Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน แนะนำ

เต่ายักษ์พินตา หรือเต่ากาลาปากอส สิ่งมีชีวิตที่คงเหลือเพียงแค่ชื่อ

เต่ายักษ์พินตา (Pinta Island Tortoise) เป็นเต่าสายพันธุ์หนึ่งที่อยู่ในเกาะพินตาแห่งหมู่กาลาปากอส ที่ได้ชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งมีนักสำรวจที่ชื่อว่า Rollo Beck ได้ค้นพบเต่าชนิดนี้เป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1906 และไม่สามารถพบเห็นได้ที่ไหนอีกเลย จนกระทั่งต่อมามีผู้ค้นพบเต่ายักษ์พินตาหรือเต่ากาลาปากอส ที่เหลือเพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยตั้งชื่อว่า Lonesome George มีฉายาว่า “จอร์จผู้โดดเดี่ยว” ซึ่งมีอายุร่วม 100 ปี ปัจจุบันจอร์จได้เสียชีวิตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้เต่ายักษ์พินตาจัดเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเต่าชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งเกาะพินตา หมู่กาลาปากอส แต่น่าเสียดายที่จะไม่ได้เห็นเต่าชนิดนี้ตัวเป็น ๆ เสียแล้ว

reptile

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเต่ายักษ์พินตา พี่ใหญ่ที่กินแต่พืชแต่ตัวโตมาก

เต่ายักษ์พินตา อย่างที่รู้กันว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งตัวสุดท้าย “จอร์จ” ตายไปเมื่อปี 2012 ทำให้ไม่มีสัตว์ชนิดนี้หลงเหลืออยู่ เต่าไม่ใช่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างที่หลายคนเข้าใจ จริง ๆ แล้วเป็นสัตว์เลื้อยคลานมีขนาดตัวหลายไซส์ กินพืชเป็นอาหารหลัก มีกระดองห่อหุ้ม และมีผิวหนังที่หนามาก 

ลักษณะสำคัญ

เต่ายักษ์พินตาเป็นเต่าที่มีขนาดมหึมา ความยาวรวมตั้งแต่หัวถึงหางประมาณ 90 เซนติเมตร และมีน้ำหนักที่หนักมากถึง 200 กิโลกรัม มีหัวขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก สามารถยืดของออกจากกระดองได้ยาวเลยทีเดียว มีขาสี่ข้างที่แข็งแรง ลำตัวโค้ง สามารถสังเกตและแยกจากเต่าสายพันธุ์อื่นได้ง่าย

อายุขัย

เต่าสายพันธ์นี้มีอายุที่ยาวนานมากเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อาจมีอายุตั้งแต่หลายสิบปีถึงหลายสิบสองร้อยปี

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดและอาศัยอยู่บนเกาะพินตา (Pinta Island) ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos Islands) ในท้องทะเลแปซิฟิกตอนกลาง หมู่เกาะกาลาปากอสตั้งอยู่ในทวีปเอกเมริกาใต้ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ (Ecuador) และเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติที่ได้รับการป้องกันอย่างเคร่งครัด

reptile1

อาหารการกิน

เต่าชนิดนี้ถึงแม้จะมีขนาดตัวใหญ่อลังการมาก แต่เป็นสัตว์กินพืช โดยจะเป็นพืชต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้น ไม่ว่าจะเป็นไม้พุ่มเล็ก เหง้าพืช หรือหญ้าที่อยู่ตามพื้น ในช่วงเวลาการกินอาหารเต่าจะยืดคอออกจากกระดอง และเล็มใบไม้ใบหญ้ากินอย่างเอร็ดอร่อย

ลักษณะอุปนิสัย

เต่ายักษ์พินตา เป็นสัตว์ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จะไม่มีข้อมูลการศึกษาแน่ชัดในเรื่องของพฤติกรรม แต่ตัวสุดท้ายเจ้าจอร์จที่ตายไปเมื่อปี 2012 จากการสังเกตพบว่าเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนน้อม ชอบอยู่ลำพัง ปรับตัวได้ดีเข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถอาศัยได้บริเวณหนาวเย็น และเป็นเต่าบกจึงหาอาหารกินบนพื้นดิน ไม่สามารถหาอาหารในน้ำได้

สาเหตุการสูญพันธุ์

การขาดแคลนอาหารและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ภาวะฝนตกน้อย และการบุกรุกถิ่นฐานของมนุษย์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าชนิดนี้สูญพันธุ์

reptile2

เต่ายักษ์พินตา สัตว์โลกน่ารักที่หายไปจากเกาะพินตา แห่งหมู่เกาะกาลาปากอส

เต่ายักษ์พินตา เป็นสายพันธุ์เต่าที่เกิดและอาศัยอยู่บนเกาะพินตาในหมู่เกาะกาลาปากอสในทะเลแปซิฟิก มีลักษณะรูปร่างที่ใหญ่และแข็งแรง โดยมีหัวที่ใหญ่กว่าเต่าสายพันธุ์อื่นๆ และเป็นสัตว์ที่กินพืช อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งและหนาวของหมู่เกาะกาลาปากอส อาหารหลักของเต่ายักษ์พินตาเป็นใบพืชเลื้อยคลานต้นเตี้ยตามพื้นดินเพราะกินง่าย เป็นสัตว์ที่มีอายุขัยยาวนาน แต่น่าเสียดายที่ว่าตอนนี้ขึ้นสถานะเป็นสัตว์สูญพันธุ์ไปเรียบร้อยแล้ว หากใครที่อยากเห็นหน้าตาของเต่ายักษ์พินตา สามารถเดินทางไปดูร่างของปู่จอร์จได้ที่พิพิธภัณฑ์ Charles Darwin Foundation ซึ่งตั้งอยู่ในเกาะ Santa Cruz ในหมู่เกาะกาลาปากอส พิพิธภัณฑ์นี้เป็นสถานที่ที่มีการศึกษาและการอนุรักษ์ธรรมชาติของหมู่เกาะกาลาปากอส และเป็นที่อยู่ของศูนย์การศึกษาและความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสิ่งมีชีวิตในหมู่เกาะนี้ animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์บก

กุย สัตว์หน้าตาประหลาดไม่ซ้ำใคร สิ่งมีชีวิตชีวิตที่น่าสงสารสุดรันทด

กุย หรือ ไซกา สัตว์ที่มีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saiga tatarica เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความใกล้เคียงกับแอนิโลป ซึ่งปัจจุบันมันกลายเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์โดยสาเหตุหลักเกิดจากการถูกล่าอย่างหนักหน่วงด้วยฝีมือมนุษย์ เนื่องจากสามารถนำไปปรุงเป็นยา ราคาขายค่อนข้างดีมาก จนทำให้จำนวนประชากรลดลงเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้นพวกมันต้องพบกับชะตากรรมที่โหดร้าย ประวัติศาสตร์ที่น่าสลดใจของกุยในปี ค.ศ. 2015 มีการแพร่ระบาดของโรคร้ายที่ได้คร่าชีวิตกุยที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติไปมากถึง 100,000 กว่าตัว ในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งให้จำนวนประชากรลดลงเกือบครึ่งหนึ่งที่เหลืออยู่ เข้าสู่ขั้นวิกฤตที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์ และการขยายพันธุ์เพื่อให้จำนวนประชากรกลับมาคงเดิมก็ต้องใช้เวลานานเป็นสิบ ๆ ปี นอกจากนั้นภาวะโลกร้อนที่มีความรุนแรงขึ้นในทุกปีก็ส่งผลให้อัตราการตายของพวกมันสูงขึ้นเรื่อย ๆ 

กุย จมูกงวง สัตว์ที่สามารถเปลี่ยนสีขนได้ตามสภาพอากาศ

กุย นอกจากมีหน้าตาที่โดดเด่นแล้ว เนื่องจากว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่มีจมูกงวงขนาดใหญ่ยื่นออกมาคล้ายกับสมเสร็จ ทำให้ดูสะดุดตามาก ๆ สิ่งที่พิเศษคือมันสามารถปรับตัวกับเข้าสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนสีขนได้ตามฤดูกาล โดยจะมีขนสีขาวในช่วงฤดูหนาว ทั้งยังเพิ่มความหนาของขนเพื่อป้องกันอากาศที่หนาวเย็นยะเยือก ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้ และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนขนจะเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลออกเหลือง และมีความยาวที่สั้นลง ขนบาง เพื่อให้ร่างกายสามารถระบายความร้อนได้ดี

ลักษณะโครงสร้างร่างกาย

กุย ลักษณะที่โดดเด่นมากที่สุด คือ จมูกที่มีขนาดใหญ่ เป็นงวงยื่นออกมา และมีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งเอาไว้ใช้ในการหายใจ และช่วยอุ่นอากาศที่หยาวเย็นให้อุ่นมากขึ้น รวมทั้งยังสามารถใช้ในการกรองฝุ่นละอองได้อีกด้วย เมื่อโตเต็มวัยจะมีความสูงประมาณ 60-80 เซนติเมตร ซึ่งตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และมีเขาที่สวยงาม ส่วนตัวเมียจะไม่มีเขา

ถิ่นที่อยู่อาศัย

กุย เป็นสัตว์หายากที่พบได้บริเวณเอเชียตอนกลาง ในแถบประเทศไซบีเรีย มองโกเลีย และจีน

ความสามารถพิเศษ

ถึงแม้จะเป็นสัตว์ที่ใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนบก แต่เชื่อไหมว่าพวกมันว่ายน้ำได้เก่งกาจมาก และเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวสูง สามารถวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความอึดถึกทน เดินไม่รู้เหนื่อย ในแต่ละวันสามารถเดินทางไกลได้มากถึง 80-100 กิโลเมตรต่อวัน 

กุย

อุปนิสัย

กุย เป็นสัตว์บกที่ชอบอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ ซึ่งสัตว์ชนิดนี้มีความว่องไวและตื่นตัวตลอดเวลา อย่าคิดว่าจะล่าได้ง่าย ๆ เพราะวิ่งเร็วมาก แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่อาจพ้นน้ำมือของมนุษย์ สัตว์ชนิดนี้สามารถกินพืชได้หลายชนิด รวมทั้งพืชที่มีพิษก็กินได้ ยิ่งใบหญ้าอ่อน ๆ ชอบมาก เล็มกินเพลินเลยทีเดียว

อายุขัย

จะมีอายุขัยไม่นานเท่าไหร่ประมาณ 6-10 ปี ซึ่งตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุครบ 8 เดือน และตัวผู้อายุครบ 20 เดือน 

กุย หรือ ไซกา สัตว์โลกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

กุย หรือ ไซกานั้น เป็นสัตว์โลกที่แสนน่ารัก ไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยต่อใคร ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช ที่มีลักษณะเด่นตรงจมูกงวงยื่นออกมาใช้สำหรับหายใจ อุ่นอากาศให้อุ่นในช่วงฤดูหนาว และกรองฝุ่นละออง เป็นสัตว์ที่วิ่งเร็วมาก ว่ายน้ำเก่ง และชอบเดินทางไกล มักจะพบอยู่กันเป็นฝูง แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันต้องจัดอยู่ในกลุ่มใกล้เป็นสัตว์สูญพันธุ์ สาเหตุหลักเกิดจากการล่าของมนุษย์เนื่องจากมีความเชื่อของชาวจีนโบราณว่า กุย เป็นยาชั้นเลิศ นำไปปรุงเป็นยาดื่มบำรุงร่างกาย และไม่เพียงเท่านั้นวิกฤติที่นักที่สุดคือการเกิดโรคระบาดที่ทำให้กุยตายเป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 250,000 ตัวเท่านั้น โดยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ที่ยังคงอยู่ ได้แก่ กุยมองโกเลีย (S. borealis) และกุยธรรมดา (S. t. tatarica) ซึ่งตอนนี้ก็พบเจอปัญหาภาวะโลกร้อนที่เป็นตัวการสำคัญทำให้สัตว์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 

animal2you.com

บทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์บก

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ลิงกังมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเทา บริเวณท้องสีขาว

ขนบริเวณกระหม่อมสีดำหรือน้ำตาลเข้มและแผ่ออกเหมือนไว้ผมทรงลานบิน  หางสั้นประมาณ 13-24 เซนติเมตร และมีขนสั้น ขายาว ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราวสองเท่า เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ความยาวหัว-ลำตัวประมาณ 49-56 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 6.2-14.5 กิโลกรัม  เรื่องน่ารู้ของลิงกัง สัตว์โลก ตัวผู้จะมีเขี้ยวแหลมยาวประมาณ 12 มม. ส่วนตัวเมียก็มีเขี้ยวแต่สั้นกว่ามากเพียง 7.3 มม.

animal world1

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง เดิมลิงกังมีสามชนิดย่อย ได้แก่ ลิงกังเหนือ ลิงกังใต้ และลิงกังปาไก

ลิงกังเหนือมีเขตกระจายพันธุ์อยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน ทางใต้สุดจรดแอ่งสุราษฎร์ธานี-กระบี่ ลิงกังใต้มีเขตกระจายพันธุ์ตั้งแต่แอ่งสุราษฎร์ธานี-กระบี่ลงไป เรื่องน่ารู้ของลิงกัง รวมถึงเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ส่วนลิงกังปาไกพบได้เฉพาะในหมู่เกาะปาไกของอินโดนีเซียเท่านั้น ลิงกังอาศัยอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในหลายประเทศ ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ทางใต้ของจีน อินโดนีเซีย(บอร์เนียว กาลิมันตัน สุมาตรา) 

animal world

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง กินผลไม้ ตะวันออกของบังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กั ดูชาเวียดนามมาเลเซีย (แผ่นดินใหญ่) พบในพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนสูงถึง 2,000 เมตร อาศัยในป่าทึบ ส่วนใหญ่เป็นป่าฝนและป่าบึง ฝูงลิงกังประกอบด้วยตัวผู้หลายตัวและตัวเมียหลายตัว สมาชิกตัวเมียเป็นกลุ่มครอบครัวเดียวกัน เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ขนสีน้ำตาล ฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 15-40 ตัว เป็นตัวผู้ราว 5-6 ตัว เรื่องน่ารู้ของลิงกัง สัตว์โลก แต่ละตัวเป็นตัวผู้ที่แยกออกมาจากฝูงที่ตัวเองเกิด 

เมื่อมีตัวผู้ตัวใหม่เข้ามาสู่ฝูง จะมีลำดับชั้นต่ำสุด หลังจากนั้นจึงค่อยต่อสู้เพื่อเลื่อนอันดับตัวเองให้สูงขึ้น ส่วนตัวเมียก็มีลำดับชั้นเช่นกัน ตัวเมียที่อันดับสูงสุดมักมีหลายตัวและเป็นพี่น้องกันที่รักใคร่ปรองดองกัน แม้กลุ่มตัวเมียจะมีอำนาจด้อยกว่าตัวผู้ เรื่องน่ารู้ของลิงกัง สัตว์โลก แต่ก็รวมตัวกันเหนียวแน่นกว่าและอาจร่วมกันต่อสู้กับตัวผู้ที่อันดับต่ำในการแย่งชิงอาหารได้ ลิงกังหากินเวลากลางวัน หากินบนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ พื้นที่หากินกว้าง  และมักย้ายพื้นที่หากินอยู่เสมอ พื้นที่ของแต่ละฝูงมักซ้อนเหลื่อมกัน แต่ลิงกังแต่ละฝูงก็ไม่ค่อยจะมีเรื่องวิวาทในเรื่องเขตแดนมากนัก

animal world2

บทสรุป

เรื่องน่ารู้ของลิงกัง อาหารหลักคือผลไม้ นอกจากผลไม้ยังมีแมลง เมล็ดพืช ใบไม้ เห็ด นก ตัวอ่อนปลวก ปู เป็นต้น เรื่องน่ารู้ของลิงกัง ขนสีน้ำตาล ขณะออกหากินจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 2-6 ตัว บ่อยครั้งที่เข้ามาเก็บกินผลไม้ในสวนของเกษตรกร เมื่อลิงกังบุกรุกถิ่นของคน จะมีการจัดตั้งทหารยามเพื่อเฝ้าระวังคนด้วย animal2you.com

อ่านบทความเพิ่มเติม

Categories
ความรู้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์ปีก

10 อันดับสัตว์สงวน ทำไมถึงต้องสงวนไว้ เคลียร์ทุกคำถามไว้แล้วที่นี่

สัตว์สงวน คือสัตว์ที่ได้ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์หายากตามกฎหมาย พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เป็นได้ทั้งสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อปกป้องเผ่าพันธุ์สัตว์เหล่านี้ให้สามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งจะมีการแก้ไขและอัปเดตรายชื่อสัตว์ต่าง ๆ ตามกฎหมายแต่ละฉบับ จะมีสัตว์ชนิดไหนบ้างที่ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์สงวนของไทย ไปติดตามกันเลย

รวมลิสต์รายชื่อ สัตว์สงวน ของไทย ความรู้รอบตัวที่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ควรรู้

สัตว์สงวน ตามพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ได้กำหนดไว้ว่า สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ซึ่งมีรายชื่อสัตว์สงวนทั้งสิ้น 19 ชนิด เช่น

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (PSEUDOCHELIDON SIRINTARAE)

PSEUDOCHELIDON SIRINTARAE

สัตว์ป่าสงวน ในตระกูลนกนางแอ่น ลักษณะเด่นคือขนสีดำเหลือบเขียว ขนที่สะโพกเป็นสีขาว มาพร้อมกับขนคู่ที่ยื่นเป็นแกนออกมาบริเวณหาง มีสีขาวรอบดวงตา กระจับปากสีเหลืองอมเขียว สัตว์สงวน ที่เคยพบได้ที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม

ละองหรือละมั่ง (CERVUS ELDI)

CERVUS ELDI

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายกวาง โดยละองคือชื่อเรียกเพศผู้ ส่วนละมั่งคือชื่อเรียกของเพศเมีย เป็น สัตว์สงวน ที่ยังพบเห็นได้ในไทย โดยจะมี 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ไทยและพันธุ์พม่า เป็นสัตว์ที่เราเคยได้ยินว่ามีการ ล่าสัตว์สงวน ชนิดนี้ค่อนข้างเยอะจากกลุ่มผู้คนที่แอบลักลอบล่าสัตว์ ทำให้ต้องขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์สงวนตามกฎหมายจนถึงในปัจจุบัน

นกชนหิน (HELMETED HORNBILL)

HELMETED HORNBILL

นกชนหิน หรือนกเงือกชนิดหนึ่ง ที่จะมีจุดเด่นอยู่ที่สันบนปาก ลำตัวใหญ่ จะงอยปากยาว มีขนหาง 1 คู่ที่ยาวกว่าขนหางปกติ ประมาณความยาวตั้งแต่จะงอยจนถึงขนหางคู่นี้ยาวถึง 120 เซนติเมตร เป็นนกที่เหล่านักล่าสัตว์จะนิยมล่าเพื่อเก็บจะงอยมากสลักเพื่อตกแต่งและทำเป็นเครื่องประดับ

นกแต้วแล้วท้องดำ (PITTA GURNEYI)

PITTA GURNEYI

นกสงวนในไทย ขนาดเล็ก ที่มีสีสันสวยงาม เพศผู้จะมีสีน้ำเงินแกมฟ้าเด่นบริเวณหัวและท้ายทอย หน้าผากดำ คอขาว ใต้ปีกสีเหลืองสดใส หางสีฟ้าส่วนเพศเมีย จะมีหัวและท้ายทอยสีน้ำตาล รอบตาสีดำ ส่วนล่างเป็นสีขาวอมเหลืองพาดลายตามขวาง นกหายากพบได้ตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ บริเวณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม จ.กระบี่

นกกระเรียน (GRUS ANTIGONE)

GRUS ANTIGONE

นกขนาดใหญ่ มีความสูงเฉลี่ย 2 เมตร ความยาวช่วงปีกประมาณ 2.5 เมตร สัตว์สงวนไทย ที่อาศัยรวมกันเป็นฝูง หากินตามแหล่งน้ำตื้น ๆ นอกจากขนาดใหญ่จะเป็นลักษณะเด่นของนกชนิดนี้แล้ว ลำคอสีแดงสดที่ยาวออกมาก็เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของนกชนิดนี้ที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ๆ เช่นกัน

แมวลายหินอ่อน (PARDOFELIS MARMORATA)

PARDOFELIS MARMORATA

สัตว์สงวน ขนาดกลางที่อาศัยอยู่ในป่า จุดเด่นอยู่ที่ลายบนลำตัวที่มีลักษณะคล้ายหินอ่อน ขนสีน้ำตาลอมเหลือง หางเป็นพวงขนยาวเด่นชัด มีโอกาสพบเห็นได้ตามป่าดงดิบเทือกเขาตะนาวศรีและป่าแถบภาคใต้ เป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางคืนจึงมีสายตาที่เฉียบคมมากกว่าสัตว์อื่น ๆ เป็นสัตว์ที่นักล่าชอบจับมาทำเป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงขายส่งออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก

ควายป่า (BUBALUS BUBALIS)

BUBALUS BUBALIS

สัตว์ป่า ที่มีลักษณะคล้ายควายบ้าน แต่ใหญ่กว่า ว่องไวกว่า เขาใหญ่กว่าและดุกว่าปกติ เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากการล่าเพื่อนำเขาขนาดใหญ่และสวยงามมาเป็นของตกแต่ง ปัจจุบันพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และตามป่าโปร่ง ทุ่งหญ้าโล่งใกล้แหล่งน้ำ

กวางผา (NAEMORHEDUS GRISEUS)

NAEMORHEDUS GRISEUS

สัตว์สงวน ที่มีโอกาสพบเจอบนยอดดอยม่อนจอง ดอยอินทนนท์และดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ แต่มีความว่องไวในการหลบหนี ทำให้ผู้คนที่เห็นมักจะต้องโชคดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบมาก ๆ มีลักษณะคล้ายแพะ ขนสีเทาหรือน้ำตาล มีแถบดำพาดกลางหลัง มีความยาวลำตัวประมาณ 80-120 เซนติเมตร สูงประมาณ 50-70 เซนติเมตร

พะยูน (DUGONG)

DUGONG

สัตว์ทะเลที่มีโอกาสเป็น สัตว์สูญพันธุ์ โดยมีลักษณะคล้ายแมวน้ำ อ้วนกลม มีครีบหน้าที่ใช้พยุงตัวและขุดหาอาหารจำพวกหญ้าทะเลในแถบชายฝั่งและน้ำตื้น มีจุดเด่นอยู่ที่ฟันคู่หน้าคล้ายงาช้างเพื่อใช้สำหรับต่อสู้และขุดหาอาหาร 

ปลาฉลามวาฬ (WHALE SHARK)

WHALE SHARK

สัตว์หายาก ที่อาศัยอยู่ตามทะเลเขตร้อนและอบอุ่น เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวที่โตเต็มที่มีความยาวสูงสุดถึง 15 เมตร จุดเด่นของฉลามวาฬคือจะมีจุดกลม ๆ สีขาวหรือสีเหลืองกระจายอยู่ตามแนวลำตัว ซึ่งจะเป็นเหมือนเอกลักษณ์ปรำจะตัวที่แตกต่างกันไป เป็นปลาที่นักดำน้ำมีโอกาสพบเจอได้ตามชายฝั่งทะเลของไทยทั้งชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

บทสรุป

สัตว์สงวน ที่ล้มตายและกำลังจะสูญพันธุ์นั้นเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและน่าเสียดาย สัตว์ทุกชนิด ทุกตัวล้วนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ดังนั้นมนุษย์ไม่ควรที่จะเข้าไปคุกคามหรือตามล่าสัตว์เหล่านี้แบบที่เราเห็นข่าว ไม่ว่าจะเป็น นาก หรือสัตว์อื่น ๆ ก็สมควรที่จะได้รับการ อนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อให้สัตว์เหล่านี้ได้ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไป animal2you.com

อ่านบทความเพิ่มเติม

Categories
สัตว์น้ำ สัตว์น้ำเค็ม

กั้งตั๊กแตน สิ่งมีชีวิตสุดแกร่งที่แสนอร่อยใต้ท้องทะเลไทย

กั้งตั๊กแตน เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Mantis shrimps ชื่อวิทยาศาสตร์ Harpiosquilla harpax ซึ่งเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เศรษฐกิจของไทย เนื่องจากบางสายพันธุ์สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารแสนอร่อยได้หลากหลายเมนู คนไทยชอบกินกันมาก ๆ เนื่องจากว่าเนื้อของกั้งตั๊กแตนมีรสชาติที่อร่อย เนื้อนุ่ม สามารถนำมาปรุงอาหารได้โดยที่ไม่เสียรสชาติ จึงทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก กั้งตั๊กแตนมีชื่อวิทยาศาสตร์หลายชื่อขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมัน โดยวันนี้อยากให้ทุกคนทำความรู้จักกับกั้งตั๊กแตนเจ็ดสีที่มีความพิเศษกว่าชนิดอื่น ๆ สวยงามสะดุดตา และมีความลับอันน่าทึ้งที่น่าค้นหา เป็นสิ่งมีชีวิตสุดแกร่งในท้องทะเล

กั้งตั๊กแตนสายพันธุ์ 7 สี ที่สายตาดีที่สุดในโลก แถมยังรัวหมัดหนักดั่งกระสุนปืน

กั้งตั๊กแตนถ้าพูดถึงสายพันธ์ธรรมดากั้งตั๊กแตนทะเลทั่วไปที่เรามักนำมากินเป็นอาหาร อาจจะไม่น่าสนใจเสียสักเท่าไหร่ ดังนั้นวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋ว แต่หมัดหนักที่สุดในโลก มันสามารถออกหมัดได้รัว ๆ อย่างกับยิงปืน มาพร้อมกับระบบสายตาที่ดีที่สุดในโลก การมองเห็นชัดแจ๋วไม่ว่าจะในน้ำทะเลที่เค็มจัด พื้นดิน หรือบนฟ้า ไม่มีสัตว์ชนิดในบนโลกนี้จะตาดีเท่านี้แล้ว

Sea locust crayfish

ลักษณะโครงสร้างพิเศษ

กั้งตั๊กแตนสายพันธุ์เจ็ดสีนี้ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และมันมีความพิเศษกว่ากั้งตัวอื่น ๆ นอกจากความสวยงามของสีสันบนลำตัวที่มีมากถึง 7 สีแล้ว ยังมีดวงตาที่กลมโตกลิ้งได้อย่างอิสระรอบทิศทาง มาพร้อมกับเซลล์รับแสงมากถึง 12 สี จึงทำให้สามารถมองเห็นทุกอย่าง ทุกสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจนยิ่งกว่ากล้องวงจรปิด และที่น่าทึ่งก็คือดวงตาของมันสามารถมองเห็นแสงโพลาไรซ์ได้อีกด้วย 

สัตว์น้ำตัวจิ๋วที่มีหมัดหนักกว่าคน

นอกจากตาจะดีแล้วกั้งตั๊กแตนสายพันธุ์ 7 สีนี้ ยังมีสิ่งที่ทำให้เราชวนทึ้งได้อีก เพราะมันมีหมัดที่เร็วและแรงมาก โครงสร้างขาคู่หน้าที่คล้ายกับกำปั้นของมนุษย์ สามารถใช้จับเหยื่อ และใช้ในการโจมตีกระแทกเหยื่อได้อีกด้วย เชื่อไหมว่ากั้งตั๊กแตน 7 สีสามารถต่อยกระดองหอยแข็ง ๆ แตกได้สบายเพียงใช้เวลาไม่กี่วินาที นักวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่า “แรงดีดของขาคู่หน้าของมันมีแรงมากกว่า 1000 เท่า เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวของมันเอง” พวกเขาเชื่อว่ามันสามารถทำให้กระจกตู้ปลาหนา ๆ แตกได้ง่าย เพียงแค่รัวไม่กี่มัด ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถดีดขาหนาได้รัว ๆ เร็วกว่ากระสุนปืนขนาด .22 มม. ดีดได้มากกว่า 50,000 ครั้ง โดยที่ขาหน้าไม่ได้รับการบาดเจ็บหรือกระทบเทือนใด ๆ เลย เรียกว่าเป็นสัตว์ตัวขนาดเล็ก แต่แข็งแกร่งที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ ขนาดตัวเต็มวัย จะมีขนาดตัวยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เท่านั้น

Sea locust crayfish2

ถิ่นที่อยู่อาศัย

กั้งสายพันธุ์นี้ไม่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำลึก พบได้บริเวณความลึกไม่เกิน 20 เมตร ในแถบอินโต-แปซิฟิก บริเวณเกาะกวมไปจนถึงแอฟริกาตะวันออก ส่วนในประเทศไทยเองก็สามารถพบได้ในทางฝั่งอ่าวไทย และพบมากที่สุดในฝั่งทะเลอันดามัน

บทสรุป

กั้งตั๊กแตน อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าเป็นสัตว์ทะเลที่มีหลากหลายชนิด และสามารถพบได้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมกินกัน แต่ไม่ได้หากินง่ายเท่ากับพวกกุ้ง กั้งตั๊กแตน ราคาจะค่อนข้างแรงมาก ซึ่งอาจจะราคาพุ่งสูงไปที่กิโลกรัมละ 1,200 บาท เลยทีเดียว ถึงแม้จะแพงแต่รับรองว่าคุ้ม เพราะเนื้อรสชาติดี ทำอาหารได้หลากหลายเมนู นอกจากสายพันธุ์ที่กินกันทั่วไปแล้ว ยังมีอีกสายพันธุ์หนึ่งที่สวยงาม

และมีความพิเศษมาก ๆ ก็คือกั้งตั๊กแตนสายพันธุ์ 7 สี เป็นสิ่งมีชีวิตที่ระบบตายอดเยี่ยมยอดมาก ทัศนียภาพกว้างขวาง และการมองเห็นชัดแจ๋วในทุกสิ่งแวดล้อม ทีเด็ดของมันคือมีขาคู่หน้า ที่เปรียบเสมือนกับกำปั้น ซึ่งแข็งแรงมาก ต่อยหนักรัว ๆ กระสุนปืนยังแพ้ ไม่น่าเชื่อเลยว่าสิ่งมีชีวิตตัวเล็กขนาดความยาวไม่ถึง 20 เซนติเมตร จะมีหมัดที่หนักทำให้กระดองหอย หรือกระจกตู้ปลาแตกได้สบาย ๆ เรียกได้ว่ากั้งตั๊กแตนสายพันธุ์เจ็ดสีนี้ เป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล ที่แข็งแกร่งไร้เทียมทาน หาตัวเปรียบได้ยากมาก animal2you.com

บทความเพิ่มเติม