Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

แมงดาทะเล สัตว์กินได้ แต่ต้องระวังสายพันธุ์มีพิษ เพราะพิษแรงอาจถึงตายได้

แมงดาทะเล เป็นสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในทะเล มีการกระจายพันธุ์ในวงกว้าง ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีอยู่จำนวนมากเลยทีเดียว โดยสัตว์ชนิดนี้สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลายเมนู โดยเฉพาะเมนูนำไข่แมงดาสุดแซ่บ ที่ไม่ว่าใครได้ลองแล้วก็ต้องติดใจอย่างแน่นอน แต่อยากจะเตือนว่าหากเลือกผิดชนิด ชีวิตเปลี่ยนทันที

เนื่องจากว่าแมงดาทะเลมีทั้งแบบชนิดกินได้ไม่มีพิษ และชนิดที่กินไม่ได้ มีพิษอันตรายเรียกว่าสาร Tetrodotoxin และ Saxitoxin ที่อยู่ในเนื้อ และไข่ของมัน ไม่สามารถทำลายความเป็นพิษได้ด้วยความร้อนและเมื่อเผลอกินเข้าไปแล้วจะมีอาการปากชา พูดไม่ได้ และแขนขาชา หายใจไม่ออก ถ้าได้รับพิษในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นใครที่จะกินแมงดาทะเลไม่ว่าเนื้อหรือไข่ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

แมงดาทะเล ข้อมูลเพิ่มเติมที่ควรทราบ

แมงดาทะเล เป็นอีกหนึ่งสัตว์น้ำที่ได้ยินชื่ออยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ผู้บริโภคได้รับสารพิษจากสัตว์ชนิดนี้เมื่อกินเนื้อและไข่ของมันเข้าไปทำให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย เสี่ยงเสียชีวิตได้ จนมีการเตือนกันว่าควรหลีกเลี่ยงการบริโภค ซึ่งวันนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับสัตว์ชนิดนี้ให้มากขึ้น พร้อมวิธีการจำแนกชนิดที่มีพิษ และไม่มีพิษ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

ลักษณะแมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างโดดเด่น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหน้า และส่วนท้อง บริเวณด้านหน้าจะมีรูปทรงโค้งครึ่งวงกลม เปลือกแข็ง ด้านส่วนท้องจะมีระแนงหนาม ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้ และมีหางลักษณะแท่งเรียวยาว ซึ่งใช้สำหรับการงอตัว รวมทั้งการฝังตัวลงไปในดิน

แหล่งที่อยู่อาศัย

แมงดาทะเล ที่อยู่อาศัยสามารถพบได้บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไป แม้กระทั่งลำคลอง และป่าชายเลนก็สามารถอาศัยอยู่ได้ ส่วนในทะเลมักจะพบในบริเวณน้ำตื้น

อาหารของแมงดาทะเล

ส่วนใหญ่จะเลือกกินสัตว?ขนาดเล็กจำพวกหอย ไส้เดือนทะเลต่าง ๆ 

การสืบพันธุ์

เป็นสัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งการผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงของฤดูร้อน ในระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งมีการปฏิสนธิแบบภายนอก สัตว์ชนิดนี้ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนบก ด้วยการใช้ขาคู่ที่ 6 ขุดทรายให้เป็นโพรง แล้วปล่อบไข่ออกมาวางไว้ จากนั้นตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมไข่ และทำการกลบทรายไว้ให้เหมือนเดิม

วิธีการแยกแมงดาทะเลที่มีพิษและไม่มีพิษ

สำหรับชนิดที่มีพิษเรียกว่าแมงดาถ้วย ซึ่งสามารถสังเกตลักษณะสำคัญบริเวณหางที่จะมีลักษณะกลมเหมือนกับแท่งดินสอ ถ้าเจอหางลักษณะนี้แนะนำว่าไม่ควรบริโภค ส่วนแมงดาจาน เป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีพิษ กินได้ โดยหากจะมีลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม และเป็นชนิดที่เสี่ยงสูญพันธุ์ เหลือจำนวนน้อยมากในประเทศไทย เนื่องจากถูกมนุษย์จับกินในปริมาณมาก แต่อย่างไรก็ตามหากอยากทดลองทานดูแนะนำว่าควรเลือกซื้อร้านอาหารทะเลที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดจำแนกชนิดของแมงดา เพื่อป้องการความเสี่ยงในการรับสารพิษ

แมงดาทะเลสัตว์ที่ต้องได้รับการอนุรักษ์

สำหรับแมงดาทะเลถึงแม้จะมีชนิดที่สร้างสารพิษ ก็ยังเป็นสัตว์ทะเลที่คนชื่นชอบกินกันมาก ๆ ส่งผลทำให้แมงดาทะเล กินได้อย่างแมงดาจานมีปริมาณลดลงจำนวนมากในประเทศไทย จึงอยากแนะนำให้ทุกท่านหลีกเลี่ยงการบริโภคแมงดาทะเลให้น้อยลง เพื่อให้มีจำนวนประชากรสูงขึ้น ซึ่งแมงดาทะเล ประโยชน์นอกจากเป็นอาหารแล้ว

ในส่วนของเลือดที่มีสีน้ำเงินโดยมีองค์ประกอบของทองแดง และเซลล์เม็ดเลือดขาวของแมงดาทะเลมีประสิทธิภาพสูงมากในการตรวจจับเชื้อโรคและแบคทีเรีย โดยทางการแพทย์จะนำเซลล์เม็ดเลือดขาวมาใช้ในทางการแพทย์ นำมาสกัดให้ได้โปรตีนที่เรียกว่า Limulus amoebocyte lysate (LAL) ซึ่งสารโปรตีนชนิดนี้สามารถนำมาใช้ในการตรวจการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในกระบวนการผลิตยา วัคซีน สารเคมี และสารต่าง ๆ ที่ใช้ในวงการแพทย์และเภสัช

แมงดาสามารถพบได้ในหลากหลายระบบนิเวศ มีการแพร่พันธุ์ในวงกว้าง แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้ โดยเฉพาะแมงดาจานที่ในประเทศไทยเองมีจำนวนลดลงจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งอยากแนะนำให้ทุกท่านหลีกเลี่ยงการบริโภคในอัตราที่ต่ำลง  animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

ใส่ความเห็น