Categories
ความรู้ แมลง

แมงมุมพอลทิส แมงมุมเอเลี่ยนเซียนในการพลางตัว

ความรู้

     เจ้าแมงมุมพอลทิส ( Poltys Spider ) เป็นสัตว์ในจำพวกแมลงที่ถูกจัดให้อยู่ในวงศ์แมงมุมใยกลม ( ARANEIDAE ) ถูกพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1843 โดย คาร์ล ลุดวิก โคช นักกีฏวิทยาชาวเยอรมัน แต่ข้อมูลยังไม่มีความชัดเจนมากนักเนื่องจากสัตว์สายพันธุ์นี้มีหลากหลายชนิดและมีลักษณะที่แตกต่างกันทำให้การเก็บข้อมูลในเชิงลึกทำได้ยากและต้องใช้เวลา กระทั่งได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ขึ้นมาใหม่ 

     โดยในเดือนเมษายน ปี 2019 ได้มีการเปิดเผยข้อมูลพบว่าสามารถแยกชนิดของแมงมุมพอลทิสได้มากถึง 43 สายพันธุ์ ซึ่งเจ้าแมงมุมชนิดนี้จะมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกับเอเลี่ยนในภาพยนตร์ที่เราเคยดูกัน และในแง่ของการพลางเจ้าตัวแมงมุมสายพันธุ์นี้ก็จัดว่าขั้นเทพเลยทีเดียว

ลักษณะทั่วไปของแมงมุมพอลทิส 

     ปัจจุบันสามารถแบ่งแมงมุมชนิดนี้ออกเป็น 43 สายพันธุ์ ในแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป มักจะพบได้ตามป่าฝนทั้งในแอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ซึ่งในเอเชียจะเป็นในแถบมณฑลยูนาน ประเทศจีน เวียดนาม มาเลเซีย ไทย ฯลฯ

     ลักษณะรูปร่างของแมงมุมพอลทิสจะมีรูปร่างคล้ายใบไม้ มีขาสีน้ำตาล 8 ขา ยาวแก้งก้างเอาไว้เกาะกิ่งไม้ ส่วนขามีขนสีขาวสั้นและบางขึ้นปกคลุม มีหางยาวห้อยมาทางด้านหลัง หางมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม แผ่นหลังมีสีเขียวสดเหมือนใบไม้สด ส่วนท้องมีสีน้ำตาลคล้ายใบไม้แห้งซึ่งเหมาะสำหรับการพรางตัวเป็นใบไม้อย่างมากและแมงมุมตัวผู้จะมีขนาดขาที่ยาวกว่าตัวเมีย ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้สามารถชักใยรัดตัวเมียในขณะผสมพันธุ์ได้และป้องกันการโดนตัวเมียกัดกินขณะผสมพันธุ์ ยิ่งตัวผู้มีขนาดตัวใหญ่มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์มากเท่านั้น

การดำรงชีวิตของแมงมุมพอลทิส

     แมงมุมพอลทิสถูกจัดให้อยู่ในวงศ์แมงมุมใยกลม ( ARANEIDAE ) แมงมุมสายพันธุ์นี้จะพักผ่อนและหลบซ่อนตัวในเวลากลางวันและออกล่าหาอาหารในเวลากลางคืน โดยจะชักใยเอาไว้เพื่อดักจับแมลงและสัตว์ขนาดเล็กที่ผ่านไปมา อาหารที่ชื่นชอบจะเป็นจำพวกแมลงเม่า , ปลวก , หนอน , ด้วง , ผีเสื้อ , แมลงวัน , แมงมุมชนิดอื่น และแมลงต่าง ๆ เมื่อออกหาอาหารจนอิ่มท้องแล้วในช่วงใกล้สว่างก็จะรีบทำลายใยที่ทำไว้ดักเหยื่อทิ้งไปแล้วกลับไปพรางตัวเป็นใบไม้อย่างแนบเนียนตามเดิม

     ด้วยสีสันที่คล้ายใบไม้และมักจะชอบห่อตัวเหมือนใบไม้จึงทำให้มันสามารถอำพรางตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติได้อย่างแนบเนียน ช่วยให้รอดจากนักล่าทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการจะมองหาตัวของมันจำเป็นที่จะต้องอาศัยการสังเกตอย่างมากจึงจะสามารถมองเห็นได้ โดยส่วนใหญ่แล้วพวกมักจะทำรังอาศัยอยู่ตามต้นไม้เพื่อพรางตัว

     แม้ว่าแมงมุมพอลทิสจะเป็นแมงมุมมีพิษแต่ก็ไม่ได้มีนิสัยดุร้าย อีกทั้งพิษของมันก็ไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์ เหล่านักเดินป่าจึงไม่ต้องกังวลว่าจะโดนกัดจนได้รับอันตรายและไม่แน่ว่าเดินป่าอยู่ดี ๆ เราอาจจะได้พบเจ้าแมงมุมสายพันธุ์นี้ก็ได้

 

 

สมัครแทงบอล

Categories
ความรู้ สัตว์บก

หมาจิ้งจอกหูค้างคาว เจ้าตัวจิ๋ว ตาแป๋ว หน้าขาว หูตั้ง

ความรู้

       หมาจิ้งจอกหูค้างคาว ( Bat-eared Fox ) เป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็กที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนา ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาและแอฟริกาตะวันออก มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Otocyon megalotis จัดอยู่ในวงศ์ CANIDAE และเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงหนึ่งเดียวที่ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Otocyon ซึ่งสามารถแบ่งหมาจิ้งจอกสายพันธุ์นี้ออกเป็น 2 ชนิด คือ

-O.m. canescens อาศัยอยู่ในแถบเอธิโอเปีย, โซมาเลีย, เคนยา, แองโกลา, แทนซาเนีย

-O.m. megalotis อาศัยอยู่ในทางตอนใต้ของแซมเบีย, บอตสวานา, นามิเบีย , แอฟริกาใต้

ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกหูค้างคาว

       ขนาดตัวของหมาจิ้งจอกหูค้างคาวจะมีความยาวตั้งแต่หัวจรดปลายหางเฉลี่ยแล้วประมาณ 55 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเต็มที่ประมาณ 3-5 กิโลกรัม มีขนตามลำตัวสีน้ำตาลอมเทา ช่วงขาทั้ง 4 ข้างและปลายหางมีสีน้ำตาลเข้ม-ดำ หางมีลักษณะขนฟูเป็นพวง มีใบหูสีน้ำตาลเข้มขนาดใหญ่ลักษณะชี้ตั้งขึ้นคล้ายกับกูค้างคาวจึงมีประสาทการรับฟังเสียงที่ดีเยี่ยม ตาสีดำกลมโต หน้าเล็ก จมูกเรียงแหลม มีขนสีดำเป็นแนวเส้นลากยาวจากบริเวณช่องว่าระหว่างดวงตาทั้งสองข้างลากยาวมาถึงปลายจมูก ขนบริเวณใบหน้ามีสีขาว การมีฟันกรามบน 3 ซี่ ฟันกรามล่าง 4 ซี่ จึงทำให้สามารถขยับกรามเคี้ยวแมลงได้อย่างรวดเร็ว 

       เป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก อุปนิสัยไม่ดุร้าย หมาจิ้งจอกชนิดนี้จะโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 7-9 เดือน ก็จะเริ่มมีการจับคู่ผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูหนาว ตัวเมียจะให้ลูกได้ครั้งละ 2-5 ตัว แม่สุนัขจะใช้เวลาเลี้ยงลูกของตนนานประมาณ 15 สัปดาห์

วิถีชีวิตของหมาจิ้งจอกหูค้างคาว

       หมาจิ้งจอกหูค้างคาวมีวิถีชีวิตที่เหมือนกันกับหมาจิ้งจอกทั่วไป คือ ชอบการอยู่รวมกันเป็นฝูงซึ่งเจ้าจิ้งจอกสายพันธุ์นี้ชอบที่จะสร้างฝูงขนาดเล็กที่มีสมาชิกเพียง 2-6 ตัวเท่านั้น เป็นครอบครัวเล็ก ๆ ที่อยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่นในทุ่งหญ้าสะวันนาที่กว้างใหญ่ โดยเจ้าจิ้งจอกมักจะสร้างบ้านอันแสนสุขอยู่ในโพรงใต้ดินซึ่งเป็นทั้งที่พักหลับนอนและใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวจากอันตรายด้วย

       นอกจากจะเป็นหมาจิ้งจอกนิสัยรักครอบครัวและรักถิ่นที่อยู่แล้ว หากคุณคิดว่าหมาจิ้งจอกคือนักล่าแสนฉลาด ดุร้าย และเป็นนักล่าเนื้อผู้แคล่วคล่องว่องไวก็อาจจะต้องคิดดูใหม่อีกที เมื่อพบว่าเจ้าจิ้งจอกไซส์มินินี้มีอาหารที่ชื่นชอบและกินเป็นหลัก คือ อาหารประเภทแมลงตัวเล็กตัวน้อย อาทิเช่น ปลวก หนอน สัตว์ฟันแทะชนิดต่าง ๆ และผลไม้บางชนิด เห็นอย่างนี้แล้วก็ทำให้รู้สึกว่าพวกมันรักสันโดษและอาหารของพวกมันช่างตะมุตะมิกว่าหมาป่าที่อยู่ในจินตนาการของเราอย่างมากเลยทีเดียว

       ใบหูใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายกับลักษณะหูของค้างคาวนั้นเป็นที่รวมของเส้นเลือดต่าง ๆ ช่วยระบายความร้อนได้ดีและทำให้มีประสาทการรับเสียงที่ดีมากจนสามารถฟังเสียงคลานของแมลงได้ด้วย ทำให้ออกการหาอาหารจำพวกแมลงในตอนกลางคืนเป็นไปอย่างง่ายดาย ซึ่งในปัจจุบันสถานะของจิ้งจอกสายพันธุ์นี้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์แต่อย่างใด

 

 

เว็บพนันบอล ดีที่สุด

Categories
ความรู้ สัตว์ปีก

นกปักษาสวรรค์ นกที่มีความสวยงามราวกับหลุดออกมาจากแดนสวรรค์

ความรู้

     นกปักษาสวรรค์ ( Bird of Paradise ) หรือ นกการเวก เป็นสัตว์ปีกที่ถูกจัดให้อยู่ในสกุล PARADISAEIDAE พบว่ามีถิ่นอาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนแถบหมู่เกาะนิวกีนี ประเทศออสเตรเลีย และอาจจะพบได้บ้างประปรายในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย สามารถแยกออกได้มากถึง 38 สายพันธุ์เลยทีเดียวสำหรับสัตว์ในสกุลนี้ 

     นกปักษาสวรรค์ในไทยจะเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า นกการเวก ซึ่งตามความเชื่อของไทยเชื่อว่าเป็นสัตว์ในตำนานที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานตที่มมีความศักดิ์สิทธิ์ โดยในอดีตขนนกปักษาสวรรค์ได้ถูกนำมาเสียบประดับบนพระมาลาของกษัตริย์ไทย

     ซึ่งได้มีข้อมูลส่วนหนึ่งระบุว่านกชนิดนี้ได้เคยถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในสภาพไร้ชีวิตในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายนำมาถวายพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ด้วย ( คล้ายว่าจะเป็นในลักษณะของเครื่องบรรณาการอย่างหนึ่ง )

ลักษณะและนิสัยของนกปักษาสวรรค์ นกสวยงามที่ดึงดูดทุกสายตาที่ได้พบเห็น

     นกปักษาสวรรค์จะมีสีสันลวดลายและลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของแต่ละสายพันธุ์ แต่ก็จะมีลักษณะเด่นที่เหมือนกัน คือ ตัวผู้จะมีขนสีสันฉูดฉาดและสวยงามโดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้ที่ได้พบเห็นซึ่งแตกต่างกันกับตัวเมียอย่างมาก โดยตัวผู้จะมีขนหางยาวในลักษณะเส้นโค้งที่มีความอ่อนช้อยสวยงามซึ่งจะโค้งหรือม้วนเป็นรูปทรงแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ที่ต่างกัน 

     ยิ่งในช่วงฤดูที่ต้องแข่งกันเกี้ยวสาวขนนกปักษาสวรรค์ก็ยิ่งมีความสวยงามมากเป็นพิเศษเพื่อใช้ดึงดูดสาว ๆ ให้เข้ามาผสมพันธุ์นั่นเอง และขนที่สวยงามโดดเด่นนี้ไม่ได้ดึงดูดได้เฉพาะนกในสายพันธุ์เดียวกันเท่านั้น แต่ยังสามารถดึงดูดนกตัวเมียต่างสายพันธุ์ได้ด้วย เรียกว่าหว่านเสน่ห์ข้ามสายพันธุ์กันเลยทีเดียว

     นกการเวก มักจะมีแหล่งที่อยู่อาศัยในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีแมกไม้นานาพันธุ์ มีแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ และอาหารที่ชื่นชอบจะเป็นจำพวกผลไม้ ลูกไม้ หนอน หรือแมลงต่าง ๆ โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ส่งเสียงดังเพื่อหาคู่และพูดคุยกัน

การเลือกคู่ การสืบพันธุ์ และการวางไข่ของนกปักษาสวรรค์

     ในขณะที่นกปักษาสวรรค์ตัวผู้ผลัดกันจีบตัวเมียโดนการอวดสีขนสวย ๆ ตัวเมียก็จะเลือกคู่ของตนเองอย่างพิถีพิถัน เมื่อเลือกคู่ได้แล้วก็จะมีการผสมพันธุ์กันเกิดขึ้นซึ่งจะใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นโดยตัวผู้สามารถเปลี่ยนคู่เพื่อผสมพันธุ์ไปได้เรื่อย ๆ 

     หลังจากนกปักษาสวรรค์ หรือ นกการเวกตัวเมียมีการผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ขนาดเล็กภายหลังจากการผสมพันธุ์ จำนวน 2-3 ฟอง โดยไข่นกการเวกจะมีสีน้ำตาลอมส้ม แม่นกจะเฝ้ากกไข่ของตนอยู่เกือบตลอดเวลายกเว้นในช่วงที่ต้องออกไปหาอาหาร ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 20 วัน จึงจะฟักตัวออกมาเจริญเติบโตสู่โลกภายนอกต่อไป

 

 

ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ

Categories
ความรู้ สัตว์เลื้อยคลาน

ทำความรู้จักกับสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตะพาบหัวกบ เจ้าหัวกบที่ชอบกินกบเป็นอาหาร

ความรู้

     ตะพาบหัวกบ ( Southern New Guinea Giant Softshell Turtle ) หรือ ตะพาบน้ำหัวกบ , กริวดาว , กราวเขียว จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในวงศ์ ตะพาบหัวกบชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys bibroni มีถิ่นอาศัยในแถบประเทศจีน อินเดีย อินโดจีน สุมาตรา มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ไทย ฯลฯ โดยในประเทศไทยสามารถพบได้เกือบทุกภาค เช่น ตาก กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ฯลฯ

    ปัจจุบันได้มีการนำมาเพาะขยายพันธุ์กันมากขึ้นและนิยมนำไปเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และหากตะพาบตัวใดปรากฏว่าที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่ตามกระดอง โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนลวดลายและสีสันไปตามวัยจะเรียกกันว่า "กริวดาว"  สามารถพบเจอได้เฉพาะในภาคกลางและภาคตะวันตกของไทย

ลักษณะรูปร่างหน้าตาและนิสัยของเจ้าตะพาบหัวกบ ที่เห็นนิ่ง ๆ แต่ที่จริงแล้วดุใช่เล่น

     ตะพาบหัวกบขนาดรูปร่างมีขนาดใหญ่ โดยจะมีขนาดกระดองยาวเฉลี่ยประมาณ 120 เซนติเมตร น้ำหนักตัวอาจมากถึง 50-90 กิโลกรัมเลยทีเดียว ตัวผู้จะมีลำตัวเรียวยาว-บาง หางยาว ตัวเมียจะลำตัวอ้วนใหญ่ กระดองสาก และหางสั้นกว่าตัวผู้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเขียวและด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน มีตาขนาดเล็ก เท้าเป็นพังผืดติดกัน มีหัวขนาดเล็กและสั้นคล้ายหัวกบจึงเป็นที่มาของชื่อว่า ตะพาบหัวกบ นั่นเอง

     เมื่อยังเล็กเจ้าตะพาบน้ำหัวกบลักษณะทั่วไป คือ กระดองจะมีสีน้ำตาลอมเขียวและมีจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วกระดองและจะจางลงเมื่อเริ่มเจริญเติบโตขึ้น ส่วนสีของตัวจะค่อย ๆ เข้มขึ้นและเปลี่ยนไปตามวัย ซึ่งปัจจุบันสามารถพบตะพาบชนิดนี้ได้น้อยมากด้วยเหตุนี้จึงถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง

     ส่วนนิสัยของตะพาบสายพันธุ์นี้มักจะมีความดุร้าย การเข้าใกล้หรือสัมผัสใกล้ชิดจึงควรต้องใช้ความระมัดระวังกันสักหน่อย ปกติมักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายเพื่อรอให้เหยื่อผ่านมาเมื่อสบโอกาสก็จะพุ่งเข้าจู่โจม ซึ่งอาหารตะพาบหัวกบ ได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ อาทิเช่น กบ เขียด กุ้ง หอย ปู ปลา และพืชบางชนิด

วิถีการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของตะพาบหัวกบ

     ตะพาบหัวกบปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อย ๆ โดยมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2535

     แม้ว่าจะเคยถูกพูดถึงว่าสูญพันธุ์มาแล้วในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ก็ได้มีการเร่งเพาะพันธุ์ขึ้นมาจนเริ่มมีประชากรเพิ่มขึ้นบ้างแล้ว การผสมพันธุ์และการวางไข่ของตะพาบน้ำสายพันธุ์นี้ตัวเมียจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และให้ไข่ได้เมื่อมีอายุประมาณปีเศษ และช่วงอายุที่สามารถให้ไข่ได้สมบูรณ์มากที่สุดคือ ช่วงที่มีอายุ 1.8 ปี ขึ้นไป พบว่ามันมักจะวางไข่ตามบริเวณริมแม่น้ำหรือแหล่งน้ำใกล้ ๆ กับที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 

     ตะพาบน้ำเมื่อถึงฤดูวางไข่ตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์กันในน้ำและตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนบกตามเนินทรายที่เหมาะสม มันจะแอบขึ้นมาวางไข่ในช่วงกลางคืนโดยการใช้เท้าขุดหลุมขนาดพอเหมาะและเมื่อวางไข่เสร็จก็จะใช้เท้าเขี่ยดินมากลบฝังเอาไว้อย่างมิดชิดตามเดิม ตะพาบน้ำตัวเมีย 1 ตัว สามารถให้ไข่ได้ 5-7 ฟองต่อ 1 หลุม และตลอดฤดูการวางไข่สามารถให้ไข่ได้ 100-200 ฟอง จะใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 90 วัน เมื่อลืมตาดูโลกเจ้าตัวเล็กจะมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร และทันทีที่ลืมตาดูโลกพวกมันจะวิ่ง 4x100 ลงสู่แหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดทันทีตามสัญชาตญาณการเอาตัวรอดและเจริญเติบโตต่อไป

 

 

ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ

Categories
ความรู้ แมลง

แมลงสาบมาดากัสการ์ เทรนด์สัตว์เลี้ยงแนวใหม่สำหรับคนไม่ชอบเสียงดัง

ความรู้

     ปกติเรามักจะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงจำพวกหมา แมว ปลา หรือสัตว์เลี้ยงน่ารัก ๆ ทั่วไป แต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์แปลกอยู่ด้วย โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้เทรนด์การเลี้ยงสัตว์แปลกกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และสัตว์แปลกที่ได้รับความนิยมอีกชนิดหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย นั่นก็คือ 

     แมลงสาบมาดากัสการ์ ( Giant hissing cockroach , Madagascan giant hissing cockroach , Hissing cockroach , Hisser ) เป็นสัตว์จำพวกแมลงที่อยู่ในวงศ์แมลงสาบยักษ์ ( BLABERIDAE ) หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นกับหน้าตาของแมลงสาบชนิดนี้สักเท่าไหร่นักเพราะปกติแมลงสาบที่เราเห็นนั้นจะมีขนาดที่เล็กกว่านี้มากอีกทั้งยังมีปีกด้วย แต่แมลงสาบมาดากัสการ์ลักษณะจะแตกต่างออกไปทั้งขนาดที่ใหญ่กว่าและไม่มีปีก โดยในกลุ่มคนที่ชอบเลี้ยงสัตว์แปลกในแต่ละประเทศก็เริ่มให้ความนิยมและมีการนำเข้าแมลงสาบสายพันธุ์นี้กันมากขึ้นด้วย ซึ่งนอกจากความแปลกแล้วก็น่าจะเป็นในเรื่องของพื้นที่ในการเลี้ยงที่ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ สามารถจำกัดขนาดตู้ที่ใช้เลี้ยงได้ตามใจชอบและที่สำคัญคือ ไม่ส่งเสียงรบกวนเพื่อนบ้านด้วยนั่นเองค่ะ

ลักษณะและการใช้ชีวิตโดยทั่วไปของแมลงสาบมาดากัสการ์ เจ้าแมลงตัวใหญ่ที่ชอบซุกตัวอยู่ใต้ใบไม้

     แมลงสาบมาดากัสการ์จัดเป็นสัตว์จำพวกแมลงที่มีขนาดตัวใหญ่กว่าแมลงสาบทั่วไปหลายเท่า ซึ่งแมลงสาบมาดากัสการ์ลักษณะที่มีค่อนข้างจะพิเศษกว่าแมลงสาบทั่วไป คือ ไม่มีปีก และเรื่องของขนาดตัวที่ใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลแดง ผิวเป็นมันเงา มีหนวด 2 เส้น อยู่บริเวณส่วนหัว นอกจากนี้ยังเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวเชื่องช้า ไม่มีพิษ ไม่ดุร้าย แต่อาจจะมีเรื่องกลิ่นที่อาจจะฉุนเล็กน้อยตามสไตล์แมลงสาบบ้าง

แมลงสาบมาดากัสการ์ใช้ชีวิตยังไง ?

     แมลงสาบมาดากัสการ์มักจะชอบอาศัยอยู่ตามใต้ซากใบไม้ ท่อนไม้ และตามซอกหลืบต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์จำพวกนี้อยู่แล้ว ในส่วนของอาหารที่สัตว์ชนิดนี้ชื่นชอบก็จะเป็นเศษซากผลไม้หรือใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมา แต่ก็อาจจะสามารถกินอาหารได้หลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย โดยธรรมชาติเป็นสัตว์ที่ชอบออกหากินในเวลากลางคืน กลางวันมักจะพักผ่อนและหลบซ่อนตัวอยู่ใต้ซากใบไม้หรือตามซอกหลืบทั่วไป 

การสืบพันธุ์ของแมลงสาบมาดากัสการ์ที่น่าทึ่ง

     เมื่อแมลงสาบมาดากัสการ์ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และมีการผสมพันกับแมลงสาบมาดากัสการ์ตัวผู้ ตัวเมียจะวางไข่จำนวนมากลงในถุงไข่ และจะถูกนำไปดูแลโดยการเก็บเอาไว้ในลำตัวนานประมาณ 60 วัน จากนั้นไข่จะเริ่มฟักเป็นตัวอ่อนออกมา ทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าแมลงสาบออกลูกมาเป็นตัว โดยเจ้าแมลงสาบมาดากัสการ์ออกลูกได้ครั้งละประมาณ 30-60 ตัว ซึ่งตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะมีลักษณะที่เหมือนกันกับตัวที่โตเต็มวัยแล้ว ต่างกันเพียงขนาดที่เล็กกว่าเท่านั้น 

     แมลงสาบมาดากัสการ์ที่เพิ่งทำการลอกคราบใหม่จะมีสีขาวและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีปกติภายในเวลา 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งนี้ตัวอ่อนจะต้องทำการลอกคราบให้ได้ครบ 6 ครั้ง จากนั้นจึงจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และสืบพันธุ์ต่อไปได้

     อย่างไรก็ตามแมลงสาบสายพันธุ์นี้ได้เคยมีข่าวว่าอาจจะเป็นพาหะเนื่องจากพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียที่แฝงตัวอยู่ในแมลงสาบยักษ์นี้มากถึง 45 ชนิด ซึ่งนั่นก็อาจเป็นสาเหตุเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคมาสู่คนได้ จึงต้องใช้ความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณด้วยค่ะ

 

 

เว็บบอล

Categories
ความรู้ แมลง

ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ สัตว์ที่ทำให้รู้ว่าเป็นแมลงก็ไม่ได้แปลว่าต้องอ่อนแอ

ความรู้

ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ ( Devil ’ s Flower Mantis )

          ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ ( Devil ’ s Flower Mantis ) เป็นแมลงอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ที่อยู่ในวงศ์แมลงตำข้าวดอกไม้ด้วยกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Idolomantis diabolica สามารถพบตั๊กแตนตำข้าวสายพันธุ์นี้ได้ในแถบแทนซาเนีย เอธิโอเปีย มาลาวี โซมาเลีย เคนยา และยูกันดา 

          ปัจจุบันตั๊กแตนตำข้าวสายพันธุ์นี้ได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักที่กำลังได้รับความนิยมกันในกลุ่มคนที่ชอบนำสัตว์แปลก ๆ มาเป็นสัตว์เลี้ยงทั่วโลกอีกด้วย แต่เนื่องจากตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจนิสัยค่อนข้างดุใครที่สนใจอยากนำมาเลี้ยงแนะนำให้ศึกษาข้อมูลก่อนนำมาเลี้ยงนะคะ

มาทำความรู้จักหน้าตาตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจกันบ้าง !

ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ ( Devil ’ s Flower Mantis )

          ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจเป็นตั๊กแตนที่มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดในบรรดาตั๊กแตนตำข้าวทั้งหมด ลำตัวมีเขียว-ขาว-แดง ปะปนกันไป ตัวเมียมีขนาดตัวยาวได้มากถึง 13 เซนติเมตร ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ตัวผู้มีขนาดเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น ลักษณะของตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจที่สามารถสังเกตได้อีกก็คือ หน้าตาที่ดูแปลกประหลาดคล้ายปีศาจจึงเป็นที่มาของชื่อนั่นเอง และนอกจากนี้บริเวณแผ่นอกก็จะมีเปลือกแข็ง ๆ แผ่ออกมาด้านข้างทั้งสองข้าง มีสีสันและลวดลายที่หลากหลาย รวมถึงบริเวณท้องของตัวผู้จะมีลักษณะเป็นข้อปล้อง มีจำนวน 8 ปล้อง แต่ตัวเมียจะมี 6 ปล้อง 

          ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจนิสัยค่อนข้างดุใครที่คาดหวังความอ่อนหวานน่ารักจากเจ้าตัวนี้คงไม่จะไม่มีแน่นอน เมื่อรู้สึกถึงอันตรายหรือการถูกคุกคามมันมักจะชูสองขาหน้าขึ้นสูงเพื่อเตรียมป้องกันตัว ดูไปแล้วก็จะคล้าย ๆ กับนักมวยตั้งการ์ดขึ้นเตรียมชกยังไงยังงั้นเลยล่ะ 

การใช้ชีวิตและการขยายพันธุ์ของตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ

ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจ ( Devil ’ s Flower Mantis )

          ตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจเป็นอีกหนึ่งสัตว์นักล่าที่จะประมาทไม่ได้เลยทีเดียว โดยอาหารตั๊กแตนตำข้าวดอกไม้ปีศาจจะเป็นจำพวกสัตว์และแมลงต่าง ๆ ที่สามารถล่ามาได้ ในการหาอาหารของเจ้าตั๊กแตนตำข้าวสายพันธุ์นี้จะใช้วิธีการอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับดอกไม้และซุ่มอยู่เงียบ ๆ เมื่อเหยื่อผ่านมามันจะพุ่งตัวเข้าจู่โจมทันที เมื่อมีการผสมพันธุ์กันตัวเมียจะวางไข่ที่มีลักษณะเป็นแนวยาวระนาบไปกับพื้นผิว โดยไข่จะมีสารห่อหุ้มอยู่ด้วยเพื่อป้องกันไข่จากศัตรูที่จะมาทำลายไข่ ในการวางไข่แต่ละครั้งตัวเมียสามารถให้ไข่ได้ประมาณ 40 ฟอง หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ไข่จึงจะมีการฟักตัวอ่อนออกมา ซึ่งในช่วงแรกที่ฟักตัวออกมาตัวอ่อนจะมีสีผิวสีแดงแต้มด้วยสีขาวประปรายและจะค่อย ๆ เปลี่ยนสีไปจนเป็นสีปกติ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จึงจะย้ายถิ่นที่อยู่เพื่อขยายเผ่าพันธุ์ต่อไป

 

 

บาคาร่าฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ สัตว์บก

เกรินุก แอนทิโลปคอยีราฟ สัตว์คอยาวที่น่าสนใจในป่าเคนย่า

ความรู้

         เกรินุก ( Gerenuk , Waller ’ s gazelle , Giraffe-necked antelope ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Litocranius ที่เมื่อมองเผิน ๆมีความคล้ายกับยีราฟเนื่องจากมีคอที่ยาวเหมือนคอยีราฟนั่นเอง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า แอนทิโลปคอยีราฟ หรือ วอลเลอส์กาเซลล์ เป็นสัตว์ในวงศ์ใหญ่ BOVIDAE และวงศ์ย่อย ANTILOPINAE โดยจะมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Litocranius walleri ถูกค้นพบในทวีปแอฟริกา ซึ่งปัจจุบันสามารถพบได้ที่เขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู ในประเทศเคนย่า 

ลักษณะ นิสัย และสถานะของเกรินุก 

         เกรินุก หรือ แอนทิโลปคอยีราฟ เจ้าสัตว์ตาสวยมีหน้าตาที่ใกล้เคียงกับกวาง ทั้งความมุ้งมิ้งและดวงตาสวยกลมโตนั้น โดยจะมีใบหูยาวลักษณะชี้กางออก มีแนวขนเป็นเส้นสีดำขึ้นบริเวณใบหูด้านใน มีขายาว-คอยาวคล้ายยีราฟ มีขนสีน้ำตาลบริเวณลำตัว ท้องมีขนสีขาว และมีขนสีน้ำตาลแดงเข้มบริเวณแผ่นหลัง มีลักษณะการกินอาหารที่แปลกแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน นั่นก็คือ มักจะยืนสองขาเพื่อเขย่งขึ้นใช้ปากแทะกัดเล็มกินใบไม้-ยอดไม้ในที่สูงซึ่งก็จะคล้ายกันกับท่าทางการกินอาหารของยีราฟนั่นเอง

         เกรินุกตัวผู้จะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 45 กิโลกรัม มีเขาโค้งสวยงาม มีความพิเศษอีกอย่างคือ จะมีต่อมสร้างกลิ่นได้ตลอดเวลาโดยมักจะสร้างกลิ่นตลอดเวลาที่เดินไปยังสถานที่ต่าง ๆ 

         เกรินุกตัวเมียมีน้ำเฉลี่ยประมาณ 33 กิโลกรัม ไม่มีเขา รูปร่างมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ชัดเจน เมื่อโตเต็มวัยสัตว์ชนิดนี้สามารถสูงได้ราว ๆ 85 เซนติเมตร – 1 เมตร มีอายุขัยอยู่ได้ประมาณ 10-12 ปี ( โดยเฉลี่ย ) 

วิถีชีวิตและการสืบพันธุ์ของเกรินุก

         เกรินุก เป็นสัตว์กินพืชที่มีลักษณะทั่วไปเหมือนสัตว์ในวงศ์เดียวกัน แต่จะต่างออกไปเล็กน้อยตรงที่มีช่วงลำคอที่ยาวและช่วงขาที่ยาวมากเป็นพิเศษ มักจะอยู่กันเป็นฝูงขนาดเล็กโดยจะมีสมาชิกในฝูงประมาณ 2-6 ตัวเท่านั้น เกรินุกนิสัยในการหาอาหารคือ จะชอบออกหากินในเวลากลางวัน อาหารที่ชอบจะเป็นจำพวกใบไม้ในที่สูง โดยมักจะออกหากินตลอดทั้งวัน กินได้เรื่อย ๆ ในช่วงหน้าหนาวมักจะออกหากินในบริเวณใกล้ ๆ กับถิ่นที่อยู่เพื่อประหยัดพลังงาน 

         เกรินุกตัวผู้และเกรินุกตัวเมียสามารถสืบพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 1 ปี และเมื่อตัวผู้มีอายุได้ 1ปีครึ่ง โดยจะใช้เวลาในการตั้งท้องประมาณ 7 เดือน สามารถให้ลูกได้ครั้งละ 1 ตัว ด้วยความที่สามารถให้ลูกได้เพียงครั้งละ 1 ตัว อีกทั้งใช้เวลาในการอุ้มท้องนานจึงทำให้ประชากรของแอนทิโลปคอยีราฟค่อนข้างน้อย เมื่อกลายเป็นผู้ถูกล่าจึงยิ่งทำให้จำนวนลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้วในปัจจุบัน

 

 

คาสิโนออนไลน์ฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ สัตว์น้ำ

ปลาเพนกวิน ปลาสวยงามตัวจิ๋วที่มาพร้อมความวิววับโดดเด่นสะดุดตา

ความรู้

      ปลาเพนกวิน ( Boehlke’s penguin ) เป็นปลาขนาดเล็กที่มีความสวยงามเฉพาะตัว มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Thayeria boehlkei Weitzman , 1957 โดยปลาสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ 

      ปลาเพนกวินลักษณะทั่วไปจะมีขนาดเล็ก โดยจะมีขนาดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-8 เซนติเมตร มีแถบสีดำลากยาวเป็นแนวนอนจากส่วนเหงือกไปจรดส่วนปลายหาง บริเวณหลังมีสีเหลืองทอง มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นมันวาว ส่องแสงระยิบระยับเมื่อต้องกับแสง มีครีบบน-ล่าง บริเวณกลางลำตัว 2 ครีบ และมีดวงตาสีดำ ด้วยลักษณะและสีสันโดยรวมทำให้เวลาแหวกว่ายไปมามีความโดดเด่นสะดุดตามากจึงเป็นเหตุให้มีคนสนใจนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงามประดับตามบ้านเรือนและตามสถานที่ต่าง ๆ 

ลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของปลาเพนกวิน 

p>      ปลาเพนกวินลักษณะนิสัยโดยธรรมชาติมักจะชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงและชอบกระโดด เมื่อนำไปเลี้ยงผู้เลี้ยงจึงควรเลี้ยงรวมกันในจำนวน 5-6 ตัว ขึ้นไป และควรเลือกตู้ปลาที่มีฝาปิดด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ปลากระโดดออกนอกตู้ รวมถึงไม่ควรเลี้ยงในที่ที่มีแสงสว่างมากเกินไปเพราะปลาชนิดนี้ชอบอยู่ในที่ค่อนข้างมืดหรือแสงน้อย หากแสงมากเกินไปจะทำให้ปลาตกใจได้ง่าย นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรเลือกเลี้ยงปลาเพนกวินในน้ำใสสะอาดที่มีปริมาณความจุไม่ต่ำกว่า 80 ลิตร และมีความเป็นกรดเล็กน้อยด้วย

      ปลาเพนกวินนิสัยที่เป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งก็คือ มักจะทรงตัวอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับผิวน้ำและชอบว่ายน้ำ มีความรวดเร็ว ว่องไว โดยการว่ายน้ำมักจะเชิดหัวขึ้นด้านบนลักษณะเหมือนเชิดหน้าทำท่าหยิ่งอยู่แทบจะตลอดเวลาจึงมักจะถูกเรียกเชิงประชดว่าเป็นปลาผู้ดี 

การขยายพันธุ์ของปลาเพนกวิน

      เนื่องจากปลาเพนกวินเพศผู้และเพศเมียมีความคล้ายคลึงกัน ในช่วงเวลาปกติจึงแยกเพศค่อนข้างยาก แต่หากเป็นช่วงผสมพันธุ์เราสามารถสังเกตได้จากลักษณะของตัวปลา โดยปลาเพนกวินตัวเมียจะมีลักษณะอ้วนกลม สั้นป้อม และมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าปลาเพนกวินตัวผู้ชัดเจน ทั้งนี้ก็เพื่อการผสมพันธุ์และวางไข่นั่นเอง เมื่อจบช่วงฤดูวางไข่ปลาเพนกวินตัวเมียก็จะกลับมามีรูปร่างสวยงามและสมส่วนตามเดิม

      การเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ทำได้ไม่ยาก โดยการปล่อยปลาตัวเมีย 4-5 ตัว ต่อปลาตัวผู้ 1 ตัวให้อยู่รวมกัน เหตุที่ทำเช่นนี้ก็เพราะช่วยให้ปลาตัวผู้ไม่ต้องต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวเมีย และการที่ให้มีปลาตัวเมียหลายตัวก็เพื่อให้ตัวผู้เลือกผสมพันธุ์กับปลาตัวเมียที่ร่างกายพร้อมผสมพันธุ์ ซึ่งปกติแล้วปลา 1 คู่ สามารถผสมพันธุ์กันและให้ลูกปลาได้มากถึง 2,000 ตัว ในเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น

      สังเกตว่าเมื่อปลาเพนกวินตัวเมียพร้อมผสมพันธุ์จะมีปลาเพนกวินตัวผู้ว่ายมาไล่รัดอยู่ตลอดเวลา และเมื่อปลาตัวเมียไข่แก่พร้อมวางไข่ปลาตัวผู้ก็จะว่ายน้ำไปผสมน้ำเชื้อ โดยมักจะมีการวางไข่ในช่วงรุ่งเช้าและจะใช้เวลาในการฟักออกเป็นตัวประมาณ 2-3 วัน เมื่อฟักออกมาเป็นตัวได้ประมาณ 4-5 วัน ลูกปลาก็จะเริ่มว่ายน้ำได้เองและว่ายได้คล่องขึ้น เมื่ออายุครบ 1 เดือน จะเริ่มมีลวดลายปรากฏให้เห็นชัดขึ้น 

 

 

เว็บบาคาร่าฝากถอนไม่มีขั้นต่ํา

Categories
ความรู้ สัตว์บก

แมนวูฟ หมาป่าเคราขาว ขายาว มาดเท่ ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์

ความรู้

      แมนวูฟ หรือ หมาป่าเคราขาว ( Maned wolf ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีหน้าตาคล้ายสุนัขจิ้งจอก โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Chrysocyon brachyurus เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในวงศ์สุนัข ( CANIDAE ) ถูกพบในทวีปอเมริกาใต้ ในแถบประเทศบราซิล ประเทศปารากวัย และประเทศโบลิเวีย

      แมนวูฟลักษณะท่อนบนจะมีความคล้ายคลึงกับสุนัขจิ้งจอกแต่รูปร่างโดยรวมใหญ่กว่าสุนัขจิ้งจอกค่อนข้างมากเลยทีเดียว ยิ่งเมื่อมองช่วงท่อนขาที่ยาวนั้นก็ยิ่งสูงใหญ่แตกต่างจากขนาดของสุนัขจิ้งจอกอย่างมาก โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 20-25 กิโลกรัม มีความสูงที่วัดจากหัวไหล่ถึงเท้าประมาณ 3 ฟุต ตามลำตัวมีขนสีน้ำตาลอมแดง แผงคอด้านหลังไปจนถึงกลางหลังมีขนสีดำ ขาช่วงล่างไปจนถึงเท้ามีขนสีดำ บริเวณใบหน้าจากปลายจมูกถึงขอบตาล่างมีขนสีดำ ใต้คางและใบหูด้านในมีขนสีขาว หางยาวเป็นพวงขนสีน้ำตาลอมแดงปลายหางขนมีสีขาว มีใบหูตั้งขนาดใหญ่

นิสัยของแมนวูฟ หมาป่าที่ไม่ชอบอยู่เป็นฝูง

      แมนวูฟนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว เมื่อรู้สึกตื่นตระหนกหรือรู้สึกว่ามีภัยคุกคามมักจะส่งเสียงขู่และขนแผงหลังชูชันขึ้น แมนวูฟมีนิสัยชอบปลีกวิเวกอาศัยอยู่ลำพังและไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ในตระกูลหมาป่าทั่ว ๆ ไปที่มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ 

      หมาป่าเคราขาวเป็นสัตว์ที่หวงแหนถิ่นที่อยู่อาศัยมากหากโดนรุกล้ำอาณาเขตเมื่อไหร่เป็นต้องได้เห็นดีกัน โดยมันจะรีบขับไล่แขกที่ไม่ได้รับเชิญออกไปให้ไกลในทันที ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่ตื่นตระหนกง่าย ขี้ระแวง และเฝ้าระมัดระวัง ทำให้ค่อนข้างเข้าถึงยาก อีกทั้งการมีใบหูขนาดใหญ่ประกอบกับขนาดความสูงของตัวจึงทำให้มันรับรู้เสียงและความผิดปกติต่าง ๆ ทั้งระยะใกล้และไกลได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้มันยังมีกลิ่นปัสสาวะที่รุนแรง ( ว่ากันว่ากลิ่นคล้ายกับกลิ่นกัญชา ) โดยมันจะใช้การปัสสาวะทำเป็นเครื่องหมายบ่งบอกอาณาเขตของตนด้วย

วิถีชีวิตของแมนวูฟ หมาป่ารักสันโดษ

      แมนวูฟชอบที่จะอาศัยอยู่เพียงลำพังตัวเดียวหรืออยู่เพียงกับคู่รักของตัวเองเท่านั้น แมนวูฟสืบพันธุ์และมีครอบครัวเช่นเดียวกันกับสัตว์ในวงศ์สุนัขทั่วไป เป็นสัตว์ที่รักความสงบ ไม่ชอบอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ ซึ่งปกติเรามักจะเห็นว่าหมาป่าหรือหมาจิ้งจอกมักจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวฝูงใหญ่ ออกล่าเป็นฝูง รวมถึงมีการเลือกตัวที่แข็งแกร่งที่สุดให้เป็นจ่าฝูงด้วย แต่สำหรับแมนวูฟนั้นจะออกหาอาหารเพียงลำพังโดยมีเป้าหมายเป็นสัตว์ที่มีขนาดปานกลางจำพวกนก หนู งู กระต่าย และมักจะออกล่าเหยื่อในช่วงกลางคืน ในช่วงเวลากลางวันมันจะนอนพักผ่อนและเฝ้าระวังที่อยู่อาศัย แต่ถึงแม้ว่าจะเฝ้าระวังสักเพียงใดมันก็ยังคงถูกคุกคามทั้งจากสัตว์ด้วยกันและจากฝีมือมนุษย์จนทำให้หมาป่าเคราขาวขณะนี้ตกอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

 

สมัครบาคาร่า888

Categories
ความรู้ แมลง

แมลงทับ สัตว์ที่ใช้เวลาการฟักตัวนานถึงสองปี แต่กลับมีชีวิตเพียงสองสัปดาห์

ความรู้

       แมลงทับ จัดเป็นแมลงปีกแข็งที่อยู่ในวงศ์ Buprestidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Buprestidae มีลักษณะลำตัวรูปทรงโค้งนูน มีปีกแข็งมาก มีหัวขนาดเล็ก บริเวณช่วงปลายหางมีลักษณะเรียว มีหนวดที่เป็นแบบใบไม้ 

       ลักษณะเด่น คือ ตัวแมลงทับมีสีสันสวยงาม ซึ่งแมลงทับจะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแต่ละชนิดจะมีสีสันแตกต่างกันออกไปซึ่งความสวยงามนี้จะมีความแวววาวราวกับอัญมณี ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำเงิน แดง ดำ เขียว และเหลือง จึงทำให้ถูกนำมาทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มากมายมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

       พบว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบบริเวณพื้นที่เขตร้อนและเขตอบอุ่น ปัจจุบันถูกค้นพบมากกว่า 15,000 ชนิด ใน 450 สกุล ยังไม่รวมกับที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วจนกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์กว่า 100 ชนิดโดยบางชนิดมีความยาวมากถึง 77 มิลลิเมตรเลยทีเดียว

การดำรงชีวิตและวิธีการเอาตัวรอดของแมลงทับ

       แมลงทับเป็นแมลงปีกแข็งที่สามารถบินได้เร็วและบินสูงมาก เมื่อเทียบกับแมลงชนิดอื่น ๆ และเมื่อถูกรบกวนจะมีการแกล้งตายเพื่อให้ปลอดภัย โดยการทำตัวนิ่ง ๆ อยู่เฉย ๆ หรือทำตัวให้ร่วงหล่นลงจากต้นไม้ที่เกาะอยู่เพื่อลวงให้ศัตรูตายใจคิดว่าตายแล้ว 

       ในประเทศไทยสามารถพบได้ 2 ชนิด คือ แมลงทับกลมขาเขียว ( Sternocera aequisignata ) สายพันธุ์นี้พบได้มากในบริเวณเขตภาคกลางและอีกสายพันธุ์หนึ่งก็คือ แมลงทับกลมขาแดง ( S. ruficornis ) สายพันธุ์นี้สามารถพบได้มากในโซนภาคอีสาน 

       ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้เป็นประเภทที่ชอบกินใบอ่อนของมะขามเทศ มีสีเขียวเหลือบทอง ลักษณะปีกและลำตัวเป็นมันวาว มีความสวยงามมาก ปัจจุบันนี้ได้มีการนำไปใช้ในงานหัตถกรรมชนิดต่าง ๆ ในโครงการของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การจับคู่ผสมพันธุ์กันของแมลงทับ 

       แมลงทับมีเวลาใช้ชีวิตบนดินที่ค่อนข้างสั้น มักจะจับคู่ผสมพันธุ์กันในช่วงเวลากลางวันโดยในการผสมพันธุ์กันจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการเกี้ยวพาราสีของตัวผู้และการยอมรับของตัวเมีย เมื่อมีการผสมพันธุ์กันเสร็จแล้วตัวผู้จะตายลง ส่วนตัวเมียจะทำหน้าที่วางไข่ตามบริเวณโคนต้นไม้หรือต้นพืชที่สามารถกินเป็นอาหารได้ ส่วนมากจะเป็นบริเวณต้นไผ่เพ็กหรือไผ่โจดโดยจะวางไข่ให้ลึกลงไปในดินประมาณ 1-2 เซนติเมตร วันละ 1-2 ฟอง โดยเมื่อแมลงทับตัวเมียวางไข่เสร็จแล้วก็จะตายลงไปด้วยเช่นเดียวกัน

       แมลงทับวางไข่แล้วจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นจะกลายเป็นหนอนในขั้นที่ 1 2 3 และ 4 ระหว่างนั้นก็จะอาศัยกินรากพืชและเหง้าพืชที่อยู่บริเวณใกล้ๆนั้น จนกระทั่งเข้าสู่วัยที่ 5 ก็จะหยุดกินอาหารแล้วก็สร้างปลอกดินหุ้มตัวเองฝังอยู่ในดินลึกลงไปอีก 5-10 เซนติเมตร ซึ่งในวัยสุดท้ายนี้จะฟักตัวเองได้อย่างยาวนานประมาณ 12 ถึง 15 เดือน จึงจะเข้าฝักเป็นดักแด้แล้วก็จะเป็นดักแด้ต่ออีก 2-3 เดือน เมื่อโตเต็มตัวสวยงามเต็มวัยแล้วก็จะยังคงอาศัยอยู่ในปลอกดินนั้นต่ออีกเกือบเดือนเพื่อให้ปีกแข็งแรง

       โดยจะออกมาสู่โลกภายนอกได้ในช่วงที่มีฝนตกหนักและดินชุ่มเท่านั้น แมลงทับจึงจะออกมาจากดินได้เนื่องจากเมื่อโดนน้ำฝนปลอกดินจะค่อย ๆ อ่อนตัวลงและค่อยๆละลายลง จากนั้นมันจะไต่ขึ้นจากใต้ดินและใช้ชีวิตออกหากินผสมพันธุ์และวางไข่เป็นวงจรชีวิตตามธรรมชาติต่อไป ซึ่งถ้านับดี ๆ แล้วกว่าจรอดมาได้สักตัวต้องใช้เวลาฟักตัวอยู่ได้นานถึง 2 ปี เมื่อตัวโตเต็มวัยก็จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกภายนอกได้เพียงแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น

 

 

 

บาคาร่า888