Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

ทากทะเลสีน้ำเงินตัวจิ๋ว สัตว์มีพิษผู้ไม่สามารถสร้างพิษเองได้

ความรู้

ทากทะเล

ทากทะเลสีน้ำเงิน ( Sea swallow blue )  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Glaucus Atlanticus   เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับหอยที่อาศัยอยู่ในทะเลลึก   จริงๆแล้วมันก็คือ “ ทากทะเล ” นั่นล่ะค่ะ   เจ้าตัวนี้มีสีน้ำเงินหน้าตาประหลาดแต่สวยงาม  ไม่มีกระดูกสันหลัง  เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดราวๆ 3 เซนติเมตร   ซึ่งถือว่ามีขนาดค่อนข้างเล็กมากเลยทีเดียว  เห็นเล็กๆแบบนี้พวกมันมีนิสัยดุร้ายและมีพิษที่รุนแรงมากเลยล่ะค่ะ   แต่แปลกที่มันกลับไม่สามารถสร้างพิษเองได้   พิษที่เราเห็นพวกมันปล่อยออกมานั้นล้วนแล้วแต่เป็นพิษที่มาจากสัตว์พิษชนิดอื่นๆที่มันได้กินเข้าไป  จากนั้นมันก็จะทำการเปลี่ยนผันเอาพิษนั้นมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพื่อเอาไว้ใช้งานต่อไป    น่าทึ่งกว่านั้นก็คือมันสามารถสะสมเก็บพิษเอาไว้ได้เป็นเวลานานและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วย   เมื่อโดนพิษของมันอาจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยพิษมีความรุนแรงจนเรียกได้ว่าเจ้าตัวนี้เป็น “ หนึ่งในสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก ” ก็ว่าได้   โดยพิษของมันจะเข้าไปทำลายระบบการทำงานของหัวใจ  ระบบประสาท  และเซลล์ใต้ผิวหนังซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้  อาการเมื่อถูกพิษ คือ ปวดหัว คลื่นไส้  อาเจียนมีอาการผิวหนังอักเสบรุนแรง   หากเผลอไปโดนพิษมาเข้าแนะนำว่าควรรีบไปหาหมอโดยเร็วที่สุด

ทากทะเล-1

วิถีการดำรงชีวิตของทากทะเลสีน้ำเงินที่แสนชาญฉลาด

นอกจากจะมีพิษร้ายแรงแล้วลักษณะปละพฤติกรรมในการดำรงชีวิตของมันก็มีความแตกต่างจากตัวทากทะเลทั่วๆไป  กล่าวคือโดยมากพวกทากทะเลก็จะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือก้นทะเล  แต่เจ้าตัวนี้กลับลอยตัวอยู่บนผิวน้ำโดยใช้วิธีที่แสนฉลาดคือมันจะกลืนเอาอากาศไปสะสมไว้ในถุงลมที่อยู่ข้างตัว  เพื่อให้ช่วยในการพยุงตัวและปล่อยให้ตัวมันไหลไปตามกระแสน้ำ  ทั้งนี้มันมีเหตุผลสำคัญคือเพื่อให้มันสามารถหาฝูงแมงกะพรุนไฟหรือสัตว์พิษชนิดอื่นที่ลอยผ่านมาได้ง่ายขึ้นนั่นเอง  เห็นแบบนี้แล้วดูเหมือนว่ามันมีเป้าหมายอยู่ที่การสะสมพิษไปเรื่อยๆเพื่อให้ตัวมันเองแข็งแกร่ง 

 

ทากทะเล-2

เทคนิคการพลางตัวเพื่อเอาตัวรอด

สิ่งที่เห็นชัดเจนอีกอย่างหนึ่งคือมันจะพลางตัวโดยการลอยน้ำกลับหัวเอาส่วนท้องที่มีสีฟ้ามาไว้ด้านบนผิวน้ำ   เมื่อกระทบกับแสงแดดจะช่วยพรางตามันจากอันตรายที่จะมาจากเหล่านักล่าทั้งใต้ทะเลและจากบนท้องฟ้าได้  เรียกเทคนิคแบบนี้ว่า Countershading    แต่แม้ว่ามันจะเป็นสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงและสามารถพรางตัวได้เก่งจนน่าทึ่งมากแค่ไหนก็ตาม   ในปัจจุบันทากทะเลสีน้ำเงินก็ได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Categories
ความรู้ สัตว์เลื้อยคลาน

กิ้งก่าหนาม ปีศาจแห่งทะเลทรายไม่ได้ดุร้ายอย่างที่คิด

เมื่อพูดถึงสัตว์ที่มีรูปร่างหน้าตาน่ากลัวแล้ว เรามักจะรู้สึกว่าเป็นสัตว์ที่จะต้องมีความดุร้ายหรืออาจจะมีพิษที่ร้ายแรงเหมือนหน้าตาภายนอกที่ปรากฎให้เห็น แต่ในบางครั้งสิ่งที่เห็นก็อาจไม่ได้เป็นอย่างที่คิด วันนี้เราจะมาพูดถึงสัตว์หน้าตาแปลกชนิดหนึ่งที่อาจจะยังไม่ได้เป็นที่รู่จักกันเท่าไหร่ นั่นก็คือ กิ้งก่าหนาม ( Thorny Devil ) หรือปีศาจหนามแห่งทะเลทราย มีชื่อเรียกท้องถิ่นว่า Mountain Devil หรือเรียกสั้นๆว่า Moloch เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับสกุล Moloch ลักษณะมีหนามอยู่รอบตัวรวมถึงมีหนามอยู่บนหัวคล้ายมีเขาโผล่ขึ้นมาทั้งสองข้างคล้ายๆปีศาจจึงเป็นที่มาของชื่อ ปีศาจหนาม นั่นเอง ส่วนใหญ่ผิวตามลำตัวจะมีสีน้ำตาล เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 20 เซนติเมตร มีอายุอยู่ได้ราวๆ 15-20 ปี โดยตัวเมียจะมีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย พบว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบตอนกลางและตะวันตกของประเทศออสเตรเลียโดยมักจะอาศัยอยู่ตามทะเลทรายและป่าละเมาะ

กิ้งก่าหนาม หลบซ่อนตัวจากอันตรายด้วยวิธีไหน?

แม้ว่า กิ้งก่าหนาม จะมีหน้าตาและชื่อเรียกที่ดูน่ากลัวและดุร้ายแต่อันที่จริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเลย มันเป็นสัตว์ไม่มีพิษที่ต้องอาศัยเอาตัวรอดด้วยการพรางตัวให้เข้ากับผืนทรายและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเพื่อซ่อนตัวจากอันตรายต่างๆ โดยสีสันของจะค่อยๆซีดจางลงเมื่อเจออุณหภูมที่ร้อนขึ้นและจะมีสีที่เข้มขึ้นเมื่อเจออากาศหนาวเย็นลง

อาหารและการสืบพันธุ์

เจ้ากิ้งก่าหนามนี้นอกจากจะไม่ดุร้ายแล้วมันยังเป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวไม่ใหญ่และไม่มีพิษอีกด้วย มันจึงชอบการกินมดและแมลงเล็กๆเป็นอาหารซึ่งมันสามารถกินมดได้เป็นพันตัวต่อวันเลยทีเดียว นอกจากนี้ธรรมชาติยังสร้างให้มันมีเกล็ดคล้ายกับลักษณะของเกล็ดมังกร คือมีรูปทรงกรวยมีความแหลมคมเอาไว้ใช้ป้องกันตัวจากศัตรูต่างๆที่อาจจะเข้าจู่โจมมันได้ทุกเมื่อ และมันยังมีวิธีการดื่มน้ำที่แปลกมากเลยก็คือมันสามารถใช้เกล็ดที่ตัวเก็บน้ำผ่านผิวหนังแทนการดื่มน้ำได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นการเก็บน้ำไว้ใต้เกล็ดแล้วให้ผิวค่อยๆดูดซึมเอาน้ำเข้าสู่ร่างกายแทนการดื่มน้ำแบบปกตินั่นเอง นอกจากนี้มันจะมีการวางไข่ในช่วงเดือนกันยายน – ธันวามคม ของทุกปี โดยจะมีการขุดโพรงลึกราวๆ 30 เซนติเมตร เตรียมเอาไว้เพื่อวางไข่ และในการวางไข่แต่ละครั้งก็จะมีไข่ฟักประมาณ 3-10 ฟองขึ้นไป ซึ่งมันจะใช้เวลาในการฟักไข่ 3- 4 เดือน จากนั้นก็จะมีตัวอ่อนฟักออกมาลืมตาดูโลก โดยจะมีแม่คอยดูแลลูกในช่วงวัยอนุบาล เมื่อแข็งแรงแล้วก็จะปล่อยให้ลูกดูแลตัวเองและออกไปสู่โลกกว้างต่อไป