Categories
ความรู้ สัตว์บก

พารู้จักกับหนูผีจิ๋ว สัตว์ตัวเล็กที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก

วันนี้เราจะพูดถึงเรื่องราวของหนูผีจิ๋วกัน สัตว์ตัวเล็กกระจ้อยร่อยที่พบเจอได้ยากมากขั้นในปัจจุบัน แต่หากมีพื้นที่สมบูรณ์มากพอการเจอพวกเขาไม่ยาก ส่วนที่กำลังสนใจและน่าจะหาโอกาสเจอพวกเขาได้ยาก วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเจ้าตัวจิ๋วตัวนี้มาให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น และรับประกันว่าหลังจากได้ข้อมูลจากเราแล้ว ทันทีที่เจอพวกเขาจะไม่ทำร้ายเขาอีกต่อไป โดยข้อมูลน่าสนใจของพวกเขามีดังนี้

หนูผีจิ๋ว คืออะไร มีข้อมูลส่วนไหนน่าสนใจกันบ้าง 

สำหรับหนูผีจิ๋ว จัดอยู่ในโหมดของหนูผีอีกชนิดหนึ่ง โดยเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งหากไม่ได้สังเกต หรือไม่เคยรู้จักมาก่อนอาจจะมองว่าเป็นสัตว์ประเภทอื่นด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังจัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับตุ่น และเพื่อไม่ให้เสียเวลามาดูกันว่าข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับพวกเขาที่ต้องรู้มีเรื่องไหนกันบ้างดังนี้

ลักษณะทั่วไป 

เริ่มต้นกันด้วยลักษณะทั่วไปของหนูผี (Dwarf shrew) จะมีลักษณะที่ชี้ชัดคือมีเท้าหลังสั้นมาก และมีสีคล้ำในตัวเต็มวัย จมูกแหลมยาวมาก ตามีขนาดเล็กมาก ใบหูมีขนาดใหญ่ไม่ค่อยพอดีกับตัวมากนัก ส่วนกะโหลกลาดแบน โดยจะมีความยาวของลำตัวจากจมูกถึงรูทวารเพียงแค่ 4.5.6 เซนติเมตร เท่านั้น ส่วนน้ำหนักสูงสุดที่ 1.8 กรัม มีอายุได้ประมาณ 16 เดือนเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุค่อนข้างสั้นอย่างมาก ส่วนเหตุผลที่ทำให้พวกเขาโดนจับบ่อย ๆ เพราะเป็นสัตว์ที่หูและตาไม่ดีเอาเสียเลย ทำให้การหาอาหารของพวกเขาจึงมาจากการดมกลิ่นเป็นหลัก

พื้นที่อาศัย

พื้นที่อาศัยของ Etruscan pygmy shrew โดยทั่วไปจะพบได้ตั้งแต่กว้างมาก เพราะสามารถอาศัยได้ทั้งเอเชียและยุโรป ซึ่งในประเทศไทยเจอได้เกือบทุกภาคยกเว้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากว่าเป็นสัตว์ที่ชอบทำรังใต้ดินและในพงหญ้าเป็นหลัก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีความชื้นและเปียก 

อุปนิสัยใจคอ 

ทั้งนี้สำหรับอุปนิสัยทั่วไปของพวกเขาคือเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างดุร้าย ชอบกัดกันเอง โดยมีท่าขู่ประจำตัวคือ ยืน 2 ขา และส่งเสียงร้องแหลมเล็กให้อีกฝ่ายกลัว และหากได้จังหวะกัดเมื่อไหร่จะเลือกกัดที่หางหรือขาหลังก่อนอันดับแรก โดยจะกัดเป็นวงกลมไปเรื่อย ๆ พร้อมกันนั้นจะส่งเสียงขู่ใส่ตลอดเวลาอีกด้วย

อาหารของหนูผี 

ส่วนเรื่องของอาหารของพวกเขาจะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ในกลุ่มของ มด แมลง และปลวก โดยจะหากินบนพื้นดิน โดยจะออกหากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน การหากินจะหากินเพียงลำพัง ไม่ค่อยหากินเป็นหมู่คณะเหมือนสัตว์ชนิดอื่น ๆ 

ข้อมูลอื่น ๆ และประโยชน์ที่ได้จากหนูผี 

ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องรู้มีอีกหลายข้อด้วยกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการหาข้อมูลเกี่ยวกับหนูผีมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งข้อมูลที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ก็คือ 

  • หนูผีบางชนิดมีพิษ ซึ่งพิษของพวกเขาจะมีกลิ่นเหม็นอย่างมาก และพิษที่ส่งต่อยังสัตว์ที่โดนกัดคือจะทำให้เป็นอัมพาตทันที 2-3 วัน 
  • เป็นสัตว์ที่ใช้เวลาหากิน 3 ชั่วโมง และนอนหลับพักผ่อนทั้งหมด 3 ชั่วโมง โดยวงจรเวลาของพวกเขาจะมีผลต่อการดำรงชีวิตอยู่นั่นเอง 
  • หนูผีจิ๋วเป็นหนึ่งใน 385 สายพันธุ์ในกลุ่มหนูผีทั่วทั้งโลก 
  • หากพบเจอในบ้านไม่ควรทำร้ายเขาเพราะพวกเขากำลังช่วยกำจัดมด แมลง และปลวกในบ้านให้คุณ โดยไม่ทำลายข้าวของภายในบ้านให้เกิดความเสียหาย 
  • หนูผีเป็นสัตว์ที่รักความสะอาดไม่สกปรกเลยด้วยซ้ำ

สรุป สัตว์ตัวจิ๋วที่มีเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ค่อยจิ๋วเท่าไหร่นัก 

เห็นไหมว่าหนูผีจิ๋วถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก แต่เรื่องราวของพวกเขากลับไม่เล็กเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นหากเจอพวกเขาไม่ควรทำร้าย และควรปล่อยให้พวกเขาหากินไปตามธรรมชาติดีกว่า ส่วนใครที่ตั้งใจว่าจะเลี้ยงสามารถทำได้เช่นกัน เพราะพวกเขายังไม่ถูกบรรจุให้เป็นสัตว์คุ้มครอง เพียงแต่ต้องทำใจให้ได้ว่าพวกเขามีอายุค่อนข้างสั้นมาก animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

แมงดาทะเล สัตว์กินได้ แต่ต้องระวังสายพันธุ์มีพิษ เพราะพิษแรงอาจถึงตายได้

แมงดาทะเล เป็นสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในทะเล มีการกระจายพันธุ์ในวงกว้าง ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีอยู่จำนวนมากเลยทีเดียว โดยสัตว์ชนิดนี้สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลายเมนู โดยเฉพาะเมนูนำไข่แมงดาสุดแซ่บ ที่ไม่ว่าใครได้ลองแล้วก็ต้องติดใจอย่างแน่นอน แต่อยากจะเตือนว่าหากเลือกผิดชนิด ชีวิตเปลี่ยนทันที

เนื่องจากว่าแมงดาทะเลมีทั้งแบบชนิดกินได้ไม่มีพิษ และชนิดที่กินไม่ได้ มีพิษอันตรายเรียกว่าสาร Tetrodotoxin และ Saxitoxin ที่อยู่ในเนื้อ และไข่ของมัน ไม่สามารถทำลายความเป็นพิษได้ด้วยความร้อนและเมื่อเผลอกินเข้าไปแล้วจะมีอาการปากชา พูดไม่ได้ และแขนขาชา หายใจไม่ออก ถ้าได้รับพิษในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นใครที่จะกินแมงดาทะเลไม่ว่าเนื้อหรือไข่ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

แมงดาทะเล ข้อมูลเพิ่มเติมที่ควรทราบ

แมงดาทะเล เป็นอีกหนึ่งสัตว์น้ำที่ได้ยินชื่ออยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ผู้บริโภคได้รับสารพิษจากสัตว์ชนิดนี้เมื่อกินเนื้อและไข่ของมันเข้าไปทำให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย เสี่ยงเสียชีวิตได้ จนมีการเตือนกันว่าควรหลีกเลี่ยงการบริโภค ซึ่งวันนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับสัตว์ชนิดนี้ให้มากขึ้น พร้อมวิธีการจำแนกชนิดที่มีพิษ และไม่มีพิษ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

ลักษณะแมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างโดดเด่น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหน้า และส่วนท้อง บริเวณด้านหน้าจะมีรูปทรงโค้งครึ่งวงกลม เปลือกแข็ง ด้านส่วนท้องจะมีระแนงหนาม ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้ และมีหางลักษณะแท่งเรียวยาว ซึ่งใช้สำหรับการงอตัว รวมทั้งการฝังตัวลงไปในดิน

แหล่งที่อยู่อาศัย

แมงดาทะเล ที่อยู่อาศัยสามารถพบได้บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไป แม้กระทั่งลำคลอง และป่าชายเลนก็สามารถอาศัยอยู่ได้ ส่วนในทะเลมักจะพบในบริเวณน้ำตื้น

อาหารของแมงดาทะเล

ส่วนใหญ่จะเลือกกินสัตว?ขนาดเล็กจำพวกหอย ไส้เดือนทะเลต่าง ๆ 

การสืบพันธุ์

เป็นสัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งการผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงของฤดูร้อน ในระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งมีการปฏิสนธิแบบภายนอก สัตว์ชนิดนี้ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนบก ด้วยการใช้ขาคู่ที่ 6 ขุดทรายให้เป็นโพรง แล้วปล่อบไข่ออกมาวางไว้ จากนั้นตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมไข่ และทำการกลบทรายไว้ให้เหมือนเดิม

วิธีการแยกแมงดาทะเลที่มีพิษและไม่มีพิษ

สำหรับชนิดที่มีพิษเรียกว่าแมงดาถ้วย ซึ่งสามารถสังเกตลักษณะสำคัญบริเวณหางที่จะมีลักษณะกลมเหมือนกับแท่งดินสอ ถ้าเจอหางลักษณะนี้แนะนำว่าไม่ควรบริโภค ส่วนแมงดาจาน เป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีพิษ กินได้ โดยหากจะมีลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม และเป็นชนิดที่เสี่ยงสูญพันธุ์ เหลือจำนวนน้อยมากในประเทศไทย เนื่องจากถูกมนุษย์จับกินในปริมาณมาก แต่อย่างไรก็ตามหากอยากทดลองทานดูแนะนำว่าควรเลือกซื้อร้านอาหารทะเลที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดจำแนกชนิดของแมงดา เพื่อป้องการความเสี่ยงในการรับสารพิษ

แมงดาทะเลสัตว์ที่ต้องได้รับการอนุรักษ์

สำหรับแมงดาทะเลถึงแม้จะมีชนิดที่สร้างสารพิษ ก็ยังเป็นสัตว์ทะเลที่คนชื่นชอบกินกันมาก ๆ ส่งผลทำให้แมงดาทะเล กินได้อย่างแมงดาจานมีปริมาณลดลงจำนวนมากในประเทศไทย จึงอยากแนะนำให้ทุกท่านหลีกเลี่ยงการบริโภคแมงดาทะเลให้น้อยลง เพื่อให้มีจำนวนประชากรสูงขึ้น ซึ่งแมงดาทะเล ประโยชน์นอกจากเป็นอาหารแล้ว

ในส่วนของเลือดที่มีสีน้ำเงินโดยมีองค์ประกอบของทองแดง และเซลล์เม็ดเลือดขาวของแมงดาทะเลมีประสิทธิภาพสูงมากในการตรวจจับเชื้อโรคและแบคทีเรีย โดยทางการแพทย์จะนำเซลล์เม็ดเลือดขาวมาใช้ในทางการแพทย์ นำมาสกัดให้ได้โปรตีนที่เรียกว่า Limulus amoebocyte lysate (LAL) ซึ่งสารโปรตีนชนิดนี้สามารถนำมาใช้ในการตรวจการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในกระบวนการผลิตยา วัคซีน สารเคมี และสารต่าง ๆ ที่ใช้ในวงการแพทย์และเภสัช

แมงดาสามารถพบได้ในหลากหลายระบบนิเวศ มีการแพร่พันธุ์ในวงกว้าง แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้ โดยเฉพาะแมงดาจานที่ในประเทศไทยเองมีจำนวนลดลงจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งอยากแนะนำให้ทุกท่านหลีกเลี่ยงการบริโภคในอัตราที่ต่ำลง  animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์บก

เจาะลึกทำความรู้จักกับกระจง สัตว์ที่หน้าตาคล้ายหนู แต่ไม่เหมือนหนู

กระจง เป็นสายพันธุ์สัตว์ป่าที่มีขนาดตัวเล็ก กระทัดรัด และหน้าตาคล้ายกับหนู แต่ไม่ใช่หนู ส่วนของร่างกายจะคล้ายกับกวาง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์เท้ากีบที่มีขนาดเล็กที่สุดอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับวัว ควาย กวาง อูฐ ยีราฟ และหมู เป็นต้น กระจงเป็นสัตว์กินพืช ซึ่งมันเป็นเหยื่อของสัตว์นักล่าตามธรรมชาติ ปัจจุบันกลายเป็นสัตว์ที่หาเจอได้ยาก

ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ “กระจง” สัตว์ป่าผู้ว่องไว และปราดเปรียว

จากตำนานของขาวมลายู ยกย่องให้กระจงเป็นสัตว์ที่ฉลาด ปราดเปรียว และว่องไว สามารถอยู่รอดปลอดภัยได้ในเกือบทุกสถานการณ์ ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์กระจายตัวอยู่ในทวีปเอเชีย

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

ลักษณะของกระจงมีรูปร่างคล้าย ๆ กับกวาง แต่สิ่งที่แตกต่างคือไม่มีเขา และไม่มีต่อมน้ำตา น้ำหนักเพียงแค่ 0.7 ถึง 8.0 กิโลกรัมเท่านั้น ความลำตัวอยู่ที่ประมาณ 40-75 เซนติเมตร เป็นสัตว์เท้ากีบที่มีขนาดเล็กมากสุดในโลก แต่ถ้าดูเผิน ๆ ใบหน้าจะค่อยคล้ายหนูเลย หน้ายาว หูตั้งสั้น และมีดวงตากลมโต

กระจงมีกี่สายพันธุ์

กระจง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถพบเห็นได้ ซึ่งมีทั้งหมด 6 สายพันธ์ ได้แก่ กระจงชวา กระจงเล็ก กระจงใหญ่ กระจงฟิลิปปินส์ กระจงเวียดนาม และกระจงวิลเลียมสัน ซึ่งสายพันธุ์ที่พบได้ในประเทศไทยจะมีอยู่เพียง 2 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ กระจงหนู หรือเรียกว่ากระจงเล็ก (Lesser mouse-deer) และกระจงควาย หรือเรียกว่ากระจงใหญ่ (Greater mouse-deer) 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

กระจง พบการกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย ซึ่งจะอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีนตอนใต้อย่างมณฑลยูนนาน รวมทั้งตอนใต้ของเกาะปาลาวันในประเทศฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยเราเองก็สามารถพบสัตว์ชนิดนี้ได้เช่นเดียวกัน

กระจง กินอะไรเป็นอาหาร

สัตว์ชนิดนี้อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าเป็นสัตว์เท้ากีบ จึงจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยส่วนใหญ่จะกินอาหารที่อยู่ตามพืช ซึ่งกินได้ง่าย เช่น ใบไม้ ผลไม้ เห็ดบางชนิดที่ไม่ใช่เห็ดพิษ นอกจากนั้นยังสามารถกินจำพวกแมลง ปลา ได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามสัตว์ชนิดนี้จะไม่นิยมกินหญ้าเนื่องจากเส้นใยอาหารมากเกินไป และมีสารอาหารน้อย 

พฤติกรรม และนิสัย

เป็นสัตว์ที่หากินได้ทั้งเวลากลางคืน และกลางวัน ซึ่งชอบหากินเดี่ยว ๆ ลำพังไม่อยู่เป็นกลุ่ม แต่ฤดูผสมพันธุ์ หรือหากมีลูกอ่อนมักจะอยู่เป็นคู่ หรือเป็นครอบครัว สัตว์ชนิดมักจะตื่นตระหนกง่าย ขี้อาย มีความระแวง และระมัดระวังตัวสูงมาก ดังนั้นถ้ามันตกใจหรือคิดว่าอันตรายกำลังเข้ามา จะหนีอย่างรวดเร็ว ฝุ่นตลบเลยทีเดียว เคลื่อนที่ได้ว่องไวมาก 

กระจง สัตว์ป่าร่างเล็ก ที่ยังคงมีอยู่ในพื้นที่ป่าของประเทศไทย

สำหรับกระจงจัดเป็นกวางขนาดเล็ก ที่หน้าตาน่ารักคล้ายหนู ดวงตากลมโต แวววาว เป็นประกายมาก ๆ ซึ่งตอนนี้นับว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่สามารถซื้อขายได้ เชื่อไหมว่าจริง ๆ แล้วกระจงมีมากถึง 10 ชนิด แต่ว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วมากถึง 6 ชนิด บางสายพันธุ์ปัจจุบันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หาได้ยาก ในประเทศไทยเหลือกระจงเพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้น ได้แก่ กระจงหนู หรือกระจงเล็ก และกระจงควาย หรือกระจงใหญ่ เป็นสัตว์บกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์

อาหารหลักจะเป็นพืชต่าง ๆ ที่เจริญตามพื้น และสามารถกินแมลง กินปลาได้อีกด้วย กระจงเป็นสัตว์ที่มีไหวพริบดีมาก สัญชาตญาณในการเอาตัวรอดสูงสุด ๆ และยังเป็นสัตว์ที่ฉลาดปราดเปรือง จึงเอาตัวรอดได้ดีจากนักล่า หรือภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในกลุ่มสัตว์สูญพันธุ์ แต่เสี่ยงสูญพันธุ์สูงมาก ดังนั้นต้องเร่งกันอนุรักษ์ และฟื้นฟูให้จำนวนประชากรของสัตว์ชนิดเพิ่มสูงขึ้น animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์บก แมลง

แมงกระชอน ของแซ่บที่ต้องลองกิน สุดยอดแหล่งโปรตีน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

แมงกระชอน หรือ ทางอีสานเรียกว่า แมงจีซอน แมงอีซอน ส่วนทางภาคเหนือจะเรียกกันว่า แมงจอน นั่นเอง แมลงชนิดนี้ลักษณะค่อนข้างคล้ายกับจิ้งหรีด ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ รสชาติจะมัน ๆ กรอบ ๆ เคี้ยวเพลินเลยทีเดียว ชาวบ้านทางภาคอีสานมักจะชอบจับแมงกระชอนกัน

เนื่องจากเป็นที่นิยมบริโภคในพื้นที่ สร้างกำไรได้ไม่น้อยเลย แต่การจับแมงกระชอนไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเพราะว่าจะต้องใช้เสียงหลอกล่อเพื่อให้แมลงปรากฏตัวให้เห็น หรือวิธีบ้าน ๆ จะปล่อยน้ำลงพื้นที่นา จากนั้นจะเอาเท้าเหยียบ ๆ หรือรถไถ เพื่อให้แมลงที่อยู่ใต้ดินนั้นออกมานั่นเอง เชื่อไหมว่าราคาของแมลงชนิดนี้น่าทึ้งมาก ซึ่งขายกันอยู่ที่ 200 บาท ขึ้นไป ต่อกิโลกรัม เป็นอีกหนึ่งรายได้เสริมที่น่าสนใจมาก รสชาติอร่อยใช้ได้ ใครที่ยังเคยลองแนะนำว่าต้องกินดู 

แมงกระชอน อาศัยอยู่ที่ไหน และลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร ไปทำความรู้จักกัน

หลายคนอาจจะไม่รู้เลยว่าแมงกระชอนคืออะไร และมีหน้าตาแบบไหน จะสามารถพบเจอได้ที่ไหนบ้าง วันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับแมลงชนิดนี้ให้มากขึ้น เพราะเป็นอีกหนึ่งแมลงที่สามารถเป็นแหล่งอาหารในอนาคตได้ เป็นแหล่งของอาหารและโปรตีนมหาศาล 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

แมลงกระชอน ลักษณะอย่างที่บอกข้างต้นว่าคล้าย ๆ กับจิ้งหรีด ซึ่งจะมีหนดสั้นสีน้ำตาล ส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แต่อกใหญ่กว่า ลักษณะลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยจะมีขนบาง ๆ ปกคลุมทั่วลำตัว ปีกมี 2 คู่ โดยคู่หน้าจะยาวประมาณครึ่งหนึ่งของส่วนท้อง ส่วนคู่หลังปีกจะแคบ และยาวเกินส่วนท้องไปทางด้านล่าง ขาคู่หน้าเป็นแผ่นกว้าง พร้อมทั้งมีเล็บคมเอาไว้ใช้ในการขุดดิน และยึดเกาะ ขนาดความยาวลำตัวอยู่ที่ประมาณ 25-35 มม. 

นิสัยและพฤติกรรม

แมงกระชอนมักจะชอบออกหากินในช่วงเวลาตอนกลางคืน ซึ่งหากถามว่าแมลงกระชอน ชอบกินอะไรอาหารส่วนใหญ่เหมือนกับแมลงทั่วไป จะกินจำพวกราก โคนของพืช กินได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้นชา ต้นอ้อย ต้นยาสูบ และมันเทศ เป็นต้น และแมลงชนิดนี้จะมีเสียงเฉพาะตัว ซึ่งแมลงตัวผู้สามารถทำเสียงโดยการถูขอบปีกคู่หน้า

ถิ่นที่อยู่อาศัย

แมงกระชอนนี้พบได้จำนวนมากในป่าละเมาะ สวน ทุ่งหญ้า ริมห้วย หนอง บึง และท้องนา เป็นต้น การกระจายพันธุ์แพร่พันธุ์เป็นวงกว้างพบเจอได้ทุกภาคในประเทศไทย ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ในดิน สามารถขุดรูและทำเป็นโพรงเพื่ออาศัยและวางไข่

วงจรชีวิต

วงจรชีวิตแมลงกระชอนหลังวางไข่แล้ว ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 10-21 วัน ซึ่งเป็นแมลงที่ช่วงเวลาตัวอ่อนจะเติบโตช้า กว่าจะเข้าสู่ตัวเต็มวัยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน เลยทีเดียว ฤดูผสมพันธุ์จะเป็นช่วงต้นฤดูฝน และวางไข่ใต้ดินนั่นเอง

แมงกระชอน แมลงทำเงิน จับขายสร้างรายได้งามเกินคาด

สำหรับแมงกระชอน หรือ แมลงกะชอน กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับความนิยมมากในภาคอีสาน สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ เช้าบ้านต่างกันพาไป “ย่ำแมงอิซอน” เพื่อจับมาทำเป็นอาหาร และนำมาขายได้ โดยเชื่อไหมว่าหนึ่งกิโลกรัมสามารถสร้างรายได้มากกว่า 200 บาท เลยทีเดียว ลักษณะแมลงกระชอนไม่ได้แตกต่างกับจิ้งหรีดมากนัก จัดอยู่ในแมลงกลุ่มเดียวกัน

แมงกระชอนปัจจุบันยังมีจำนวนประชากรอยู่ในอัตราที่สูง เนื่องจากว่าสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้มากถึง 40-50 ฟองต่อครั้งเลยทีเดียว แมลงกระชอน ประโยชน์ก็คืออย่างที่กล่าวไปสามารถนำมากินเป็นอาหารได้ มีโปรตีนที่สูงเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นโปรตีนจากแมลงที่ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการทำปศุสัตว์ในบริเวณกว้าง รวมทั้งการทำฟาร์มแมลงยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันการทำเกษตรกรรมมักจะใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง และวัชพืชต่าง ๆ จึงทำให้แมงกระชอนที่อาศัยอยู่ตามแหล่งธรรมชาติได้รับสารพิษเข้าไปในร่างกาย และสะสมเอาไว้ เมื่อนำมารับประทานจะได้รับสารพิษเพิ่มขึ้น ดังนั้นแนะนำว่าเราควรจะรักษาระบบนิเวศ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรม เพื่อลดสารพิษในสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เกิดการตกค้างสะสมในแมลงเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

animal2you.com

บทความเพิ่มเติม