมูลระบุว่า หมึกกล้วยวงน้ำเงินมีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี และจะมีการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวโดยวิธีการวางไข่เป็นพวกติดกันครั้งละ 200-300 ฟอง โดยชนิด H. lunulata จะอุ้มไข่ไว้ที่หนวดและดูแลจนกว่าจะฟักเป็นตัว , ชนิด H. maculosa จะใช้วิธีวางไข่ฝากไว้ตามโขดหินใต้น้ำ โดยใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์

ความร้ายแรงของพิษหมึกกล้วยวงน้ำเงิน

พิษของหมึกกล้วยวงน้ำเงินจะมีสารที่ชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน ( Tetrodotoxin ) เป็นสารพิษชนิดเดียวกันกับที่พบในปลาปักเป้า เมื่อโดนพิษชนิดนี้จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะระบบการสั่งงานของสมอง ส่งผลให้สมองไม่สามารถสั่งการทำงานของระบบในร่างกายได้ตามปกติ มีอาการคล้ายกับเป็นอัมพาต หายใจไม่ออกเพราะกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกไม่สามารถนำเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ควรระวังการปะปนมากับหมึกชนิดอื่นซึ่งอันตรายมากสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องหมึกชนิดนี้ หากเผลอทานเข้าไปก็อาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยพบว่าพิษของหมึกกล้วยวงน้ำเงินจะมีอยู่ในน้ำลาย เป็นความสามารถทางพันธุ์กรรมที่ถูกส่งต่อจากแม่มาสู่ลูก ซึ่งสามารถพบพิษเหล่านี้ได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิดเลยทีเดียว

แม้ว่าจะมีสีสันสวยงาม เป็นปลาหมึกขนาดเล็กน่ารักสีกแค่ไหนก็ตาม แต่หมึกกล้วยวงน้ำเงินก็จักว่าเป็นปลาหมึกมีพิษร้ายแรงที่ไม่ควรเข้าใกล้อย่างยิ่ง โดยพบว่ามีพิษร้ายแรงกว่าพิษของงูเห่ามากถึง 20 เท่า สามารถฆ่าคนได้พร้อมๆกันถึง 26 คน โดนผู้ที่ถูกกัดจะเสียชีวิตภายใน 2-3 นาที ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของพิษที่ได้รับด้วย

 

 

 

คาสิโนฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

กบศรพิษเหลืองดำ กบตัวจิ๋วพิษร้ายที่ฆ่าคนได้ถึง 10 คน

กันยายน 2021

       กบศรพิษเหลืองดำ ( Golfodulcean poison frog ) เป็นกบมีพิษที่จัดอยู่ในวงศ์ DENDROBATIDAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phyllobates vittatus มีลักษณะเป็นกบพิษสีเหลืองมีสีสันสดใสมีโทนสีดำ-เหลืองตัดกัน แม้จะมีสีสันสวยงามแต่ความจริงแล้วกลับมีพิษที่ร้ายแรงมาก พบว่าพิษของกบศรพิษเหลืองดำเพียง 1 ตัว ( พิษ 5 ไมโครกรัม ) สามารถฆ่าคนได้ถึง 10 คนและค่าหนูได้มากถึง 20,000 ตัวเลยทีเดียว กบพิษสีเหลืองสายพันธุ์นี้พบมากในบริเวณป่าเขตฝนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ อาทิเช่น ประเทศชิลี บราซิล และกายอานา พิษของมันมักถูกนำมาใช้เป็นยาพิษอาบลูกดอกของพวกอินเดียนแดง

ลักษณะของกบศรพิษเหลืองดำ

       กบศรพิษเหลืองดำเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร โดยกบในตระกูลนี้มักจะมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีสีสันและลวดลายแตกต่างกันออกไป เช่น สีเหลือง สีดำ สีแดง สีส้ม สีฟ้า สีชมพู สีเขียว ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นดิน กาบต้นไม้ ป่าสับปะรด ใต้ใบไม้ ฯลฯ ชอบออกหากินในตอนกลางวันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากนับจำนวนกบในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ก็จะมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 220 สายพันธุ์ และในจำนวน 220 สายพันธุ์นั้นมี100กว่าสายพันธุ์ที่เป็นสายพันธุ์ของกบลูกดอกพิษ ซึ่งกบศรพิษเหลืองดำก็จัดเป็นกบมีพิษจำพวกนั้นด้วย

       แม้ว่ากบศรพิษเหลืองดำ จะมีขนาดเล็กน่ารักและมีสีสัน-ลวดลายที่สวยงามมากเพียงใดก็ตาม เมื่อมารู้ถึงอานุภาพของพิษที่กบพิษสีเหลืองชนิดนี้มีอยู่แล้วก็แทบจะหดมือกลับไม่ทันกันเลยทีเดียว โดยกบศรพิษเหลืองดำจะมีต่อมผลิตพิษที่ร้ายแรงมากเป็นสารเคมีประเภทอัคคาลอยด์ที่จะไปออกฤทธิ์ระหว่างจุดประสานเซลล์ประสาทและระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ โดยจะเป็นประเภทที่ไปละลายในสารละลายอินทรีย์สามารถทำให้มนุษย์หรือสัตว์ขนาดใหญ่ตายได้เพียงแค่ไปสัมผัสโดนพิษเท่านั้นเอง ได้มีการจัดอันดับสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกก็ปรากฏว่ากบมีพิษในตระกูลนี้ติดอยู่ในอันดับด้วยเพราะด้วยพิษเพียง 5 ไมโครกรัม ก็สามารถฆ่ามนุษย์ได้ถึง 10 คนและหนูได้มากถึง 20,000 ตัว แต่สีสันของกบก็ไม่อาจใช้เป็นตัวตัดสินความมีพิษได้เสมอไปกบบางสกุลอาจไม่ได้มีสีสันสดใสแต่ก็มีพิษร้ายแรงได้เช่นเดียวกัน

การผสมพันธุ์ของกบศรพิษเหลืองดำ

       กบพิษสีเหลืองชนิดนี้มักจะมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์โดยตัวผู้จะไม่กอดรัดตัวเมีย แต่ถ้าจะมีการกอดรัดก็จะเป็นการกอดรัดบริเวณหัวเป็นส่วนใหญ่ เมื่อมีการผสมพันธุ์กันเรียบร้อยแล้วกบตัวเมียดก็จะไปวางไข่บนพื้นหญ้าหรือบนต้นไม้แล้วคอยเฝ้าดูแลไข่อยู่ใกล้ๆ เมื่อไข่ฟักตัวเป็นลูกอ๊อดในช่วงแรกลูกอ๊อดจะอาศัยอยู่เกาะบนหลังของพ่อกบหรือแม่กบก่อนระยะหนึ่ง จากนั้นเมื่อเจริญเติบโตแข็งแรงดีแล้วก็จะลงน้ำและออกหากินตามธรรมชาติต่อไป ปัจจุบันนี้พบว่ากบศรพิษเหลืองดำอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์แล้ว

Categories
ความรู้ แมลง

ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู นักฆ่าที่ชอบกินคู่รักเป็นอาหาร

กันยายน 2021

       ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู หรือ ตั๊กแตนต่อยมวยกล้วยไม้สีชมพู ( Walking flower mantis , Pink orchid mantis ) เป็นแมลงที่จัดอยู่ในวงศ์ HYMENOPODIDAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hymenopus coronatus  โดยตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูจัดเป็นแมลงจำพวกตั๊กแตนตำข้าวอีกสายพันธุ์หนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นตั๊กแตนตำข้าวที่มีสีสันและมีลักษณะรูปทรงที่สวยงามที่สุด พบได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นแกประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ไทย , พม่า , มาเลเซีย , ฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซีย , อินเดีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ในแถบจังหวัดเชียงใหม่ , เชียงราย , ลำพูน , ระยอง , ระนอง

       ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูจะมีสีลำตัวเป็นสีชมพูหรือสีชมพูอ่อนปนขาว และบางตัวจะมีลักษณะเป็นสีขาวล้วน ทั้งนี้สีสันของตั๊กแตนตำข้าวก็จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละสายพันธุ์ สีที่สามารถพบเห็นได้ เช่น สีดำ สีแดง สีขาว สีชมพู สีน้ำตาล ฯลฯ ซึ่งตัวเมียจะมีรูปร่างใหญ่กว่าตัวผู้ โดยตัวเมียจะมีขนาดประมาณ 6-7 เซ็นติเมตร ในขณะที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ามากโดยจะมีขนาดตัวเพียง 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น ตั๊กแตนตำข้าวชนิดนี้มีความพิเศษ คือ สามารถเปลี่ยนสีได้โดยอาศัยสิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อมรอบๆตัว เช่น ความชื้นและความเข้มของแสง

วิธีอำพรางตัวและหาอาหารของตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู

       ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูมีส่วนขาที่ขยายออกรูปร่างคล้ายกับกลีบของดอกกล้วยไม้ ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ดอกไม้ ไม้ดอก-ไม้ประดับ ที่มีสีขาวหรือสีชมพูเพื่อช่วยในการอำพรางซ่อนตัวหลบหลีกอันตรายจากศัตรูต่างๆ รวมถึงเพื่อดักรอเหยื่อที่ผ่านมาโดยการทำตัวนิ่งๆให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม และเมื่อมีเหยื่อผ่านมามันก็จะแปลงร่างเป็นนักล่ารีบเข้าจัดการกับเหยื่ออย่างรวดเร็ว อาหารของตั๊กแตนตำข้าวสายพันธุ์นี้ เช่น แมลง มด ตั๊กแตน และสิ่งมีชีวิตตอื่นๆ 

วิธีการผสมพันธุ์ของตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู

       ในการสืบพันธุ์ของตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูก็จะคล้ายกันกับตั๊กแตนตำข้าวทั่วไป คือ เมื่อตัวเมียมีอายุเต็มวัยได้ประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป ก็จะเริ่มมีการจับคู่ผสมพันธุ์โดยในการผสมพันธุ์จำเป็นจะต้องรอให้ตัวเมียมีความพร้อมเสียก่อนหากตัวผู้ดื้อรั้นจะเข้าไปผสมพันธุ์ทั้งที่เพศเมียยังไม่พร้อมผสมพันธุ์ตัวผู้อาจจะกลายเป็นอาหารของตัวเมียก็เป็นได้หรือแม้แต่หลังจากการผสมพันธุ์ตัวผู้ตัวก็มักจะถูกเมียจับกินเป็นอาหารอยู่เสมอ หลังจากการผสมพันธุ์ประมาณ 15-30 วัน จะเริ่มวางไข่ จากนั้นก็จะใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 5-6 สัปดาห์ เมื่อฟักไข่เป็นตัวอ่อนแล้วก็จะเปลี่ยนเป็นตัวโตเต็มวัยพร้อมสืบพันธุ์ต่อไป ซึ่งระยะเวลาในการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่พบส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจึงจะพร้อมผสมพันธุ์ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมว่าเจ้าตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูจะได้กินอาหารเพียงพอหรือไม่ พบว่าการกินตัวผู้หลังจากผสมพันธุ์เสร็จแล้วตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูตัวเมียจะสามารถวางไข่ได้มากถึง 88 ฟอง ซึ่งมากกว่าตัวเมียที่ไม่ได้กินตัวผู้ อาจเป็นไปได้ว่าการกินตัวผู้เป็นอาหารก็เพราะต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนก็เป็นได้

 

 

 

คาสิโนออนไลน์ฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

ปลาแพะเขียว ปลาแม่บ้านที่นิยมเลี้ยงไว้ช่วยทำความสะอาด

กันยายน 2021

ในบรรดาปลาที่ชอบกินพวกเศษอาหารหรือตะไคร่น้ำต่างๆ ปลาแพะเขียวก็เป็นหนึ่งในปลาที่ทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยกินพวกเศษอาหารและตะไคร่น้ำเช่นเดียวกัน โดยสังเกตได้จากตู้ปลาที่เลี้ยงปลาแพะเขียวจะสะอาดเกือบจะทุกซอกทุกมุมเลยก็ว่าได้

ปลาแพะเขียว ( Bronze Corydoras , Green Corydoras ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Corydoras Aeneus อยู่ในวงศ์ Callichthyidae พบได้ในแถบแม่น้ำลาพลาต้า ทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดิส ปลาแพะเขียวเป็นปลาน้ำจืดที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตื้นที่มีลักษณะเป็นโคลนขุ่นและมีอุณหภูมิประมาณ 17 - 30 องศาเซลเซียส

มาทำความรู้จัก “ ปลาแพะเขียว ” ปลาแม่บ้านตัวจิ๋ว

ปลาแพะเขียว มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างเล็ก ลำตัวมีลักษณะค่อนข้างกลม มีครีบ 8 ครีบ ใกล้ๆกับครีบจะมีเงี่ยงแข็งข้างละ 1 เงี่ยง มีหนวดเล็กๆ 2 คู่ อยู่ที่มุมปาก โดยปลาน้ำจืดชนิดนี้จะมีสีน้ำตาล - เหลือง ข้างลำตัวจะมีลักษณะเป็นสีเขียวมันวาว ครีบและส่วนหางจะมีลักษณะค่อนข้างที่จะโปร่งใสมองเห็นไม่ค่อยชัด เมื่อปลาแพะเขียวเจริญเติบโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร

อาหารส่วนใหญ่ของปลาคือ เศษอาหารหรือตะไคร่น้ำแต่งๆ โดยมากนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม หากได้นำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงในตู้เลี้ยงปลาแล้ว รับรองว่าสะอาดเอี่ยมอ่องไม่มีเศษฝุ่นหรือเศษอาหารลอยให้เห็นเป็นที่รำคาญตาแน่นอนเพราะว่าเจ้าปลาตัวนี้มันจะทำหน้าที่ดูดกินจนหมดทุกซอกทุกมุมเลยทีเดียว

ปลาแพะเขียวมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ ลักษณะการหายใจ โดยมันจะลอยตัวขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อฮุบเอาอากาศแล้วดำดิ่งลงไปด้านล่างได้ จึงทำให้มันสามารถปรับตัวเข้ากับที่อยู่อาศัยและแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้เป็นอย่างดี จัดว่าเป็นปลาน้ำจืดที่รู้จักเอาตัวรอดและชาญฉลาดในการใช้ชีวิตจริงๆค่ะ

การขยายพันธุ์ของปลาแพะเขียว

ในการขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดชนิดนี้ นอกจากการขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติแล้วยังสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงด้วย ปลาแพะเขียวจัดว่าเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยตัวผู้จะเข้าไปเชิญชวนตัวเมียโดยการสั่นตามตัว หากตัวเมียมีปฏิกิริยาตอบสนองมันจะค่อยๆขยับเข้าหาตัวผู้ จากนั้นตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อให้ตัวเมียอมไว้ในปาก ตัวเมียก็จะคายน้ำเชื้อเอาไว้บริเวณใบของพืชน้ำจากนั้นก็จะวางไข่บนน้ำเชื้อที่ได้คายเอาไว้ โดยแม่ปลาจะค่อยๆทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าไข่จะหมด ไข่ปลาจะใช้เวลาประมาณ 3-4 วันในการฟักออกเป็นตัวซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำด้วย ในระหว่างที่ลูกปลายังไม่สามารถหาอาหารกินเองได้มันจะดูดกินอาหารที่มีอยู่ในถุงไข่แดงก่อน เมื่อลูกปลาสามารถว่ายน้ำได้ และหาอาหารกินเองได้มันจะค่อยๆออกหาอาหารกินเองเป็นบริเวณกว้างต่อไป โดยจะมีการเจริญเติบโตเต็มวัยภายในระยะเวลา 2 ปี

 

 

 

เว็บบาคาร่าฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา

 

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

ปลาเปคู ปลาสายพันธุ์แปลกแห่งลุ่มน้ำอเมซอน

กันยายน 2021

           ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ (Pecu ) จัดเป็นปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae ) และแยกอยู่ในวงศ์ย่อยอย่างวงศ์ Serrasalminae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับปลาปิรันย่า แต่จริงๆแล้วไม่ได้มีความเหมือนกันกับปลาปิรันยาเลย ทั้งพฤติกรรมและขนาดตัวเนื่องจากเป็นปลาคนละสกุลกัน แต่ส่วนมากคิดว่าปลาเปคูและปลาปิรันย่ามีความดุร้ายเหมือนกันเนื่องจากเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากเลยทีเดียว

ลักษณะตามธรรมชาติของปลาเปคูที่แตกต่างจากปลาปิรันย่า

           ปลาเปคูนั้นเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่กว่าปลาปิรันย่ามาก โดยเมื่อโตเต็มวัยปลาเปคูจะสามารถมีขนาดยาวได้มากถึง 80 - 110 เซนติเมตร มีน้ำหนักราว 35 - 40 กิโลกรัม มีลักษณะฟันและกรามที่แข็งแรงแต่ฟันของปลาเปคูนั้นจะมีซี่ที่ใหญ่และผู้คล้ายกับฟันมนุษย์ ลักษณะของกรามจะไม่ยื่นออกมาด้านหน้า ต่างจากปลาปิรันย่าที่มีฟันซี่เล็กแหลมคมและมีกรามด้านล่างยื่นออกมาด้านหน้าสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน จึงทำให้บางคนเรียกปลาเปคูว่า ปลาฟันคน ซึ่งถ้าใครเคยได้เห็นหน้าตาของปลาเปคูจะต้องเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้เช่นกัน

ประโยชน์และชนิดของปลาเปคูที่นิยมนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย

           สายพันธุ์ที่นิยมและมีการนำมาเลี้ยงในประเทศไทยคือ ปลาคู้แดง ( Piaractus Brachypomus ) และ ปลาคู้ดำ ( Colossoma Macropomum ) โดยปลาสองสายพันธุ์นี้สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เพาะพันธุ์จำหน่ายในเชิงพาณิชย์ หรือจะนำมาทำเป็นเมนูอาหารแสนอร่อยก็ได้ เช่น ปลาเปคูทอดกรอบ ปลาเปคูราดซอสพริก ฯลฯ รวมถึงมีการนิยมแข่งตกปลาเพื่อเป็นเกมกีฬา ซึ่งอย่างหลังนี้เราอาจไม่ค่อยได้พบสักเท่าไหร่นัก แม้ว่าจะเป็นปลาน้ำจืดธรรมดาที่มีความดุร้ายไม่เท่ากับปิรันย่า

           แต่ในต่างประเทศกลับพบว่า ปลาเปคู หรือ ปลาฟันคน ได้กัดอัณฑะของผู้ที่ไปว่ายน้ำในบริเวณที่มันอาศัยอยู่จนเสียชีวิต เมื่อได้เห็นข่าวแบบนี้เราก็ยังคงต้องระมัดระวังในเรื่องของการนำปลาเปคูมาเลี้ยง รวมถึงการนำไปปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ใช้ประโยชน์ในแหล่งน้ำนั้นเช่นเดียวกันกับที่เป็นข่าวก็ได้ ปลาเปคูจึงเป็นปลาที่ไม่เหมาะจะนำไปปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งเป็นปลาที่กินเก่ง กินได้ไม่เลือก กินได้ทุกอย่าง เจริญเติบโตได้รวดเร็ว การขยายพันธุ์สามารถขยายได้รวดเร็วเช่นเดียวกันจึงอาจจะทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติได้ง่าย

 

 

 

สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา วอเลท